ไม่ต้องลุ้น สนช. ให้ พรบ. เด็กปฐมวัยผ่านแล้ว
ลุ้นกันมานานกับ พรบ. เด็กปฐมวัยที่เราเคยได้ยินก่อนหน้านี้ ว่าเดี๋ยวผ่านเดี๋ยวไม่ผ่าน ตอนนี้เป็นที่แน่ชัดแล้วว่าที่ประชุม สนช. (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) ลงมติเห็นสมควรประกาศใช้ร่างพระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ.... เป็นกฎหมาย รอการประกาศในราชกิจจานุเบกษาก่อนมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการต่อไป
สาระสำคัญของร่างฯ คือ
ประเด็นที่ 1 มีการปรับแก้ประเด็น
นิยามของเด็กปฐมวัย โดยกำหนดให้มีระบบการพัฒนา
เด็กปฐมวัย เป็น 4 ช่วง คือ
1. ช่วงก่อนคลอด หรือทารกในครรภ์มารดา
2. ช่วงแรกเกิด ถึงก่อนอายุสามปีบริบูรณ์ หรือช่วงวัยเด็กเล็ก
3. ช่วงอายุ 3-6 ปี หรือ ช่วงเด็กก่อนวัยเรียน หรือช่วงวัยอนุบาล
4. ช่วงอายุ 6-8 ปี หรือ ช่วงวัยรอยต่อระหว่างวัยอนุบาลกับวัยประถมศึกษาปีที่ 1-2
ประเด็นที่ 2 กำหนดให้
เด็กปฐมวัยได้รับการดูแล พัฒนาและจัดการเรียนรู้ โดยให้อยู่รอดปลอดภัยและได้รับการคุ้มครองจากการล่วงละเมิดไม่ว่าในทางใด ให้มีพัฒนาการที่ดีทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและปัญญาที่ดีสมวัย
สามารถเรียนรู้อย่างสอดคล้องกับหลักการพัฒนาศักยภาพและความต้องการจำเป็นพิเศษ ซึมซาบสุนทรียะและวัฒนธรรมที่หลากหลายได้ มีอุปนิสัยใฝ่ดี มีคุณธรรม มีวินัย ใฝ่รู้ มีความคิดสร้างสรรค์ และมีจิตสำนึกความเป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลก
ประเด็นที่ 3 กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มีหน้าที่และอำนาจจัดให้มีการให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่ประชาชนเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัว และการตั้งครรภ์ที่มีคุณภาพ การเลี้ยงดูบุตร และการพัฒนา
เด็กปฐมวัย รวมทั้งให้มีหน้าที่และอำนาจจัดให้มีสวัสดิการแก่หญิงมีครรภ์ในท้องถิ่นอย่างเหมาะสม เป็นต้น
ประเด็นที่ 4 การสอบคัดเลือกเด็กยังคงมีอยู่ แต่เห็นชอบให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เป็นผู้ออกหลักเกณฑ์ในการรับเด็กเข้าเรียนในชั้นอนุบาลและ ป.1 ทั้งนี้ต้องไม่มีผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
ที่มา :
www.matichon.co.th
mgronline.com