หน้าฝนมักมาพร้อม 6 โรคอันตรายที่มักเกิดง่าย ๆ ในเด็กเล็กค่ะ และโรคเหล่านี้ร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย พ่อแม่จะป้องกันและรักษาโรคหน้าฝนที่เกิดขึ้นกับลูกได้อย่างไร นพ.พรเทพ สวนดอก กุมารแพทย์สาขาโรคติดเชื้อ โรงพยาบาลกรุงเทพ มีคำแนะนำค่ะ
โรคไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคที่พบบ่อยในคนทุกเพศทุกวัย และจะเป็นมากในช่วงฤดูฝน ซึ่งเป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ของอาการไข้ที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน แพทย์มักจะให้การวินิจฉัยเด็กที่มีอาการตัวร้อนมา 2-3 วัน โดยไม่มีอาการอย่างอื่นชัดเจนว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ (แต่ไม่ทุกครั้งครับ ขึ้นอยู่กับอาการและดุลยพินิจของแพทย์)
ไข้หวัดใหญ่แตกต่างจากไข้หวัดธรรมดาตรงที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน และอาจเป็นอันตรายถึงชิวิตได้ อาการหลัก ๆ เด็กจะมีไข้ ปวดหัว ปวดเมื้อยตามตัว และกล้ามเนื้อ ไอ หรือเจ็บคอ ซึ่งเด็กอายุน้อยกว่า 5 ขวบ ผู้สูงวัยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป หรือผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง จะมีโอกาสเสี่ยง และมีอาการรุนแรงมากกว่ากลุ่มอื่น
การป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ในเด็ก
แพทย์จะแนะนำว่า ต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ควรฉีดประมาณ 1-2 เดือนก่อนฤดูกาลระบาดของโลกในทุก ๆ ปี และสามารถฉีดได้ในเด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป การป้องกันที่ดีที่สุด คือ คนป่วยพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้เชื้อแพร่กระจายไปสู่คนอื่น รวมถึงใส่หน้ากาก ล้างมือ และทานอาหารให้ถูกสุขอนามัย จะเป็นการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ที่จะเกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี
โรคมือ เท้า ปาก เกิดจากเชื้อไวรัส (Enterovirus 71, Coxsackie) พบได้ประปรายตลอดทั้งปี แต่จะพบมากในฤดูฝน อาการของโรค เด็กจะมีไข้ ผื่น ตุ่มน้ำใสตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า แผลในปาก กระพุ้งแก้ม ลิ้น เหงือก บางรายอาจมีผื่นที่ขา และก้นร่วมด้วย พบมากในเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 3 ปี (อนุบาลถึงประถม) อาการมักหายได้เองภายใน 3-10 วัน สามารถติดต่อได้ทางการไอ จาม น้ำลาย หรืออุจจาระ มีระยะฟักตัว 3-6 วัน พบเชื้อทางน้ำลาย 2-3 วัน ก่อนมีอาการ จนถึง 1-2 สัปดาห์หลังมีอาการ
เมื่อเป็นโรคมือเท้าปากแล้ว เด็กบางคนจะรับประทานอาหาร และน้ำไม่ค่อยได้ เพราะเจ็บปากมาก ซึ่งแม้แต่น้ำลายก็ไม่ยอมกลืน ทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ ดังนั้นอย่าให้เด็กมีไข้สูงเกินไป เพราะอาจจะชักได้ บางรายอาจมีภาวะแทรกซ้อนตามมา โดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เช่น สมองอักเสบ เยื้อหุ้มสมองอักเสบ คุณพ่อคุณแม่ต้องสังเกตอาการ เมื่อผิดปกติต้องรีบพาพบแพทย์ทันที
การป้องกันโรคมือ เท้า ปาก
ผู้ปกครองควรดูแลลูกในเรื่องอาหาร น้ำดื่ม และถ้าไม่จำเป็นไม่ควรให้ลูกไปอยู่ในสถานที่แออัด และควรมีกระติกน้ำ หรือแก้วน้ำส่วนตัวให้ลูกไปใช้กินที่โรงเรียนด้วย รวมถึงปลูกฝัง และฝึกให้ลูกใช้ช้อนกลางขณะรับประทานอาหารทุกครั้งไม่ว่าจะที่โรงเรียน หรือที่บ้านก็ตาม
โรคไข้เลือดออก เป็นโรคที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค มีโอกาสเป็นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ถ้าได้รับเชื้อแล้วจะมีไข้สูงเกิน 3 วันขึ้นไป ตาและหน้าจะเริ่มแดง มีความรู้สึกอ่อนเพลีย และปวดท้อง กินยาลดไข้เท่าไหร่ก็ไม่ได้ผล ปวดเมื้อยตามตัว
นอกจากนี้ โรคไข้เลือดออกยังส่งผลให้เกิดภาวะตับอักเสบ ทำให้คนไข้มีอาการปวดท้อง โดยเฉพาะตรงบริเวณชายโครงด้านขวาซึ่งเป็นตำแหน่งของตับ นั่นเพราะตับโต ขณะเดียวกันจะมีการอาเจียนร่วมด้วย และมีภาวะขาดน้ำ ซึ่งอาการเหล่านี้ ถ้ามาพบแพทย์ได้ทันจะคาดการณ์ได้ว่า เด็กมีกลุ่มอาการตรงกับไข้เลือดออก และแพทย์จะทำการตรวจสอบต่อไป เช่น รัดแขนที่ความดันระดับหนึ่งเพื่อดูจุดที่มีเลือดออกว่าเกิดขึ้นได้หรือไม่ เป็นต้น
การป้องกันโรคไข้เลือดออก
วิธีป้องกันโรคไข้เลือดออกได้ดีที่สุดคือ อย่าให้ลูกโดนยุงกัดและอย่าให้ยุงเกิด ด้วยการจำกัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายให้หมดสิ้น ปิดประตูหน้าต่างให้สนิท ให้ลูกนอนในห้อง มีมุ้งเพื่อป้องกันยุง และอย่ารอให้เกิดอาการที่รุนแรงก่อนแล้วจึงมาพบแพทย์ เช่น เป็นไข้สูงเกินไป ช็อก หรือมีปัญหาเลือดออกง่าย ต้องรีบพาลูกมาพบแพทย์ทันที
การป้องกันโรคอิสุกอิใสในเด็ก
ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส ซึ่งมีประสิทธิภาพค่อนข้างดี เริ่มฉีดในเด็กตั้งแต่ 1 ขวบเป็นต้นไป และจะกระตุ้นอีกครั้งในตอน 4 ขวบ ซึ่งวัคซีนโรคอิสุกอิใสยังเป็นวัคซีนเสริม ไม่ใช่วัคซีนมาตรฐานสำหรับเด็กไทยที่ต้องฉีดทุกคนครับ
นอกจากนี้พ่อแม่ต้องรักษาสุขอนามัยให้ลูกเป็นอย่างดี ออกกำลังกายให้แข็งแรง นอนหลับสนิทอย่างเพียงพอ เพราะโรคนี้เกิดขึ้นไม่ตรงตามวัย บางรายเป็นตอนเด็ก หรือบางรายอาจเป็นตอนโต หากเป็นในตอนโตจะมีอาการและการขึ้นตุ่มที่รุนแรงกว่าตอนเด็ก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภาวะของร่างกายด้วย ที่สำคัญคือ ไม่ควรเข้าใกล้ผู้มีเป็นอิสุกอิใสโดยเด็ดขาด
การป้องกันท้องเสียจากไวรัสโรต้า
การป้องกันไวรัสเริ่มต้นได้จากการให้ลูกได้กินนมแม่ตั้งแต่แรกเกิดเลยครับ นอกจากนี้พ่อแม่ควรดูแลสุขลักษณะการกิน การเล่นให้เหมาะสม ต้องสะอาดและปลอดภัย ขณะเดียวกันไม่ควรพาเด็กเข้าเนอสเซอรี่เร็วเกินไป เพราะเด็กที่อยู่ด้วยกันเยอะ ๆ การแพร่กระจายของเชื้อจะมีได้ง่าย
ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันไวรัสโรต้าที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย ซึ่งได้รับอนุมัติใช้ทั้งหมด 2 ชนิด คือวัคซีนที่มีส่วนประกอบของเชื้อโรต้า 1 สายพันธุ์ และ 5 สายพันธุ์ เป็นวัคซีนชนิดรับประทาน (หยอด) ที่มีข้อมูลความปลอดภัย และสามารถเริ่มให้วัคซีนป้องกันไวรัสโรต้ากับทารกอายุตั้งแต่ประมาณ 6-12 สัปดาห์ เพราะในช่วงสัปดาห์แรก ๆ เด็กทารกจะยังได้รับภูมิคุ้มกันที่สร้างจากรกและการกินนมแม่ การสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสโรต้า จึงควรเริ่มต้นในช่วงอายุประมาณ 2 เดือน ซึ่งเด็กอาจจะเริ่มมีโอกาสสัมผัสกับเชื้อโรคที่อยู่รอบ ๆ ตัวแล้ว
ปัจจุบันมีวัคซีนไอพีดี (IPD) ฉีดให้เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง ส่วนในเด็กทารกควรเริ่มฉีดเมื่ออายุได้ 2 เดือนขึ้นไป และฉีดเข็มต่อไปเมื่ออายุได้ 4, 6 และ 12-15 เดือน โดยเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง หรือมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง วัคซีนจึงมีส่วนสำคัญ
สำหรับการป้องกันที่ทำได้แน่นอนคือ ควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และสร้างสุขอนามัยที่ดีกับลูก เป็นตัวช่วยที่สำคัญที่สุดครับ