รักลูก The Expert Talk Ep.55 : “ไข้หวัดใหญ่” โรคต้องระวัง เป็นแล้วกระทบสุขภาพระยะยาว
หนึ่งในสี่ของโรคที่เด็กมักเป็นบ่อยโดยเฉพาะช่วงวัยอนุบาล คือโรคไข้หวัดใหญ่ เป็นแล้วมีโอกาสเป็นซ้ำอีก นั้นเพราะตัวเชื้อไข้หวัดใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงตลอด การรู้ธรรมชาติของโรค และการดูแลสุขอนามัยเป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะช่วยป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ได้
ฟังวิธีการรับโรคไข้หวัดใหญ่ โดย The Expert รศ.นพ.พงษ์ศักดิ์ น้อยพยัคฆ์
รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการและพฤติกรรม
ไข้หวัดใหญ่ก็เป็นการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง มีอยู่สามชนิดด้วยกันที่พบบ่อยๆ คือ ไข้หวัดใหญ่ชนิดA ชนิดB และชนิดC ซึ่งชนิดC พบได้น้อยแล้วไม่ค่อยรุนแรง เพราะฉะนั้นคนก็จะไม่ค่อยให้ความสําคัญ ส่วนชนิดA และB จะเจอกันได้บ่อยกว่า และชนิดA จะมีความรุนแรงมากกว่า
ซึ่งเชื้อไข้หวัดใหญ่จะมีการพัฒนาการตัวเองตลอดเวลา เราจะเห็นว่าเคยเป็นแล้วก็เป็นได้อีกหรือแม้กระทั่งรับวัคซีนไปแล้วปีหน้าก็ต้องรับวัคซีนอีกเพราะว่าตัวเชื้อ มีการเปลี่ยนแปลงตัวเอง เพราะฉะนั้นภูมิคุ้มกันที่เรามีครั้งหน้าก็อาจจะไม่สามารถป้องกันเชื้อตัวนี้ได้อีกแล้ว จึงทําให้เป็นแล้วเป็นอีก
โรคไข้หวัดใหญ่เป็นโรคติดต่อผ่านระบบทางเดินหายใจ เช่น การไอ จามอยู่ในพื้นที่ปิดก็มีโอกาสติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้ง่าย ส่วนใหญ่ที่ติดกันง่ายๆ ก็จะเป็นสายพันธุ์ทั้งAและB สำหรับการจะดูว่าเป็นไข้หวัดใหญ่หรือไข้หวัดทั่วไป คือ -ไข้หวัดใหญ่จะมีไข้สูงประมาณ 38.5-39ขึ้นไป -ปวดกล้ามเนื้อ ปวดตัว ซึ่งถ้าเด็กเล็กเป็นจะบอกยากเพราะเวลาที่ไม่สบายก็จะร้องไห้ งอแงก็อาจจะไม่รู้ว่าอาการที่เป็นนั้นคืออะไรบ้าง แต่เด็กโตหรือผู้ใหญ่ก็จะบอกอาการได้
ปัจจุบันนี้วิทยาการทางการแพทย์ก็มีความก้าวหน้า มีการตรวจภูมิคุ้มกันติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ แต่จริงๆ แล้วจะตรวจหรือไม่ตรวจถ้าหากว่าอาการชัดเจนและไม่รุนแรง จะรักษาเหมือนไข้หวัดทั่วไป ซึ่งสำหรับเด็กเล็กๆ หากมีอาการป่วยไม่ว่าจะเป็นไข้หวัดธรรมดาหรือไข้หวัดใหญ่ และมีไข้สูงกินยาลดไข้ และเช็ดตัวไข้ไม่ลง สิ่งหนึ่งที่มักจะเกิดขึ้นคือมักจะเกิดจากภาวะการขาดน้ำ การให้สารน้ําทดแทน เช่น ดื่มน้ําให้มากขึ้นก็จะทําให้อาการของโรครุนแรงน้อยลง อาการไข้ลดลง เด็กจะสบายตัวมากขึ้น แต่เวลาที่เด็กๆป่วยจะดื่มน้ําได้น้อย กินน้อย ซึ่งเมื่อไปโรงพยาบาลจะให้น้ำเกลือทางเส้นเลือดก็จะทำให้ไข้ลดลง ซึ่งหากอยู่บ้านแล้วอาการไม่ดีขึ้น การนอนโรงพยาบาลจะช่วยทําให้เด็กๆสบายขึ้น
สำหรับเด็กเล็กๆ หากไข้สูงมากก็มีโอกาสชักจากไข้สูง ดังนั้นการที่ดูแลที่บ้านก็อาจจะทําให้เกิดมีผลแทรกซ้อนที่เราไม่ต้องการตามมาด้วย ซึ่งไข้หวัดใหญ่อาจจะต่าง จากไข้หวัดทั่วๆไปคือจะมีอาการของระบบทางเดินอาหารร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้อาเจียนอาจจะมีท้องเสียที่เราเรียกว่าไวรัสลมกระเพาะ
ส่วนภาวะแทรกซ้อนทั่วๆไปของไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดทั่วไปก็จะคล้ายๆกัน ถ้าหากว่าตัวเชื้อลามขึ้นข้างบนก็จะมีอาการ เช่น หูชั้นกลางอักเสบไปจนถึงเป็นไซนัส หรือถ้ารุนแรงก็อาจจะขึ้นไปถึงทําให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ส่วนถ้าลงมาข้างล่างก็อาจจะลงไปที่ปอด หลอดลม หัวใจ คือสามารถมีอาการแทรกซ้อนขึ้นทั้งส่วนบนและส่วนล่างได้
จริงๆ แล้วหากเด็กป่วยนาน ป่วยรุนแรงก็จะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการ การเรียนรู้ชะงัก และบางครั้งเด็กมีพฤติกรรมถดถอยบางคนนอนโรงพยาบาลเป็นสัปดาห์ จากที่เคยพูดเก่ง กลับมาถึงบ้านพูดพูดน้อยลง เคยเดินได้คล่องกลับมาถึงบ้านก็อาจจะเดินได้น้อยลง
สำหรับการฉีดวัคซีนทุกชนิดที่เราใช้กันตอนนี้ ไม่ว่าจะเป็นโรคใดๆ ก็ตาม ไม่ได้ป้องกันโรคได้ 100% แล้วทำไมถึงป้องกันได้ไม่100% อาจจะเป็นเพราะว่าเวลาที่เราฉีดวัคซีนไปแล้ว ก็ขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันของคนแต่ละคน มันอาจจะขึ้นมาอยู่ในระดับที่สามารถจะป้องกันโรคได้แตกต่างกัน
1.หลีกเลี่ยงจากคนที่เจ็บป่วย ไม่อยู่ในพื้นที่แออัดและพื้นที่ปิดโดยเฉพาะช่วงที่มีการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ 2.ดูแลสุขอนามัยตัวเอง โดยเฉพาะโรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจที่ติดต่อผ่านสารคัดหลั่ง เช่น น้ํามูก น้ําลาย น้ําตา สอนให้ลูกล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ 3.กินอาหารให้ครบ 5หมู่และอาหารตามวัย เช่น อายุน้อยกว่า 1ปีอาหารหลักจะเป็นนมแล้วก็มีอาหารเสริม 4.ออกกําลังกายอย่างสม่ําเสมอ 5.พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ ไม่ให้ลูกเล่นเกมทั้งคืนและไม่ให้เล่นเกมมากไป
ความเจ็บป่วยที่จะรุนแรงมันขึ้นกับหลายปัจจัยด้วยกัน ได้แก่ หนึ่ง เชื้อที่ได้รับจำนวนมาก รับเชื้อที่รุนแรง และสอง ความแข็งแรงของร่างกาย หากร่างกายแข็งแรงก็อาจจะไม่รุนแรง เท่ากับคนที่ร่างกายอ่อนแอ และสาม ภาวะแทรกซ้อน เช่น มีโรคประจำตัว อย่างโรคหัวใจ โรคเรื้อรังต่างๆ โรคปอด โรคตับ โรคของเม็ดเลือดก็มีโอกาสที่จะทําให้เกิดความรุนแรง ได้มากขึ้น นอกจากนี้ในเรื่องของกระบวนการดูแลรักษาเมื่อตอนที่เริ่มเป็น หากดูแลเป็นอย่างดีโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงก็จะลดลง
สำหรับการรักษาตัวในโรงพยาบาล โดยทั่วไปถ้าไม่มีอาการแทรกซ้อนจะไม่เกินหนึ่งสัปดาห์ก็จะดีขึ้น ซึ่งการรักษาจะเรียกว่าการรักษาแบบประคับประคอง คือรักษาตามอาการ และไข้หวัดใหญ่มีวิธีรักษาที่มียาเฉพาะทั้งยากินและยาพ่นจมูกซึ่งหมอจะเลือกใช้ตามความจําเป็น เพราะฉะนั้นถ้าหากว่าไปถึงเร็วและได้รับยาก็อาจจะทําให้อาการรุนแรงน้อยลงและทําให้อาการหายเร็วขึ้น
Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB
Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX
Youtube: https://bit.ly/3cxn31u