โรคภูมิแพ้ (Allergy) ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ เป็นขึ้นมาก็ทรมานไม่น้อยเลยนะคะ ทั้ง ไอ จาม คัดจมูก น้ำมูก น้ำตาไหล คันรอบดวงตา ระคายเคืองทั่วใบหน้า มีผดผื่นคันแดงตามผิวหนัง อาจะถึงขั้นผิวหนังลอกอักเสบกันเลยทีเดียว แต่รู้ไหมคะ มีข่าวดีว่า ศูนย์วิจัยเป็นเลิศด้านการวิจัยและพัฒนาด้านโรคภูมิแพ้และวิทยาภูมิคุ้มกัน คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ร่วมมือกับบริษัทเกร๊ทเตอร์ฟาร์ม่า จำกัด ได้ผลิตวัคซีนไรฝุ่นสำเร็จแล้วค่ะ
รศ.นพ.พงศกร ตันติลีปิกร ภาควิชาโสตนาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล ประธานคณะกรรมการอำนวยการความร่วมมือการผลิตวัคซีนสำหรับโรคภูมิแพ้ เปิดเผย ว่า โรคภูมิแพ้เป็นสาเหตุของโรคเรื้อรังในคนไทยที่สำคัญโรคหนึ่ง จากสถิติพบว่าโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้มีอยู่ร้อยละ 30 ของประชากร และโรคภูมิแพ้ของทางเดินหายใจส่วนล่าง หรือโรคหืดภูมิแพ้มี 4 ล้านคน
จากการศึกษาหลายแห่งพบว่า “ไรฝุ่น” เป็นสารก่อภูมิแพ้ที่เป็นสาเหตุของโรคภูมิแพ้ของระบบทางเดินหายใจ ศูนย์วิจัยเป็นเลิศด้านการวิจัยและพัฒนาด้านโรคภูมิแพ้และวิทยาภูมิคุ้มกัน คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จึงร่วมมือกับบริษัทเกร๊ทเตอร์ฟาร์ม่า จำกัด เมื่อปี 2550 ศึกษาวิจัยผลิตวัคซีนและน้ำยาทดสอบโรคภูมิแพ้ ประกอบด้วย น้ำยาสกัดสารก่อภูมิแพ้ที่จำเป็น 8 ชนิดคือ
รศ.นพ.พงศกรกล่าวต่อว่า จากชุดทดสอบสารก่อภูมิแพ้ได้มีการต่อยอดผลิตวัคซีนไรฝุ่น โดยศูนย์ได้เพาะเลี้ยงไรฝุ่นบริสุทธิ์ทั้งสองสายพันธุ์ คือ Dermatophagoides pteronyssinus(Dp) และ Dermatophagoides farinae (Df) ซึ่งเป็นไรฝุ่นที่พบบ่อยในบ้านและก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ในคนไทย เป็นที่น่ายินดีว่าวัคซีนไรฝุ่นซึ่งเป็นวัคซีนรุ่นแรกที่ผลิตสามารถใช้ได้ผลดีกับผู้ป่วย
ทั้งพบว่าศิริราชเป็นรายแรกในประเทศอาเซียนที่ผลิตวัคซีนไรฝุ่นเพื่อจำหน่ายอย่างครบวงจรและได้รับการ รับรองจากองค์การอนามัยโลก องค์การอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกา รวมถึงผ่านการอนุมัติจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โทร.0-2419-6491 หรือ e-mail : sicore.allergy@gmail.com
สำหรับการป้องกันโรคภูมิแพ้ ทำได้ดังนี้
1. หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ หากป่วยเป็นโรคภูมิแพ้อยู่แล้ว ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือเผชิญกับสิ่งที่มีสารที่ตนแพ้ เช่น ผู้ป่วยที่แพ้อาหารทะเล ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ทำมาจากสัตว์ทะเลทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นอาหารแปรรูป อาหารสด หรืออาหารแห้ง ผู้ที่แพ้ฝุ่นควรหลีกเลี่ยงการเดินทางบนท้องถนนที่มีฝุ่นควัน ไม่ลดกระจกลงขณะโดยสารอยู่บนรถ หลีกเลี่ยงการเดินผ่านเขตบริเวณที่มีการก่อสร้าง และดูแลรักษาความสะอาดภายในบ้านและห้องนอน ให้มีอากาศถ่ายเทสะดวก แสงแดดเข้าถึง เพื่อป้องกันการสะสมฝุ่นและไรฝุ่นที่จะก่อให้เกิดอาการแพ้ได้
2. เขียนบันทึก ลงบันทึกประจำวันว่าทำกิจกรรมอะไรหรือรับประทานอะไรแล้วมีอาการอย่างไร เป็นการศึกษาอาการแพ้ รวมถึงให้ทราบสิ่งที่แพ้และสิ่งที่ไม่แพ้ เพื่อการวางแผนรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป
3. กินยา ยาจะช่วยป้องกันและบรรเทาอาการแพ้ โดยผู้ป่วยภูมิแพ้ต้องกินยาตามที่แพทย์กำหนด ไม่หยุดใช้ยาโดยพลการ เพราะอาจมีผลข้างเคียง มีอาการดื้อยา หรือมีอาการแพ้ที่กำเริบขึ้น
4. เตรียมการในภาวะฉุกเฉิน สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการแพ้รุนแรง ควรแจ้งอาการป่วยของตนกับบุคคลใกล้ชิด สวมใส่สร้อยคอหรือสร้อยข้อมือแพทย์เตือนที่จะสื่อให้ผู้อื่นทราบถึงอาการแพ้กำเริบในกรณีฉุกเฉินที่มีอาการจนไม่สามารถพูดสื่อสารได้ หรือในบางราย แพทย์จะให้ผู้ป่วยพกยาฉีดเอพิเนฟรินสำหรับฉีดรักษาด้วยตนเองหากอาการกำเริบ และเตรียมเบอร์โทรฉุกเฉินที่จำเป็นไว้ในกรณีเร่งด่วนเสมอ