ยังจำน้องปุณณ์กันได้ไหมคะ
คลิกอ่าน คำเตือนจากแม่ถึงแม่! ระวังลูกแพ้แป้งสาลีรุนแรงในอาหารเสริม ก่อนหน้านี้แม่ของน้องได้โพสต์เรื่องราวการแพ้แป้งสาลีในอาหารเสริมอย่างรุนแรงที่มีญาติๆ ให้น้องกินเข้าไป ล่าสุดคุณหมอได้ทดสอบการแพ้ของน้องทั้งหมด 6 ชนิด และพบว่าแพ้ ไข่แดง ไข่ขาว แป้งสาลี ซึ่งคุณหมอนัดเพื่อตรวจเพิ่มอีกที ซึ่งคุณแม่ได้บอกว่าในกรณีของน้องปุณณ์ซึ่งกินนมแม่ แม่ก็เลยต้องงดอาหารกลุ่มเสี่ยงที่จะทำให้น้องแพ้ไปด้วยค่ะ
เฟซบุ๊ก Give Chutima
วันนี้ มารายงานผล Test ของน้องปุณณ์ วันนี้ไป Test มา 6 ตัว(แม่จำไม่ได้ทั้งหมด จำแค่ตัวที่แพ้ค่ะ) น้องปุณณ์แพ้ ไข่แดง ไข่ขาว แป้งสาลี ครับ เคสของน้องปุณณ์คุณหมอขอตรวจอีกทีว่าดีขึ้นมั้ยวันที่ 19 มิย 59 ครับ น้องปุณณ์กินนมแม่ แม่ก็เลยต้องงดด้วยค่ะ
ข้อมูลเพิ่มเติมจากคุณแม่น้องปุณณ์ คือ หลังจากที่น้องแพ้และเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลใกล้บ้านในครั้งแรก พออาการดีขึ้นทางโรงพยาบาลก็ได้ให้คุณแม่พาน้องเข้ารับการทดสอบที่
สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี โดยวิธีสะกิด (Skin Prick Test) เป็น การทดสอบโดยหยดน้ำยาลงบนผิวหนังที่แขนและใช้เข็มสะกิดลงบนปลายหยดน้ำยา ค่าใช้จ่ายโดยประมาณอยู่ที่ประมาณ 700 กว่าบาท
สำหรับการ
ทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง (Allergy Skin Test) นั้นทำอย่างไร มีขั้นตอนอะไรบ้างลองมาดูกันค่ะ
การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง คือ การนำน้ำยาสกัดจากสารภูมิแพ้ชนิดต่างๆ ที่มีอยู่ในอากาศ เช่น ฝุ่นบ้าน ตัวไรในฝุ่น แมลงสาบ เกสรหญ้า วัชพืช เชื้อรา เป็นต้น มาทำการทดสอบที่ผิวหนังของผู้ป่วย เพื่อทำให้ทราบว่าแพ้สารใด วิธีนี้เป็นวิธีที่ช่วยในการวินิจฉัยโรคภูมิแพ้ที่มีความไวและความจำเพาะสูง ทำง่าย และราคาไม่แพง สามารถทราบผลได้ทันที ผู้ป่วยสามารถเห็นปฏิกิริยาภูมิแพ้ที่เกิดขึ้นด้วยตาของตนเอง การทดสอบมี 2 วิธีคือ
1.วิธีสะกิด (Skin Prick Test) เป็น การทดสอบโดยหยดน้ำยาลงบนผิวหนังที่แขนและใช้เข็มสะกิดลงบนปลายหยดน้ำยา ซึ่งทำง่าย เร็ว ไม่เจ็บและใช้อุปกรณ์น้อย เสี่ยงต่อการแพ้ทั่วร่างกายน้อย
2. วิธีฉีดเข้าผิวหนัง (Intradermal Test) เป็น การฉีดน้ำยาเข้าผิวหนังเป็นจุดเล็กๆ ซึ่งทำยากกว่าและเสียเวลามากกว่า เจ็บกว่าและใช้อุปกรณ์มากกว่า และทั้งเสี่ยงต่อการแพ้ทั่วร่างกายได้มากกว่า
ก่อนการทดสอบ ผู้ทดสอบจะได้คำแนะนำงดยารับประทานบางชนิดตามระยะเวลาที่กำหนด
การทดสอบ จะเริ่มด้วยวิธีสะกิดก่อน เป็นการตรวจคัดกรอง (screening test) เพื่อ ดูว่าผู้ป่วยแพ้รุนแรงมาก-น้อยเพียงใด ถ้าผู้ป่วยให้ผลบวกชัดเจนต่อน้ำยาสกัดสารภูมิแพ้ชนิดใดแล้วไม่จำเป็นต้อง ทดสอบด้วยวิธีฉีดเข้าผิวหนังอีก แต่ถ้าการทดสอบโดยสะกิดให้ผลลบ จึงทดสอบด้วยวิธีฉีดเข้าผิวหนังเป็นลำดับต่อไป
โดยทั่วไปการทดสอบจะใช้น้ำยาสกัดจากสารก่อภูมิแพ้ประมาณ 10-20 ชนิด และจะอ่านผลการทดสอบใน 15-20 นาที ถ้าผู้ป่วยแพ้สารก่อภูมิแพ้ชนิดใดจะเกิดรอยนูนและมีผื่นแดงๆรอบๆอาจรู้สึก คันเล็กน้อยตรงจุดนั้น เจ้าหน้าที่จะวัดขนาดของรอยนูน บันทึกไว้ และแพทย์จะอธิบายให้ทราบว่าผู้ป่วยแพ้อะไร
หลังจากนั้น 24 ชั่วโมง ถ้ายังมีผื่นแดงที่สดสอบภูมิแพ้นั้น ผู้ป่วยต้องวัดขนาดผื่นแดงและบันทึกไว้เพื่อแจ้งให้แพทย์ทราบในวันที่นัด ครั้งต่อไป ผื่นนั้นจะค่อยๆหายไปเอง
ประโยชน์ของการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง
1.ทำให้ทราบว่าโรคที่ผู้ป่วยเป็น มีสาเหตุมาจากโรคภูมิแพ้
2. ทำให้ผู้ป่วยทราบว่าตนเองแพ้สารก่อภูมิแพ้ชนิดใด และมากน้อยเพียงใด
3. ผู้ป่วยสามารถกำจัด หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ที่ตนแพ้ ซึ่งจะทำให้เกิดอาการของโรคอื่นขึ้นได้
4. ถ้าจำเป็นต้องรักษาโดยการฉีดวัคซีน แพทย์จะใช้ผลการทดสอบภูมิแพ้นี้เป็นข้อมูลในการสั่งวัคซีนสำหรับฉีดให้ผู้ป่วย
ข้อควรระวังในการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง
สำหรับผู้ป่วยที่แพ้มาก อาจเกิดอาการแพ้ทั่วร่างกายเช่นเดียวกับการแพ้ยาฉีดชนิดอื่น ได้แก่ การมีผื่นคัน ลมพิษทั้งตัว แน่นหน้าอก หายใจลำบาก หอบหืด และความดันโลหิตต่ำมากได้ แต่อาการเหล่านี้พบได้น้อยมาก หลังการทดสอบ ต้องนั่งพักรอดูอาการอย่างน้อย30 นาที จึงกลับบ้านได้
รศ.นพ. ปารยะ อาศนะเสน สาขาวิชาโรคจมูกและโรคภูมิแพ้
ภาควิชาโสตนาสิก ลาริงซ์วิทยา
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
สำหรับการทดสอบการแพ้ โดยการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง มีขั้นตอนอย่างไร ดูได้จากในคลิปนี้เลยค่ะ