“ความเครียด” เป็นอาการที่ฟังดูแล้วไม่เป็นมิตร แต่คุณพ่อคุณแม่รู้ไหมว่า มีความเครียดประเภทที่เกิดขึ้นแล้วดี!! และก็มี “ความเครียดที่เป็นพิษ” ที่เมื่อเกิดกับลูกแล้วส่งผลกระทบแน่นอน
ชวนฟังความเครียด 3ประเภท เพื่อเรียนรู้ เตรียมพร้อมและรับมือเพื่อไม่ให้กระทบกับสมองและพัฒนาการ โดย The Expert ผศ. ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
ความเครียดเป็นเรื่องใกล้ตัวเรามากเวลาที่เราเกิดความเครียด เวลาที่เราวิตกกังวล กลัว หวาดระแวง คิดมาก นอนไม่หลับ เป็นเรื่องที่ไม่ปกติ ทั้งเราไม่ปกติและเหตุการณ์ไม่ปกติ แต่ความเครียดไม่มีเลยไม่ได้ความเครียดเป็นสิ่งที่อยู่กับเรา มองความเครียดดีๆ ความเครียดมีหลายประเภท ความเครียดหลีกเลี่ยงไม่ได้ เราต้องมีความเครียดเพราะเป็นความรู้สึกที่ทำให้เราเติบโตและพัฒนาตัวเอง เติบโตจากข้างใน Mindset เราเติบโตได้เมื่อเราผ่านพ้นปัญหาและอุปสรรคไปได้ หรือสิ่งที่ทำให้เราเครียด ทำใจเลยว่าเครียดอยู่กับเรา และความเครียดเป็นเรื่องที่ดี เหตุการณ์ที่เข้ามากระทบเราควบคุมไม่ได้ แต่ความเครียดเราควบคุมได้
ความเครียดคือเวลาที่เราต้องคิดมาก ปวดหัว คิดไม่ตก ระแวง กลัว คิดมาก เป็นสิ่งที่เกิดกับด้านจิตใจ และที่เกิดกับด้านสรีระเรา เป็นการตอบสนองต่อเหตุการณ์ แล้วร่างกายมุนษย์สามารถตอบสนองต่อความเครียดได้ โดยใช้วงจรประสาทอัตโนมัติ คือ เวลาที่เราเจอความเครียด กลัว กังวล ประสาทอัตโนมัติ จะส่งสัญญาณกัน จากนั้นต่อมหมวกไตจะหลั่งสารเครียดออกมาคือ อะดรีนาลีนและคอร์ติซอล ทำให้หัวใจเต้นแรงขึ้น ม่านตาขยาย เลือดลมสูบฉีด ระดับน้ำตาลสูงขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมให้เรารับมือกับภัยที่กำลังคุกคามกายหรือจิตใจเราอยู่ นี่คือการตอบสนองร่างกายเมื่อรู้สึกเครียด
หากความเครียดนั้นเรารับมือ มีปัญหาในชีวิตประจำวัน รับมือและผ่านไปได้ คือการตอบสนองความเครียดแบบบวก Positive Stress หมายความว่า เมื่อผ่านพ้นความเครียด ปัญหาถูกแก้ไข ระดับจิตใจเราสูงขึ้น ปัญญาเราสูงขึ้น เกิดความภาคภูมิใจในตัวเองมากขึ้น เช่น เด็กคนหนึ่งตอนที่เราจะเข้ามหาวิทยาลัยเกิดความเครียด เราวางแผนต่างๆ พอเข้าได้ความเครียดหาย พอเราผ่านพ้นเหตุการณ์ไปแล้วจะเกิดความภาคภูมิใจในตัวเอง เกิดการเรียนรู้ ชีวิตพัฒนาก้าวไปข้างหน้า นี่เป็นระดับความเครียดจากสถานการณ์ในชีวิตประจำวันที่เกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วเราปรับตัวได้
ตอนเกิดการเปลี่ยนแปลงร่างกายก็จะหลั่งสารเครียดออกมา เพื่อให้เราสามารถตื่นตัว เหมือนเวลาที่งานไม่เสร็จก็จะกระตุ้นให้งานเสร็จได้ ทำให้เราเตรียมพร้อม รับมือ แล้วก็ผ่านไปได้ ผลหลังจากนั้นก็เป็นทางบวก เราก็ได้กับมัน
ความเครียดแบบ Positive Stress ทิ้งร่องรอยไว้?
ไม่ทิ้ง เพราะทางจิตใจเราก็รู้สึกภาคภูมิใจและฟิน เมือฟินสารเครียดก็กลับเข้าไป ไม่อยู่ ไม่สะสม กลับเข้าสู่ภาวะปกติ ไม่ได้เป็นการทำงานของระบบความเครียดอีกต่อไป
ความเครียดระดับที่ทนได้ ตอบสนองความเครียดระดับที่เราทนได้ เมื่อเราต้องไปเจอกับสถานการณ์ที่ไม่ถูกใจ ไม่ใช่เรื่องที่เกิดในชีวิตประจำวัน หรือปรับเปลี่ยนในช่วงวัย เช่น วัยเด็กที่ต้องเข้าอนุบาล เราสามารถพอจะเดาออกและรับมือได้ หรือการเกิดปัญหาในชีวิตประจำวันเล็กๆ น้อย หาอะไรไม่เจอแล้วต้องใช้ ลืมของไว้ที่รร. นี่คือประเภทที่1 ส่วนประเภทที่2 จะวิกฤตขึ้นมา เช่น การสูญเสีย แมวตาย การแยกจาก การสูญเสียพ่อแม่ ญาติ หรือการที่ต้องแยกจากไปจากพ่อแม่ แบบกะทันหัน เป็นความเครียดที่เกิดขึ้นผ่านไปได้ ถ้ามีคนมาช่วยซัพพอรท์ทางด้านอารมณ์ จิตใจของเรา
หากเกิดสถานการณ์รุนแรง ร้ายแรงในครอบครัว ต้องบอกว่าการตอบสนองความเครียดเหมือนเดิม แต่ไม่อยู่นานถ้าพ่อแม่ ซัพพอร์ต อยู่ข้างๆ ขณะหนึ่งเพื่อให้ผ่านสถานการณ์นั้นไปได้ เป็นความเครียดที่ทนได้ เป็นการตอบสนองต่อความเครียดที่เราทนได้ ผลหลังจากนั้นคือเราได้เรียนรู้ว่าเหตุการณ์ร้ายๆ เราสามารถอยู่ได้รอดได้ เพราะฉะนั้นในครั้งต่อไป หากเกิดเหตุการณ์แบบนี้ ความสามารถของเราจะรับมือได้ง่ายขึ้น เมื่อเรารู้ว่าเกิดสถานการณ์แบบนี้ จะรับมือยังไง มีอยู่สองอย่างคือ เมื่อเกิดสถานการณ์เลวร้ายเกิดขึ้น ประสบการณ์เดิมเรียนรู้แล้วว่า จะมีใครสักคนอยู่ข้างๆ ที่จะผ่านพ้นไปได้ เราเคยผ่านเรื่องนี้มา และนี้เป็นอีกเรื่องที่เราจะผ่านไปได้และเราเคยใช้วิธีการอะไรเมื่อก่อน ครั้งนี้ก็จะทำได้ เป็นประสบการณ์เดิมที่ทนได้ เพราะเราผ่านมันมาได้แล้ว
ความเครียดที่ทนได้ ใช้ได้กับสถานการณ์ที่ผ่านมา ทั้งภัยพิบัติ ช่วงโควิดเป็นช่วงที่พ่อแม่เองก็ต้องการคนมาซัพพอร์ทให้ผ่านพ้นวิกฤต ลูกเองก็จำเป็นต้องมีพ่อแม่หรือคนใกล้ชิดมาซัพพอร์ทไปได้ด้วย ไม่ทิ้งร่องรอยแต่ทิ้งประสบการณ์เดิมที่มีคุณภาพให้ใช้ในอนาคตแล้วก็ทนได้
การตอบสนองความเครียดแบบเป็นพิษ ดู 3 เรื่องคือ เป็นความเครียดแบบรุนแรง สถานการณ์ทำให้เครียดมาก
เช็กว่าลูกกำลังอยู่ในสภาวะ Toxic Stress
-มีเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียด
-พ่อแม่ไม่ได้ซัพพอร์ตลูกทางอารมณ์
-ปล่อยปละละเลยทางด้านร่างกายและอารมณ์ ด้านร่างกายอาจจะไม่ห่วง แต่ในช่วงโควิดที่ผ่านมาพ่อแม่อาจจะปล่อยปละละเลย เพิกเฉยอารมณ์ของลูก
ช่วงนี้ครูหม่อมมีพ่อแม่มาปรึกษาเรื่องลูก ครูจะถามว่าเวลา wfh กับลูกและลูกเรียนที่บ้าน
1.เวลาที่ลูกวิ่งมาหาแล้วเบรคลูก เดี๋ยวก่อนอย่าเพิ่ง ห้ามเข้าห้อง ห้ามเข้ามากำลังประชุม คือลูกเล็กทั้งวัน บางทีคิดถึง พอวิ่งเข้าไปก็โดนห้าม หากว่าเคย บ่อยไหม ถ้าไม่บ่อยไม่เป็นไร แต่ถ้าอยู่แบบนั้นนานๆ ความถี่ๆ บ่อย สะสมเป็นระยะเวลานาน นี่คือเกิด Toxic Stress เด็กจะเกิดคำถามว่าทำไมหาพ่อแม่ไม่ได้ ทำไมพ่อแม่ปฏิเสธมา
2.ถูก Abuse ทางร่างกายและจิตใจ ทางเพศ ถ้าลูกประสบสถานการณ์แบบนี้ ถ้าไม่รู้แล้วไม่มีใครมาซัพพอร์ทก็เกิด Toxic Stress ได้ แต่ถ้าช่วยซัพพอร์ท ก็จะกลายเป็นความเครียดที่ทนได้
3.ดูคนในครอบครัวว่ามีใครมีปัญหาสุขภาพจิตไหม มีคนใช้สารเสพติดหรือเปล่า หรือว่ามีการแยกจากแบบกะทันหัน หย่าร้าง หากไม่มีคนไปซัพพอร์ตก็จะเกิด Toxic Stress
Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB
Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX
Youtube: https://bit.ly/3cxn31u