ติดจอใสทำลายพัฒนาการมากกว่าที่พ่อแม่คิด ตั้งแต่ออทิสติกและอาการสมาธิสั้นที่น่ากังวล ซ้ำยังส่งผลไปถึงพัฒนาการด้านอารมณ์ ซึ่งหากพ่อแม่ไม่รู้เท่าทัน อาจจะทำให้เป็นโรคซึมเศร้า และนำไปสู่การฆ่าตัวตายในอนาคต
โดย The Expert ศ.นพ.วีรศักดิ์ ชลไชยะ หัวหน้าสาขาพัฒนาการและการเจริญเติบโต ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
เริ่มจากการวิจัยที่ผมเองก็มีการติดตามเด็กในระยะยาวตั้งแต่เด็กอายุ 6เดือน ติดตามไปเรื่อยๆ จนตอนนี้เด็กที่อยู่ในโครงการอายุ10ขวบแล้ว ผลพบว่าเด็กอายุตั้งแต่6เดือน-18เดือน แนวโน้มถ้าเขาอยู่บริเวณสื่อหน้าจอซึ่งในยุคนั้นเป็นแค่ทีวี พบว่าเด็กจํานวนหนึ่งมีพฤติกรรมไปทางเด็กออทิสติก มากขึ้น แล้วเรื่องของเด็กออทิสติกก็มีข้อมูลงานวิจัยของต่างประเทศพบมากขึ้นว่า ยิ่งให้มากให้เร็วตั้งแต่ตอนเล็กๆ จะทําให้เด็กเนี่ยมีความเสี่ยงไปทางเด็กออทิสติก คืออยู่ในโลกส่วนตัวมากขึ้น ขาดโอกาสในการพัฒนาทักษะด้านสังคมและอารมณ์ ในงานวิจัยนั้นยังพบอีกว่า เด็กที่ดูหรือว่าได้รับสื่อประเภทพวกทีวีค่อนข้างมาก มีโอกาสที่เขาจะมีปัญหาพฤจิกรรมก้าวร้าวเพิ่มขึ้น มีปัญหาทางด้านปฏิกิริยาทางด้านอารมณ์เพิ่มขึ้น หมายความว่าเวลาหงุดหงิดไม่พอใจก็จะวีนเหวี่ยง ใช้อารมณ์
ซึ่งก็สอดคล้องเลยว่าหลังจากช่วงที่โควิดเคสคต่างๆ เริ่มกลับม คุณพ่อคุณแม่ก็จะเล่าว่าจากที่เคยดีมาโดยตลอด แล้วพอเราเริ่มให้ใช้จอก็จะรู้สึกเหมือนว่าหงุดหงิด ไม่พอใจอะไรต่างๆ มากขึ้น โดยเฉพาะเวลาที่คุณพ่อคุณแม่ขอจอคืน ถึงเวลาต้องไปทํากิจวัตรประจําวันก็ม่ได้ทํา แล้วในงานศึกษายังเจออีกว่าสัมพันธ์กับเรื่องของพฤติกรรม และสมาธิสั้นมากขึ้นด้วย
ต้องเรียนว่าการใช้สื่อจอใสแบบไม่ค่อยเหมาะสม ปัจจุบันมันไม่ใช่แค่ทีวีก็มีสื่ออื่นๆมากมาย มือถือหรือว่าโซเชียลมีเดียต่างๆ ในการศึกษาทั้งในเด็กเริ่มโตขึ้นมาวัยก่อนเรียน วัยอนุบาลหรือว่าในช่วงวัยเรียน รวมถึงวัยรุ่นพบว่ามีความสัมพันธ์กับปัญหาทางด้านอารมณ์เยอะขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอารมณ์ซึมเศร้า วิตกกังวล หรือเด็กบางคนปถึงขั้นมีความคิดหรือความพยายามอยากฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น หรือมีปัญหาโรคทางด้านจิตเวชต่างๆ เพิ่มขึ้น พบเด็กมีปัญหาเรื่องของการรับประทานอาหารผิดปกติเพิ่มสูงขึ้น เช่น ถ้าเรียกทางการแพทย์เรียกEating Disorder เช่น ทําไมบางคนเรียกเป็นโรคคลั่งผอมเพราะว่าเราก็คือเข้าไปเสพสื่อประเภทนี้ แต่ก็ไม่อยากให้มองว่าสื่อมันไม่ดีอย่างเดียว จริงๆ เราสามารถนํามาใช้ประโยชน์ได้
เด็กที่เล่นสื่อเยอะๆ ถ้ามองอีกมุมหนึ่งคืออยู่กับความเบื่อไม่เป็น ความเบื่อเป็นอารมณ์อย่างหนึ่งของเราเหมือนกันหรือแม้กระทั่งผู้ใหญ่เหมือนกันบางทีเราก็ไม่รู้จะทําอะไร ทุกวันนี้ทุกคนก็เล่นมือถือตลอดเวลา เพราะว่าเรารู้สึกว่าเราดึงเอาใจไปอยู่ทางอื่นเพราะว่าเราอยู่กับความเบื่อไม่ได้ ซึ่งพออยู่กับความเบื่อไม่ได้เนี่ย ลูกๆก็ไม่รู้จะทํายังไง ซึ่งถ้าจะเป็นสมัยก่อนที่เราไม่มีสื่อเหล่านี้ พอเบื่อเราก็ต้องชวนกันมาเล่น มาคุยกัน ร้องเพลง อ่านหนังสือ แต่เด็กไม่รู้จะทําอะไรดี ก็เลยเข้าไปอยู่กับสื่อหน้าจอมากขึ้น แล้วพอลไม่ได้ดูก็โวยวาย หัวร้อนง่าย
Background Media คีย์เวิร์ดสําคัญเลยเด็กถ้าอายุเกินสองปีเล่นได้ แต่ถ้าอายุน้อยกว่าสองปีมีข้อมูลพบว่ากระทบกับพัฒนาการ มีงานวิจัยจากสิงคโปร์รายงานว่าแค่เสียงทีวีที่เปิดทิ้งไว้ สามารถเปลี่ยนคลื่นสมองเด็กได้สัมพันธ์กับการเป็นสมาธิสั้นเพิ่มขึ้น เพราะว่าสื่อต่างๆ เวลาเปิดมันจะเข้าไปเร้าระบบประสาทรับความรู้สึกต่างๆ เพราะสื่อมันมีทั้งภาพและเสียง เมื่อเข้าไปกระตุ้นมากทำให้สมาธิสั้นเพิ่มขึ้นแม้จะไม่ได้ดู และส่วนใหญ่เป็นรายการสําหรับผู้ใหญ่ ซึ่งที่เราศึกษาวิจัยก็พบว่ามีผลต่อพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็ก ถ้าเปรียบเทียบกับบ้านที่เปิดBackground Mediaน้อย สติปัญญาของเด็กที่เปิดน้อยกว่ามีแนวโน้มสติปัญญาดีกว่าและพัฒนาการดีเกือบทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านภาษา ด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก
เลือกโปรแกรมที่เหมาะสมตามวัยและต้องลองเข้าไปดูเนื้อหาก่อน ปัจจุบันมีเว็บไซต์ต่างประเทศที่สามารถเข้าไปเช็กได้ที่ www.commonsense.org/education (Common Sense Media) นอกจากนี้ต้องกําหนดกฎกติกา ถ้าจะให้ลูกใช้หน้าจอก็ต้องหลังจากที่เขารับผิดชอบงานที่ควรจะทำก่อน เช่น กิจวัตรประจําวันเสร็จแล้ว การบ้านเสร็จ รับผิดชอบงานบ้านแล้ว นอกจากเรื่องกฎกติกาแล้ว เด็กต้องเรียนรู้ผลที่ตามมาว่าถ้าไม่ทําตามกฎกติกาจะเกิดอะไรขึ้นบ้างด้วย
ทำข้อตกลงก่อนให้ลูกใช้งาน บ้านที่กำลังจะซื้อจอให้ลูก ต้องมีการทําสัญญากับลูกตั้งแต่เริ่มแรกเลย เช่น มือถือเครื่องนี้เป็นมือถือของแม่ซื้อมาให้ลูก ลูกจะสามารถเล่นได้ตอนไหนบ้าง ถ้าลูกไม่สามารถทําตามกฎอันนี้ได้มือถือเครื่องนี้แม่สามารถริบคืนได้ พ่อแม่มีสิทธิ์เด็ดขาดและให้ลูกเซ็นชื่อกํากับด้วย ซึ่งเด็กบางคนก็ยอมเซ็นไปก่อน แต่ต้องอย่าลืมที่จะบอกถึงผลที่ตามมาและต้องทำตามข้อตกลงร่วมกัน หรือบอกถึงผลกระทบถ้าใช้งานนานเกินไป เช่น หาวบ่อย ปวดต้นคอ ปวดมือ
ดูไปพร้อมกับลูก อยากให้คุณพ่อคุณแม่มีโอกาสเข้าไปดูสื่อกับลูกด้วย เพราะเดี๋ยวนี้จะมี pop up ขึ้นมาระหว่างที่ลูกดูคลิปต่างๆ ซึ่งมันจะทำให้เข้าสู่คอนเทนต์ที่ไม่เหมาะสมกับวัย อีกเรื่องหนึ่งกฎกติกาที่ว่า หมอคิดว่าเราอาจจะต้องมองกันที่สถานที่ภายในบ้านด้วยว่าตรงที่ไหนที่เราไม่ควรจะใช้สื่อหน้าจอ รวมไปถึงเวลาช่วงไหนที่เราไม่ควรจะใช้ เช่น ห้ามใช้บนโต๊ะอาหาร ซึ่งพ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่างด้วย และในห้องนอนก็ไม่ควรจะใช้สื่อหน้าจอ
นอกจากนี้หน้าจอจะมีแสงสีน้ำเงินออกมาที่เรียกว่า Bluelight ซึ่งแสงเหล่านี้จะไปรบกวนการหลั่งฮอร์โมนการนอนหลับที่ชื่อว่า "ฮอร์โมนเมลาโทนิน" ทําให้เด็กจะนอนหลับยากขึ้น รวมถึงต้องงดเล่นเกม ดูคอนเทนต์ที่เร้าอารมณ์ความสนุก เพราะถ้าเด็กนอนหลับไม่ดีก็ส่งผลต่อเรื่องของการคุมอารมณ์ระหว่างวันด้วย สิ่งที่พ่อแม่ควรทําก็คือ อย่าให้มาก อย่าให้เร็ว
Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB
Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX
Youtube: https://bit.ly/3cxn31u