ว่ากันว่าเลี้ยงเด็กสมัยนี้ยากกว่าเมื่อก่อนหลายเท่า…เป็นเรื่องจริงค่ะ แต่ด้วยความรู้ เทคนิค วิธีการและตัวช่วยต่าง ๆ ที่มีอยู่ ก็ทำให้พ่อแม่อย่างเราก้าวผ่านไปได้อย่างไม่ยากนัก EP นี้ชวนคุณพ่อคุณแม่ มาสร้างทักษะการเป็นพ่อแม่กับครูหม่อมกันค่ะ หนทางที่จะทำให้เราไม่ต้องตั้งคำถามว่า ทำไมเลี้ยงเด็กยุคนี้ยากจัง ฟังครูหม่อม ผศ. ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
ทักษะพ่อแม่ คือความสามารถในการเป็นพ่อแม่ ไม่ใช่ทุกคนเกิดมาจะมีความสามารถในการเป็นพ่อแม่คือมันไม่ได้ติดต่อแต่กำเนิด แต่ข้อดีคือมันสามารถติดอยู่ในเนื้อในตัวเราได้จากวิถีที่คุณพ่อคุณแม่เลี้ยงเรามา นั่นแปลว่าถ้าสมมติในรุ่นของเรา เราสามารถมีวิถีทางที่ไปในทางบวก ลูกของเราไม่ต้องไปหาเพิ่มเลยว่าฉันจะเป็นพ่อแม่ที่ดีได้อย่างไรเพราะเป็นวิถีที่ถูกถ่ายทอดมา แต่ถ้าเราไม่ได้ถูกถ่ายทอดมาด้วยวิถีทางที่เหมาะสม เราก็จำเป็นที่ต้องฝึกฝน
ทักษะพ่อแม่ฝึกฝนได้ต้องยอมรับว่าเราไม่ได้เกิดมาพร้อมทักษะเหล่านี้ แต่เป็นทักษะที่เราอาจจะได้มาจากสิ่งที่พ่อแม่เราสอนเรามา หรือเราอาจจะได้มาจากการที่เราหาวิธีการที่เหมาะสมกับลูกเราเหมาะสมกับตัวเองก็ฝึกทำกันไป
กรอบแนวคิดของเราที่เติบโตขึ้น ทีนี้เรื่อง Growth Mindset กับ Fixed Mindset เป็นของคู่กัน Fixed Mindset ก็คืออยู่กับกรอบแนวคิดเดิมๆ อยู่กับความเชื่อเดิมๆ ที่เราคิดว่าเราไม่สามารถจะเปลี่ยนแปลงได้ แล้วเราก็ติดมาโดยที่เราไม่รู้ตัว ถ้าเราจะเป็นคุณพ่อคุณแม่ที่มีทักษะในการเป็นคุณพ่อคุณแม่ได้เราต้องมีกรอบแนวคิดเติบโตในการเป็นคุณพ่อคุณแม่ก่อนเช่น พวกเราอาจไม่ทันระวังว่าเรามี Fixed Mindset Parenting อย่างไร
เช่น ถ้าครูหม่อมถามทุกคนตอนนี้ว่า สมมติทุกคนนั่งอยู่กับลูก 5 ขวบ คำถามคือถ้าลูกกินข้าวไป 5 คำ แล้วบอกว่าอิ่ม “คุณพ่อคุณแม่จะบอกลูกว่าอะไร” “อีกคำ” อีกคำ มาจากไหน จากในตำราหรือเปล่า ทีนี้ถามว่าวิธีนี้มันใช่ทักษะพ่อแม่ไหม
ทักษะก็คือความสามารถที่จะพาลูกเราเป็นไปตามที่เราหวังตั้งใจเป็นไปตามเป้าหมาย แต่ถ้าเรายังใช้กรอบแนวคิดเดิมๆ อยู่ ก็คือสิ่งที่ครูหม่อมไว้ตั้งแต่ต้นว่าทักษะไม่ได้เป็นเรื่องที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิดมันสามารถฝึกกันได้ หรือว่ามันอาจจะติดมาจากพ่อแม่ของเราได้
การสืบทอดรุ่นต่อรุ่นจะว่าน่ากลัวก็ไม่เชิงถ้าเป็นในทางที่ดีเราก็ไม่ต้องหาทำมากมายมันก็ติดตัวเรา แต่ถ้ามันเป็น Fixed Mindset หรือว่ามันเป็นอะไรที่ไม่เคยได้ผลและเราไม่เคยหยุดและมองดูว่าวิธีการเหล่านี้มันใช่ทักษะของพ่อแม่หรือไม่หรือเป็นการจำเขามา ถ้าจำเขามาไม่ใช่ทักษะ
ครูหม่อมเชื่อเลยว่าถ้าลูกของเรากินข้าวไป 5 คำ แล้วบอกว่าอิ่ม สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่จะทำก็คือ ขออีกคำ หรือบอกว่า กินให้หมด ขออีก 5 คำ สเต็ปต่อไปคือแกล้งนับผิด พอแกล้งนับผิดเสร็จลูกกินครบ 5 คำ สเต็ปต่อไปคือซดน้ำแกงด้วย กินผักด้วย พอทำทุกอย่างเสร็จเรียบร้อยหมดแล้วเก็บข้าวที่หกเอาไปเก็บ มันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพิ่มขึ้นไม่พอแต่นึกถึงเด็กกินข้าวมื้อหนึ่งไม่มีอะไรดีเลย
แค่กินข้าวมื้อหนึ่งรู้สึก Self ตัวเองเหลือนิดเดียวคำถามที่สำคัญมากกว่านั้น คิดว่าเด็กไทยกินข้าวเคล้าน้ำตากี่เปอร์เซ็นต์ เด็กไทยถูกเข้มงวดเรื่องการกินข้าวตั้งแต่เด็ก โตขึ้นมาเด็กไทยเป็นโรคอ้วนกี่เปอร์เซ็นต์ โรคขาดสารอาการกี่เปอร์เซ็นต์ คำถามคือเข้มงวดตั้งแต่เด็กโตขึ้นมาควรจะกินเป็นใช่ไหม นี่คือสิ่งที่ครูหม่อมอยากเอามาว่าทำไมเราถึงต้องมีทักษะคุณพ่อคุณแม่
เพราะฉะนั้นถ้าเราทำตามที่เขาบอกหรือทำตามที่เราจำมา หลายครั้งที่เรามีแพทเทิร์นในการสอนที่ไปไม่ถึงเป้าหมาย เราลองดูนะคะนี่ครูหม่อมพูดแค่เรื่องกิน ครูหม่อมถามว่าปัจจุบันที่เราโตมาแล้วถามตัวคุณพ่อคุณแม่เองว่าไม่กินสักมื้อหนึ่งคุณพ่อคุณแม่มาว่าอะไรเราไหม ไม่ว่า กินขนมก่อนกินข้าวได้ไหม ได้โตแล้ว แล้วเด็กกินได้ไหม ไม่ได้ เพราะอะไร นี่คือสิ่งที่เราอยากจะมาพูดกัน
เพราะฉะนั้นที่ถามว่าทักษะอะไรบ้างที่จะต้องมี ทักษะการหยุดคิดแล้วทำกรอบแนวคิดของการเป็นพ่อแม่ให้เติบโตขึ้น ก็คือ Growth Mindset เปิดใจ รู้ว่าตัวเองฝึกฝนและเรียนรู้ไปพร้อมกับลูกได้ อะไรที่ลูกทำแล้วเรารู้สึกว่าพูดไปตามแพทเทิร์นเดิมเลยแต่ไม่ได้สอน เช่น พอลูกบอกแม่อิ่ม กินข้าวอีก 5 คำ กลืนคำนี้ลงไปแค่นี้ทักษะแรกเลย
ถามตัวเองว่าอยากได้อะไรจากลูก ใน EP เรื่องของการสร้างวินัยเชิงบวกสอนเอาไว้ว่าเราต้องมีเป้าหมาย ถ้าเราบอกว่าเราอยากให้ลูกกินข้าวให้หมดเรากำลังมีเป้าหมายสอนให้ลูกรับผิดชอบข้าวของตัวเอง พอเรามีเป้าหมายอย่างนั้นลองคิดวิธีการถ้าลูกต้องกินข้าวให้หมดต้องทำอย่างไร ใครควรเป็นคนตัก
เพราะฉะนั้นหากอยากให้ลูกกินข้าวให้หมด ให้ลูกหัดกะประมาณตนเอง หิว ถ้าลูกหิวกินเยอะแปลกไหม ถ้าลูกอร่อย กินไก่ทอดแล้วอร่อยก็จะกินแต่ไก่ทอดแปลกไหม เอาหลักการก็ไม่แปลก แต่จะกินแต่ไก่ทอดอย่างเดียวเหรอ กินอย่างอื่นบ้าง แต่พ่อแม่บางคน ตะกละไม่เหลือให้คนอื่นเลย พออะไรที่ตัวเองไม่ชอบไม่กินเลยเห็นแก่ตัว คำพูดเหล่านี้ถามว่าคุณพ่อคุณแม่หมายความว่าอย่างนั้นจริงๆ ไหม หรือคิดว่าตัวเองสอนอยู่จากการที่ตัวเองจำเขามา เพราะฉะนั้นแยกให้ออก ลูกต้องกินข้าวให้หมดขอให้ลูกตักเอง
คำถามอีกถ้าวันนี้ลูกตักเองแล้วลูกกินข้าวไม่หมดทำอย่างไร ลองใหม่ มันใช้เวลาในการเลี้ยงลูกมันต้องมีการฝึกฝน ตักมากินไม่หมดจำไว้นะลูกวันนี้หนูตักเท่านี้ไม่หมดพรุ่งนี้ลองใหม่ เราไม่ได้เลี้ยงลูกแค่วันนี้ถึงวันพรุ่งนี้ ถ้าเราอยู่กับลูกอย่างน้อย 30 ปีที่เราจะอยู่ด้วยกันถ้าไม่มีใครเป็นอะไรไปซะก่อน 30 ปียังฝึกฝนกันได้
เพราะฉะนั้นพรุ่งนี้ลองใหม่ ถ้าเราให้ลูกหัดลองตั้งแต่เล็ก หากวันนี้เขารู้ว่าเขาตักแค่นี้แล้วเขาเหลือเขามีข้อมูลเพียงพอที่จะตักใหม่วันพรุ่งนี้
ครูลองพูดให้ฟังแล้วลองดูว่าแบบไหนที่ลูกอยากจะให้ความร่วมมือ ตักซะเยอะเลยตะกละแล้วก็กินไม่หมดเหลือทิ้งพรุ่งนี้ตักใหม่ กับอันนี้มันเยอะไปใช่ไหมลูก ตอนนี้หนูอิ่มแล้ว ยังดีนะที่ลูกรู้จักอิ่มหนูจำไว้นะลูกอันนี้คือปริมาณที่มันเหลือพรุ่งนี้หนูว่าจะต้องทำอย่างไร มันมีอย่างหนึ่ง ดีนะที่ลูกรู้จักอิ่ม มันคือการเคารพตัวเขา แล้วเราก็ให้คุณค่าเขาว่าหนูอิ่ม แม่เข้าใจว่าหนูอิ่ม เป็นเรื่องของการสร้าง Self ด้วย
คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่ที่จำมาจำวิธีมาก็มักจะเหลือทิ้งไม่ให้คุณค่าสงสารชาวนา ก่อนลูกจะสงสารชาวนาได้ ลูกต้องรู้สึกต้องถูกเห็นอกเห็นใจก่อนจากคุณพ่อคุณแม่ก่อนหนูถึงจะเห็นอกเห็นใจคนอื่นได้
เพราะฉะนั้นหากเรารู้ว่านี่คืออิ่ม พรุ่งนี้ลองใหม่เท่ากับว่าเรายังมีโอกาสให้เขาได้ฝึกอีกมาก พรุ่งนี้พอลองใหม่แล้วสำเร็จ ตรงนี้เป็นคุณค่าเป็นที่รักของคุณพ่อคุณแม่ ตัวเองมีความสามารถ เพราะฉะนั้นเราต้องมีโอกาสให้ลูกพัฒนา
ทักษะนี้สำคัญแต่ไม่ยาก แค่คุณพ่อคุณแม่รู้หลักการคือว่าในโลกปัจจุบันคำว่าพัฒนาการเด็กมีอยู่ทั่วเลย คุณพ่อคุณแม่จะเสพข้อมูลเรื่องพัฒนาการเด็กอย่างไร เพื่อเอาไปเปรียบเทียบว่าลูกฉันทำไม่ได้ แล้วก็ไปเคี่ยวเข็ญ กดดัน ลูก หรือรู้พัฒนาการไปเพื่อเข้าใจลูก
ถ้าจะให้รู้พัฒนาการไปเพื่อเข้าใจลูกคุณพ่อคุณแม่ต้องทำใจยอมรับให้เร็ว เมื่อทำใจยอมรับให้เร็วได้เมื่อไหร่คุณพ่อคุณแม่จะสามารถฝึกทักษะได้เร็ว
ตัวอย่างเช่น คุณพ่อที่มีลูกสาว ลูกต้องมีแฟนตอนนี้ลูกยังเล็กอยู่ พอลูกสัก 9 ขวบ 10 ขวบ ลูกต้องมีเรื่องของเพศตรงข้ามเข้ามา ถามว่าลูกเราผิดปกติไหม ไม่ผิดปกติ แต่นั่นแปลว่าคุณพ่อมีเวลาฝึกตัวเอง 9 ปี ที่จะทำใจสอนลูกให้รับมือกับเรื่องเพศตรงข้ามอย่างไร เรามองแบบนี้แทนที่จะไม่ยอมรับ แล้วก็เลี้ยงไปเสร็จแล้วก็รับความคิดของคนอื่นที่จำเขามา เช่น เดี๋ยวโตมันก็ต้องมีแฟน ไปเป็นแฟนคนอื่นแล้วเราก็หัวเน่า ถ้าความผูกพันเราดี อย่างไรเราก็ไม่หัวเน่า เหมือนเราตอนนี้ที่แต่งงานกันแล้วพ่อแม่เราก็ไม่หัวเน่า
เพราะฉะนั้นเมื่อเราทำใจยอมรับ ทำใจดูเหมือนเป็นเรื่องยากแต่จริงๆ แล้วเป็นขั้นตอนเพื่อให้เรายอมรับว่าเดี๋ยววันหนึ่งพัฒนาการของลูกจะเป็นอย่างไร เมื่อวันนั้นมาถึงเราจะได้มี Growth Mindset ทัน แล้วก็ฝึกฝนทัน
วันหนึ่งลูกอาจจะเดินมาบอกว่าขอค้างบ้านเพื่อนได้ไหม เคยเตรียมคำตอบไหม เราคิดตอนนี้เราก็มักจะปฏิเสธตัวเองตลอด นี่คือเรื่องของธรรมชาติมนุษย์ คุณพ่อคุณแม่ถ้าใช้สัญชาตญาณเลี้ยงลูกจะไม่ค่อยยอมรับเรื่องเหล่านี้เพราะคิดไปถึงเรื่องนี้อีกยาวไกล แต่จริงๆ แล้วถ้าเราคิดเชิงบวกนี่คือช่วงเวลาที่คุณพ่อคุณแม่ทำใจและฝึกฝนไม่ให้หน้าตัวเองกระตุกเมื่อเวลานั้นมาถึง แม่ขาขอไปเที่ยวกลางคืนได้ไหมค่ะ แค่นี้เราก็เวลามันเร็วเวลานี้มาถึงแล้ว ลูกเรา 15 แล้ว กับ ทำอย่างไรดีละ ไป Panic ตอนนู้น ลูกอยู่กับเราตั้ง 15 ปีมีเวลาให้ Panic มานานแล้ว
นี่คือทักษะที่สองที่จำเป็นมากๆ คือ ทำใจยอมรับ วิธีการคือไปดูพัฒนาการเพื่อให้เข้าใจลูกและเตรียมพร้อมตัวเองเอาไว้ว่าเมื่อถึงเวลาเหล่านี้ ครูหม่อมเชื่อว่าตามธรรมชาติสัญชาตญาณของมนุษย์อะไรที่เป็นเรื่องไม่ดีเราจะมองเป็นเรื่องไกลตัวแต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ เช่น ลูกเราไม่ติดยาเสพติดหรอก ลูกเราไม่ท้องวัยใสหรอก ลูกเรายังไม่มีแฟนหรอก ลูกเราไม่สํามะเลเทเมาหรอก ของทุกอย่างมีเหตุและผล ลูกเราไม่เป็น เป็นเพราะเราไม่ได้เป็นเพราะใคร เพราะฉะนั้นในวันนี้เราก็ต้องหัดทำใจยอมรับและฝึกตัวเองให้ได้
หากเป็นพ่อเป็นแม่ที่เข้าใจลูกก็จะรู้ว่าในแต่ละช่วงวัยเราควรจะยืดหยุ่นได้ประมาณไหน หากว่าเราทำใจเตรียมพร้อมยอมรับเตรียมพร้อมตัวเองได้มากเท่าไหร่ ก็เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจได้มากเท่านั้น หากเราตกใจกับคำของลูกก็เท่ากับเราไม่เป็นฐานที่มั่นทางใจให้ลูก เขาก็จะรู้สึกว่าเรื่องใหญ่ พ่อแม่ไม่เข้าใจหนู จากที่เคยเข้าใจกลายเป็นไม่เข้าใจ แต่เมื่อไหร่ที่หนูกลับบ้านตอนกลางคืนได้ไหม หนูไปเที่ยวตอนกลางคืนได้ไหม เพราะฉะนั้นอะไรที่เคยสอนเขาหลักการเหมือนเดิมเลย ถ้าจะไปต้องทำอย่างไร
เรียกว่าให้หัดพูดคำว่าได้ แล้วคิดเร็วๆ ว่าได้เมื่อไหร่กับได้อย่างไร หนูขอเล่นโทรศัพท์มือถือได้ไหม ได้ เมื่อหนูอายุ 12 ขวบ อันนี้ได้เมื่อไหร่ ได้อย่างไร เช่น ได้ ทำการบ้านเสร็จ กินข้าวเสร็จ อาบน้ำเสร็จ 10 นาที แล้วคืน หัดตัวเองฝึกตัวเองไปเรื่อยๆ มีแฟนได้ไหม ได้ ได้เมื่อไหร่สำหรับครูหม่อมเรื่องของหัวใจครูหม่อมไม่รู้ว่าได้เมื่อไหร่
แต่ครูหม่อมสอนเรื่องได้อย่างไร อย่างหลานครู 5 ขวบ คนนั้นเป็นแฟนหนู คนนี้เป็นแฟนหนู แต่เราบอกไม่ใช่แฟนลูกคือเพื่อนเปิดช่องโหว่อีก เรากำลังชี้โพรงอีกว่าเพื่อนกับแฟนต่างกันโดยที่เรายังไม่รู้เลยว่าเขารู้ไหมว่าอะไรคือแฟนอะไรคือเพื่อน คนนี้คือแฟนหนู แล้วปฏิบัติต่อแฟนอย่างไรลูกจริงๆ เราก็สอนเหมือนปฏิบัติต่อเพื่อนคนอื่น หรือถ้าลูกโตแล้วมีแฟนได้ไหม ได้ แต่ละบ้านไปคิดกันเองว่าได้อย่างไร
อย่างบางบ้านที่ครูหม่อมพูดคุยกับคุณพ่อคุณแม่ ลูกอายุ 12 มีแฟน นี่คือมีแฟนของจริง ถามว่าได้ไหม คุณพ่อคุณแม่บอกกัดฟันกล้ำกลืนอยู่ว่า ได้ แล้วคุณพ่อคุณแม่ตกลงกันว่าอย่างไร คุยโทรศัพท์ได้วันละเท่าไหร่ ไลน์หากัน เรื่องเพศเปิดเลย เปิดเลยในที่นี้หมายถึงพูดกันเลย 12 แล้ว ห้ามมีเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องเดียวที่ขอ ไม่กลับบ้านกลางคืนกลับบ้าน 4-5 ทุ่ม อะไรก็ว่าไป พ่อหรือแม่ไปด้วยไม่ทางนั้นก็ทางนี้ คุณพ่อคุณแม่ฉลาดมากเกิดการคุยกัน
ถ้าเป็นเมื่อก่อนพ่อแม่สองฝ่ายเป็นอย่างไรค่ะ ไม่เจอหน้ากัน พ่อแม่ฝ่ายชายก็หวงลูกชายเขา พ่อแม่ฝ่ายหญิงก็หวงลูกสาวเขาเหมือนกัน แต่ครูหม่อมบอกเลยนี่คือความชาญฉลาดของผู้ใหญ่ว่าพอพ่อแม่คุยกันปุ๊บกลายเป็นว่าพ่อแม่ฝั่งนี้ไม่ว่า พ่อแม่ฝั่งนู้นดูไปมาหาสู่กันได้มาบ้านได้ มาบ้านสิดีพอมาในบ้านเขาก็บอกเลยว่าอะไรที่เรากังวลคือพูดความกังวลและความเป็นห่วงออกไป ไปเป็นว่าได้อย่างไรและถ้าลูกไม่ทำตามนั้นก็คือมีผลที่ตามมา หากไม่ทำตามนั้นแสดงว่าไม่พร้อมมีแฟน ถ้าพร้อมมีแฟนแสดงว่าเราดูแลตัวเองได้แบบนี้ มีขอบเขตกันอย่างไรได้
ทั้ง 3 ข้อนี้คือพูดถึงทักษะแต่ถ้าพูดถึงตัวเบสิกเลยครูหม่อมอยากให้คุณพ่อคุณแม่ ปลอบเป็น สอนเป็น ชมเป็น ซึ่งตรงนี้เราเคยพูดคุยกันหลายครั้งว่า
1.ปลอบให้เป็น
แปลว่าคุณพ่อคุณแม่แสดงความเข้าอกเข้าใจในเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกของลูกบอกไปเลยว่าเข้าใจว่าลูกรู้สึกอย่างไร ไม่ว่าลูกเราจะมีพฤติกรรมร้ายแรงอย่างไร กรี๊ด ตีคนอื่น เตะข้าวของ โตขึ้นมาต่อยกำแพง ทุบรถคนอื่น นั่นเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าเขาต้องการความช่วยเหลือ เขาไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของเขาได้ เพราะฉะนั้นสิ่งที่จะช่วยให้คนๆ หนึ่งที่จะแบ่งเบาอารมณ์ของเขาได้คือ การแสดงความเข้าใจอารมณ์ครูหม่อมถือว่าเป็นอะไรที่อยากให้ทำจนเป็นนิสัยของคุณพ่อคุณแม่ มองอารมณ์ลูกปุ๊บคอยแสดงความเข้าใจ นั่นคือการปลอบ
2.สอน
ก็คือการร่วมทุกข์ร่วมสุขกับเขา พอเขาอารมณ์เย็นลงถามเขา ครั้งหน้าถ้าเกิดแบบนี้จะทำอย่างไร มีเพื่อนมาแกล้งจะทำอย่างไร เขาทำอะไรผิดพลาดไป เช่น บอกว่าเล่นเกม 30 นาที แล้วเอามาคืนปรากฏว่าไปแอบเล่น เราจะไม่พูดถึงคำว่าทำไมแอบ ทำไมขโมยเอาไปเล่น คราวหน้าเราจะถามว่าครั้งหน้าอยากเล่นควรทำอย่างไร
สิ่งหนึ่งที่ครูอยากจะบอกคือว่าที่อย่าเพิ่งดุ เพราะการที่เราบอกเขาว่าทำไมแอบเล่น ทำไมขโมยนี่คือการตัดสินตีตรา จริงๆ แล้วคือคนอยากเล่นแล้วมันควบคุมอารมณ์ไม่ได้เขาขาดทักษะ เพราะฉะนั้นพ่อแม่จะต้องสอนทักษะเหล่านี้เขาถึงจะสามารถควบคุมอารมณ์ได้
การแสดงความเข้าใจก็คือการปลอบมันเป็นช่วงหนึ่ง เช่น รู้เลยว่าอยากเล่นมากหนูเลยเอาไปเล่น แต่สิ่งที่ตามมา คราวหน้าอยากเล่นมากขนาดนี้อีกแทนการหยิบไปเล่นเลยหนูว่าหนูควรทำอย่างไร ก็คือการทวนอยู่อย่างนี้
3.การชม
คือการที่เรามองเห็นคุณค่าในตัวลูกเมื่อเขาทำดี ทำให้ลูกอยากมีส่วนร่วมกับเรา อยากทำความดีให้เห็นขึ้นไปอีก เวลาชม ชมให้ถึงคุณค่าเพื่อที่ตัวตนเขาจะได้พองฟู เช่น ถ้าเขาเอาน้ำมาให้เรา การเอาน้ำมาให้คุณค่ามันคืออะไร มีน้ำใจ ชมไปให้ถึง ขอบคุณมากเลยลูกหนูเอาน้ำมาให้หนูเป็นคนมีน้ำใจ หยอดกระปุกคุณค่าให้กับลูก
เมื่อไหร่ที่เราบอกว่าขอบคุณมากหนูถือน้ำมาให้หนูเป็นคนมีน้ำใจ คุณค่าของตัวตนแรก คุณค่าของคนรักได้ไหม คุณค่าต่อตัวเองได้ไหม คุณค่าต่อผู้อื่นได้ไหม ครบไหม คุณค่าต่อการใช้ชีวิตได้ไหม ครบถ้วน เมื่อเราชมลูกเป็นลูกก็ไปชมคนอื่นเป็น เขาก็จะมีวิธีที่ทำแบบนี้กับคนอื่นได้เหมือนกัน ก็กลับไปที่ต้น EP ที่ครูหม่อมบอกว่าวิธีการสอนมันถ่ายทอดได้จากรุ่นสู่รุ่น
ถ้าเกิดเรามาในทางที่ถูกรุ่นลูกเราจะสบายไม่ต้องไปหาอะไรที่ไหนเลย มันอยู่ในเนื้อในตัวของเขาเลยเพียงแต่ว่าที่ผ่านมาของพวกเรา เราถูกสอนโดยคุณพ่อคุณแม่รุ่นหนึ่งที่ความรู้ยังไม่เยอะขนาดนี้ และสถานการณ์โลกยังไม่สลับซับซ้อนขนาดนี้เราก็อยู่กันอย่างเบสิกได้ แต่เมื่อมันซับซ้อนมากขึ้นคุณพ่อคุณแม่ก็ต้องอัพเลเวล อัพสกิลตัวเองเหมือนกันความรู้ที่มีก็เอามาช่วย Growth Mindset ของตัวเอง ช่วยทำใจตัวเอง
อันนี้คือทักษะการสังเกต ถ้าเกิดว่าลูกเราเป็นคนร่าเริงแล้ววันหนึ่งเงียบไปอันนี้ผิดสังเกตแน่นอนเห็นชัดเจน ถามตัวเองก่อน ตัวเองพูดอะไรหรือช่วงหนึ่งคงไม่ใช่แค่วันเดียวน่าจะเป็นเรื่องอะไรที่เราผิดใจกันทิ้งช่วงไว้นานไม่เคลียร์ใจหรือว่าสะสมเป็นระยะเวลาช่วงหนึ่งที่ทำให้ลูกรู้สึกว่าตัวเองไม่เป็นคนสำคัญจึงทำให้ลูกเงียบไป
หากไม่ใช่ย้ายไปเรื่องที่สองคุณค่าที่สองในตัวตน เขากำลังไม่ชอบใจในตัวเองอยู่หรือเปล่าเขากำลังทำอะไรแล้วรู้สึกตัวเองไม่สำเร็จไหม ไม่มีความสามารถไหมโดนคนอื่นไม่ยอมรับไหม ลองค่อยๆ ย้ายไปว่าที่มันเกิดถ้าไม่ใช่ตัวเราลูกกำลังประสบปัญหากับการไม่เห็นความสามารถของตัวเองหรือคนอื่นจากวงนอก
ส่วนใหญ่แล้วถ้าเป็นเด็กเล็กสองคุณค่าแรกจะสำคัญมากคือคุณค่าต่อคนรักคือคุณพ่อคุณแม่และตัวเองเห็นความสามารถของตัวเอง ถ้าลูกของเราเริ่มโตและเป็นวัยรุ่นคุณพ่อคุณแม่อย่าได้โทษตัวเอง อีกอันที่สำคัญคือถ้าลูกเป็นวัยรุ่นแล้วหรือเริ่มโตแล้วตัวตนเขาจะโหยหาความสำคัญจากคนอื่นด้วย เพราะฉะนั้นสิ่งคุณพ่อคุณแม่จะช่วยได้ก็เหมือนเดิม ปลอบ สอน ชม สำคัญ
ถ้าคุณพ่อคุณแม่อยู่ข้างเขาและแสดงความเข้าใจแล้วสอนไม่ใช่สั่ง เช่น ทะเลาะกับเพื่อนมา รู้เลยว่าลูกไม่สบายใจเพื่อนสนิทลูก ไปง้อเขาสิ หรือเพื่อนมีตั้งเยอะแยะก็ไปเล่นกับคนอื่นสิไม่เห็นต้องเล่นกับคนนี้เลย อย่าได้ทำ
ถ้าเรารู้แล้วและเราบอกลูกว่าเกิดจากแบบนี้ถ้าลูกมีเพื่อน ก็ต้องให้ทักษะเขาเรื่องนั้น ก็ต้องสอนเขาสอนอย่างไรให้เขามีส่วนร่วม หนูว่าหนูจะทำอย่างไรหนูไปลองถ้าลองไม่ได้เรามาหาวิธีกันใหม่ มั่นใจไปอีกว่ามันไม่ใช่วิธีการเดียว เพราะฉะนั้นลองดูว่าสังเกตลูกแล้วดูตัวเองเช็คตัวเองแล้วก็เช็ค Self ของลูกในแต่ละด้าน คุณค่าตรงไหนลดลงเราก็เพิ่มได้
มีลูกอีกประเภทนะ ถ้าตัวตนของลูกเราเป็นคนเงียบอยู่แล้วหรือเป็นคนขี้อายทำอย่างไรดียากเข้าไปอีก แต่ถ้าเราเป็นพ่อแม่ที่สนิทกับลูกเราก็จะพอรู้หรือคลำแนวทางได้ ทีแรกที่ตอบว่ายากเข้าไปอีกอันนี้เรียกว่าตอบตามสัญชาตญาณ สัญชาตญาณพ่อแม่คือ ไม่อยากให้เป็นอย่างนั้นถ้าเป็นอย่างนั้นจะทำอย่างไร
แต่พอมีทักษะเราจะคิดได้ว่า ถ้าเราสนิทเราจะยอมรับได้ว่านี่คือตัวตนของลูก ลูกเป็นคนขี้อายได้ไหม ได้เพียงแต่ว่าถ้าเขาอายแล้วเขาจะอยู่กับความรู้สึกนั้นอย่างไร ก้าวข้ามอย่างไร อันนี้มากกว่าที่จะเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่จะอยู่เคียงข้างเขาตลอดไป ไม่ใช่พอลูกอายปุ๊บ ไม่เห็นต้องอายเลยไปยืนข้างหน้าเลยนี่คือการไม่เคารพตัวตนของเขาด้วยนะวิธีการแบบนี้
ครูหม่อมมองเห็นว่ายุคสมัยมันเปลี่ยนแปลงไป สมัยก่อนพ่อแม่ไม่จำเป็นต้องมีทักษะอะไรมากเพราะว่าพ่อแม่อยู่กับเรา แต่ว่าสมัยนี้พ่อแม่ไม่ได้อยู่กับลูกเราลองมองภาพว่าในวันหนึ่งพ่อแม่อยู่กับลูกได้กี่ชั่วโมง แล้วตอนที่อยู่เราพูดอะไรกัน เมื่อก่อนพ่อแม่ดุเราแต่เราก็ยังอยู่กับพ่อแม่
แต่สมัยนี้ดุกันเสร็จต่างคนต่างแยกย้าย ดุเสร็จลูกไปโรงเรียนตั้งแต่เล็กพ่อแม่ไปทำงานพอกลับมาเข้าบ้านความเดิมที่ทะเลาะกันเมื่อเช้าเก็บกดเอาไว้ไม่ได้เคลียร์ลูกก็เก็บไว้ตอนเย็นมาเก็บเข้าไปอีกแล้วก็รีบนอนพรุ่งนี้ก็มีเรื่องใหม่เติมเข้ามาอีก
สิ่งที่สะสมอยู่ในจิตใจของพ่อแม่และจิตใจของลูกมันเป็นลบ ด้วยความเร่งรีบและยุคสมัยที่เปลี่ยนทำให้เวลาที่เราอยู่ด้วยกันน้อยลงและเทคโนโลยีที่เข้ามา เมื่อก่อนพ่อแม่ตีเรา เราเข้าห้องไปเรารอพ่อแม่มาง้อในหัวเราสมองเราคิดถึงพ่อแม่ พ่อแม่ก็อยู่กับเรา ทำไมพ่อแม่ไม่เข้าใจทำไมไม่มาง้อสักที เพราะพ่อแม่อยู่เรารู้ว่าเดี๋ยวพ่อแม่ต้องมา เด็กสมัยนี้โกรธกับพ่อแม่ปิดประตูเข้าห้องไปที่เทคโนโลยีไปที่โซเชียลมีเดียพ่อแม่ไม่ได้อยู่ในหัว
เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่มีทักษะพ่อแม่ที่จะมี Growth Mindset ที่จะรู้จักพัฒนาการลูกแล้วก็ทำใจฝึกตัวเองรู้จักคำว่า ได้ ไม่รู้จักปลอบ ไม่รู้จักสอน ไม่รู้จักชม ในแต่ละวันที่เราอยู่กับลูกเราก็จะไปที่สั่ง ตัดสิน ตีตรา ควบคุม ลูกเมื่อไหร่ เราก็จะเป็นพ่อแม่ที่ไม่อยู่ในหัวลูกทันที
เพราะลูกเขามีที่ระบายอารมณ์ไปกับสิ่งอื่นที่ไม่ใช่เราใครทำให้เขาสบายเขาก็ไปหาแต่อย่าลืมว่าสิ่งที่น่ากลัวคือ ใครละอยู่ในโซเชียลมีเดีย ถ้าเป็นเพื่อนทักษะสังคมมีเหมือนกันไหม ทักษะอารมณ์ก็คงเท่าๆ กันไหม วุฒิภาวะ หรือไม่ใช่เพื่อนเขาแต่เป็นใครไม่รู้ที่มาหวังผลประโยชน์จากลูกเราตอนที่ลูกเราจิตอ่อนนี่คือความน่ากลัว เพราะฉะนั้นทักษะของพ่อแม่ในยุคนี้จึงต้องมีและต้องแกร่งกว่าพ่อแม่ยุคก่อน
ติดตามฟังได้ที่รายการรักลูก The Expert Talk
Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB
Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX
Youtube: https://bit.ly/3cxn31u