กองควบคุมโรคติดต่อ ออกมาเตือนเเล้วว่าที่ผ่านมาภายในกรุงเทพมีผู้เป็นไข้เลือดออกเสียชีวิตเเล้ว 5 คน ปีที่เเล้วมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ถึง 6 คน เเละเป็นผู้ป่วยเป็นไข้เลือดออกสะสมเเล้ว 5,899 คน พ่อเเม่หลายๆ บ้านต้องรีบเตรียมตัวหาวิธีป้องกัน ดูเเลความสะอาดบริเวณบ้านกันเเล้วนะคะ เป็นการแก้ที่ต้นเหตุกันเลย ตอนนี้ฝนตกต่อเนื่องทุกวันหลายสัปดาห์ ถ้าปล่อยให้บ้านเเละรอบบ้านมีน้ำขังจากน้ำท่วม เกิดเป็นจุดอับหรือมีขยะที่ไม่ได้เก็บทิ้ง ยิ่งถ้ามีภาชนะเเตกหัก โอกาสเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงสูงนะคะ ถ้าพ่อเเม่คนไหนมีลูกเล็ก รักลูกจะมาเเนะนำวิธีป้องกันเเละการสังเกตอาการตัวเองเเละเด็กๆ กันค่ะ
สถานที่เสี่ยงเป็นเเหล่งเพาะพันธุ์ ยุงลาย
บ้านเช่า
บ้านเดี่ยว
กลุ่มคนทำงาน
ก่อสร้าง
โรงเรียน
ศาสนสถาน
สถานพยาบาล
สวนสาธารณะ
วิธีป้องกันโรคไข้เลือดออก
ดูแลความสะอาดบ้านและรอบๆ บ้านของตัวเอง
ช่วยกันเก็บขยะรอบบ้าน ไม่ปล่อยทิ้งไว้
กำจัดของแตกหักที่สามารถมีน้ำขัง ทำให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์
หลีกเลี่ยงอยู่ในสถานที่อับหรือที่มืด ที่จะทำให้โดนยุงกัด
เมื่อโดนยุงกัด รีบทายาหรืออาบน้ำทันที
ระวังยุงที่กัดเวลากลางวัน
ถ้ามีสวนหรือต้นไม้รอบบ้าน ตัดแต่งให้ดูโปร่ง อย่าปล่อยให้ต้นหญ้าขึ้นรก
ดูแล ทำความสะอาดบ่อน้ำ บ่อปลาบ่อยๆ
อย่าเปิดประตู หน้าต่างทิ้งไว้ เปิดและปิดทันที
ถ้าไปข้างนอกเวลากลางคืน ควรพกสเปรย์กันยุง
การดูแลและรักษาไข้เลือดออกสำหรับเด็ก
สำหรับโรคไข้เลือดออกนั้น ปัจจุบันไม่มียารักษาโรคไข้เลือดออกโดยเฉพาะ แต่จะเป็นการรักษาตามอาการ
อาการไข้เลือดออกระยะที่ลูกมีไข้สูงลอย
คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องมีการดูแลเช็ดตัว หรือให้กินยาลดไข้ (พาราเซตามอลเท่านั้น) ระวังอย่าให้มากเกินความจำเป็น เพราะการเป็นไข้เลือดออกนั้น มีภาวะตับอักเสบอยู่ ตับต้องทำงานหนักในการเม็ตตาโบริซึ่มยา อาจทำให้มีภาวะตับวาย หรือตับอักเสบรุนแรงได้ ถือเป็นระยะสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ควรเฝ้าสังเกตอาการ การเปลี่ยนแปลง รวมทั้งให้การดูแลสุขภาพของลูกอย่างใกล้ชิด
เมื่อมีอาการไข้เลือดออก ห้ามกินยาแอสไพรินหรือยาในกลุ่มลดไข้สูง เนื่องจากมีผลทำให้เลือดออกง่ายขึ้น เพราะยากลุ่มนี้มีผลต่อการทำงานของเกล็ดเลือดซึ่งเป็นกลไกสำคัญเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือดในร่างกาย ในบางรายอาจทำให้เกล็ดเลือดต่ำลง หรือทำงานผิดปกติ เลือดจะออกไม่หยุด และเสียชีวิตได้
ควรให้ลูกกินอาหารตามปกติและพักผ่อนอย่างเพียงพอ โดยเลือกอาหารอ่อนๆ ที่ดูดซึมง่าย เช่น ข้าวต้ม นม น้ำหวาน น้ำผลไม้ เป็นต้น ถ้าลูกยังทานได้ดี วิ่งเล่นได้ ก็สามารถปฐมพยาบาลที่บ้านได้ แต่หากลูกกินไม่ได้ แล้วมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ซึมลง หรือมีอาการเลือดออกด้วย ก็ควรพาไปพบแพทย์โดยเร็ว
อาการผู้ป่วยไข้เลือดออก มี 3 ระยะ
1. ระยะไข้สูง
มีอาการไข้สูงลอย กินยาลดไข้ไม่หาย เช็ดตัวแล้วไข้ไม่ลด
มีอาการ 2-7 วัน ขึ้นอยู่กับอาการแต่ละคน
ตัวและหน้ามักจะแดงกว่าปกติ
บางคนอาจจะอาการเยื่อบุตาอักเสบ
มีผื่นขึ้น
คลื่นไส้ อาเจียน
ปวดท้อง
มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง
บางคนอาจมีเลือดกำเดาออก
2. ระยะวิกฤต
หลังจากไข้ขึ้นสูง ไข้จะลดลงอย่างรวดเร็ว
จะมีการรั่วของพลาสมาหรือน้ำเหลืองออกนอกเส้นเลือด โดยใช้เวลาประมาณ 24-48 ชม. ขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละราย จะมีความรุนแรงไม่เท่ากัน
ถ้ามีอาการรุนแรงมาก จะมีการรั่วของพลาสมาออกนอกเส้นเลือดจำนวนมาก
ถ้าให้สารน้ำโดยการกินหรือน้ำเกลือทางเส้นเลือดทดแทนไม่ทัน ผู้ป่วยจะเกิดการช็อกคือความดันโลหิตต่ำ
ในกรณีที่อาการไม่รุนแรง ผู้ป่วยจะสามารถผ่านอาการไข้เลือดออกระยะวิกฤตนี้ไปได้โดยปลอดภัย
3. ระยะพักฟื้น
อาการระยะนี้ที่มีการดูดกลับของพลาสมาเข้าสู่กระแสเลือด
อาการทั่วไปจะดีขึ้น
จะเจริญอาหารมากขึ้น
ชีพจรจะเต้าช้าลง เพราะช่วงวิกฤตหัวใจจะเต้นเร็วกว่าปกติ
อาจมีผื่นขึ้นตามร่างกาย ฝ่ามือ ฝ่าเท้า เรียกว่า ผื่นในระยะพักฟื้น
ปัสสาวะออกมากขึ้น
คุณหมอจะหยุดให้สารน้ำทางเส้นเลือด เพื่อป้องกันการแทรกซ้อนจากภาวะน้ำเกิน
เมื่อพบผู้ป่วยต่อเนื่อง 3 วัน ต้องรีบไปพบแพทย์ในทันที
สอบถามเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก ได้ที่สำนักอนามัย
ที่ตั้ง : ชั้น 4 อาคารธานีนพรัตน์ กทม.2 ถ.มิตรไมตรี เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400
เบอร์โทรศัพท์ : 02-245-4964
เว็บไซต์ : www.bangkok.go.th/bmadcd
Email : health_bma@yahoo.com
สำนักอนามัย ได้ย้ายสถานที่ปฏิบัติงานไปยังอาคารธานีนพรัตน์ ชั้น 4 เป็นการชั่วคราว เนื่องจากมีการปรับปรุงอาคารสำนักการโยธา และอาคารสำนักการระบายน้ำ กทม.2 (ดินแดง)