อุบัติเหตุกับเด็กเป็นของคู่กัน แต่ป้องกันได้นะคะ เราได้รวบรวมมาให้แล้วสำหรับอุปกรณ์ ของเล่น ที่เกิดอุบัติเหตุกับเด็กบ่อยที่สุด ข้อมูลรวบรวมมาจาก กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จะมีอะไรที่ต้องระวังบ้าง มาดูกันเลยค่ะ
ก่อนพาลูกกลับบ้าน ควรจัดสิ่งแวดล้อมในบ้านให้เหมาะสมกับเด็ก ควรตรวจสอบเฟอร์นิเจอร์ว่ามีความมั่นคงหรือยึดไว้กับผนังและตรวจสอบประตูรั้วบ้านว่ามีการยึดไว้อย่างมั่นคง เพื่อป้องกันการล้มคว่ำลงมาทับลูกได้
หากพาลูกนั่งรถยนต์กลับบ้านควรให้นั่งในที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก (car seat) ที่ได้มาตรฐานทุกครั้งตั้งแต่ครั้งแรกที่เดินทาง ทุกครั้งที่เดินทาง และตลอดการเดินทาง โดยปฏิบัติตามข้อแนะนำของผู้ผลิตอย่างเคร่งครัด ซึ่งที่นั่งนิรภัยควรติดตั้งไว้ที่เบาะหลังของรถ และหันหน้าลูกไปทางหลังรถ
เวลาที่ลูกนอนหลับ ควรจัดให้ลูกอยู่ในท่านอนหงายเสมอ เพื่อป้องกันการเกิด SIDS (ปัญหาเสียชีวิตขณะนอนหลับในทารก)
วัยนี้สื่อสารด้วยการร้อง ควรอุ้มอย่างอ่อนโยนและปลอบลูก ไม่ควรเขย่าตัวเพื่อให้หยุดร้องไห้ เพราะเกิดอันตรายรุนแรงต่อสมองได้ หากรู้สึกว่าเครียดจากการที่ลูกร้องไห้มาก อาจให้ผู้อื่นช่วยอุ้มและปลอบลูกบ้าง แต่หากลูกร้องไห้ยาวนานโดยไม่ทราบสาเหตุควรปรึกษาแพทย์หรือบุคลากรทางสาธารณสุขเพิ่มเติม
ไม่ควรถือเครื่องดื่มหรืออาหารร้อน ๆ เมื่ออุ้มลูก เพราะเสี่ยงต่อการถูกน้ำร้อนลวกได้
ควรจัดให้ลูกนอนในที่นอนของตนเองเป็นสัดส่วนแยกจากเตียงของผู้ปกครอง โดยอาจให้อยู่ในห้องเดียวกันก็ได้ขึ้นอยู่กับบริบทของครอบครัว ควรเลือกเตียง ฟูก หมอน ผ้าห่มที่เหมาะสม โดยหมอนและที่นอนไม่ควรนุ่มจนเกินไป เบาะที่นอนควรมีขนาดพอดีกับเตียงและหลีกเลี่ยงการนำตุ๊กตา และสิ่งอื่น ๆ ไปไว้ในที่นอนของลูก
หากใช้เปลหรือเตียง ควรมีซี่ราวกันตกโดยช่องระหว่างซี่ราวห่างกันไม่เกิน 6 ซม. ไม่มีเสามุมเตียงยกขึ้นมา
อย่าปล่อยลูกไว้ตามลำพังบนที่สูง เช่น โซฟา และเมื่อเปลี่ยนผ้าควรใช้มือข้างหนึ่งสัมผัสลูกไว้ตลอดเวลาเพื่อป้องกันการตกจากที่สูง
ควรตรวจสอบอุณหภูมิน้ำก่อนอาบน้ำให้ลูกเสมอ และไม่ทิ้งเด็กไว้ในอ่างอาบน้ำตามลำพังแม้เพียงชั่วขณะ
ควรต่อสายดินและติดตั้งเครื่องตัดไฟอัตโนมัติ
เวลาที่ลูกนอนหลับ ควรจัดให้ลูกอยู่ในท่านอนหงายเสมอ เพื่อป้องกันการเกิด SIDS (ปัญหาเสียชีวิตขณะนอนหลับในทารก)
วัยนี้สื่อสารด้วยการร้อง ควรอุ้มอย่างอ่อนโยนและปลอบลูก ไม่ควรเขย่าตัวเพื่อให้หยุดร้องไห้ เพราะเกิดอันตรายรุนแรงต่อสมองได้ หากรู้สึกว่าเครียดจากการที่ลูกร้องไห้มาก อาจให้ผู้อื่นช่วยอุ้มและปลอบลูกบ้าง หรือวางลูกไว้ในที่ที่ปลอดภัย แต่หากลูกร้องไห้ยาวนานโดยไม่ทราบสาเหตุควรปรึกษาแพทย์หรือบุคลากรทางสาธารณสุขเพิ่มเติม
ของเล่นอื่นๆ ของลูกควรทำจากวัสดุที่ทนทานและปลอดภัย ไม่มีเหลี่ยมคม สีธรรมชาติหรือใช้สีปลอดสารพิษ ไม่มีชิ้นส่วนขนาดเล็กกว่า 3.2 x 5.7 x 2.5 ซม. ซึ่งหากหลุด หรือลูกนำเข้าปาก อาจสำลัก ติดคอ จนขาดอากาศหายใจได้
ไม่ควรให้ลูกใส่สร้อยคอ และของเล่นของใช้ที่มีสายยาวเกิน 22 ซม. เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุรัดคอได้
ไม่ควรใช้รถพยุงตัวหรือรถหัดเดิน เพราะนอกจากจะไม่ช่วยให้ลูกมีพัฒนาการการเดินด้วยตนเองแล้ว ยังเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุรุนแรงได้
ไม่ควรถือเครื่องดื่มหรืออาหารร้อน ๆ เมื่ออุ้มลูก เพราะเสี่ยงต่อการถูกน้ำร้อนลวกได้
ควรตรวจสอบอุณหภูมิน้ำก่อนอาบน้ำให้ลูกเสมอ และไม่ทิ้งเด็กไว้ในอ่างอาบน้ำตามลำพังแม้เพียงชั่วขณะ
วัยนี้ไม่ควรให้โดยสารรถจักรยาน และรถจักรยานยนต์ หากพาลูกนั่งรถยนต์ควรให้นั่งในที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก (car seat) ที่ได้มาตรฐานทุกครั้งตั้งแต่ครั้งแรกที่เดินทาง ทุกครั้งที่เดินทาง และตลอดการเดินทาง โดยปฏิบัติตามข้อแนะนำของผู้ผลิตอย่างเคร่งครัด ซึ่งที่นั่งนิรภัยควรติดตั้งไว้ที่เบาะหลังของรถ และหันหน้าลูกไปทางหลังรถ
ควรหลีกเลี่ยงการพาไปยังสถานที่ที่มีคนสูบบุหรี่
หากจำเป็นต้องฝากเลี้ยงในสถานรับเลี้ยงเด็ก ควรเยี่ยมชมและเลือกสถานที่ที่ดี ปลอดภัย บุคลากรไว้ใจได้
อย่าปล่อยลูกไว้ตามลำพังกับสัตว์เลี้ยง
ดูแลบริเวณรอบบ้านอย่าให้มีแมลงหรือสัตว์มีพิษมาทำรัง เช่น ผึ้ง ต่อ แตน
เรียบเรียงโดย : พญ.รสวันต์ อารีมิตร นพ.ชาญยุทธ์ ศุภคุณภิญโญ นพ.วิบูลย์ วีระอาชากุล
แหล่งข้อมูล : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย