โรคติดโทรศัพท์มือถือ หรือ Nomophobia มาจากคำว่า no mobile phone phobia มีพฤติกรรมติดอยู่กับการเล่นโทรศัพท์มือถือตลอดเวลา
• พกมือถือติดตัวตลอดเวลา ต้องวางไว้ใกล้ตัวเสมอ
• รู้สึกกังวลเมื่อมือถือไม่ได้อยู่กับตัวหรือแบตเตอรี่หมด
• คอยเช็กข้อความจากโซเชียลมีเดีย หยิบโทรศัพท์ขึ้นมาดูบ่อยๆ แม้ไม่มีเรื่องด่วน
• ตื่นนอนจะเช็กโทรศัพท์ก่อนและยังคงเล่นโทรศัพท์ก่อนนอน
• ติดเกม
• ใช้เวลาพูดคุยกับผู้คนผ่านโทรศัพท์ในโลกออนไลน์มากกว่าพูดคุยกับคนรอบข้าง
โรคติดโทรศัพท์มือถือพบในกลุ่มเยาวชนอายุ 18-24 ปี มากถึงร้อยละ 70 รองลงมาคือกลุ่มคนวัยทำงาน ช่วงอายุ 25-34 ปี และกลุ่มวัยใกล้เกษียณ 55 ปีขึ้นไป
มีงานวิจัยจากโครงการ The World Unplugged Project ทีมนักวิจัยได้ศึกษานักเรียนกว่า 1,000 คน จาก 10 ประเทศ โดยให้เด็กนักเรียนงดใช้โทรศัพท์มือถือ 1 วัน พบว่ามีเด็กมากกว่า 50 % ที่ไม่สามารถทนอยู่ได้โดยไม่มีเครื่องมือสื่อสารใด ๆ และกลุ่มตัวอย่างทุกคนก็รู้สึกทรมานมาก หลายคนยอมรับว่าติดโทรศัพท์เหมือนติดยาเสพติด ถ้าไม่มีมันก็อยู่ไม่ได้ เขารู้สึกเหมือน สับสน กระวนกระวาย โกรธ โดดเดี่ยว ไม่มั่นคง ไม่ปลอดภัย ตกใจ หงุดหงิด ฯลฯ
1.อาการติดโทรศัพท์มือถือทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ เช่น
• เกิดนิ้วล็อก เกิดจากการใช้นิ้วกด จิ้ม สไลด์หน้าจอเป็นเวลานาน กล้ามเนื้อมัดเล็กมีพัฒนาการล่าช้า
• สายตาเสีย ตาล้า ตาพร่า ตาแห้ง เพราะเพ่งสายตาจ้องหน้าจอเล็กๆ ที่มีแสงจ้านานเกินไป อาจส่งผลให้วุ้นในตาเสื่อม จอประสาทตาเสื่อม
• ปวดเมื่อยคอ บ่า ไหล่ จากการก้มหน้า
• เกิดโรคอ้วน เพราะไม่ชอบเคลื่อนไหวร่างกาย
2.อาการติดโทรศัพท์มือถือทำลูกพูดน้อยลง มีปฏิสัมพันธ์น้อยลง พูดคุยผ่านมือถือมากขึ้น ทำลูกใช้ภาษาแย่ลง
3.อาการติดโทรศัพท์มือถือพาลูกชอบแยกตัวออกจากสังคม
4.อาการติดโทรศัพท์มือถือทำให้ลูกอยู่กับตัวเองไม่เป็น พึงพาตัวเองไม่ได้ แต่ชอบอาศัยพึ่งพิงโลกเสมือนในออนไลน์
5.อาการติดโทรศัพท์มือถือทำลูกขาดโอกาสเรียนรู้สิ่งรอบตัว ทักษะเรื่องสังเกตน้อยลง ทำลูกห่างไกลธรรมชาติ
• หลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์ต่อหน้าลูก
• กำหนดช่วงเวลาในการใช้แต่ละวัน เด็กเล็กต่ำกว่า 2 ขวบ ไม่ควรให้ใช้มือถือ ทีวี คอมพิวเตอร์ เด็กอายุ 1-5 ปี จำกัดวันละไม่เกิน 1 ชั่วโมง
• ใช้โทรศัพท์ร่วมกับลูก ดูไปพร้อมกับลูก เพื่อสอดส่องการรับสื่อของเขา
• หากิจกรรมงานอดิเรกทำกับลูก ชวนลูกเล่นต่างๆ ก็สามารถพาลูกออกจากหน้าจอสี่เหลี่ยมได้ค่ะ
อันที่จริงไม่ใช่แค่เด็กๆ ที่ติดโทรศัพท์มือถือ คุณพ่อคุณแม่เองก็ต้องระมัดระวังโรคนี้เช่นกัน เพราะไม่เพียงกระทบกับสุขภาพและการดำเนินชีวิต แต่ยังส่งผลต่อปฏิสัมพันธ์ในครอบครัวด้วยค่ะ
https://www.rama.mahidol.ac.th/
ลูกจะเลิกติดมือถือได้ พ่อแม่ต้องเริ่มจาก 5 ข้อนี้ ทำได้! ลูกพัฒนาการกลับมาดี