นอกจากสุขภาพของลูกน้อยที่แข็งแรงแล้ว คุณพ่อคุณแม่หลายคนคงคาดหวังให้ลูกน้อยเติบโตขึ้นมาอย่างฉลาด สมวัย แต่พัฒนาการสมองและความฉลาดขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งจากตัวเด็ก พันธุกรรม การเลี้ยงดู และการได้รับสารอาหารที่หลากหลาย รวมทั้ง แอลฟา-แล็คตัลบูมิน โปรตีนคุณภาพ ที่พบมากในนมแม่
แอลฟา-แล็คตัลบูมิน คือ โปรตีนคุณภาพที่พบมากในน้ำนมแม่ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการสร้างสารสื่อประสาท ประกอบด้วยกรดอะมิโนจำเป็นสำคัญ ได้แก่ ซิสเตอีนและทริบโตเฟน ในปริมาณสูง ทั้งยังเป็นองค์ประกอบสำคัญในกระบวนการสังเคราะห์แลคโตสในต่อมน้ำนม ดังนั้น “น้ำนมแม่”ซึ่งมีความเข้มข้นของแอลฟา-แล็คตัลบูมินสูง จึงเป็นแหล่งโปรตีนสำคัญที่ช่วยในการพัฒนาสารสื่อประสาทและเป็นสารอาหารสำคัญต่อโภชนาการของทารก
มหัศจรรย์คุณค่า “นมแม่”
ทารกที่ดื่มนมแม่จะมีพัฒนาการของระบบประสาทที่ดี นอกจากนี้ ระยะเวลาในการดื่มนมแม่ยังส่งผลต่อความฉลาดของเด็กด้วยมีงานวิจัยศึกษาหลายฉบับ แสดงให้เห็นว่า เด็กที่ทานนมแม่จะฉลาด มีการเรียนรู้ ความจำดีกว่าเด็กที่ไม่ได้ทานนมแม่ ขณะเดียวกันก็จะมีการนอนหลับได้ดีกว่าด้วย
ในเด็กเล็กควรได้รับนมแม่ ซึ่งมีสารอาหารครบรวมทั้งแอลฟา-แล็คตัลบูมิน ซึ่งเป็นโปรตีนคุณภาพ ย่อยและดูดซึมง่าย และให้ ทริบโตเฟน ที่ช่วยสร้างสารเซโรโทนิน ซึ่งมีส่วนช่วยในการควบคุมการนอนหลับ โดยร่นระยะเวลานอนให้หลับเร็วขึ้น
จากการศึกษาของ Horwood LJและคณะ ในเด็กอายุ 7-8 ปีพบว่า การเพิ่มระยะเวลาการให้นมแม่มีส่วนสัมพันธ์กับ ไอคิวด้านภาษา (Verbal IQ) และ ไอคิวด้านปฏิบัติ (Performance IQ)โดยเด็กที่ทานนมแม่จนอายุ 8 เดือนหรือนานกว่ามีค่าเฉลี่ยของคะแนนไอคิวด้านภาษาสูงกว่าเด็กที่ไม่ได้ทานนมแม่อยู่10.2 คะแนน และไอคิวด้านปฏิบัติสูงกว่าเด็กที่ไม่ได้ทานนมแม่อยู่6.2 คะแนน สูงกว่าเด็กที่ไม่ได้ทานนมแม่ นอกจากนี้ ระยะเวลาการให้นมแม่อาจจะมีส่วนสัมพันธ์กับพัฒนาการการรับรู้ในระยะยาวของเด็กด้วย
ข้อมูลอ้างอิง
- Bo Lönnerdal, Ph.D, Eric L. Lien, Ph.D. Nutritional and Physiologic Significant of α-Lactalbumin in Infants.2003. Nutrition Reviews Vol. 6 no. 9: 295-305.
- Horwood LJ et al. Breastmilk Feeding and cognitive ability at 7-8 years. Arch Dis Child Neonatal Ed 2001; 84: F23-F27.
- IBFAN Asia Pacific. Breastfeeding and Brain Development (Cognitive Development. 2005. Breastfeeding Promotion Network of India (BPNI) Information Sheet-9.
- Steiberg LA, O’Connell NC, Hatch TF, Picciano MF, Birch LL. Tryptophan intakes influences infants’ sleep latency 1992. J. Nutr: 122(9); 1781-91.
- Willi E. Heine, Peter D. Klein, Peter J. Reeds. The Importance of α-Lactalbumin in Infant Nutrition. 1991. J. Nutr March 1 Vol. 121 no. 3: 277-283.
(พื้นที่เพื่อการโฆษณาและประชาสัมพันธ์)