"ลูก 7 เดือนซนจังเลยค่ะ อยู่ไม่นิ่ง ใครๆบอกว่าสงสัยจะเป็น ไฮเปอร์ฯ "
"ลูก 2 ขวบกว่าเป็นเด็กเรียบร้อย ไม่ค่อยซน แต่ยังไม่พูดเลยค่ะ กลัวว่าแกจะเป็น เด็กออทิสติก อย่างที่เขาพูดกัน"
"ลูกอยู่ป.1 แล้วครับ เป็นเด็กฉลาด พูดเก่ง แต่ทำไมสอบทีไรตกทุกที อ่านหนังสือเจอเขาบอกว่าเดี๋ยวนี้มี โรคใหม่เรียกว่า LA เอ๊ย LD ลูกผมจะมีโอกาสเป็นมั้ยครับ"
"แล้วจะสังเกตยังไงคะว่าลูกเรา...เป็นอะไรกันแน่?"
นี่แหละค่ะความกังวลใจอันดับต้นๆของพ่อแม่ไทยยุค(ต้อนรับ)ปี 2000!
ก็เพราะภาวะความผิดปกติต่างๆเหล่านี้ กำลังได้รับความสนใจจากพ่อแม่ นักการศึกษาและวงการแพทย์เอง เพราะมีการค้นพบว่านอกจากโรคภัยไข้เจ็บทางกาย เช่น ปวดหัว ปวดฟัน เป็นหวัด เจ็บคอ ฯลฯ และโรคทางจิต ทางประสาทแล้ว ยังมีโรคอีกกลุ่มหนึ่งที่เกิดจากความผิดปกติของการทำงานของสมอง แล้วไปส่งผลต่อพฤติกรรม การแสดงออก รวมถึงการเรียนรู้ต่างๆของเด็ก...โดยเฉพาะโรค สมาธิสั้น ออทิสติก และ LD จะได้รับความสนใจเป็นพิเศษ เพราะพบได้บ่อยและมีการกล่าวถึงตามสื่อต่างๆมากที่สุด
ออทิสติก
ที่มาของโรค *เกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมองแต่ยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นสมองส่วน ใด ผิดปกติอย่างไร แต่จากการตรวจในครอบครัวเด็กที่ป่วยพบว่ากลุ่มเสี่ยงหรือwarning signที่อาจทำให้เกิดความผิดปกติเหล่านี้ได้ มักจะเป็นกลุ่มที่แม่มีปัญหาในระหว่างตั้งครรภ์ เช่น แม่ใช้ยาหรือแอลกอฮอล์ขณะตั้งครรภ์ หรือมีปัญหาระหว่างคลอดหรือหลังคลอด เช่น คลอดก่อนกำหนด เขียวคล้ำหลังคลอดสมองมีการทำงานผิดปกติ จากการติดเชื้อ อุบัติเหตุ หรือได้รับสารพิษ เช่น สารตะกั่วหรืออาจเป็นเด็กเลี้ยงยาก งอแง กินอยู่ ขับถ่ายไม่เป็นเวลาอารมณ์แปรปรวน เป็นต้น
หมายเหตุ:
แต่ไม่ได้หมายความว่าเด็กกลุ่มเสี่ยงข้างต้นจะต้องกลายเป็นเด็กพิเศษทุกคน ในทำนองเดียวกันเด็กที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงก็อาจเป็นได้เพราะสาเหตุหลัก คือความผิดปกติของสารเคมีในสมอง
สังเกตกันหน่อย *ถึงวัยที่ควรจะพูดได้แล้ว แต่กลับไม่พูด หรือถ้าพูดก็พูดภาษาตัวเองซึ่งไม่มีใครเข้าใจได้ ส่วนใหญ่อายุประมาณ 1 ขวบกว่า - 2 ขวบจะเห็นชัด ไม่สบตาหรือที่เรียกว่าไม่มี eye contact เก็บตัว ชอบเล่นคนเดียว เรียกไม่ฟัง ทำอะไรซ้ำๆ ชอบอะไรที่เคลื่อนไหว เช่น ชอบดูน้ำไหล แต่ถ้าไม่มีอะไรเคลื่อนไหวก็จะเคลื่อนไหวตัวเอง เช่น นั่งโยกตัวไปมา ก่อนหน้านั้นในวัยทารกจะสังเกตได้ตรงที่เด็กไม่สบตากับพ่อแม่หรือคนที่อุ้ม ร้องไห้มาก งอแงตั้งแต่เล็ก ไม่ยิ้ม ไม่เล่นเสียง ฯลฯ
ปัญหาของลูก *มีปัญหาสำคัญ 3 ด้านคือภาษา สังคม และด้านพฤติกรรม เด็กจะไม่สื่อความหมายกับใคร อยู่ในโลกของตัวเอง เล่นคนเดียว มีพฤติกรรมแปลกๆ เช่น เล่นอะไรซ้ำๆ ปัญหาทั้ง 3 ด้านส่งผลต่อพัฒนการด้านความคิด เขาจะไม่มีจินตนาการ เล่นสมมติไม่เป็น และแม้จะไม่ได้ทำความเดือดร้อนให้ใครแต่ก็ไม่สามารถอยู่ในสังคมได้ ต้องมีคนคอยดูแลตลอดเวลา ส่งผลต่อภาวะจิตใจของทุกคนคนในครอบครัว และเมื่อโตขึ้นก็มักจะถูกมองว่าเป็นกลุ่มเดียวกับเด็กปัญญาอ่อน
การวินิจฉัยและรักษา *ส่วนใหญ่พ่อแม่จะพาลูกมาหาด้วยปัญหาถึงวัยแล้วยังไม่พูด กุมารแพทย์ก็จะต้องพิจารณาจากหลายๆปัจจัยร่วมกัน และต้องอาศัยเวลาในการติดตามพอสมควรว่าเด็กมีลักษณะอาการของออทิสติกหรือไม่ มากน้อยแค่ไหน เพราะโรคออทิสติกเป็นปัญหาทางพฤติกรรมดังนั้นก่อนอื่นจะต้องสังเกตพฤติกรรม ของเด็กสักระยะหนึ่ง มีการซักประวัติจากผู้ปกครอง และพิจารณาสภาพแวดล้อมที่เด็กอยู่ว่าเป็นอย่างไร เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่เพื่อดูว่าลักษณะที่เป็นเกิดจากสภาพ แวดล้อมหรือจากตัวของเขาเอง
จากสภาพแวดล้อม ก็เช่น อยู่ที่บ้านพ่อแม่ไม่ได้กระตุ้นให้ลูกมีปฏิสัมพันธ์หรือสื่อสารต่อกัน ปล่อยให้ลูกอยู่กับทีวี คอมพิวเตอร์ ปล่อยให้ลูกอยู่คนเดียวมากๆ แต่ถ้าลูกมีอาการออทิสติกที่เกิดขึ้นจากตัวของเขาเองและอยู่ในสภาพแวดล้อม แบบนี้ด้วยแล้วก็ยิ่งทำให้อาการเหล่านี้รุนแรงขึ้น
*การรักษา โดยทั่วไปผู้รักษามักจะให้พ่อแม่ของเด็กเป็นผู้ร่วมรักษาด้วย โดยจะให้คำแนะนำพ่อแม่กลับไปสอนหรือปรับพฤติกรรมเด็กที่บ้าน และกลับมาให้ผู้รักษาประเมินผลรวมทั้งรับคำแนะนำใหม่กลับไปปฏิบัติ สำหรับการใช้ยาในปัจจุบันยังไม่มียาที่รักาาอาการออทิสติกโดยตรง แต่เด็กบางคนแพทย์จะให้ยาเพื่อช่วยให้เรียนรู้ได้ดีขึ้นหรือให้พ่อแม่สอนและ ปรับพฤติกรรมลูกไดง่ายขึ้น ได้แก่ เด็กออทิสติกที่มีสมาธิสั้นหรือมีปัญหาทางอารมณ์ร่วมด้วย
เรียนแบบไหน *สำหรับเด็กออทิสติกแล้ว สามารถเรียนร่วมแบบเด็กปกติได้ แต่ทั้งนี้เด็กต้องได้รับการพัฒนาและเตรียมความพร้อมมาระดับหนึ่ง ที่สำคัญต้องเลือกเรียนในสถานศึกษาที่บุคลากรเข้าใจปัญหา และพร้อมจะช่วยเหลือเด็กกลุ่มนี้ พร้อมทั้งจัดสภาพแวดล้อมและการกระตุ้นที่เหมาะสมด้วย
พ่อแม่ช่วยลูกได้ *ก่อนอื่นต้องปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมและพฤติกรรมของคนในบ้านให้เหมาะสมกับ การปรับพฤติกรรมของลูกโดยการช่วยกระตุ้นให้ลูกหันมาสื่อสารกับเรา เช่น จากที่ไม่เคยสนใจลูกเพราะเห็นว่าไม่ร้อง ไม่งอแง ก็ปรับมาเป็นสนใจลูกมากขึ้น ให้ความสำคัญกับลูกมากขึ้น พอลูกตื่นปุ๊บก็ไปชวนลูกคุย มองหน้า สบตา หาอะไรมาล่อความสนใจของลูก หาเวลาสื่อสารกับลูกมากๆ ทั้งกอดทั้งหอมทั้งกระตุ้น ชื้ชวนให้ดูนู่นดูนี่
ที่สำคัญทุกครั้งที่จะสื่อสารกับลูก ไม่ใช่พูดลอยไปลอยมา เรียกชื่อ นั่งลงระดับเดียวกับลูก ตาสบตา มองหน้า พูดช้าๆชัดๆ ทำเสียงให้น่าสนใจ ให้ลูกสบตามองตอบ เด็กก็จะค่อยๆเรียนรู้ เช่น แม่พูดช้าๆชัดๆพร้อมกับชี้ว่า นม เอานมมั้ยคะ แล้วก็ยื่นให้ หรือเวลาเล่นพ่อแม่ก็ต้องพยายามเข้าไปมีส่วนร่วมต่อกิจกรรมนั้นๆของลูก และพยายามนำคำแนะนำของแพทย์ที่ปรึกษามาปฏิบัติที่บ้านอย่างสม่ำเสมอและต่อ เนื่อง จะช่วยลูกให้พัฒนาและใช้ชีวิตได้อย่างคนปกติ
สมาธิสั้น
ที่มาของโรค
*เกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมองแต่ยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นสมองส่วน ใด ผิดปกติอย่างไร แต่จากการตรวจในครอบครัวเด็กที่ป่วยพบว่ากลุ่มเสี่ยงหรือwarning signที่อาจทำให้เกิดความผิดปกติเหล่านี้ได้ มักจะเป็นกลุ่มที่แม่มีปัญหาในระหว่างตั้งครรภ์ เช่น แม่ใช้ยาหรือแอลกอฮอล์ขณะตั้งครรภ์ หรือมีปัญหาระหว่างคลอดหรือหลังคลอด เช่น คลอดก่อนกำหนด เขียวคล้ำหลังคลอดสมองมีการทำงานผิดปกติ จากการติดเชื้อ อุบัติเหตุ หรือได้รับสารพิษ เช่น สารตะกั่วหรืออาจเป็นเด็กเลี้ยงยาก งอแง กินอยู่ ขับถ่ายไม่เป็นเวลาอารมณ์แปรปรวน เป็นต้น
สังเกตกันหน่อย *สมาธิสั้นคือ เด็กที่มีช่วงความสนใจสั้น คือไม่ซนแต่ใจลอยง่าย บางคนมีลักษณะของอาการไฮเปอร์แอ็กทีฟร่วมด้วย คือนอกจากสมาธิสั้นแล้วยังซน อยู่ไม่นิ่ง หุนหันพลันแล่น ไม่ชอบรอคอย ทำก่อนคิด
แต่ทั้งหมดนี้สังเกตได้โดยเด็กจะต้องมีอาการก่อนอายุ 7 ปี และต้องมีอาการอยู่อย่างน้อย 6 เดือนโดยที่อาการเหล่านี้ไม่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กในวัยเดียวกัน เพราะฉะนั้นจะต้องดูด้วยว่าเด็กในวัยเดียวกับลูกควรจะทำอะไรได้บ้าง สมาธิควรจะมีแค่ไหน
ส่วนการซนอยู่ไม่นิ่งที่เรียกว่า ไฮเปอร์แอ็กทีฟนี้จะต้องพบได้ตลอดเวลาทั้งที่บ้านและที่โรงเรียนจนทำให้เด็ก มีปัญหาอื่นตามมา
ปัญหาของลูก *ส่วนใหญ่ปัญหาจะเริ่มสังเกตได้ชัดเมื่อลูกเข้าโรงเรียน พ่อแม่ก็มักจะได้รับรายงานจากครูว่าลูกไม่ตั้งใจเรียน ไม่สนใจฟังครู แกล้งเพื่อน ยุกยิกตลอดเวลา เรียนไม่รู้เรื่องผลการเรียนไม่ดี ถ้าครูไม่เข้าใจก็จะตำหนิลงโทษ เด็กก็จะเสียกำลังใจ ไม่อยากไปเรียน ปัญหาด้านอารมณ์และจิตใจก็จะตามมา เริ่มโดดเรียนหนีเรียน หรือไม่ก็แสดงออกอย่างอื่น เช่น ก้าวร้าว อาละวาด ฯลฯ
การวินิจฉัยและรักษา *การจะวินิจฉัยว่าเด็กมีอาการสมาธิสั้นหรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความทนได้ของพ่อแม่ พ่อแม่บางคนเอาความรู้สึกของตนเองมาวัด ถ้าตัวพ่อแม่เองเป็นคนเรียบร้อยก็อาจมองว่าลูกซนผิดปกติ หรือพ่อแม่ที่มีแต่ลูกชาย ก็อาจมองว่าความซนของลูกปกติ
แต่ส่วนใหญ่แล้วแพทย์จะต้องมีการทำเทสต์ และสังเกตจากปัญหาการเรียนเป็นหลัก โดยภาพรวมแพทย์จะนำคำจำกัดความของอาการสมาธิสั้นมาเป็นตัวประเมินอันดับแรก ก่อนวินิจฉัยลงลึกกว่านั้น เช่น เด็กซนมาก หุนหันพลันแล่น อยู่ไม่นิ่ง ไม่สมกับวัยของเด็ก เป็นก่อนอายุ 7 ปีและเป็นมาต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือนทำให้เด็กมีปัญหาในการปรับตัวและการดำรงชีวิตทั้งที่บ้านและที่ โรงเรียน
อย่างไรก็ตามจะต้องประเมินจากหลายๆอย่าง เพราะเด็กที่มีปัญหาการเรียนมีได้จากหลายสาเหตุ เช่น พ่อแม่ โรงเรียน ครู เพื่อน ล้วนเป็นปัญหาที่อาจทำให้เด็กเรียนไม่ได้ เรียนไม่ดี ซึ่งแพทย์จะต้องพิจารณาจากหลายอย่างก่อนสรุปว่าปัญหาของเด็กมาจากอะไรกันแน่ จากสิ่งแวดล้อมหรือจากความผิดปกติของเด็กเอง
*การรักษาแพทย์จะซักประวัติ สิ่งแวดล้อมและการเลี้ยงดูที่บ้าน จากนั้นจะขอรายงานความประพฤติของเด็ก ว่าอยู่ในห้องเรียนเด็กประพฤติตัวยังไง ต้องแนะนำพ่อแม่ปรับวิธีการเลี้ยงดู เด็กบางคนถ้าเป็นมากอาจต้องใช้ยาเพื่อให้เขาสงบขึ้นร่วมกับการปรับพฤติกรรม
เรียนแบบไหน
*การจัดสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องสำคัญ คือครูอาจจะต้องจัดลำดับกิจกรรมการเรียนการสอนให้เหมาะสม เช่น ศิลปะจะช่วยทำให้เด็กสงบมีสมาธิมากขึ้น เด็กกลุ่มนี้จะเรียนได้ดีในวิชานี้ก็อาจเพิ่มเวลาเรียนวิชานี้มากหน่อย หรือเด็กไม่ควรอยู่ในห้องที่มีสื่ออุปกรณ์การเรียนที่เยอะ แขวนระโยงระยาง เขาเหมาะกับห้องที่สงบๆ ครูต้องคอยพิจารณาว่าวิชาไหน บรรยากาศไหนที่ไม่เหมาะกับเขา ก็ต้องจับเขาแยกออกมาเพื่อไม่ให้รบกวนการเรียนของเด็กคนอื่น
คอยสังเกตว่ายาที่แพทย์ให้มานั้นเด็กกินแล้วเป็นอย่างไรและรายงานผลกลับไป ที่แพทย์ด้วย เช่น ยาตัวนี้เด็กกินแล้วไม่ซนแต่ง่วงหลับตลอดวัน ก็ต้องมีการปรับตัวยาเพราะเท่ากับเด็กไม่ได้เรียนรู้อะไรเลย โดยรวมแล้วครูจะต้องทำงานประสานกับแพทย์ผู้ดูแลรักษา ด้วยความที่เป็นเด็กซนอยู่ไม่นิ่ง ช่างซักช่างถาม เขาจึงไม่เหมาะกับการเรียนในโรงเรียนที่เร่งทั้งหลายเพราะยิ่งทำให้เขามี ปัญหา แต่จะเหมาะกับโรงเรียนเตรียมความพร้อม ที่เน้นเรื่องของพัฒนาการ เพราะข้อดีของเด็กสมาธิสั้นคือมีการเคลื่อนไหวเร็ว พร้อมจะเรียนรู้อะไรใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา มีความคิดสร้างสรรค์เยอะ
พ่อแม่ช่วยลูกได้ *ถ้าลูกมีปัจจัยเสี่ยงหรือแพทย์วินิจฉัยแล้วว่าเป็น สมาธิสั้น ก็ต้องคอยสังเกตพฤติกรรมของลูก ปรับพฤติกรรมในบ้าน เช่น ของเล่นที่มีในห้องเก็บให้หมดอย่าเอาออกมาทีละเยอะๆ เวลาเล่นก็ให้เล่นของเล่นทีละอย่าง เล่นเสร็จแล้วสอนให้เก็บให้เรียบร้อย ฝึกให้เขาอ่านหนังสือ หรือทำกิจกรรมที่ฝึกสมาธิได้นานๆ หลีกเลี่ยงการปล่อยให้ลูกอยู่กับทีวีหรือคอมพิวเตอร์มากๆเพราะเป็นตัวเร้า ให้ลูกมีสมาธิสั้นขึ้น พ่อแม่ต้องใจเย็นและอดทน เช่น ฝึกให้ลูกนั่งทำกิจกรรมอะไรสักอย่างนิ่งๆ จาก 3 นาทีเป็น 5 นาที เป็น 7 นาทีไปเรื่อยๆ พร้อมทั้งให้คำชมเชย ให้เขาเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง และในที่สุดก็จะให้ความร่วมมือกับพ่อแม่อย่างดี
LD(Learning Disability)
ที่มาของโรค
*เกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมองแต่ยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นสมองส่วน ใด ผิดปกติอย่างไร แต่จากการตรวจในครอบครัวเด็กที่ป่วยพบว่ากลุ่มเสี่ยงหรือ warning signที่อาจทำให้เกิดความผิดปกติเหล่านี้ได้ มักจะเป็นกลุ่มที่แม่มีปัญหาในระหว่างตั้งครรภ์ เช่น แม่ใช้ยาหรือแอลกอฮอล์ขณะตั้งครรภ์ หรือมีปัญหาระหว่างคลอดหรือหลังคลอด เช่น คลอดก่อนกำหนด เขียวคล้ำหลังคลอดสมองมีการทำงานผิดปกติ จากการติดเชื้อ อุบัติเหตุ หรือได้รับสารพิษ เช่น สารตะกั่วหรืออาจเป็นเด็กเลี้ยงยาก งอแง กินอยู่ ขับถ่ายไม่เป็นเวลาอารมณ์แปรปรวน เป็นต้น
สังเกตกันหน่อย
*LD หมายถึงเด็กที่ไม่ได้เป็นปัญญาอ่อน มีสติปัญญาปกติหรือมากกว่าปกติ ไม่ได้พิการใดๆทั้งสิ้น และไม่ได้เป็นเด็กที่อยู่ในวัฒนธรรมหรือสิ่งแวดล้อมที่มีลักษณะด้อยโอกาสใน การดูแล นั่นหมายความว่าสาเหตุต้องไม่ได้เกิดจากอย่างอื่นเลยนอกจากความผิดปกติของ สมอง ทำให้เรียนไม่ได้ตามศักยภาพทีมีอยู่ โดยอาจแสดงออกมาเป็นความบกพร่องทางการฟัง การพูด การเขียน การคำนวน เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลต่อการเรียน เช่น เด็กที่มีปัญหาการอ่าน คำว่า กลม อ่านเป็น กมล เพราะความสามารถในการรับตัวหนังสือเข้าไปแล้วแปลเป็นตัวอักษรของเขาเสียไป เด็กพวกนี้ถึงแม้จะเรียนพร้อมกับเด็กคนอื่น แต่ก็เรียนรู้ไม่ได้ หรือปัญหาด้านการเขียน เช่น อาจจะเขียนสลับด้านกัน ก ไก่ เขียนโดยหันหัวไปทางขวาแทนที่จะเป็นทางซ้าย หรือเลข3 เขียนกลับด้าน เป็นต้น เด็กกลุ่มนี้มักจะเริ่มสังเกตปัญหาได้ชัดเจนตอนเริ่มเข้าเรียน
ปัญหาของลูก
*ทำให้มีปัญหาในด้านการเรียน สอบไม่ผ่าน ผลการเรียนแย่ เช่น ถ้ามีปัญหาในการอ่านแต่มีความสามารถในการคำนวณก็ไม่สามารถทำคะแนนได้ดีเวลา สอบเนื่องจาก โจทย์ที่ให้ต้องอ่านเพื่อตีความหมาย จะทำให้เขามีปัญหาในการทำวิชานั้น เพื่อนหัวเราะเยาะ self concept แย่ ถูกมองว่าไม่เก่ง เวลาทำงานกลุ่มเพื่อนก็ไม่เอาซึ่งถ้าพ่อแม่ ครู ไม่เข้าใจ ไม่พยายามช่วยเหลือ เขาก็จะขาดความมั่นใจในตนเอง เสียกำลังใจ ไม่อยากเรียน ไม่พยายาม ปัญหาที่เกิดขึ้นก็จะเป็นวงจรวนไปเช่นนี้ ปัญหาด้านอารมณ์จิตใจก็ตามมา เริ่มโดดเรียน ไม่เข้าเรียน ทำให้เรียนไม่ได้ การศึกษาต่ำ เติบโตไปอย่างไม่ประสบความสำเร็จในการทำงาน อาจจะคบเพื่อนไม่ดี กลายเป็นคนเกเร หันเข้าหาอบายมุข เป็นปัญหาสังคมต่อไป
การวินิจฉัยและรักษา
*ถ้าเด็กมาด้วยปัญหาการเรียนรู้ เริ่มต้นแพทย์ต้องซักประวัติ และดูปัญหาแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นได้ทำให้ส่งผลต่อการเรียนของลูก เช่นเด็กมีโรคประจำตัวอะไรที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียนมั้ย เป็นผลทำให้ต้องขาดเรียนบ่อย เรียนไม่ทันเพื่อนหรือเปล่า หรือยาบางตัวที่กินมีผลทำให้เขาง่วงมั้ย ต้องดูปัญหาในครอบครัวด้วยว่าหย่าร้าง ทะเลาะตบตี ทำทารุณรึเปล่า ดูปัญหาที่โรงเรียนว่าเป็นยังไง ครูไม่เอาไหน เพื่อนแกล้งรึเปล่า ต้องเช็คละเอียด และทำไอคิวเทสต์ ถ้าผลออกมาว่า การอ่าน การเขียน การฟัง ไม่ได้ไปด้วยกันกับไอคิวก็พอจะบอกได้ว่าเด็กคนนี้น่าจะเป็น LD
*การรักษา แพทย์จะประสานกับโรงเรียน แจ้งผลการตรวจแก่ครู และขอความร่วมมือในการปรับวิธีการเรียนการสอนให้เหมาะสม
เรียนแบบไหน
*เด็กต้องอยู่ในโรงเรียนที่มีครูซึ่งเข้าใจและพร้อมจะช่วยเหลือ เช่น เด็กที่มีปัญหาการอ่าน ครูอาจต้องช่วยอ่านโจทย์ให้ฟังเวลาสอบ เขาก็สามารถเข้าใจและตอบข้อสอบนั้นได้ หรือมาปรับวิธีการสอนการอ่านคำให้เขา เช่น แทนที่จะสอนให้รู้จักการผสมคำก็ต้องสอนให้ใช้วิธีจำเป็นคำๆไป สิ่งสำคัญที่สุดคือถ้าครูเข้าใจให้ความร่วมมือ เขาก็จะรู้สึกดีต่อสิ่งรอบข้าง รู้สึกดีต่อตัวเองว่าจริงๆเขาก็เรียนได้ เขาไม่ได้โง่
พ่อแม่ช่วยได้
*สิ่งสำคัญสำหรับเด็กพวกนี้คือทำยังไงให้เขาผ่านช่วงวัยเรียนไปได้ เพราะเมื่อจบออกไปเขาก็ไม่ได้ต้องไปสอบ ต้องเรียนอะไร ปัญหาต่างๆก็จะลดน้อยลงไปตามวัยของเขาแต่ทำยังไงให้ช่วงวัยเรียนของเขามี ความสุขที่สุด เป็นปัญหาน้อยที่สุด พ่อแม่ต้องช่วยประคองไปก่อน โดยต้องให้เขามีความมั่นใจ มีความคิดเกี่ยวกับตัวเองว่ามีคุณค่า เพราะเด็กที่เรียนอ่อนมักจะไม่มีตรงนี้ ยิ่งสังคมบ้านเรามักคิดว่าเด็กเรียนเก่งคือเด็กดี ก็จะไปกดดันและเข้มงวดกับเด็กที่เรียนอ่อน จริงๆแล้วไม่ใช่ เด็กเรียนอ่อนบางคนก็มี EQ มากกว่าเด็กเรียนเก่งเสียอีก แต่หากอยากช่วยเหลือลูกให้เรียนดีขึ้นก็ต้องพยายามเข้าใจลูก ไม่ใช่ดุด่า หยิกตี ต้องใจเย็น ใช้ความอดทนสูง
คำพูดสำคัญๆ โปรยตามหน้าต่างๆแยกจากตาราง
"มีข้อสังเกตว่า เด็กที่ถูกล่อด้วยคะแนนตลอด เขาจะมีอัตตา พอโตขึ้นใช้ชีวิตในสังคมก็จะเป็นพวกที่วัตถุนิยม เลือกหางานที่ให้เงินได้มากที่สุดไม่ว่าจะด้วยวิธีไหน นี่คือเราสอนเขาทางอ้อม เขาคิดแค่ว่าต้องทำให้ได้มาก ให้เด่น ให้เยอะกว่าคนอื่น เราจึงเห็นว่าเด็กพวกนี้บางคนพอออกมาทำงานจะเหมือนคนแล้งน้ำใจ ทั้งๆที่เป็นคนเก่ง แต่เขาไม่รู้ตัวหรอก เด็กยิ่งเก่งยิ่งอันตรายถ้าเลี้ยงดูไม่ดีเขาอาจกลายเป็นอาชญากรที่ตามจับตัว ได้ยาก เพราะจะมีวิธีการที่แยบยลกว่าที่เราคิด
เพราะฉะนั้นไม่ว่าเด็กปกติหรือเด็กพิเศษ สิ่งสำคัญในการเลี้ยงดูคือ ความรักความอบอุ่น และความเข้าใจ และพิเศษสักนิดสำหรับเด็กพิเศษก็คือ สิ่งที่พ่อแม่จะคาดหวังจากเขาก็คือ ให้เขาสามารถมีชีวิตได้เองโดยลำพัง ไม่เป็นภาระกับใคร อยู่ในสังคมได้ เช่น ถ้าเป็นเด็กเก่งก็ต้องเน้นคุณธรรมสักหน่อย ถ้าเป็นเด็ก LD หรือ สมาธิสั้นก็ต้องเพิ่มเรื่อง self esteem หรือความนับถือ ความภูมิใจในตนเอง"
ศ.ศรียา นิยมธรรม
"หมออยากให้พ่อแม่และครูเข้าใจปัญหาแล้วหาทางช่วยเหลือเด็ก ที่สำคัญอยากให้พ่อแม่ลงมาคลุกคลี ลงมาช่วยเด็กให้มากขึ้น อย่าปล่อยให้เป็นปัญหาของครูหรือของหมอแต่เพียงฝ่ายเดียว พ่อแม่ต้องสนใจ คอยเอาใจใส่ร่วมกัน และถ้าเราช่วยเขาได้ เขาอาจไม่ได้เป็นนายก เป็นหมอ เป็นคนดัง แต่เขาสามารถอยู่ตรงไหนก็ได้อย่างมีความสุข ซึ่งมันจะช่วยป้องกันไม่ให้เขาเติบโตไปเป็นฆาตกร เป็นโจรผู้ร้าย เราต้องทำให้เขารู้สึกว่าถึงแม้เขาจะไม่ปกติแต่เขาก็จะไม่มีปมด้อย ใครๆก็เข้าใจเขา เขามีความภูมิใจในตนเอง เขาไม่จำเป็นต้องทำอะไรที่ไม่ดีเพื่อเรียกร้องความสนใจจากคนอื่นและก็อยากให้กำลังใจคนเป็นพ่อแม่ด้วยค่ะว่า
สำหรับเด็กพิเศษแล้วพ่อแม่เป็นกำลังสำคัญในการฝึกและดูแลเขา ถ้าพ่อแม่มีความมั่นใจเชื่อมั่นว่าเด็กเหล่านี้สามารถพัฒนาศักยภาพในตัวเขา เองได้ ถึงแม้ว่าจะมีปัญหาจุดนี้แต่เราสามารถปรับเปลี่ยนเอาส่วนที่ดีๆของเขามาชด เชย เราก็ช่วยเหลือลูกเราได้ อาจไม่เต็มร้อยแต่ก็ดีกว่าไม่ทำอะไรเลย
เพราะฉะนั้นอย่าท้อแท้ อย่าผิดหวัง แต่การจะดูแลเด็กพวกนี้ก็จะมีบางครั้งที่เราดาวน์สุดๆเลย บางช่วงก็จะดี มันก็จะขึ้นๆลงๆแบบนี้เหมือนกับการดูแลเด็กที่มีปัญหาเรื้อรังทั้งหลาย เพราะฉะนั้นถ้ามีปัญหาเรื่องไหนก็อาจกลับไปหาคนที่ช่วยเหลือเราได้ อาจเป็นคุณยาย คุณย่า หมอครู ฯลฯ เพื่อช่วยเติมพลังให้เราไปสู้ ให้เราพร้อม เพราะถ้าเราพร้อมเราก็จะช่วยเหลือลูกได้
สำคัญที่สุดเด็กกลุ่มนี้เขาต้องการความเห็นใจ ความเข้าใจและการยอมรับได้ของพ่อแม่ ถ้าพ่อแม่เข้าใจ ครูเข้าใจแล้ว ปัญหาต่างๆก็จะได้รับการแก้ไข เขาก็จะเติบโตไปได้อย่างมีความสุข บรรลุเป้าหมายที่พ่อแม่วางไว้ได้
ผศ.พญ.จันท์ฑิตา พฤกสานานนท์
"การที่เราบอกอะไรเด็ก เขาจะจำ มันเป็นการสร้าง self concept ทำให้เขาคิดว่าเขาแบบนั้น อย่างที่โบราณว่า ถ้าแม่อยากให้ลูกเป็นอะไรก็ต้องชื่นชมอย่าไปแช่งอย่าไปดุด่า จริงๆเป็นเพราะมันเป็นการลุ้น การชี้นำให้เด็กคิดอย่างนั้น เช่น เวลาเด็กซน ก็อย่าย้ำความซนของเขา ไม่งั้นเขาจะรู้สึกว่า เขาซน ต้องซน แต่ควรชมเชยบ่อยๆเมื่อเขาเริ่มทำความดี ครูเองก็เหมือนกัน อย่างเวลารายงานผลการเรียนแทนที่จะบอกว่า "วิชานี้ลูกคุณแย่มาก" ก็น่าจะเปลี่ยนเป็น "วิชานี้ลูกคุณพัฒนาขึ้นมานิดหนึ่งแล้วนะ แต่ถ้าทางบ้านช่วยอีกนิดคิดว่าดีขึ้นอีกเท่าตัวเลย"ซึ่งคำพูดแบบนี้มันเป็น แรงเสริม พ่อแม่ก็จะมีกำลังใจ และพยายามช่วยลูกอย่างเต็มที่"
ศ.ศรียา นิยมธรรม
"พ่อแม่ไม่ควรด่วนตัดสินว่าลูกเป็นอะไรจากแค่เพียงเพราะได้ข้อมูลจากสื่อ ต่างๆ เพราะแม้แต่แพทย์เองยังต้องอาศัยข้อมูลจากหลายๆอย่างกว่าจะวินิจฉัยเด็กสัก คนว่าเป็นอะไร หมออยากแนะนำว่าถ้าพ่อแม่สงสัย ก็นาจะเริ่มต้นด้วยการพาลูกไปพบกุมารแพทย์เป็นอันดับแรก อาจเป็นกุมารแพทย์ที่รักษาลูกอยู่ประจำก็ได้ แล้วถ้าสงสัยกุมารแพทย์ก็จะส่งต่อให้แพทย์ทางด้านพัฒนาการเป็นลำดับต่อไป"
ผศ.พญ.จันท์ฑิตา พฤกสานานนท์
ล้อมกรอบบทสัมภาษณ์
จากประสบการณ์การทำงานที่คลุกคลีอยู่กับเด็กพิเศษโดยเฉพาะเด็กออทิสติ กมายาวนานกว่า 8 ปีคุณวัชรา อินโสม ในฐานะนักจิตวิทยามีประสบการณ์การและภาพการทำงานมาเล่าสู่กันฟังค่ะ
*ทำไมถึงเลือกที่จะรักษาเด็กพิเศษในกลุ่มออทิสติกคะ
เพราะดิฉันมองว่าบุคลากรตรงนี้ยังขาดอยู่ แล้วโดยบุคลิกแล้วก็เป็นคนรักเด็ก อยากจะช่วยเขา อยากเห็นเขาดีขึ้น พอมาทำแล้วมันก็ลงลึกไปเรื่อย แล้วประสบการณ์ก็ทำให้เราได้เรียนรู้มากขึ้น นำมาปรับใช้และช่วยเด็กให้ดีขึ้น ก็รู้สึกดีใจ แล้วก็ทำเรื่อยมาค่ะ
*เด็กออทิสติก บุคลิกภาพโดยรวมที่สังเกตได้จะเป็นยังไงคะ
ส่วนใหญ่พ่อแม่จะพามาหาด้วยเหตุลูกไม่พูด และถ้าสังเกตดีๆจะพบว่าเด็กมีลักษณะอื่นร่วมด้วยคือไม่สบตา แยกตัว ไม่เล่นกับใคร ไม่สามารถสื่อความต้องการให้คนอื่นรับรู้ได้ ต่างจากเด็กพูดช้าทั่วไปเพราะเด็กพูดช้า เขายังสื่อความหมายด้วยท่าทางได้ เช่น ชี้บอกความต้องการ มีการมองหน้าสื่อสายตา หรือส่งเสียงอืออาเรียกคนอื่นบ้าง แต่เด็กออทิสติกจะสื่อไม่ได้เลย อย่างเวลาเขาอยากได้น้ำก็จะจับมือแม่ไปที่ขวดน้ำ บางคนก็เข้าใจว่านี่เป็นการสื่อภาษาของเขา แต่จริงๆสำหรับเขาแม่เป็นเพียงเครื่องมืออย่างหนึ่งเท่านั้นเอง ถ้าเปรียบเทียบในความรู้สึกเขาแม่ก็ไม่ต่างอะไรกับที่เปิดขวดเท่านั้น
*ในการรักษาเด็กแต่ละคนต้องเริ่มต้นยังไงบ้าง
คือเด็กส่วนใหญ่กุมารแพทย์จะเป็นผู้ส่งมาให้ แรกๆเราก็จะปล่อยให้เด็กอยู่ตามลำพังกับพ่อแม่หรือพี่เลี้ยงที่พาเขามา อยู่ในห้องสังเกตพฤติกรรม เราหมายถึงทีมงานซึ่งจะมีดิฉัน แพทย์และนักวิจัยคอยสังเกตผ่านกระจกวันเวย์ดูว่าเขาแตกต่างจากเด็กวัยเดียว กันมั้ย แล้วเริ่มทดสอบจากสิ่งที่เราสงสัย เช่นว่า ถ้าเราเดินเข้าไปเขาจะหันมามองเรามั้ย เขาติดแม่มั้ย ลองให้แม่เดินออกจากห้องซิเขาจะทำยังไง หรือลองขัดใจดูว่าจะตอบสนองอย่างไร เป็นต้น
หลังจากนั้นก็กลับมาให้ความสำคัญกับปัญหาที่พาเด็กมา และซักประวัติเพื่อสรุปวินิจฉัย การซักประวัติต้องละเอียดเพราะลักษณะบางอย่างที่คล้ายออทิสติกแต่อาจไม่ใช่ ซึ่งอาจมีเหตุมีผลมีที่มาก็ได้ เช่น ออทิสติกชอบเล่นซ้ำๆ เด็กคนนี้ก็ชอบเล่นซ้ำๆ แต่ปรากฏว่าพอซักประวัติแล้ว แม่ให้เล่นแต่ของเล่นเดิมชิ้นเดียว อย่างนี้แสดงว่าเป็นเรื่องของการเลี้ยงดู บางรายต้องไปเยี่ยมบ้านเพื่อดูสภาพความเป็นอยู่และสังเกตพฤติกรรมเด็กที่ บ้านเมื่อผ่านกระบวนการวินิจฉัยแล้ว หมอก็จะอธิบายให้พ่อแม่ฟัง แล้วให้พ่อแม่กลับไปทบทวนดูว่าที่หมอเห็นว่าลูกผิดปกตินี้ พ่อแม่สังเกตเห็นแบบนี้มั้ย แล้วค่อยมารักษา
*การรักษาเน้นแก้ไขด้านไหนเป็นพิเศษคะ
เน้นด้านพัฒนาการทางสังคมค่ะ เพราะเด็กกลุ่มนี้เขาจะอยู่ในโลกของตัวเองเป็นส่วนใหญ่ ไม่สนใจใครทำให้ขาดโอกาสในการเรียนรู้ด้านอื่นๆตามมารวมทั้งเรื่องการสื่อ ภาษาหรือเรื่องพูดด้วยค่ะ บางคนก็เล่นอะไรซ้ำๆอยู่คนเดียว เราก็จะทำให้เขาเห็นควาแมกต่างของคนกับวัตถุทำให้เขาสนใจคนอื่นได้บ้าง เริ่มสบตาคนอื่นได้นานขึ้น หรือเร่มมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นได้ แล้วเขาก็จะเริ่มเรียนรู้บางสิ่งบางอย่างจากคนที่เขามีปฏิสัมพันธ์ด้วย การเล่นซ้ำๆก็เริ่มลดลง เพราะเขารู้จักเล่นอย่างอื่นมากขึ้น หลังจากนั้นเขาก็จะเริ่มสื่อด้วยท่าทางบ้าง ก่อนจะเป็นคำพูดในที่สุด ฟังดูเหมือนง่ายนะคะ พ่อแม่หลายคนคงทราบดีว่ามันไม่ง่ายนัก เพราะเขาต้องทุ่มเทมากแต่ก็คุ้มไม่ใช่หรือคะกับการที่เขาได้ลูกกลับมาอยู่ใน โลกเดียวกับเขา ไม่ใช่อยู๋ในโลกเดียวกันกับเขา ไม่ใช่อยู่ในโลกของตัวเองสื่ออะไรกันก็ไม่ได้
*พ่อแม่ต้องตั้งรับอย่างไร มีคำแนะนำอะไรบ้าง
คงต้องเริ่มจากการเข้าใจและยอมรับก่อนว่าลูกเราเป็นอะไร แล้วรีบสร้างความพร้อมโดยเฉพาะด้านกำลังใจให้เกิดขั้นให้ได้ ดิฉันถือว่าพ่อแม่คือกำลังสำคัญที่จะช่วยให้เด็กพัฒนาต่อไป เพราะจริงๆแล้วการบำบัดรักษาเด็กกลุ่มนี้พ่อแม่ไม่ได้มีบทบาทแค่พาลุกมาให้ หมอรักษาแค่นั้นนะคะ แต่พ่อแม่เป็นเหมือนหนึ่งในทีมผู้รักษาเลย ดิฉันและคุณหมอก็ให้ได้แค่คำแนะนำหรือสาธิตให้ดู คุณพ่อคุณแม่ต้องนำไปปฏิบัติที่บ้านอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง จากประสบการณ์เด็กจะดีขึ้นช้าหรือเร็วพ่อแม่มีส่วนมากค่ะ เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องมีกำลังใจ มีความพยายามและอดทนนะคะ
*การทำงานกับเด็กออทิสติกมีความยากลำบากยังไงบ้างคะ
งานนี้เป็นเรื่องของพฤติกรรมดังนั้นต้องอาศัยเวลา ความพยายามและความอดทนอย่างมากค่ะ ที่สำคัญรายละเอียดในการช่วยเหลือมันไม่มีอะไรตายตัวเด็กแต่ละคนก็ต่างกัน เราต้องคิดปรับตลอดเวลา
*เวลาพ่อแม่มาหาเรา เขาคาดหวัง เรารู้สึกกดดันมั้ยคะ หาทางออกให้ตัวเองยังไง
ไม่หรอกค่ะ ดิฉันคิดว่าเข้าใจเขามากกว่า แต่ทางที่ดีก็ต้องอธิบายให้เขาเข้าใจก่อนที่จะรักษา ส่วนใหญ่พ่อแม่จะน่ารักให้ความร่วมมือดี เพราะเขาก็อยากให้ลูกหายแต่ก็มีบางส่วนที่ปฏิบัติตามไม่ได้เพราะเขามีความจำ เป็นบางอย่าง เช่น พ่อแม่ต้องทำงานไม่มีเวลา
เราก็ต้องช่วยกันหาทางแก้ต่อไป ส่วนตัวเราเองก็รู้สึกว่าอยากทำให้ดีที่สุด เหมือนกับไม่ใช่งาน เหมือนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเรา ไปไหนก็นึกถึง เข้าร้านหนังสือก็ เอ จะมีหนังสือนิทานเล่มไหนเหมาะกับเด็กของเรา ก็จะซื้อไปเผื่อ ไปช้อปปิ้งเห็นของเล่น ก็ต้องแวะเข้าไปดูแล้วว่าอันไหนมันจะช่วยพัฒนาเขาได้บ้าง และก็ไม่ได้รู้สึกว่าเป็นเรื่องลำบากใจอะไร เพราะพอมาเห็นเด็กๆเขาดีขึ้น เช่น บางคนพอมาหาจากไม่สบตาแล้ววันหนึ่งเขามองหน้าเรา ยิ้มให้และโผมากอดเรา แบบนี้นะ โหย หัวใจพองโต นี่แหละค่ะความสุขจากงานนี้ แต่ก็มีบางช่วงที่เขาแย่ เราก็จะ ว้า ไม่ดีเลย แล้วพวกเราหมายถึงทีมผู้รักษาจะมาคิดกันใหม่จะทำให้อะไรต่อไปงานี้ท้อไม่ได้ ค่ะ
*เป้าหมายสูงสุดของการทำงานตรงนี้ อยากเห็นเด็กๆเติบโตไปแบบไหนคะ
งานจิตวิทยาคือการศึกษาพฤติกรรม ดิฉันก็นำตรงนั้นมาปรับใช้ มาบำบัดเขา และหวังอยากเห็นเด็กๆพวกนี้สามารถใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด และถ้าเป็นไปได้ก็อยากให้เขาหายค่ะ
TIP
HELP..P...P
*สช.(สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ) โทร.282-3183-4,282-6831
*ชมรมการศึกษาพิเศษแห่งประเทศไทย ภาควิชาการศึกษาพิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มศว.ประสานมิตร โทร.258-0310 ต่อ 118
*ชมรมผู้ปกครองเด็กออทิสติก โทร.411-2899
*ศูนย์สุขวิทยาจิต โทร.246-1195,246-0117
*โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ โทร.384-3381-3
*ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาการเด็กภาคเหนือ โทร.(053)219953,890-240
*สถาบันพัฒนาศักยภาพสมอง(Creative Brain) โทร.7317070-1
ข้อมูลทางวิชาการ
*เรียบเรียงจากบทสัมภาษณ์ ศ.ศรียา นิยมธรรม อาจารย์ประจำภาควิชาการศึกษาพิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มศว.ประสานมิตร/ผศ.พญ.จันท์ฑิตา พฤกษานานนท์ หัวหน้าหน่วยพัฒนาการและการเจริญเติบโต ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และคุณวัชรา อินโสม นักจิตวิทยา....รอเช็คตำแหน่งค่ะ
*หนังสือเรื่อง LD เข้าใจและช่วยเหลือ โดยศ.ศรียา นิยมธรรม/สมาธิสั้น โดยดร.พัชรีวัลย์ เกตุแก่นจันทร์/เด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรม โดยศ.ดร.ผดุง อารยะวิญญู