ติดกรอบหรือเปิดกว้าง...คุณเป็นพ่อแม่แบบไหน ลูกจะสามารถอยู่รอดได้ในสังคมอย่างเป็นคนปกติ หรือเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีวุฒิภาวะต่ำ อยู่ที่ทัศนคติของพ่อแม่ ชวนมาเปิดหัวใจ กับ 5 วิธีสู่การเป็นพ่อแม่ที่มี Open Mindset เพื่อให้การเลี้ยงลูกไม่ใช่เรื่องที่ยากอีกต่อไป โดย รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเด็กและวัยรุ่น ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม
Mindset ถ้าแปลเป็นไทยง่ายๆ ก็คือทัศนคติ คือถ้ามีทัศนคติหรือจิตใจที่เรียกว่าไม่เปิดกว้าง จิตใจที่ไม่เปิดกว้างกับจิตใจที่เปิดแล้ว สังคมในยุคปัจจุบัน ที่กลายเป็นสังคมที่ไร้พรมแดน เป็นโลกยุคดิจิทัลจะเห็นเลยว่าเด็กๆ ยุคปัจจุบันนี้เขาสามารถที่จะบริโภคสื่อผ่านระบบโชเชียลมีเดียแม้กระทั่งที่เรากำลังทำ Podcast มันเป็นวิธีการใหม่หมดเลย พอมันเป็นวิถีชีวิตในลักษณะแบบนี้
เด็กเจนเนอเรชั่นใหม่เขาสามารถเข้าถึงเรื่องพวกนี้ได้หมดเลย สถานภาพของครอบครัวจึงมีอาคันตุกะใหม่เพิ่ม ถ้าทัศนคติของเราเปิดเราสามารถเรียนรู้ข้ามวัยกัน เรียนรู้บนความหลากหลายทางเพศ อันนี้จะเป็นลักษณะของ Open Mindset
แต่ถ้า Fix Mindset เลยเหมือนอุตสาหกรรม เช่น ระบบการศึกษาปัจจุบันนี้ ที่เข้าสู่สายพาน อันนี้หมอไม่ได้โทษใครแต่โทษทั้งระบบ เช่น เราต้องมีระบบแพ้คัดออก เวลาเข้าสู่อนุบาลก็ต้องเข้าไปเรียนประมาณนี้ คิดนอกกรอบไม่ได้ แล้วเวลาขึ้นสู่อนุบาล 1 2 3 เสร็จแล้วก็ต้องสอบเข้า แล้วก็ต้องเข้าโรงเรียนดังๆ เข้าไปเสร็จก็ต้องเรียนเยอะๆ การบ้านเยอะๆ
ตื่นตีห้าล้อหมุน 6 โมงเช้า กินข้าวเช้าบนรถ มาถึงโรงเรียนก็มีการบ้านเช้า ครูเขียนไว้บนกระดาน พอถึงเวลาปุ๊บ ถ้ามาสายเกิน 7 โมงครึ่ง ลบกระดานออก หมอก็ถามว่าแล้วคนที่มาสายกว่าทำอย่างไร ลอกเพื่อนเอาตัวรอด ตามมาด้วยวิชาที่เรียน แล้ววิชาที่เรียนก็กลายเป็น Fix หมด ลักษณะที่ Fix หมดทั้งหลายที่ไม่สามารถเปิดทางเลือกใดๆ ได้เลย
การบ้านที่คุณครูก็ให้นึกว่าเรียนวิชาแกวิชาเดียวเทกระจาดเข้าไป จนตกเย็นไปกวดวิชา ดินเนอร์บนรถ รถติดไปถึงบ้าน ทำการบ้านเสร็จกว่าจะเรียบร้อย เข้านอนเกือบเที่ยงคืน ตื่นตี 5 ล้อหมุน 6 โมงเช้า เหมือนเดิมเป็นแบบนี้จันทร์ถึงจันทร์
หมอมีคนไข้เด็ก ม.4 โรงเรียนสาธิตแห่งหนึ่ง เดินเข้ามาอย่างกับซอมบี้ ผีดิบ เขาเรียนจันทร์ถึงจันทร์ เขาภูมิใจมากเลยเรียนจันทร์ถึงจันทร์ แต่ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นบนการเรียนรู้แบบ Fix Mindset ไม่ใช่ Open Mindset
ความปรารถนาดีความรักที่พ่อแม่มีให้กับลูกเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าเรา Open Mindset สักนิดนึงแล้วเราถอยออกมาแล้วเราอยู่ในสถานะที่ เราใช้คำว่า Scaffolding (นั่งร้าน) คือครูหรือพ่อแม่ในยุคปัจจุบัน จะต้องทำเป็นนักอำนวยการเรียนรู้ ไม่ใช่ไปครอบงำ เพราะโลกมันเปิดหมดแล้ว สิ่งที่เราเรียนในตำราเรียนแบบเดิม แต่ถ้าไปเรียนรู้ต่างวัฒนธรรมมันอาจจะไม่ใช่
แต่ในขณะที่เขาสามารถไปสัมผัสสิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้เลย แล้วถ้าเรารังสรรค์สิ่งเหล่านี้ให้เกิดในบ้าน เรียกว่าครอบครัวหัวใจประชาธิปไตยมันเกิดขึ้นในบ้านเลยไม่ได้เหรอ แล้วเกิดขึ้นในโรงเรียนไม่ได้หรอ คือถ้ามันเกิดขึ้นในลักษณะนี้หมอเชื่อแน่ว่าผู้ใหญ่สิ่งที่จะต้องปรับเลยคือ Open Mindset ทัศนคติต้องเปิด ใจต้องเปิด ถ้าใจไม่เปิดสมองไม่เกิดการเรียนรู้ อันนี้เป็นหลักการ คือถ้าใจไม่เปิดแล้วใจเราปิด เราคิดเลยว่าสิ่งที่ลูกคิดอยู่นี้พ่อแม่อาบน้ำร้อนมาก่อน ดีที่มันไม่ลวก
อย่าลืมว่าพ่อแม่เติบโตในยุคนู้น แล้วถ้ายิ่งเป็นปู่ย่า ตายาย อีกยิ่งในยุคนู้นไปอีก อันนี้มันยุคนี้ ทีนี้จะอยู่อย่างไรให้มันกลายเป็นการ Open Mindset ที่เรียกว่าทัศนคติเราเปิดแล้ว ทัศนคติที่เปิดแล้วระบบการศึกษาก็จะไม่ได้เป็นลูฟแบบนี้ พ่อแม่ไม่ต้องแก่งแย่งชิงดีชิงเด่น ลูกเรียนเข้าไว้ ต้องเรียนสูงๆ เข้าไว้ จบด็อกเตอร์พูดภาษาคนไม่รู้เรื่อง มันไม่ใช่ในลักษณะนั้น
เราเป็นพ่อแม่ต้องถอยกลับมานั่งมองเลยว่า ลูกจะอยู่ร่วมกับสังคมอย่างไร เวลาลูกเข้าไปใช้ชีวิตอยู่ในรั้วโรงเรียนลูกจะต้องมีวิชาชีวิต ลูกก็ต้องเรียนรู้การอยู่ร่วมกันกับคนอื่น ในขณะเดียวกันเองเวลาที่มาที่บ้าน
หมอเคยพูดไว้หลายครั้งเลยว่า เช็ด ปัด กวาด ถูบ้าน ซักผ้า ล้างจาน เป็นเบสิกขั้นพื้นฐานมากเลย ถ้าเราเปิดใจในลักษณะนี้ วันนี้ลูกหลานเราจะไม่เป็นหุ่นยนต์เดินได้ เพราะเรากำลัง Fix Mindset เข้าสู่สายพานเข้าอนุบาล 1 2 3 จะต้องกวดวิชาแค่ไหน แล้วจะต้องไปสอบเข้า พอสอบเข้าเสร็จปุ๊บ ต้องเข้าโรงเรียนดัง ต้องสายอินเตอร์ เป็นไบลิงกัวร อันนี้เป็นประชานิยมนิดนึง มีการบลั๊ฟกันระหว่างพ่อแม่อีก ว่าลูกเธอเรียนที่ไหนเนี่
สมมติมีลูก 2 คน คนหนึ่งเรียนโรงเรียนสาธิต อีกคนเรียนโรงเรียนวัด คนที่เรียนโรงเรียนวัดหงอยไปเลยนะ อันนี้คือลักษณะของ Fix Mindset ทั้งสิ้น ถ้าใจเปิดเราจะรังสรรค์ให้เกิดการเรียนรู้ได้ รูปแบบต่างๆ การสุนทรียสนทนาในบ้านจะเกิดขึ้น
เป็นกระบวนการที่ทำให้พ่อแม่ทุก Generation จะไม่มีปัญหากับลูกทุก Generation
นัยยะของหมอคือรักร่วมทุกข์ ร่วมสุข วันนี้กลับไปถามใจตัวเองก่อน จริงหรือป่าวว่ารักร่วมทุกข์ร่วมสุข แม้แต่เช็ด ปัด กวาด ถูบ้าน ซักผ้า ล้างจาน ทุกวันนี้บางคนกางเกงในตัวเองยังไม่ซักเลย ถุงเท้าตัวเองก็ไม่ซัก ถ้ารักต้องรักร่วมทุกข์ร่วมสุข คุณแม่ตอนที่เกิดมาตั้งท้อง แม่ไม่ได้สบายกายนะ ทุกข์กายแต่ใจพองโต
แล้วความทุกข์ทางกายสุดยอดตอนที่คลอดลูก เจ็บปวดที่แม่ได้รับ แสดงว่ารักนี้เกิดขึ้นบนความเจ็บปวด แต่เป็นความเจ็บปวดที่หัวใจพองโต ได้ยินเสียงลูกร้อง เอาลูกมาซบอกดูดนมแม่ กลายเป็น Tender loving care รักนี้จึงกลายเป็นรักที่สมบูรณ์แบบที่ต่อให้ลูกจะเป็นอะไรก็ตามก็รักหมดใจไม่มีเงื่อนไข ทำไมเราไม่ใช้กระบวนการนี้ในการฝึกลูกเราบ้าง
เมื่อเขาเติบโตขึ้นไปเขาต้องรักเป็น รักเป็นไม่ใช่สำลักความรัก แต่ต้องบนรักที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขไปด้วยกัน เบสิกพื้นฐานเลย วันนี้คุณพ่อคุณแม่กลับไปถามใจตัวเองเลยว่าลูกเช็ด ปัด กวาด ถูบ้าน ซักผ้า ล้างจานบ้างไหม แล้วลองฝึกหัดเขาบนเรื่องนี้เลยแล้วคุณธรรมจะเกิด รักต้องร่วมทุกข์ร่วมสุข ไม่ใช่รักอบอุ่นและไว้วางใจ เทไปเลยลูกอยากได้อะไร เดี๋ยวแม่จะให้คนใช้ไปใส่ถุงเท้าบนห้องนอน อันนี้เยอะไปแล้วคุณพ่อคุณแม่
การใช้วิธีการสื่อสารซึ่งกันละกันที่ดีๆ ก็จะทำให้เกิดสุนทรียสนทนา เราอาจจะกำหนดกติกาก็ได้ว่าความคิดเห็นแต่ละคนมันหลากหลาย ลูกคนโตกับลูกคนเล็ก ลูกผู้ชายกับลูกผู้หญิง อาจจะไม่เหมือนกัน พ่อแม่ก็อาจจะมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน
เวลาเราจะสุนทรียสนทนาในบ้านซึ่งกันและกันเราอาจจะกำหนดกติการ่วม ถ้าเมื่อไหร่ที่อินไปกับอารมณ์แล้วเราอาจจะขอพักเบรก กติกาง่ายๆ ในลักษณะแบบนี้จะทำให้เกิดการเปิดใจ เป็น Open Mindset อันนี้คือการสื่อสารที่ดี ที่หมอใช้คำว่าสุนทรียสนทนา
มันเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่มีวินัย แต่เป็นวินัยเชิงบวกที่หมอใช้คำว่า Kindly but Firmness คือ มีหลักการ มีเหตุผล แต่ยืดหยุ่นได้ หมายถึงว่าไม่ใช่กฎกติกาที่ออกโดยใครคนใดคนนึง แต่มาจากการมีส่วนร่วม แม้แต่เสียงเด็กเล็กๆ เชื่อไหมว่าแม้แต่อนุบาลเรายังสามารถคุยกับลูกของเราเพื่อกำหนดกติกาได้เลย
โดยใช้คำพูดง่ายๆ ว่า แม่รู้ว่าลูกเสียใจ แม่รู้ว่าลูกร้องไห้ บอกแม่สิเกิดอะไรขึ้น และถ้าคราวหน้าไม่ไห้เกิดแบบนี้ลูกจะทำยังไง คราวหน้าไม่เกิดแบบนี้จะทำยังไง มันจะกลายเป็นกติกา โอเคนะ ลูกสัญญาแล้วนะ ว่าคราวหน้าลูกทำแบบนี้แล้วจะไม่เกิดแบบนี้เกิดขึ้น เป็นกติกาง่ายๆ และลูกเป็นเจ้าของความคิดด้วย เราไม่ได้ไปครอบงำความคิดเขา
เพราะฉะนั้นการใช้หลักการแบบนี้ บ้านต้องมีวินัยด้วย ความหมายคือวินัยอย่างมีส่วนร่วม คือ ทุกคนฟังเสียงซึ่งกันและกัน สามารถเติมเต็ม และเกิดข้อตกลงร่วม แม้แต่ลูกวัยอนุบาลก็ทำได้
วินัยเชิงบวกต้องเข้าใจก่อนว่า ไม่ใช่หมายถึงหันซ้ายหันขวา ไม่ใช่การลงโทษ สมัยก่อนต้องใช้วิธีการลงโทษ อันนี้เป็น Fix Mindset คิดแบบเดิม แต่ถ้าเป็น Open Mindset ยืดหยุ่นได้ อยู่บนเมตตาธรรม
ถ้าเราน็อตหลุด ไม่ทำตามวินัย กติกาคุยกันไว้แล้วทำไมแกไม่ทำ เราโกรธ เราอาจจะบอกได้ว่าตอนนี้พ่อโกรธ พ่อคุมอารมณ์ไม่ได้ ขอพักออกไปก่อน เรามาคุยกันดีๆ แล้วก็กลับมาเหลาความคิดใหม่
ถ้าไม่ให้เกิดแบบนี้ลูกจะทำยังไง คือลักษณะการคุยกันจะทำให้เกิดการทบทวนซ้ำอีกครั้งหนึ่ง แล้วครั้งหน้าลูกไม่ทำแล้วทำให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้อีก จะให้พ่อทำยังไง เขาเรียกว่าบ้านต้องมีวินัย
อันนี้คือ Mindset ทัศนคติ ที่จะทำให้เปิดได้ เราต้องรู้จักการจัดการอารมณ์ได้ ไม่งั้นไม่สามารถที่จะ Open Mindset ได้ คุณลักษณะในลักษณะนี้ของผู้ใหญ่จะกลายเป็นหัวใจเปิด มีสุนทรียสนทนา มีวินัยในการจัดการซึ่งกันและกัน สามารถควบคุมอารมณ์ตนเอง
แม้แต่เจ้าตัวเล็กๆ ก็มีศักดิ์ศรี เขามีตัวตนคือถ้าเราเข้าใจว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมามีศักดิ์ศรี ในสถานะของเขา เราจะไม่เหยียดหยาม เราจะไม่ดูถูกซึ่งกันและกัน เราจะไม่บอกว่าอันนี้คือความหลากหลายทางเพศ อันนี้คือคิดมาได้อย่างไร แม่อาบน้ำร้อนมาก่อน ประโยคแบบนี้จะไม่หลุดออกมาเลย
เพราะเรารู้อยู่ว่ามนุษย์ทุกคนมีเกียรติและศักดิ์ศรีของเขา เมื่อเป็นอย่างนั้นการฟังซึ่งกันและกัน ก็จะเกิดขึ้นได้ นี่คือคุณลักษณะที่จะนำไปสู่เรื่องของ Open Mindset ใจจะเปิดขึ้นทันที หัวใจสำคัญอันนี้จะกลายเป็นเรื่องของหัวใจแห่งประชาธิปไตย
วันนี้เราไม่ต้องไปวุ่นวายตรงไหนเลย เรากลับมาเลี้ยงลูกด้วยหัวใจประชาธิปไตย แต่ครอบครัวในปัจจุบันนี้ที่เราเคยสำรวจกัน การเลี้ยงลูกที่เป็นแบบ Fix Mindset บางจังหวะก็อาจจะโอเคนะ เช่น ถ้าเรามีวิธีการ กระบวนการ การจัดการทัศนคติ ของเราเองในลักษณะแบบนี้อยู่แล้ว ในบางเหตุการณ์มันอาจจะจำเป็น เช่น ในตอนที่ลูกเราเล็กๆ แล้วเราจำเป็นต้องควบคุมเพื่อไม่ให้ลูกเกิดอันตราย ปกป้องคุมครอง ใช้อำนาจในการเลี้ยง อันนั้นอาจจะเหมาะสมในสถานการณ์นั้น แต่เมื่อเขาโตขึ้นลักษณะพวกนี้เราต้องค่อยๆ ถอยลงไป เพราะ Fix Mindset ของเราอาจจะทำให้ลูกอ่อนแอในเรื่องวุฒิภาวะ
ถ้าเรา Open Mindset วุฒิภาวะเขาจะแข็งแรงขึ้นเรื่อยๆ และจะอยู่กับเขาไปตลอด อย่างตอนที่ลูกเราเล็กๆ เราคิดแทนเขาตัดสินใจแทน ว่าอยากได้อะไร Mindset ของเราเป็นแบบไหน เราก็ว่าแบบนั้น เราเลือกเรียนโรงเรียนไหน ให้เข้าอะไรยังไง ลูกก็ทำไปตามนั้น แต่เมื่อโตขึ้นมาเรื่อยๆ เปิดพื้นที่ให้เขามากขึ้น เขาเริ่มแสดงทัศนคติตัวเอง เริ่มแสดงความคิดเห็น ตรงนี้พ่อแม่ต้องภูมิใจว่าลูกเริ่มมีความคิด และทัศนคติของตนเองแล้ว
เราจะเริ่มเปลี่ยนจาก Fix ให้กลายเป็น Open คือเปิดพื้นที่มากขึ้นเรื่อยๆ แต่เปิดพื้นที่มากถึงขนาดที่ตอนลูกเข้าวัยรุ่นอำนาจของเราจะเหลืออยู่แค่ 30% อีก 70% จะกลายเป็น Open Mindset แล้วอะไรๆ ก็จะสามารถมารังสรรค์ซึ่งกันและกันได้ สามารถที่จะออกแบบ สามารถที่จะอยู่ร่วม เกิดพื้นที่ส่วนตัวของเขา การเรียนรู้อยู่ร่วมกันบนวิถีชีวิตที่แตกต่างกันไป ยิ่งถ้าเป็นเยาวชน ขึ้นมาก็อาจจะกลายเป็น 10% ยิ่งถ้าโตขึ้นไปก็จะลดน้อยลง ทั้งหมดนี้ถ้ามันเกิดขึ้นได้ก็จะสามารถทำให้เกิด Open Mindset ได้
“ลูกคือแบบฝึกหัดชีวิต พ่อแม่ที่เลี้ยงลูกแบบเปิดใจ รับฟังลูกได้บนความคิดที่แตกต่างกัน พ่อแม่จะเก่งขึ้น มีทักษะเพิ่มขึ้นและจะเลี้ยงลูกได้อย่างมีความสุข เพราะไม่ต้องกังวลกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น” “พ่อแม่ที่มี Open Mindset เปิดใจ ”จะเก่งขึ้นเรื่อยๆ เพราะต้องอดทน ต้องเปิดใจ แม้แต่ทัศนคติเราต้องรับฟังลูกเราได้บนความคิดที่ต่าง วิธีการที่แตกต่างกัน ใจของเราเปิดขึ้น เราเก่งขึ้น อันนี้คนเป็นพ่อแม่เก่งขึ้นนะ เก่งขึ้นตามลูกไปด้วย
ตอนลูกอยู่ปฐมวัยเราก็ปรับตัวอีกแบบ พอขึ้นวัยเรียนเราก็ต้องปรับตัวตามเขาเรื่อยๆ ยิ่งบางบ้านมีลูกคนเดียว บางบ้านมีลูกสองสามคน พื้นฐานอารมณ์ไม่เหมือนกันอีก พ่อแม่ที่ใจเปิดจะเลี้ยงลูกสองแบบที่แตกต่างได้อย่างมีความสุข เพราะไม่ต้องกังวล
แม้แต่ครูเองถ้าใจเปิดไม้เรียวไม่ต้องมี Classroom Management แต่เราจะใช้คำว่า Flipped Classroom เป็นห้องเรียนกลับทาง เกิดขึ้นได้หมดเลย แต่ทุกวันนี้เป็น Fix Mindset พอเป็น Fix Mindset ก็สอนแบบเดิม ๆ อัดเนื้อหาวิชาเข้าไป เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เด็กไม่สามารถตั้งคำถามได้ ไม่สามารถแสดงความคิดเห็นได้ อันนี้จะกลายเป็นปัญหาทันที
แล้วจงภาคภูมิใจเอาไว้ถ้าเมื่อไหร่ที่เราฝึกฝนตนเองให้กลายเป็นคนที่ Open Mindset ทัศนคติเปิดท่านจะอยู่ในที่ทำงานได้อย่างมีความสุข อยู่ที่บ้านก็อยู่อย่างมีความสุข อยู่ในสังคมก็กลายเป็นสังคมที่เปิด เราเชิญชวนกันอยากให้เป็น open Mindset
ติดตาม รักลูก The Expert Talk ทุกวันพฤหัสบดีที่ 1 2 และ 3 ของเดือน
ติดตามรายการรักลูก podcastได้ที่