กรดไหลย้อนในคนท้อง อาการคนท้องที่แม่ต้องรีบแก้อาการก่อนหลอดอาหารอักเสบ
แม่ท้องมักมีอาการกรดไหลย้อนทำให้แสบหน้าอก รู้สึกไม่สบายตัว แม่ท้องเป็นกรดไหลย้อนส่งผลต่อลูกในครรภ์อย่างไร และจะแก้อาการกรดไหลย้อนอย่างไร
กรดไหลย้อนในคนท้อง อาการคนท้องที่แม่ต้องรีบแก้อาการก่อนหลอดอาหารอักเสบ
กรดไหลย้อนขณะตั้งครรภ์เกิดจากอะไร
- คนท้องเป็นกรดไหลย้อน เพราะการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณหลอดอาหารคลายตัวผิดปกติ ระบบย่อยอาหารทำงานช้าลง กล้ามเนื้อหูรูดบริเวณปลายหลอดอาหารที่อยู่ติดกับกระเพาะคลายตัวบ่อยกว่าปกติ
- คนท้องเป็นกรดไหลย้อน เพราะทารกโตขึ้นจนมดลูกขยายใหญ่เบียดกระเพาะอาหารให้ไปอยู่ในตำแหน่งที่สูงขึ้น เมื่อรับประทานอาหารมาก ๆ หรือเอนตัวลงนอนหลังรับประทานอาหารเสร็จไม่นาน น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรดจึงไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดอาหาร ทำให้รู้สึกเจ็บและแสบร้อนบริเวณหน้าอกตามมา
อาการกรดไหลย้อนในคนท้อง
-
แสบร้อนบริเวณคอหรือหน้าอกส่วนบน
-
เรอบ่อย เรอเปรี้ยว รู้สึกขมคอหลังจากตื่นนอน
-
คลื่นไส้ อาเจียน
-
ระคายเคืองคอ หรือเสียงแหบ
อาการกรดไหลย้อนในคนท้องมักเกิดขึ้นช่วงอายุครรภ์ 5-6 เดือน เมื่อเป็นแล้วจะไม่เป็นทั้งนี้ ภาวะกรดไหลย้อนขณะตั้งครรภ์นั้นไม่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ เพียงแต่อาจเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวันของตัวคุณแม่เอง และในรายที่มีอาการรุนแรงอาจทำให้เกิดภาวะหลอดอาหารอักเสบได้ ซึ่งอาการเหล่านี้จะค่อย ๆ หายไปเองหลังจากคลอดบุตรแล้ว
คนท้องกินยาแก้อาการกรดไหลย้อน ยากดกรดในกระเพาะได้ไหม
แม่ท้องสามารถกินแก้อาการกรดไหลย้อนได้ ไม่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ แต่ต้องอ่านสลากยาให้ชัดเจนเพื่อเลี่ยงยาลดกรดที่มีส่วนผสมของแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์มาก อาจทำให้คุณแม่ท้องเสีย และเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ และหากกินยาอย่างต่อเนื่องแล้วยังไม่ดีขึ้น ควรรีบพบแพทย์เพื่อรักษาและคำแนะนำอย่างถูกต้องค่ะ
10 วิธีรับมือ แก้อาการกรดไหลย้อนสำหรับคนท้อง
- ทานอาหารเป็นมื้อย่อย ๆ ควรแบ่งมื้ออาหารให้ถี่ขึ้นและลดปริมาณการรับประทานอาหารในแต่ละมื้อให้น้อยลง รวมทั้งเคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืน
- ไม่นอนหลังจากเพิ่งทานอาหารเสร็จ ควรนั่ง ยืน หรือลุกเดินอย่างน้อย 1 ชั่วโมงหลังรับประทานอาหารแล้วค่อยเอนตัวนอน
- หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำระหว่างทานอาหาร ควรเปลี่ยนมาดื่มน้ำหลังรับประทานอาหารเสร็จและในช่วงระหว่างมื้ออาหารแต่ละมื้อแทน
- หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการกรดไหลย้อน เช่น ผลไม้รสเปรี้ยว อาหารรสจัด อาหารไขมันสูง อาหารที่มีกรดเป็นส่วนประกอบ น้ำอัดลม เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เป็นต้น
- รับประทานโยเกิร์ต หรือดื่มนมเมื่อเกิดอาการ เนื่องจากเป็นเครื่องดื่มที่ช่วยบรรเทาอาการแสบร้อนจากกรดไหลย้อนได้
- ใช้หมอนหนุน บริเวณลำตัวส่วนบน ระหว่างนอนหลับ เพื่อให้หลอดอาหารอยู่สูงกว่ากระเพาะอาหาร ป้องกันกรดไหลย้อนกลับขึ้นมาที่หลอดอาหาร และควรนอนตะแคงซ้าย เพราะการนอนตะแคงขวาจะทำให้ตำแหน่งของกระเพาะอยู่เหนือหลอดอาหาร
- สวมใส่เสื้อผ้าที่สบายตัว เพราะการสวมใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่นจนเกินไปอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดกรดไหลย้อนได้เช่นกัน
- ควบคุมน้ำหนัก การรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดกรดไหลย้อนในคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ได้
- ใช้ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นยาที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป มีฤทธิ์ช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร ช่วยให้มีกรดเกินไหลย้อนกลับขึ้นมาที่หลอดอาหารน้อยลง แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มใช้ยาด้วย เพื่อความปลอดภัยต่อคุณแม่และทารกในครรภ์ค่ะ
- ไม่เครียดเพราะความเครียดก็สามารถทำให้เกิดกรดไหลย้อนได้ เพราะเมื่อไหร่ที่มีความเครียด ร่างกายจะกระตุ้นให้น้ำย่อยในกระเพาะหลั่งออกมามากขึ้น