การให้นมลูกอาจเจอปัญหาบ้าง นี่คือ 10 ปัญหาการให้นมลูกที่แม่ทุกคนต้องเจอ พร้อมวิธีแก้ปัญหาการให้นมลูกที่ง่ายนิดเดียว แต่ช่วยเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ยาว ๆ
6. นมแม่หมดอายุไหม
การเปลี่ยนแปลงของน้ำนมที่วางไว้เฉย ๆ จะเห็นการแยกชั้นระหว่างน้ำและไขมัน ซึ่งไม่ได้หมายความว่าน้ำนมบูดเสีย เมื่อจะนำมาใช้การเขย่าเล็กน้อยตอนอุ่นให้ร้อนขึ้น ก็จะช่วยให้น้ำนมกลับเป็นเนื้อเดียวกันอีกได้ และอาจมีกลิ่นกลิ่นหืนเมื่อน้ำนมสัมผัสกับอากาศเข้า จึงควรเก็บน้ำนมในภาชนะที่มีฝาปิด เพื่อป้องกันการทำปฏิกิริยากับอากาศ เหมือนไขมันทั่วไป แต่ถ้าน้ำนมจับตัวเป็นก้อนเหมือนนมเปรี้ยว มีกลิ่นบูด หรือแยกเป็นก้อนๆ มีกลิ่นที่ผิดปกติดังที่กล่าวมาก็ควรเททิ้งเสียค่ะ
7. แก้ปัญหาหัวนมบอด
หัวนมบอดหมายถึงหัวนมที่ไม่เพียงแต่แบนราบ แต่จะหดเข้าเต้าเวลาเราเอามือบีบเต้านม พบได้ไม่บ่อยนัก และก็ยังสามารถให้ลูกกินนมจากอกแม่ได้นะคะ ถ้าเป็นรายที่ลานนมนิ่ม ก็จะง่ายขึ้น เพราะการนวดดึงหัวนมมักให้ผลดี แนะนำให้ทำการนวดดึงหัวนมเพื่อให้ยื่นออกมาตอนอาบน้ำเช้า-เย็น แล้วใช้ที่ครอบหัวนมนมที่เรียกว่าปทุมแก้ว ครอบเพื่อนวดลานนมให้นิ่มไว้ ส่วนคนที่ลานนมแข็งก็อาจจะนวดไม่ยืดออกมากนัก ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติ แต่เราคงต้องมาปรับเรื่องการประคองเต้านมเข้าปากลูก โดยใช้มือประคองทั้งเต้าให้เหลือเนื้อที่ที่ลานนมกว้างๆ จะได้ง่ายในการงับของลูก งานนี้อาจต้องพึ่งคนที่มีประสบการณ์หน่อย
8. เต้านมเล็กคือน้ำนมน้อยหรือเปล่า
คุณแม่ที่มีเต้านมขนาดเล็กกะทัดรัดก็ไม่ได้หมายความว่าความสามารถในการผลิตน้ำนมจะกะทัดรัดไปด้วย ปริมาณน้ำนมจะมีมากถ้าเรามีการกระตุ้นให้ลูกกินทุก 2-3 ชั่วโมง หรืออย่างน้อย 8 ครั้งในแต่ละวัน การอุ้มที่ดีจะช่วยให้ลูกกินได้สะดวกพยายามอุ้มลูกให้แนบชิดตัวเอาคางแนบชิดนมเอาท้องแม่แนบท้องลูกให้ดี ส่วนมากมักต้องใช้หมอนช่วยเพื่อความสะดวกมากขึ้น ส่วนที่เต้านมใหญ่ก็ระวังอย่าให้น้ำหนักของนมไปทับอกลูกจนอึดอัดนะคะ อย่าลืมว่าท่าอุ้มที่ดีจะช่วยป้องกันปัญหาหัวนมเจ็บ หัวนมแตกได้เป็นอย่างดี
9. เจ็บหัวนมหรือหัวนมแตก ควรให้ลูกกินนมไหม
หัวนมเป็นบริเวณที่มีเส้นประสาทมาเลี้ยงมากมาย จึงทำให้มีความไวต่อความรู้สึก ลูกที่แข็งแรงสุขภาพดีก็มักจะมีเรี่ยวแรงดูดดี ประกอบกับแม่มือใหม่ยังอุ้มยังจับไม่ถนัดก็อาจลงเอยเป็นเจ็บไปได้ วิธีแก้ปัญหาอันแรกคือ ให้ลูกเริ่มกินจากข้างที่เจ็บน้อยก่อน รอให้ลูกอ้าปากกว้างแล้วประคองลูกเข้าหาเต้านมแม่ อมให้ลึก พอที่จะไม่รู้สึกเจ็บ ไม่เอานมแม่ก้มไปใส่ปากลูกนะคะ กอดลูกให้แนบตัวแม่มากๆ เพราะจะช่วยให้เต้านมเข้าไปอยู่ในปากลูกมากขึ้น จะได้ไม่เจ็บเวลาลูกดูด หลังให้นมเสร็จบีบน้ำนมแม่ทาบนหัวนมบางๆ แล้วรอให้แห้งก่อนใส่เสื้อชั้นในทับไป อาจพักข้างที่มีแผลสัก 3-4 มื้อ หรือจนรู้สึกดีขึ้นแล้วค่อยกลับมากินจากเต้าทั้งสองใหม่ แต่ในระหว่างนั้นต้องบีบเก็บน้ำนมเอาไว้อย่างสม่ำเสมอ
การสังเกตอาการที่ต้องเพิ่มความระมัดระวัง
10. แม่ป่วยต้องหยุดให้นมไหม
ไม่ต้องหยุดค่ะ เวลาที่แม่ป่วยร่างกายของคุณแม่จะสร้างภูมิคุ้มกันและระบบการกำจัดเชื้อโรคออกไป ซึ่งอาจทำให้เรามีไข้ มีน้ำมูก แต่ในกระแสเลือดจะมีปริมาณเม็ดเลือดขาวสูงขึ้น เพื่อช่วยให้หายจากโรค และสิ่งนี้เองจะผ่านน้ำนมไปสู่ลูกและป้องกันลูกจากโรคที่แม่เป็น แม่จึงไม่จำเป็นต้องหยุดการให้นม ยกเว้นมีไข้สูง อ่อนเพลียมาก แจ้งคุณหมอทุกครั้งที่อาจจำเป็นต้องใช้ยา เพื่อจะได้ใช้ยาที่ปลอดภัยระหว่างให้นมลูก ถ้าแม่เป็นหวัดก็ผูกผ้าปิดปากสักหน่อยเพื่อเป็นการป้องกันการหายใจรดและแพร่เชื้อไปให้คนอื่น