การเลี้ยงลูกในวัยที่เริ่มโต โดยเฉพาะเมื่อลูก ๆ เข้าสู่วัยเตาะแตะ 1-3 ปี พัฒนาการต่าง ๆ ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจก็เริ่มพัฒนามากขึ้น เช่น เดินได้เอง พูดได้มากขึ้น เป็นตัวของตัวเอง และเริ่มต้องการทดสอบอำนาจที่มีเหนือพ่อแม่ จึงไม่อยากให้พ่อแม่ทำให้ทั้งหมด แต่ด้วยความสามารถของเด็กวัยนี้ยังต้องพึ่งพ่อแม่อยู่ บางครั้งลูกเลยเกิดความขัดแย้งในใจ เวลาที่พ่อแม่บอกให้ทำอะไร ก็จะเกิดการต่อต้านขึ้น อยากจะเลือกเอง ทำให้พ่อแม่ไม่สามารถควบคุมลูกได้เหมือนเดิม คำที่ติดปากลูกส่วนใหญ่ก็คือ “ไม่ ไม่ ไม่” คำนี้แหละ ที่ทำให้พ่อแม่ต้องหงุดหงิด อารมณ์เสีย จนกลายเป็นความไม่เข้าใจกันทั้ง 2 ฝ่าย พญ.สินดี จำเริญนุสิต กุมารเวชศาสตร์พัฒนาการและพฤติกรรม โรงพยาบาลเวชธานี มีคำแนะนำในการรับมือกับเด็กๆ ดังนี้
วิธีที่ดีสำหรับการรับมือเมื่อลูกดื้อ เอาแต่ใจ คือ
การตีลูก ช่วยได้หรือไม่?
ในยุคนี้ คุณหมอได้แนะนำว่าให้พ่อแม่หลีกเลี่ยงการลงโทษด้วยการตี เพราะในความรู้สึกของเด็ก การตี คือ การที่พ่อแม่สื่อให้เขารู้ว่า “ความรุนแรงเป็นวิธีการจัดการสิ่งต่าง ๆ” เขาอาจจะหยุดพฤติกรรมทันทีก็จริง แต่หยุดเพราะไม่อยากถูกตี ไม่ใช่การควบคุมตนเองจริง ๆ และส่วนใหญ่เมื่อถึงจุดที่พ่อแม่ต้องตี ก็มักตีด้วยอารมณ์ ทำให้ลูกมีแนวโน้มที่จะเป็นเด็กก้าวร้าว อารมณ์ร้าย และโตขึ้นเขาก็จะระบายอารมณ์ด้วยการทำร้ายผู้อื่นเช่นกัน
ขอบคุณข้อมูลจาก
www.innnews.co.th