ภาวะโรคอ้วนในเด็ก ส่งผลกระทบต่อสุขภาพลูกอย่างไร?
และรู้หรือไม่ เด็กไทยมีภาวะอ้วนมากถึง 15 - 20% และหากปล่อยให้เจ้าตัวเล็กมีน้ำหนักเกินเกณฑ์ต่อไป จะยิ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพและพัฒนาการของลูกรัก
EP.นี้ พญ. ปิยธิดา วิจารณ์ กุมารแพทย์ผู้ชำนาญการด้านโรคต่อมไร้ท่อในเด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลเมดพาร์ค จะมาให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะโรคอ้วนในเด็กและผลกระทบต่อสุขภาพที่คุณแม่ต้องรู้ค่ะ
ตอนนี้ปัญหาเรื่องโรคอ้วนทั้งในเด็กแล้วก็ผู้ใหญ่ เป็นปัญหาที่มีผลกระทบต่อทั่วโลกมาก ในเด็กมีข้อมูลจากทั้งโลกประมาณ10% แต่ที่น่ากลัวคือในประเทศไทยมีประมาณ15-20% คือเป็นเปอร์เซนต์ที่เกินของทั่วโลกไปแล้ว
ภาวะอ้วนหรือว่าภาวะน้ําหนักเกินเกณฑ์ ดูจากดัชนีมวลกายหรือที่เรียกว่า BMI คํานวณจากน้ําหนักเป็นกิโลกรัม หารด้วยส่วนสูงเป็นเมตรยกกําลังสอง ซึ่งสามารถเสิรจ์หาข้อมูลได้หรือว่าดูในคู่มือพัฒนาการที่ได้ตั้งแต่แรกเกิดก็ได้
โดยเด็กที่อายุ5-19ปี ภาวะอ้วนตัดที่BMIมากกว่าหรือเท่ากับตัวสองสแตนดาร์ดดีวีเอชั่นหรือว่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หรือค่าBMIมากกว่ายี่สิบห้า โดยดูกราฟได้ตามเพศและอายุได้ สามารถหาดูเพิ่มเติมได้จากเว็บของสมาคมต่อมไร้ท่อเด็ก และวัยรุ่น ซึ่งเป็นกราฟเป็นของประเทศไทย
ภาวะอ้วนเป็นปัญหาเรื้อรังแล้วก็ประกอบด้วยหลายหลายปัจจัย ปัจจัยหลักคือ สิ่งแวดล้อม เพราะว่าในยุคปัจจุบันถูกล้อมไปด้วยอาหาร และอาหารฟาสต์ฟู้ดก็ราคาถูกกว่าสลัดอีก คือเด็กสามารถเข้าถึงได้ง่ายกว่า และไม่ทำกิจกรรม ไม่ออกกำลังกายอยู่นิ่ง ติดจอ ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหว ซึ่งก็มาจากสภาพแวดล้อม
ส่วนปัจจัยอื่นก็จากเรื่องของกรรมพันธุ์หรือว่าโรคแต่ส่วนน้อยที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคที่ทําให้อ้วนจริงๆ เช่น โรคทางฮอร์โมน เช่น มีปัญหาภาวะขาดไทรอยด์ หรือว่ามีต่อมหมวกไตทํางานผิดปกติก็ทําให้มีภาวะอ้วน มีการศึกษาพบว่าเด็กที่มีภาวะอ้วนหรือน้ําหนักเกินเกิดขึ้นมาจากครอบครัวด้วย
และอีกปัจจัยหนึ่งที่เริ่มเจอมากขึ้นแล้วคือคุณแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ก็จะมีความเสี่ยงที่ทําให้ลูกมีภาวะอ้วนได้มากกว่า คุณแม่ที่สามารถคุมน้ําหนักได้
อ้วนกระทบพัฒนาการ ส่งผลกระทบต่อระบบต่างต่างๆ ของร่างกาย อย่างแรก คือระบบต่อมไร้ท่อ บางคนมีภาวะเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัยก็พบได้มากขึ้นหรือว่ามีเรื่องของถุงน้ํารัง หรือว่าโรคพีซีโอเอส ทำให้เด็กโตหรือเด็กผู้หญิงวัยรุ่นอาจจะมีประจําเดือนมาไม่สม่ําเสมอ
ส่วนระบบที่ 2 ก็คือระบบหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูงได้ มีไขมันในเลือดสูง ระบบที่ 3 ก็คือเรื่องเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ บางคนนอนกรนทำให้หยุดหายใจตอนกลางคืน
เรียกว่าเป็น 3 กลุ่มหลัก แต่ก็มีโรคอื่นๆ เช่น ในเรื่องทางเดินอาหารก็มีไขมันพอกตับ อย่าคิดว่ามีแต่ในผู้ใหญ่อย่างเดียว คือเด็กก็มีตรงนี้ด้วย รวมถึงการเคลื่อนไหวและระบบข้อต่อต่างๆ จะปวดเข่า มีโอกาสข้อสะโพกเคลื่อนได้ง่ายกว่าในเด็กที่น้ําหนักปกติ
หมอจะเริ่มจากประเมินน้ําหนักส่วนสูงว่าเข้าเกณฑ์หรือยัง โดยดูจากกราฟน้ําหนักส่วนสูงย้อนหลังเพื่อดูว่าน้ําหนักมากมาตั้งแต่เด็กหรือว่าเพิ่งมาเกิน เพราะบางครั้งอาจจะมีโรคที่เหมือนน้ําหนักขึ้นเยอะแต่ส่วนสูงไม่ขึ้น ซึ่งก็ต้องหาสาเหตุ เช่น โรคเกี่ยวกับไทรอยด์ หรือมาจากต่อมหมวกไตทํางานเกินหรือเปล่า ขาดฮอร์โมนการเติบโตหรือเปล่า ซึ่งก็ต้องรักษาโรคเหล่านี้ควบคู่ไปด้วย
แต่ถ้าตัวใหญ่แบบภาวะอ้วนจากไลฟ์สไตล์เป็นหลักเลยก็ประเมินเรื่องของภาวะแทรกซ้อน หมอก็จะเช็กไขมัน เบาหวานและดูเรื่องโรคตับ และถ้าเช็กแล้วไม่มีโรคแทรกซ้อนก็จะดูวิธีการควบคุมน้ำหนัก
ภาวะอ้วนที่เกิดขึ้นกับเด็กตอนนี้มีความมันสัมพันธ์กับเรื่องของเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัย โดยเฉพาะเด็กผู้หญิง บางครั้งเราจะเห็นเขาตัวโตกว่าเพื่อนแต่ถ้ามีภาวะเป็นสาวก่อนวัย สุดท้ายจะหยุดสูงก่อนเพื่อน นอกจากนี้ก็มีการศึกษามากขึ้นว่าภาวะอ้วนอาจจะมีผลต่อเรื่องความจํา หรือว่าอนาคตจะเสี่ยงเรื่องของอัลไซเมอร์ในผู้ใหญ่ รวมถึงเด็กที่มีภาวะอ้วนโดยเฉพาะกลุ่มเด็กวัยรุ่นหรือบางครั้งวัยเรียนประถม บางคนขาดความมั่นใจในตัวเอง โดนเพื่อนล้อก็ทำให้หงุดหงิด ขาดความมั่นใจ บางคนมีภาวะซึมเศร้า ซึ่งพอต้องกินยารักษา ยานั้นก็ทำให้อ้วนขึ้นด้วย ก็เรียกว่ามันกระทบซึ่งกันและกัน
ปรับพฤติกรรมลดความอ้วน ใช้วิธีการลดน้ำหนักโดยต้องมีเป้าหมายเดียวกันทั้งหมอ เด็ก และผู้ปกครองเพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งหมอไม่อยากให้อดอาหาร ต้องกินอาหารให้ครบ 5หมู่ 3มื้อเหมือนเดิม แต่งลดอาหารที่มันมีแคลอรีสูง ลดอาหารฟาสต์ฟู้ด ของมัน ของทอด หรือน้ําหวานต่างๆ รวมถึงโพรเซสฟู้ดเบเกอรี่ เน้นกินอาหารที่มีไขมันดี หรือว่าเป็นโปรตีนที่ดี กินอาหารที่มีกากใยเยอะขึ้น เพื่อเพิ่มเรื่องของความอยู่ท้องให้มากขึ้นด้วย รวมไปถึงต้องออกกําลังกายเคลื่อนไหวให้มากขึ้น ประมาณ 60นาทีทุกวัน ซึ่งก็ต้องพยายามหากิจกรรมเหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของตัวเอง
นอกจากนี้กลุ่มที่ปรับพฤติกรรมแล้วยังลดน้ําหนักไม่ได้ถึงเกณฑ์หรือว่ายังมีภาวะแทรกซ้อนอยู่ เด็กโตที่อายุมากกว่า 12 ปี และมีBMI มากกว่า 30 ในประเทศไทยก็มีอนุมัติให้ใช้เรื่องของตัวยาฉีดลดน้ําหนัก ก็จะช่วยลดความอยากอาหาร ทำให้อิ่มเร็วขึ้น ส่วนยาลดความอ้วนไม่ควรใช้เลย รวมถึงเครื่องดื่มต่างๆ ที่บอกว่าช่วยควบคุมความหิว วิตามินเสริม ลดความอ้วน หมอไม่แนะนํา เพราะเราไม่รู้ส่วนประกอบและจะส่งผลกระทบอะไรยังไงกับเด็กบ้างก็ไม่ควร เน้นใช้แนวทางธรรมชาติบําบัด พฤติกรรมบําบัดดีกว่า
ตรวจวินิจฉัยโรคอ้วนในเด็ก สุขภาพและพัฒนาการลูกรัก ได้ที่
ศูนย์สุขภาพและโรคเฉพาะทางเด็ก โรงพยาบาลเมดพาร์ค
โทร. 02-090-3138
www.medparkhospital.com/center/pediatric-center
Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB
Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX
Youtube: https://bit.ly/3cxn31u