พันธุกรรมเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ทำให้ลูกฉลาด แต่สิ่งสำคัญอยู่ที่การส่งเสริม กระตุ้นและดูแลลูกในครรภ์อย่างเหมาะสม ฟังเคล็ดลับส่งเสริมให้ลูกฉลาดตั้งแต่ในครรภ์ โดยนพ.ภูมิพร อัจฉรารัตนโสภณ สูตินรีแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ โรงพยาบาลเวชธานี
คุณแม่ท้องแต่ละคนดูแลตัวเองดีอยู่แล้ว 3 ไตรมาสเขารู้อยู่แล้วว่าต้องดูแลตัวเองอย่างไร อยากให้คุณหมอบอกถึงพัฒนาการแต่ละไตรมาสที่สำคัญที่คุณแม่จะต้องรู้ก่อน 3 ไตรมาสนี้มีอะไรที่คุณแม่ห้ามพลาดบ้าง
ร่างกายแม่ไตรมาสที่1
พอเราตั้งครรภ์ไม่ว่าจะคุณแม่มือใหม่หรือมือเก่าแต่ละท้องจะมีความเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อย ๆ หรือรายละเอียดเล็กน้อยที่ที่ไม่เหมือนกัน ในส่วนของไตรมาสแรกที่หมอจะพูดถึงจะเป็นช่วงที่ละเอียดอ่อน
ไตรมาสแรกคือช่วงที่เขามีชีวิต เขาเริ่มฝังตัวกับมดลูก ฉะนั้นการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในสภาพแวดล้อมต่างๆ คุณแม่เองอาจมีทั้งบางคนที่สุขภาพดีมาตลอดหรือบางคนที่มีโรคประจำตัว เบื้องต้นถ้าโดยส่วนตัวถ้าพูดถึงการพัฒนาในไตรมาสแรกเป็นช่วงที่เราต้องระวังเกือบทุกอย่างเลย
ส่วนที่ 1 ถ้าคุณแม่ได้ตรวจปัสสาวะและพบว่ามีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นหมอแนะนำอย่างหนึ่งเลยรีบไปพบคุณหมอ การที่เราจะตรวจเบื้องต้นในไตรมาสแรกคุณหมอมีตรวจหลายรูปแบบไม่ว่าจะดูประวัติคุณแม่ ประวัติครอบครัว การแพ้ยา ประวัติโรคประจำตัว การใช้ชีวิต การเข้าสังคมต่างๆ ซึ่งแต่ละส่วนก็จะมีเอฟเฟกต์ที่มีผลต่อทารกในท้องและตัวคุณแม่เอง
อย่างเบื้องต้นถ้าคุณแม่มีการตรวจปัสสาวะแล้วพบว่ามีการตั้งครรภ์ ให้ไปตรวจกับคุณหมอก่อนว่าการตั้งครรภ์เป็นผลตรวจปัสสาวะให้ผลลวงไหม หรือตรวจแล้วปัสสาวะให้ 2 ขีดแล้วตั้งครรภ์จริงไหม เพราะมีหลายเคสที่เราตรวจปัสสาวะขึ้น 2 ขีด บอกว่าตั้งครรภ์แต่เราไปตรวจจริงๆ แล้วมีการตั้งครรภ์จริงหรือไม่
เพราะการตรวจปัสสาวะเป็นการบอกการตั้งครรภ์อย่างหนึ่งซึ่งการตั้งครรภ์ที่เพี้ยนกว่าปกติ เช่น การตั้งครรภ์ที่เป็นท้องลม หรือการตั้งครรภ์ที่เป็นท้องนอกมดลูกเขาก็ให้ผลที่เป็น 2 ขีดเหมือนกันเมื่อเจอคุณหมอ
คุณหมอจะมีการตรวจอัลตร้าซาวด์ซึ่งตัวนี้เป็นการยืนยันที่แน่นอนว่าคุณแม่ตั้งครรภ์และการฝังตัวที่เหมาะสม พอมีการตั้งครรภ์ที่เหมาะสมคุณหมอตรวจอัลตร้าซาวด์คุณหมอสามารถตรวจโพรงมดลูกให้คุณแม่ได้ด้วยว่าลักษณะมดลูกมีความผิดปกติหรือการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
หมอจะบอกคร่าวๆ ว่าเวลาที่คุณหมอตรวจอัลตราซาวด์ถ้าคุณแม่ไปพบคุณหมอๆ ตรวจอะไรบ้าง เบื้องต้นคุณหมอก็จะมีการตรวจว่าเขาฝังตัวดีไหม การฝังตัวของตัวอ่อนก็มีผลก่อนที่เขาจะพัฒนาเป็นตัวการฝังตัวที่ไม่เหมาะสมมันก็มีเอฟเฟกต์ เช่น การฝังตัวที่นอกมดลูก หรือการฝังตัวที่ตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม มันก็อาจจะมีการหลุดหรือมีภาวะแทรกซ้อนได้
ส่วนที่ 2 คุณหมอจะมีการดูโครงสร้างมดลูกที่สำคัญนอกจากตัวมดลูกเอง ปีกมดลูกคุณแม่มีก้อนมีซีสต์มีอะไรที่ผิดปกติไหมถึงแม้เราจะตรวจสุขภาพทุกปี เราพบว่าบางคนที่เราตรวจสุขภาพประจำปีทุกปีในแต่ละเดือนที่ผ่านไปบางทีมันอาจจะมีก้อนซีสต์ก้อนเล็กๆ หรือเนื้องอกก้อนเล็กๆ เกิดขึ้นมาซึ่งพวกนี้ก็มีเอฟเฟกต์เหมือนกันต่อทารก
ส่วนสำคัญอีกส่วนคือการฝังตัวของตัวอ่อนตำแหน่งที่ฝังตัวที่เหมาะสมจะเป็นยอดมดลูก คุณหมอสามารถวัดตั้งแต่ที่เขาเป็นถุงตั้งครรภ์เล็กๆ ว่าเยื้อบุมีความหนาเหมาะสมไหมของการฝังตัว ในบางเคสที่เยื่อบุไม่เหมาะสมมีความบางเราอาจจะต้องระวังและเทคแคร์ตัวเองมากกว่าปกติเพราะในเยื่อบุมดลูกที่บาง ก็เหมือนหน้าดินที่บางเวลาเราปลูกต้นไม้พื้นดินที่ไม่ค่อยเหมาะสมเมล็ดพืชที่มันเกิดขึ้นมาเป็นต้นมันก็จะไม่เหมาะสม ฉะนั้นการฝังตัวเราดูเยื่อบุได้และทำนายได้ว่ามันจะดีหรือไม่ดี
ส่วนถัดไปน้องเองพัฒนาจากเซลล์เล็กๆ ที่เราเห็นเป็นแค่ถุงน้ำคร่ำที่ฝังตัวจากนั้นเขาก็จะค่อยๆ เป็นตัวและมีการเชื่อมสายใยกันโดยมีการสร้างเป็นทั้งรกสายสะดือและมีการส่งเลือด Pass ระหว่างแม่กับลูกผ่านทางรกและสายสะดือ อวัยวะสำคัญที่เขาเริ่มพัฒนาเลยตั้งแต่ช่วงแรกก็จะเป็นโครงสร้างลำตัวสมอง หัวใจ และระบบประสาทต่างๆ จะเป็นตัวเริ่มแรกที่มีการพัฒนา ที่นี้เราต้องระวังอะไรบ้างเราดูแลตัวเองดีแล้ว ผลที่มันมีเอฟเฟกต์หลายอย่างที่หมอกล่าวไปมีตั้งแต่
1.โรคประจำตัวแฝงอยู่โดยที่เราไม่รู้
ตรวจสุขภาพแต่บางโรคที่เราตรวจสุขภาพประจำปีอาจไม่ได้โฟกัสเรื่องการตั้งครรภ์ เช่น เป็นภาวะเลือดจาง เป็นมีพาหะเป็นเลือดจางธารัสซีเมียซึ่งมีเอฟเฟกต์กับตัวอ่อนหรือทารกในครรภ์
2.พฤติกรรมในชีวิตประจำวัน
บางอย่างที่คุณแม่เคยใช้ชีวิตประจำวัน เช่น เราอาจมีการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา ถ้ามีการตั้งครรภ์บางอย่างเราก็ต้องควรเลี่ยง หรือแม้แต่บางทีคุณแม่ไม่ได้สูบบุหรี่แต่ว่าที่ทำงานเพื่อนๆ หรือคนแวดล้อมมีการสูบบุหรี่ ซึ่งเราพบว่าการที่เราได้รับควันเข้ามาก็มีเอฟเฟกต์ต่อเด็กในท้องเหมือนกัน ส่วนการเตรียมตัวอย่างอื่น ภาวะ Nutrition ที่เหมาะสม
คุณแม่บางคนพอตั้งครรภ์ขึ้นมาบางทีเราพบว่าจะมีอาการของคนแพ้ท้อง เช่น อาการคลื่นไส้อาเจียน เวียนหัว หน้ามืด บ้านหมุน ซึ่งภาวะแบบนี้จริงๆ แล้วบางส่วนเราสามารถดูแลรักษาเพื่อบรรเทาไม่ให้คุณแม่ทุกข์ทรมานมาก
โดยคุณแม่ก็ต้องไปปรึกษาคุณหมอเล่าถึงอาการต่างๆ ว่า มีอะไรที่มันเปลี่ยนแปลงแล้วรู้สึกไม่ปกติรู้สึกลำบากในการใช้ชีวิต เช่น เวียนศรีษะบ้านหมุนเป็นภาวะที่รุนแรงมากผิดปกติไหม หรือบางคนคลื่นไส้อาเจียนมาก
เราก็จะมีทั้งตัวยาที่บรรเทารักษาตามอาการ การรักษาอาการเวียนศรีษะบ้านหมุน ตัวยาที่ช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียน ตลอดจนถึงวิตามินบางตัวสามารถลดอาการอาเจียนได้อย่างวิตามิน B6 ก็พบว่าสามารถช่วยเรื่องอาการคลื่นไส้อาเจียนแพ้ท้องได้ดีเหมือนกัน ซึ่งคุณหมอเวลาจัดให้คุณแม่อาการต่างๆ พอดีขึ้นเราก็ดำเนินชีวิตได้ปกติมากขึ้น
จริงๆ แล้วก่อนที่จะถึงปลายไตรมาสแรกพอคุณหมอตรวจพบ น้องเริ่มพัฒนามากขึ้นในปลายไตรมาสแรกน้องเริ่มมีการพัฒนาแขนขามือเท้าที่สมบูรณ์ ในช่วงนั้นคุณหมอด้านเวชศาสตร์มารดาหรือคุณหมอสูก็จะมีการตรวจโดยวัดต้นคอเด็ก
ข้อดีขอการวัดอัลตราซาวด์ดูต้นคอเด็กสามารถทำนายได้ทั้งดาวซินโดรม หรือกลุ่มโคโมโซมที่ผิดปกติหรือกลุ่มโรคต่างๆ ที่ผิดปกติได้ซึ่งจริงๆ ในส่วนที่เราดูต้นคอยังมีตัวชี้แนะอีกหลายตัว อย่างเช่น เราพบภาวะหินปูนที่ห้องหัวใจน้อง หรือเราตรวจอัลตราซาวด์เราพบว่า ส่วนกระดูกดั้งจมูกของน้องไม่มีหรือสั้นกว่าปกติ
อันนี้ก็จะเป็นตัวทำนายเหมือนกัน จริงๆ ในยุคปัจจุบันเรามีการอัลตราซาวด์เชิงลึกเพื่อคัดกรองโรคต่างๆ ในไตรมาสแรกของน้องด้วย ในไตรมาสแรกเราพบว่ากระเพาะอาหารน้องจะเริ่มทำงานก็คือน้องจะเริ่มมีการกลืนน้ำคร่ำเข้ามา
ฉะนั้นในปลายสัปดาห์ที่ 11-12 เราควรอัลตร้าซาวด์แล้วก็เห็นกระเพาะของน้องทำงาน ซึ่งตัวนี้ก็เป็นตัวหนึ่งที่บอกสุขภาพบางอย่างหรือการทำงานของอวัยวะบางอย่างของเขาได้ ในไตรมาสแรกเราสามารถตรวจลิ้นหัวใจการรั่วได้ด้วย
ซึ่งข้อดีของการตรวจลิ้นหัวใจรั่วก็คือ มันบ่งชี้ถึงความผิดปกติของสุขภาพน้อง เป็นทั้งตัวหนึ่งที่บ่งชี้ได้ว่าน้องอาจจะมีความผิดปกติ เพราะว่าเด็กดาวซินโดรมเราพบว่าอาจจะพบมีภาวะลิ้นหัวใจด้านขวารั่วได้บ่อยกว่าเด็กอื่น รวมทั้งลำไส้บางคนมีลำไส้ที่เข้มกว่าปกติก็จะมีกลุ่มโรคบางอย่างที่ทำให้ลำไส้เข้มกว่าปกติ
ในเคสที่คุณแม่น้ำหนักไม่สูง หน้าท้องไม่ใหญ่มากในบางเคสก็สามารถเห็นได้ในระดับแขนขามือเท้า ซึ่งน้องบางคนน่ารักร่วมมือดีก็แบนิ้วให้เรานับด้วยตั้งแต่ไตรมาสแรกเลย
ปลายไตรมาสแรกเราจะมีการเจาะเลือดต่างๆ พอไตรมาสที่ 2 จะเป็นช่วงที่คุณแม่มา Follow up เราก็จะมีการแนะนำถึงผลเลือดต่างๆ ที่คุณแม่ได้เจาะว่ามีความผิดปกติผิดเพี้ยนอะไรไหมในช่วงประมาณ 15-16 สัปดาห์
พัฒนาการลูกในครรภ์ไตรมาสที่2
จากนั้นโครงสร้างของเขาพัฒนาอีกเราสามารถดูโครงสร้างที่ละเอียดอ่อนได้ อย่างเช่นการทำงานของไตหรือการพัฒนาของเนื้อไตเราก็จะเริ่มเห็นชัดขึ้นเลยตั้งแต่เริ่มไตรมาสที่ 2 พอกลางไตรมาสประมาณ 18-22 สัปดาห์ จะเป็นช่วงที่เช็กโครงสร้างโดยละเอียดของเด็ก
จะมีการตรวจโครงสร้างหลายๆ ส่วนของเด็กที่มีการพัฒนา เรารู้ว่าปกติเราตั้งครรภ์อยู่ที่ 9 เดือน สำหรับ 5 เดือนเรียกได้ว่าเกินครึ่งทางแล้วเรามาโฟกัสแล้วว่าการพัฒนาของน้องในท้องมีมากขึ้นมีอะไรที่มันผิดเพี้ยนไหม
ต้องบอกว่าตลอด 9 เดือนน้องเขาพัฒนาตลอดแล้วก็ไม่เพียง 9 เดือนที่เขาพัฒนาตลอดหลังจากคลอดเขาก็มีการพัฒนาอีกจะเหมือนกับที่อาจารย์หมอด้านพัฒนาการเด็กได้บอกไป เขาก็จะมีการพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ แต่ในแต่ละเดือนจะมีจุดโฟกัสที่เขามีการพัฒนาไปเรื่อยๆ
อย่างเดือนที่ 4 15-16 สัปดาห์ อวัยวะภายนอกของเด็กจะพอเห็นเพศแล้วว่าเป็นชายหรือหญิง ก็สามารถดูเรื่องเพศได้ ส่วนอื่นที่การทำงานเห็นชัดมากขึ้นในประมาณหลังไตรมาสแรกเข้าสู่ไตรมาส2 ก็อาจจะเห็นน้องมีการทำงานของไตเราอาจจะเห็นปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะของน้องก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่เราเห็นชัดมากขึ้น ในทางการแพทย์เราก็จะมีการตรวจอัลตร้าซาวด์เรียกว่ามาร์คเกอร์ต่างๆ ของเด็ก
ในไตรมาส 2 เช่น ต้นคอในไตรมาสแรก ต้นคอในไตรมาส 2 เราก็จะมีตัววัดเช่นกัน และส่วนอื่นๆ อีกที่เรามีการวัด ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างต่างๆ อวัยวะต่างๆ รวมถึงเราจะมีการวัดน้ำหนักน้องด้วยว่าขึ้นอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมไหม คุณแม่บางคนอาจจะกังวลในไตรมาสแรกแพ้มากน้ำหนักลดลง
น้ำหนักคุณแม่ไตรมาสที่2
แต่พอไตรมาส 2 โดยปกติแล้วก็จะแพ้ลดลง ทีนี้อาการแพ้ลดลงคุณแม่เริ่มทานได้ เราก็มาโฟกัสว่าน้ำหนักคุณแม่ที่ขึ้นมาเหมาะสมไหม ส่วนที่ 2 การขึ้นน้ำหนักของคุณแม่ที่เหมาะสมไปถึงน้องไหมบางคนคุณแม่ขึ้นดีมากแต่น้องยังตัวเล็ก ซึ่งถ้าน้องเล็กมากนอกจากภาวะที่คุณแม่กินผิดวิธีหรือกินอาหารผิดประเภททำให้น้องไม่โตและไปลงคุณแม่อย่างเดียว
มันก็จะมีอีกอย่างส่วนที่เราพบน้องตัวเล็กก็อาจมีภาวะผิดปกติเกิดขึ้น เช่น ภาวะติดเชื้อซ้อนแสงบางอย่าง หรือการทำงานของรกที่ไม่ค่อยดีส่งอาหารไม่ดีตั้งแต่ไตรมาสแรก ตั้งแต่ปลายไตรมาสแรกเข้าไตรมาส 2 น้องก็ตัวเล็กผิดปกติ
ความผิดปกติที่พบบ่อยไตรมาสที่2
ไตรมาสที่ 2 เราดูเรื่องความผิดปกติของน้องความสมบูรณ์ของน้องและการเจริญเติบโตของน้องว่าเหมาะสมไหม ส่วนอื่นๆ ที่อยู่รอบๆ คุณหมอก็จะมีการโฟกัสดูทั้งรก การไหลเวียนของเลือดที่สายสะดือหรือที่สามารถทำนายการทำงานของรกได้บางส่วน และสุขภาพคุณแม่ก็จะเริ่มเปลี่ยนไปถึงแม้จะแพ้น้อยลงแต่ว่าพอหลังจาก 4-6 เดือน
ภาวะเบาหวาน
น้ำหนักคุณแม่จะเริ่มเพิ่มขึ้นซึ่งตรงนี้จุดหนึ่งคุณหมอก็จะดูน้ำหนักการเพิ่มแต่ละช่วงของเดือนที่มาฝากครรภ์เหมาะสมไหมหรือเป็นภาวะเกินภาวะที่น้ำหนักขึ้นมากเกินไปจากการกินอาหารผิดประเภท มีภาวะเบาหวานเกิดขึ้นไหม หน้าท้องที่เล็กเกินไปน้ำคร่ำน้อยไปไหม หรือหน้าท้องที่ใหญ่เกินไปน้องก็โตปกติแต่น้ำคร่ำเยอะจนทำให้หน้าท้องคุณแม่ขยายก็จะเป็นภาวะที่ไตรมาส 2 ที่เราดูได้
ภาวะแท้ง
ส่วนอีกอันที่ปัจจุบันเราตรวจกันมากขึ้นคือการวัดความยาวปากมดลูกในการคัดกรองจริงๆ แล้วเราจะคัดกรองเฉพาะกลุ่มคุณแม่ที่มีความเสี่ยง อย่างเช่น เคยมีประวัติคลอดก่อน เคยมีประวัติแท้งน้องในช่วงไตรมาสที่ 2 ความยาวปากมดลูกเป็นตัวหนึ่งที่เราพบว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติทำให้เกิดภาวะแท้งน้องได้ แล้วก็เกิดภาวะคลอดก่อนกำหนดได้ด้วย
ภาวะครรภ์เป็นพิษ
ทีนี้การที่เราเกิดภาวะแบบนี้เราต้องบอกว่าบางที่การตรวจที่ดูระยะการเปลี่ยนแปลงของปากมดลูกมันทำนายได้ดีพอสมควรเลย จริงในปัจจุบันถ้าไตรมาสนี้ถ้าในต่างประเทศหรือในโรงพยาบาลใหญ่ๆ หลายๆ ที่เราจะมีการเจาะเลือดทำนายค่าการเกิดความผิดปกติที่จะเป็นภาวะครรภ์เป็นพิษ
เราจะมีการตรวจเอนไซน์บางตัวหรือสารเคมีในเลือดบางตัวที่ทำนายได้ว่าปกติเรารู้ว่าการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษจะเกิดหลัง 20 สัปดาห์ แต่จะมีสารเคมีบางตัวที่เจาะตัวนี้แล้วเราพบว่าอีกประมาณ 6-8 สัปดาห์ก็จะเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษได้ ซึ่งค่าทำนายก็ดีพอสมควรประมาณ 70 กว่าเปอร์เซ็นต์ ถ้าคุณแม่ที่มีความเสี่ยงหมอแนะนำเลยว่าอาจจะตรวจตัวนี้เพิ่ม ส่วนคุณแม่ที่ไม่มีความเสี่ยงคุณแม่จะตรวจเพิ่มก็ต้องคุยกับคุณหมอก่อน
อย่างสรีระที่เปลี่ยนแปลงไป ที่พูดถึงเรื่องปวดหลังบางคนก็จะเริ่มเกิดตั้งแต่ภาวะช่วงปลายไตรมาสที่ 2 เข้าสู่ไตรมาสที่ 3 เพราะสรีระที่เรามีขนาดมดลูกที่โตมากขึ้นนอกจากทำให้เราอึดอัดแน่นมากขึ้น
บางส่วนของคนไข้ที่ช่วงโครงร่างรูปร่างค่อนข้างเล็กมันจะมีการเบียดถึงระดับซี่โครงทั้ง 2 ข้าง บางคนคุณแม่มีการเจ็บซี่โครงด้วย บางส่วนก็มีการเจ็บไปที่หลัง ที่นี้เมื่อมีการเบียดแบบนี้มากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากเกิดภาวะที่เจ็บ ทั้งปวดหลัง ทั้งปวดชายโครง บางคนก็เป็นกรดไหลย้อนเพิ่มขึ้นอันนี้ก็เกิดขึ้นได้ตั้งแต่ปลายไตรมาส 2 เข้าสู่ไตรมาส 3
ทีนี้ในส่วนไตรมาสที่ 3 จริงๆ ตั้งแต่ต้นไตรมาสที่ 3 เราจะมีการ Repeat การตรวจเป็นการตรวจคัดกรองเบาหวาน การตรวจเลือดการติดเชื้อในไตรมาสที่ 3 เพี่อดูว่ามีการติดเชื้ออะไรเพิ่มเติมไหมแล้วคุณหมอก็จะมีการ Follow ทั้งการโตของหน้าท้องคุณแม่ การเพิ่มขึ้นของน้ำหนักของคุณแม่แล้วก็มีการเช็กอัลตราซาวด์น้องโตเหมาะสมกับส่วนที่ควรจะเป็นไหม
พัฒนาการลูกในครรภ์ไตรมาสที่3 เราพบว่าตั้งแต่ 7 เดือน คนไข้กว่า 70-80% ทารกบางคนจะเริ่มกลับหัวแล้ว ซึ่งถ้าบางคนกลับคุณแม่ก็จะมีอาการปวดหลัง ปวดเหนือหัวเหน่า แล้วก็อาจจะมีการปวดขาหนีบ ในบางเคสที่มีอาการเรียกว่ามดลูกมีการเกร็งตัวบ่อยคุณแม่นกจากมีการปวดหลังสิ่งที่ต้องระวังก็คือพอมีการแข็งตัวของมดลูกบ่อยเราต้องระวังเรื่องการเจ็บท้องก่อนกำหนด
ซึ่งภาวะนี้เป็นภาวะที่ต้องบอกว่าถึงแม้เราจะมีการตรวจการทำนายแต่เนื่องจากมีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด ฉะนั้นอาการต่างๆ ที่ไม่แน่ใจคุณแม่ต้องไปปรึกษาคุณหมอที่ฝากครรภ์ คุณหมอที่ฝากครรภ์ก็จะเป็นเหมือนนักสืบค้นว่าคุณแม่มีความเสี่ยงตรงไหนมีอาการอะไรที่ผิดสังเกต
ปัจจุบันมีเครื่องที่ตรวจวัดสุขภาพเด็กโดยเราเอาไปวัดที่หัวใจน้องวัดเสร็จเราก็จะมีเครื่องวัดการบีบตัวของมดลูกซึ่งตรงนี้ถ้าเรามีการบีบตัวมดลูกที่มากกว่าปกติ ถี่มากกว่าปกติและผิดปกติเราก็สามารถดูได้ว่าความถี่ที่มากขึ้นส่งผลให้ปากมดลูกมีการเลี่ยนแปลงเปิดหรืออ้าออกก่อนกำหนดไหม ส่วนสุขภาพหัวใจหมอก็จะตรวจได้ในไตรมาส 3 ถ้าน้องที่สุขภาพดีนอกจากโตดี การดรอปของหัวใจที่น้องเต้นก็เป็นอีกสัญญาณหนึ่งที่อาจจะบ่งชี้เด็กที่สุขภาพไม่ดี
ช่วงฝังตัวระยะแรก
เป็นการฝังตัวที่เหมือนเราปลูกต้นไม้เป็นช่วงที่ละเอียดอ่อน ฉะนั้นการสะเทือนที่รุนแรง การเกาะของเขายังเป็นระดับถุงน้ำคร่ำมาเกาะรกก็ยังบางอยู่การฝังตัวของรกเข้าสู่ผนังมดลูกก็ยังไม่เหมาะสม ฉะนั้นกิจกรรมใดๆ ที่คุณแม่ทำแล้วเสี่ยงต่อการสะเทือน
เช่น คุณแม่บางคนเป็นนักแบท ไปตีแบทหรือบางคนชอบกระโดดเชือก กีฬาที่สะเทือนมากๆ กีฬาที่มีความเสี่ยงที่จะมีการกระทบกระแทกกระเทือน เป็นสิ่งที่ไตรมาสแรกต้องเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง ส่วนที่ 2 ในไตรมาสแรกน้องจะเป็นช่วงที่ละเดียดอ่อนและ Sensitive ต่อสารเคมีและยาต่างๆ
บางคนอาจมีการใช้ยาประจำคุณแม่สามารถไปปรึกษาคุณหมอได้ครับว่ายาตัวนี้เราต้องเปลี่ยนไหม หรือยาตัวนี้เราสามารถทานต่อได้ไหมเพื่อควบคุมโรคที่เรามีอยู่หรือคุณแม่บางคนอาจมีการทานวิตามินหลากหลายเยอะมาก ซึ่งวิตามินบางตัวถ้ามากเกินความจำเป็นที่ควรจะมีก็จะมีเอฟเฟกต์กับเด็ก
ข้อห้ามช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสที่2
ป็นช่วงที่แฮปปี้ที่สุดอาการแพ้หายไป ในเคสที่คุณแม่ชอบออกกำลังกาย ในไตรมาสที่ 2 เป็นช่วงที่เริ่มได้ จะสามารถออกกำลังกายเบาๆ บางประเภทได้ เช่น การว่ายน้ำ การเดินจ๊อกกิ้ง แต่ก็ยังแนะนำว่ากีฬาที่มีการกระแทกกระเทือนหรือเสี่ยงต่อการล้ม เช่น คุณแม่ชอบปั่นจักรยานขึ้นลงภูเขา
พวกนี้จะเสี่ยงต่อการหกล้มซึ่งคนท้องหกล้มไม่ดีอยู่แล้ว นอกจากเราช้ำเราก็ไม่สามารถประเมินได้ว่าลูกเราจะเป็นอย่างไรลูกเราจะอันตรายไหมก็กลายเป็นความกังวลเราก็ต้องมาพบคุณหมออีก
ข้อห้ามช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสที่3
สรีระเราเปลี่ยนไปเยอะน้ำหนักเราขึ้น การออกกำลังกายก็ค่อนข้างลำบาก ในไตรมาส 2 กับ 3 ในส่วนที่ออกกำลังกายหรือส่วนที่ปรับชีวิตที่เหมาะสม อย่างเช่น การออกกำลังกายโดยการเล่นโยคะ การยืดกล้ามเนื้อหลังในท่าที่สะดวก ใช้ชีวิตการทำงานในท่าที่ไม่ Fix เกินไป
เช่น บางคนอาจจะต้องทำงานหน้าจอต้องนั่งหน้าคอมประมาณวันละ 6-8 ชั่วโมง จะแนะนำว่านั่งทำได้แต่เราอาจจะมีการพักสายตา เราอาจจะต้องเปลี่ยนสรีระ อย่างเช่น นั่งสักพักหนึ่งเราก็อาจจะเปลี่ยนท่าเพื่อรีแลกซ์ ทั้งความเครียด ทั้งการพักสายตา ก็มีส่วนทำให้คุณแม่ไม่อึดอัด มีส่วนการพักกล้ามเนื้อการปวดหลังก็จะดีขึ้น
ส่วนคุณแม่ที่ขับรถเองหมอแนะนำว่าการใช้หมอนรองการใช้เบาะที่นุ่มมากขึ้นหรือแม้แต่บางทีคุณแม่ที่น้ำหนักตัวเพิ่มเร็วจะแนะนำเปลี่ยนรองเท้าที่นุ่มขึ้นเพราะบางคนน้ำหนักขึ้นมากๆ ก็เป็นรองช้ำพบว่าส้นเท้าหรือเอ็นข้อเท้าต่างๆ อักเสบและปวดได้
ก็เป็นการปรับตัวเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้ชีวิตแต่ละไตรมาส ทีนี้โควิดเข้ามาชีวิตเราเปลี่ยนแปลงหมด เราก็พบว่าบางอย่างเราอยากทำก็ทำไม่ได้ การออกกำลังกายก็อาจจะเปลี่ยนแปลงไป เราต้องบาลานซ์ระหว่างอันตรายที่เกิดขึ้นกับสุขภาพที่เรามี
ฉะนั้นหมอคิดว่าคนท้องก็ยังออกกำลังกายได้เราอาจจะเลือกสถานที่ อย่างเช่น แทนที่จะเดินนอกบ้านก็อาจจะเป็น Exercise ในบ้าน การที่จะไปสถานออกกำลังกายเราอาจจะต้องเลือกที่ๆ ไม่แออัด ตลอดจนการว่ายน้ำระหว่างตั้งครรภ์จริงๆ เหมาะสมแต่เราอาจจะเลือกบริเวณสระที่ผู้คนไม่พลุกพล่าน
อาจจะมีความเป็นส่วนตัวเพื่อลดการแพร่เชื้อ จริงๆ การว่ายน้ำต้องบอกว่าคนท้องถึงไม่ได้ว่ายน้ำเขาก็มีโอกาสจะเป็นตะคริวได้ง่ายขึ้น ฉะนั้นถ้าคุณแม่ไปว่ายน้ำหมอแน่นำอย่างหนึ่งคุณแม่ต้องมีบัดดี้ไม่ว่าจะเป็นคุณพ่อหรือเพื่อนไปด้วยพอเกิดอะไรขึ้นมาอย่างน้อยช่วยเราได้
ความเครียดเป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ตั้งแต่เราตั้งท้องแรกๆ เพราะบางเคสอาจมีการตั้งครรภ์ที่ยังไม่พร้อมมันก็เกิดความเครียดแล้ว หรือพอตั้งครรภ์ขึ้นมามีการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนของร่างกาย ซึ่งคุณแม่ก็จะเกิดความเครียดตลอดจนถึงภายนอกสมมุติในช่วงนี้คุณแม่ตั้งครรภ์ขึ้นมาเชื้อโรคต่างๆ สภาวะแวดล้อมต่างๆ ไม่ว่าจะฝุ่น PM2.5 โควิด ต่างๆ เข้ามาทีนี้การต้องอาศัยทั้งตัวคุณแม่เองการรีแลกซ์เป็นส่วนหนึ่งซึ่งบางทีเราบอกอยาก
คนรอบข้างช่วยคลายความเครียด
ส่วนที่ช่วยได้มากๆ คือคนข้างตัวคุณพ่อคุณตาคุณยายที่อยู่รอบข้างต้องคอยเฝ้าสังเกตเพราะว่าคนท้องบางคนจะมีการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนและเกิดภาวะซึมเศร้าได้ ฉะนั้นคนรอบข้างอาจจะมีส่วนช่วยที่คนรอบข้างเองอาจจะไม่ได้อุ้มท้องเขาอาจจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนและเขาก็สามารถเฝ้าสังเกตคนท้องได้ว่าภาวะเป็นอย่างไร
คุณพ่อก็อาจจะมีหน้าที่หลักคุณแม่อยากทานอะไรที่สามารถเซอร์วิสคุณแม่ได้คุณพ่อช่วย คนท้องจะมีอารมณ์ที่เหวี่ยงอาจจะดีหรือเลวหรืออารมณ์เปลี่ยนแปลงเร็วคุณพ่อมีส่วนช่วยในการรับมือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนคุณพ่อก็ดูแลคุณแม่ได้ คุณแม่ก็จะมีความรีแลกซ์
พักผ่อนที่เพียงพอ
ต้องบอกว่าเวลาเราท้องการได้ยิน การรับรสการรับกลิ่นเราจะเปลี่ยนไปทำให้การหลับนอนที่ไม่สนิทก็เกิดความเครียด การรับมือกับความเครียดก็ทำได้เหมือนกับเรื่องทั่วๆ ไปก็คือบางทีเราก็อาจจะไปเที่ยวชายทะเลบ้าง
เพลงช่วยผ่อนคลาย
การเปิดเพลงได้ประโยชน์นอกจากคุณแม่ฟังเพลงแล้วเราพบว่าเพลงดนตรีบางประเภท เช่น เพลงโมสาร์ท เพลงดนตรีบางประเภทช่วยเสริมทักษะด้าน EQ ของน้องด้วย ซึ่งตรงนี้เป็นประโยชน์คุณแม่ได้รีแลกซ์ การผ่อนคลายจะมีการหลั่งสารบางอย่างที่ช่วยให้กล้ามเนื้อเราคลายตัวและเกิดการผ่อนคลาย
ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่แนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่หรือคุณแม่มือเก่าท้องที่ 2 ท้องแรกเราไม่ได้ทำอะไรเลยท้องที่ 2 เราอาจมีการเปิดเพลงกระตุ้นแล้วเราก็ได้พักผ่อนคุณพ่อคอยดูคอยสังเกตอาการคุณแม่แล้วก็พาไปเที่ยว การทำกิจกรรมบางอย่างร่วมกันก็สามารถช่วยได้คนในครอบครัวช่วยกันคุณแม่เหนื่อยมามากแล้วอุ้มท้องมาตลอด 9 เดือน เขาต้องการคนดูแลร่วมด้วยที่ดี
ซึ่งถ้าทั้งครอบครัวคนรอบข้างช่วยกันดูแลดี คุณแม่เองบางครั้งอาจจะรับมือไม่ไหวคนเดียว แต่ว่ามีคุณพ่อ คุณปู่คุณย่า คุณตาคุณยาย ช่วยกันดูแลคุณแม่เป็นตัวสำคัญเลยทุกๆ คนเป็นปัจจัยที่มีส่วนให้คุณแม่ดำเนินการท้องตลอด 9 เดือน คุณแม่คลอดหลานหรือลูกที่น่ารักออกมาเป็นความสุขของทุกๆ ท่าน
หมั่นสังเกตตัวเอง
คุณแม่พอจับจุดได้ว่าเราเริ่มเครียด ถ้ารับมือกับปัญหาไม่ไหวสิ่งที่ช่วยได้ก็คือการพูดคุยไม่ว่าจะพูดคุยกับเพื่อนสนิท การพูดคุยกับแฟน การพูดคุยกับคนในครอบครัว ต้องบอกว่าเหมือนหลักจิตวิทยาคุณหมอที่มีการรักษาคนไข้ที่มีความเครียด
คุณหมอจะให้เขาพูดคุยระบายออกมาในส่วนที่เขามีความกังวลส่วนที่เขาไม่สบายใจคนที่อยู่รอบข้างจะเป็นคนที่มีการเสริมไม่ว่าจะเป็นการรับฟังเฝ้าดูเขา ภาวะที่มีเหล่านี้ในเคสบางเคสถ้ารับมือด้วยตัวเองได้คุณแม่เยี่ยมมาก แต่ถ้าเราไม่ไหวจริงๆ คุณแม่สามารถปรึกษาคุณหมอได้ คุณหมอจะมีการประเมินสกอร์ความเครียดอยู่ระดับไหนแล้วก็ส่งปรึกษาอาจารย์ที่เป็น Special list ด้านเกี่ยวกับความเครียดแล้วก็มีกิจกรรมให้ทำ
เราพบว่าโควิดตอนนี้มีลักษณะที่เข้าแล้วออกไปแล้วคงอยู่กับเราโดยที่เราสามารถใช้ชีวิตอยู่โดยไม่เป็นอันตรายกับชีวิตมากนักเราอาจมีการจัดกิจกรรมเพื่อคุณแม่ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยในการผ่อนคลาย บางคนท้องแรก 9 เดือนจะคลอดอย่างไรคุณแม่สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญแล้วก็ฟังรายการรักลูก
คุณแม่ก็จะมีประสบการณ์ในส่วนที่ได้ยิน Expert แต่ละท่านมาพูดตลอดจนเราได้ข้อมูลข่าวสารบางอย่างที่เราสงสัยเราอาจจะเก็บความสงสัยแล้วไปถามข้อมูลกับคุณหมอที่ฝากท้องไม่จำเป็นต้องเก็บไว้คนเดียว หลายอย่างเราคิดได้กังวลได้แต่ถ้าเรามีการพูดคุยเราอาจจะรู้ว่าจริงๆ แล้วสิ่งนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เป็นอันตรายหรือการเปลี่ยนแปลงนี้เราสามารถรับมือได้เมื่อเราไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
ติดตามฟังได้ที่รายการรักลูก The Expert Talk
Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB
Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX
Youtube: https://bit.ly/3cxn31u