ความเครียดในเด็กเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น อาการเจ็บป่วย การแข่งขันด้านการเรียน ความรู้สึกได้รับแรงกดดันจากพ่อแม่ การถูกล้อเลียน (ฺBully) เป็นต้น ซึ่งความรุนแรงของความเครยีดในเด็กแต่ละคนก็แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับพื้นฐานสภาพจิตใจ การดูแลจากคนรอบข้าง หรือแม้แต่การจัดการอารมณ์ตัวเอง
นอกจากนี้ ยังรวมถึงพฤติกรรมถดถอย เช่น ความสามารถในการช่วยเหลือตัวเอง (เช่น การอาบน้ำ แต่งตัว) ที่เด็กเคยทำได้เองแล้วแต่กลับเรียกร้อง / ร้องขอให้พ่อแม่ช่วย หรือปฏิเสธที่จะทำด้วยตัวเอง หรือการกลับมามีปัสสาวะรดที่นอน เป็นต้น
2. การพูดอย่างสร้างสรรค์ และแสดงอารมณ์อย่างเหมาะสม พูดในทางบวก พ่อแม่ควรให้ความสำคัญกับการพูดจากับเด็กให้มาก คือการพูดในทางบวก การชมเชยลูก การให้กำลังใจ ในการสอนลูก ควรใช้คำพูดที่สุภาพ เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดี และช่วยให้ความสัมพันธ์ของคุณและเด็กมีคุณภาพขึ้น
3. การให้เด็กได้พบกับประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ๆ นอกจากการเรียน เสริมสร้างประสบการณ์ใหม่ๆให้เด็ก ควรให้เด็กรู้จักความผิดพลาดบ้าง เพื่อทำให้เด็กเกิดความเรียนรู้ รู้จักปรับตัวและรู้จักแก้ไขปัญหา
4. การยอมรับในความสามารถของเด็ก และไม่ควรบังคับเด็กให้ทำในสิ่งที่ยังไม่พร้อม ไม่เร่งเด็กในด้านวิชาการมากจนเกินไป และควรให้เวลากับเด็กในการเรียนรู้ปรับตัวด้านสังคมด้วย พ่อแม่ส่วนใหญ่มักมองข้ามและเร่งเด็กให้เรียนกวดวิชาเพิ่ม ทำให้ไม่มีโอกาสได้ใช้เวลาทำกิจกรรมอื่นหรือเล่นกับเพื่อน “ทำให้เด็กขาดทักษะการเข้าสังคม” เข้ากับเพื่อนไม่ได้ และไม่รู้ว่าการเข้ากับเพื่อนต้องทำอย่างไรบ้างเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น
5. รับฟังความคิดเห็นเด็ก เมื่อเด็กทำผิดสิ่งที่ควรทำคือรับฟังความคิดเห็น และถามถึงเหตุผลที่เด็กกระทำสิ่งนั้นว่าคืออะไร? ทำไมจึงทำ? เมื่อทราบสาเหตุจะทำให้เข้าใจถึงการกระทำของเด็ก ส่งผลให้เราสามารถพูดคุยและสอนเด็กได้อย่างถูกต้อง และส่งเสริมให้เด็กได้แก้ไขในสิ่งที่เกิดขึ้น
“ความเครียดในเด็ก” ถือเป็นเรื่องสำคัญที่พ่อแม่ต้องเข้าใจและดูแล อย่าปล่อยปละละเลย หากพบว่าเด็กมีอาการซึมเศร้า ผิดปกติ พ่อแม่ได้พยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมภายในครอบครัวแล้วแต่ยังไม่เปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นก็ควรปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาโดยเร็ว
รักลูก Community of The Experts
พญ.เบญจพร อนุสนธิ์พรเพิ่ม
จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
โรงพยาบาลวิชัยยุทธ