Maternal Fetal Medicine (MFM) หมายถึง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ คือสูติแพทย์ที่ทำการศึกษาต่อยอดภายหลังจากที่จบการฝึกอบรมสูติศาสตร์นรีเวชวิทยาแล้ว คุณหมอต้องมาทำหน้าที่ดูแลในเชิงลึกเกี่ยวกับทางด้านทารก และมารดา ให้คำปรึกษาดูแลช่วยเหลือสูตินรีแพทย์ในการดูแลครรภ์ควบคู่กันไปตลอดการตั้งครรภ์
ในช่วงนี้จะเป็นช่วงของการคัดกรองที่เรียกว่า Screening ซึ่งเป็นการตรวจลักษณะที่แสดงออกทางอัลตร้าซาวน์ โดยการตรวจดูน้ำบริเวณใต้ต้นคอของทารก ร่วมกับการตรวจเลือดของคุณแม่ เพื่อตรวจหาดาวน์ซินโดรม และเพื่อดูว่าทารกในครรภ์มีพัฒนาการเป็นไปอย่างที่ควรจะเป็นหรือไม่ ดูว่ามีความผิดปกติอะไรหรือเปล่า เช่น ในระยะนี้ควรจะมีกะโหลก มีแขน มีขา เป็นต้น ซึ่งถ้าเราพบความผิดปกติตั้งแต่ในช่วงนี้ก็จะสามารถร่วมกันปรึกษาหารือ เพื่อหาหนทางแก้ไขปัญหา โดยไม่ต้องรอให้นานไปจนถึง 18 สัปดาห์
เป็นช่วงของการตรวจโครงสร้างของทารก ที่เรียกว่า Anatomic Survey เพื่อค้นหาความผิดปกติของเด็ก ซึ่งถ้าไม่พบความผิดปกติในช่วงนี้ คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถถอนหายใจได้เฮือกใหญ่ ๆ เลยทีเดียว เพราะแสดงว่าความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดปกติต่าง ๆ กับทารกนั้นลดลงอย่างชัดเจน นอกจากคุณหมอจะตรวจทารกแล้ว ในช่วงนี้คุณหมอก็จะทำการตรวจให้คุณแม่อย่างละเอียดอีกด้วย เพื่อดูว่ามีรกเกาะต่ำหรือไม่ รกอยู่ในตำแหน่งที่ดีหรือไม่ ถ้าอยู่ในตำแหน่งที่ดีก็ไม่น่าเป็นห่วง แต่ถ้ามีรกต่ำก็ต้องคอยติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป รวมทั้งการตรวจเนื้องอก หรือความผิดปกติภายในมดลูกอีกด้วย
สิ่งสำคัญสำหรับการตรวจอัลตร้าซาวด์ให้กับคุณแม่ในช่วงนี้คือ การวัดความยาวของปากมดลูก เพื่อดูว่ามีความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดหรือไม่ ถ้าปากมดลูกยาวแสดงว่าดี มีความแข็งแกร่ง โอกาสที่ปากมดลูกจะเปิดก็ยาก ความเสี่ยงที่จะคลอดก่อนกำหนดก็น้อย แต่ถ้าปากมดลูกสั้น อ่อนตัว ถุงน้ำย้วยลงมาได้ง่าย ก็มีโอกาสคลอดก่อนกำหนดได้สูง
ถ้าตรวจดูแล้วว่ามีความเสี่ยงก็จะมีการให้ยารักษาแล้วเฝ้าตรวจดูเป็นระยะ ๆ แต่ถ้าสั้นมาก ๆ อาจมีการผ่าตัดเย็บมดลูกร่วมด้วย เพื่อลดความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนดได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งในสมัยก่อนการคลอดก่อนกำหนดเป็นสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้ แต่ปัจจุบันการวัดความยาวของปากมดลูก และการให้ยากลุ่มโปรเจสเตอโรน สามารถช่วยลดปัญหาการคลอดก่อนกำหนดได้สูงถึง 50-70% เลยทีเดียว
ในช่วงนี้อาจารย์บอกว่าถือเป็น Option ให้คุณพ่อคุณแม่ได้เลือกมากกว่าว่าจะอัลตร้าซาวด์หรือไม่ เพราะถ้าผ่านช่วงที่ 2 มาได้ก็สามารถสบายใจไปได้กว่าครึ่งแล้วซึ่งช่วงนี้จะเป็นการตรวจดูการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ดูตำแหน่งรก ตรวจวัดปริมาณน้ำคร่ำ และตรวจดูความผิดปกติของทารกบางชนิด ซึ่งบางอย่างอาจจะมาพบความผิดปกติในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ได้เหมือนกัน แต่มีโอกาสเกิดได้น้อย อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความผิดปกติของทารกในครรภ์อีกหลายชนิด ซึ่งอาจจะไม่สามารถวินิจฉัยก่อนคลอดได้ทั้งหมด เนื่องจากข้อจำกัดของอัลตร้าซาวด์ที่เพิ่มขึ้นในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ นอกจากนี้ขอเสริมว่า ถึงแม้จะมีเครื่องมืออย่างอัลตร้าซาวด์ที่มาช่วยตรวจคัดกรองความผิดปกติ หรือความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะต่างๆ ของทารกในครรภ์แล้ว สิ่งหนึ่งที่จะช่วยป้องกันทารกในครรภ์จากความผิดปกติต่าง ๆ ได้ คือการปฏิบัติตัวของคุณแม่
เพราะทั้งความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ของคุณหมอ บวกกับเครื่องมือที่จะมาช่วยให้ตลอดการตั้งครรภ์ของคุณผู้หญิงนั้นเป็นไปได้อย่างราบรื่น และเป็นครรภ์ที่มีคุณภาพ ปรึกษาหารือกับคุณหมอเพื่อวางแผนกันก่อนดีกว่า