ลูกเริ่มกินอาหารได้หลากหลาย อาจได้ลองอาหารใหม่ๆ ที่อาจเสี่ยงแพ้ได้
มีวิธีสังเกตอาการของลูกที่อาจเกิดจากการแพ้อาหาร และการตรวจหาว่าลูกแพ้อะไร
ผิวหนัง เช่น มีผื่นคัน ผิวแห้ง สาก
หากมีผื่นคัน ควรล้างและเช็ดให้แห้งสะอาดอยู่เสมอ
ระบบทางเดินอาหาร ท้องอืด ท้องเสีย อาเจียน ถ่ายเหลว ถ่ายบ่อย ถ่ายปนเลือด
หากถ่ายบ่อย อาเจียนบ่อย ให้ดื่มน้ำหรือดื่มเกลือแร่สำหรับเด็ก
ระบบทางเดินหายใจ มีเสียงครืดคราด หายใจไม่สะดวก อาการเรื้อรังไม่หาย หากรุนแรงอาจเป็นหอบหืด
หากอาการเหมือนเป็นหวัด ควรดูดน้ำมูกออก หรือล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ
ให้ลูกเริ่มกินอาหารทีละน้อย ทีละอย่าง
หลีกเลี่ยงอาหารเสี่ยงแพ้ ได้แก่ อาหารทะเล ถั่วลิสง ของหมักดอง ไข่ขาว อาหารแปรรูปต่างๆ
วิธีที่ 1 การทดสอบทางผิวหนัง (skin test)
ตรวจหาได้ตั้งแต่เด็กอายุ 3 เดือน (แต่เด็กต่ำกว่า 1 ปี การตอบสนองทางผิวหนังไม่ดีเท่าเด็กโต)
วิธีการทำที่บริเวณท้องแขนหรือแผ่นหลัง โดยหยดน้ำยาสารก่อภูมิแพ้ แล้วใช้ปลายเข็มสะกิดผิวหนัง
การตรวจหาทำได้ง่าย ใช้เวลารอผลตรวจเพียง 15 นาที
วิธีที่ 2 การเจาะเลือด (specific IgE)
ใช้วิธีการเจาะเลือดเพื่อหา IgE (แอนติบอดีชนิด E) ของร่างกายที่ตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้
รอผลประมาณ 1 สัปดาห์ มีค่าใช้จ่ายแพงกว่า แต่บอกรายละเอียดการแพ้อาหารได้ละเอียดกว่า
* ทั้ง 2 วิธี สามารถตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ ได้ทั้งการแพ้อาหาร ผื่นแพ้ผิวหนังอักเสบ และภูมิแพ้จมูกอักเสบหรือหอบหืด