อยากรู้ว่าพัฒนาการลูกทารกแต่ละเดือนเป็นอย่างไร ต้องทำอะไรได้ เรามีวิธีสังเกตพัฒนาการทารกวัย 0-1 ปี มาแนะนำให้พ่อแม่เช็กกันได้ตรงนี้ค่ะ
เช็กพัฒนาการเด็ก ลูกวัย 0-1 ปี ได้ง่าย ๆ ทุกวันด้วยตัวพ่อแม่เอง
พัฒนาการทารกแรกเกิด - 1 เดือน
- กล้ามเนื้อมัดใหญ่
- งอแขนขาทั้งในท่านอนคว่ำและนอนหงาย
- ชันคอได้ชั่วขณะในท่านอนคว่ำ
- กล้ามเนื้อตาและมือ
- มองเหม่อ อาจจ้องมองในระยะ 8-12 นิ้ว
- กำมือเมื่อถูกกระตุ้นที่ฝ่ามือ
- การรับรู้ภาษา
- สะดุ้งหรือ เปิดตากว้างเมื่อได้ยินเสียง
- การสื่อภาษา
- สติปัญญา
- ไม่สนใจเมื่อสิ่งที่มองเห็นหายไป
- อารมณ์และสังคม
พัฒนาการทารก 2-3 เดือน
- กล้ามเนื้อมัดใหญ่ - ชันคอได้เองเมื่ออยู่ในท่านอนคว่ำ
- กล้ามเนื้อตาและมือ - มือกำหลวม ๆ และ มองตามสิ่งของได้ข้ามกึ่งกลางลำตัว
- การรับรู้ภาษา - หยุดเคลื่อนไหว หรือกะพริบตาตอบสนองต่อเสียง
- การสื่อภาษา - ส่งเสียงอ้อแอ้
- สติปัญญา - จ้องมองในจุดที่เห็นสิ่งของหายไปชั่วขณะ
- อารมณ์และสังคม - สบตาและยิ้มโต้ตอบเวลามีคนเล่นด้วย
พัฒนาการทารก 3-6 เดือน
- กล้ามเนื้อมัดใหญ่
- คว่ำหรือหงายได้เอง
- นั่งได้เองชั่วครู่
- กล้ามเนื้อตาและมือ
- เอื้อมมือคว้าของ
- ประคองขวดนม
- การรับรู้ภาษา
- การสื่อภาษา
- เลียนเสียงพยัญชนะหรือสระเช่น “อา” “บอ”
- สติปัญญา
- จ้องมองมือของพ่อแม่ที่ถือของเล่นไว้แล้วปล่อยให้ตกไปชั่วครู่
- อารมณ์และสังคม
- ดีใจเวลาเห็นผู้เลี้ยงดูที่คุ้นเคย
พัฒนาการทารก 6-9 เดือน
- กล้ามเนื้อมัดใหญ่ - นั่งบนพื้นเองได้นานขึ้น
- กล้ามเนื้อตาและมือ - หยิบของด้วยมือทั้งมือ และประคองขวดนม
- การรับรู้ภาษา - รู้จักชื่อตัวเอง
- การสื่อภาษา - เล่นเสียงพยัญชนะหรือสระติดต่อกันเช่น “ปาปา มามา”
- สติปัญญา - มองตามของที่ตก
- อารมณ์และสังคม - แยกแยะคนแปลกหน้าและคนใกล้ชิดได้ และร้องตามแม่
พัฒนาการทารก 9-12 เดือน
- กล้ามเนื้อมัดใหญ่ - เกาะยืน
- กล้ามเนื้อตาและมือ - หยิบของโดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้
- การรับรู้ภาษา - ทำตามคำสั่งง่ายๆได้เช่น “บ๊ายบาย” “ขอ” เข้าใจคำสั่งเช่น “หยุด” “อย่า”
- การสื่อภาษา - สื่อสารภาษากาย เช่น ชี้ แบมือขอของ อวดของเล่น ฯลฯ
- สติปัญญา - เปิดหาของที่ซ่อนไว้
- อารมณ์และสังคม - เลียนแบบท่าทาง เช่น โบกมือ สาธุ ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม พัฒนาการตามวัยที่ระบุในที่นี้เป็นพัฒนาการขั้นต่ำที่เด็กในแต่ละวัยสามารถทำได้ครับ หากลูกยังไม่สามารถทำได้และคุณแม่มีข้อสงสัยควรปรึกษากุมารแพทย์ แต่ขณะเดียวกันเด็กบางคนอาจพัฒนาได้เร็วกว่าเกณฑ์นี้ได้เช่นกันค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
รศ.นพ. พงษ์ศักดิ์ น้อยพยัคฆ์
กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการและพฤติกรรม
คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช