การสร้างวินัยเชิงบวก ไม่สามารถทำสำเร็จได้ในครั้งเดียวนะคะ คุณพ่อคุณแม่ต้องทำวนไป จนเกิดเป็นนิสัยและวินัยเชิงบวกที่จะติดตัวลูกไปตลอด ฟังวิธีการสร้างวินัยเชิงบวก ที่ไม่ได้ยากเกินมือพ่อแม่ จากครูหม่อม ผศ. ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
วิธีการเลี้ยงลูกเชิงบวกเป็นเครื่องมือสำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการทักษะสมอง EF ให้กับเด็กๆ เพราะการเลี้ยงลูกเชิงบวก คือการที่คุณพ่อคุณแม่สอนและฝึกฝนลูกไปสู่พฤติกรรมเป้าหมายบนฐานของความรักความอบอุ่นความไว้ใจ และการรู้ว่าต้องใช้เวลาในการฝึกฝนด้วยและใช้เวลาในการปลูกฝังความไว้ใจกันและกันด้วย
ที่พูดไปทั้งหมดมันเป็น Key Word ทั้งหมดเช่น ถ้าเราให้คุณพ่อคุณแม่สอนและฝึกฝนลูกให้ไปสู่พฤติกรรมเป้าหมาย คำถามคือในแต่ละวันที่เราสอนลูกทุกครั้งที่เราสื่อสารกับลูกเรามีเป้าหมายในการสอนลูกไหม เช่น ลูกกำลังวิ่งเล่นอยู่แล้วเราบอกอย่าเล่นลูกเดี๋ยวล้ม เป้าหมายของเราคืออะไรกลัวเขาล้ม เรากำลังสอนและฝึกฝนพฤติกรรมเป้าหมายไหม คำตอบคือ ไม่ใช่เพราะคำพูดนั้นมาจากความกลัวของเรา
ถ้าจะไม่ให้เขาวิ่งแล้วล้มเราอยากสอนอะไรสอนให้เขาระวัง สอนให้เขาเดิน เราอยากสอนอะไรเขา เราต้องมีเป้าหมายแล้วสื่อสารฝึกฝนเขาไปสู่พฤติกรรมเป้าหมาย ถ้าเราอยากสอนให้เขาระวังต้องสื่อสารว่าวิ่งอย่างไรก็ได้ไม่ให้ล้ม หนูจะวิ่งอย่างไร ได้ใช้ EF คือการทำงานสมองส่วนหน้าเป็นสมองขั้นสูงที่ใช้ในการกำกับความคิด กำกับอารมณ์ กำกับพฤติกรรมเพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย
เวลาที่เด็กวิ่งเล่นอยู่แน่นอนอารมณ์ฟุ้งซ่าน อารมณ์มาก คึกมากก็จะวิ่งพ่อแม่ดูก็จะกลัวพอกลัวแล้วเราจะให้ EF เขากำกับอารมณ์เขาอย่างไร ถ้าเราบอกหยุดอย่าวิ่ง เขาหยุดแต่ EF ก็จะไม่ทำงานเพราะเขาหยุดจากคำพูดของเราไม่ได้หยุดจากการใช้ EF ของตัวเองกำกับพฤติกรรม กำกับอารมณ์ เพื่อไปสู่เป้าหมาย แถมถ้าเราบอก หยุด อย่าวิ่งเดี๋ยวก็ล้ม เรากำลังขัดใจเขาไหม นอกจากอารมณ์สนุกที่หยุดลงแล้ว เรายังไปเพิ่มความรู้สึกไม่พอใจขึ้นมาอีก เท่ากับเรากำลังจุดประกายอีกว่าเรากับลูกกำลังพร้อมบวก ถ้าเราไม่ใช้วินัยเชิงบวก คำพูดที่เราสื่อสารไปก็พร้อมบวกแน่นอน
ฉะนั้นถามตัวเองเราอยากได้อะไรจากลูก ตั้งเป้าหมายก่อน เรากำลังอยากฝึกฝนลูกเรื่องอะไร วิธีการสื่อสารพูดไปแล้วลูกมีส่วนร่วมในการคิดไหม ถ้ามีและอยู่บนฐานของความไว้ใจซึ่งกันและกันแล้วแน่นอนเรากำลังสอน ฝึกฝนเขาเพราะวินัยจะเกิดขึ้นได้ต้องใช้เวลา
ฉะนั้นอยากให้คุณพ่อคุณแม่รู้ว่าถ้าเราสอนลูกวันนี้ หนูวิ่งอย่างไรก็ได้ลูกแต่ดูแลตัวเองไม่ให้ล้ม เราพูดวันนี้ครั้งที่ 1 ไม่ได้แปลว่าพรุ่งนี้ได้เลยต้องใช้เวลา แปลงความห่วงใยของคุณพ่อคุณแม่เป็นเชิงบวกอยู่บนฐานเมื่อพูดออกไปแล้วมีเป้าหมายที่จะพูด พูดไปแล้วอยู่บนฐานที่ให้เขามีส่วนร่วมในการตัดสินใจเพราะเท่ากับไว้ใจเขาและให้เขาได้ใช้ EF ด้วย แต่ถ้าเราไม่แปลงความห่วงใยของเราเป็นคำพูดเชิงบวกคำพูดของเราที่ออกไปจากอารมณ์เชิงลบก็พร้อมบวกลูก
ตามหลักเลยก่อนที่เราจะพูดอะไรหยุดคิดนิดหนึ่งว่าเราอยากได้อะไรจากเขาแปลงความกังวล รู้ตัวเองก่อนว่าเรากำลังกังวลลูกนะ เรากำลังกลัวว่าลูกจะเกิดอะไรขึ้น กลัวว่าจะเกิดอะไรแล้วเราจะสอนอะไรเขา ลองคิดไปว่าถ้าไม่มีเรายืนอยู่ตรงนี้เราอยากให้เขาเป็นคนอย่างไร เราก็ใช้วิธีการสอนตั้งเป้าหมายแล้วสอนเลย ยกตัวอย่างอะไรได้บ้าง
แม่ดอยอยากสอนลูกเรื่องอะไรหรือกังวลเรื่องอะไรอยู่ไหม คือตอนนี้กำลังกังวลว่าเขากำลังอยู่ในวัยอนุบาล แล้วถ้าถูกเพื่อแกล้งมากๆ ปฏิกิริยาที่เขาโต้ตอบไปมันจะไปพร้อมบวกกับคนอื่นไหม จะมีวิธีการป้องกันอย่างไรเพื่อไปเรื่องของการสร้างสรรค์ เพราะเห็นว่าสถานการณ์เดี๋ยวนี้มีเด็กแกล้งกัน ชกกัน บูลลี่กัน เรื่องเหล่านี้มีวิธีคิดเชิงบวกที่พ่อแม่จะให้กับลูกในวิธีการแก้ปัญหาสถานการณ์
ในคำถามครูหม่อมได้ยินอยู่หลายอย่าง เวลาที่ได้ยินคำว่าคิดเชิงบวก การคิดเชิงบวกเป็นผลพลอยได้จากการมีประสบการณ์ที่บวก เพราะฉะนั้นการสร้างวินัยเชิงบวกที่เราได้ยินกันที่บอกว่าเป็นเครื่องมือที่เราสื่อสารกับลูกแล้วทำให้เขามีภาพจำระหว่างเรากับเขาในทางที่ดีถึงจะคิดบวกได้
ที่นี่ถามว่าลูกเราจะรับมืออย่างไรเวลาที่ถูกเพื่อนบูลลี่ ถูกเพื่อนแกล้ง คำถามครูหม่อมคือที่แม่ดอยถามว่าเรามีวิธีป้องกันอย่างไร เราอยากป้องกันอะไร ป้องกันไม่ให้เพื่อนมาแกล้งหรือป้องกันลูกเราให้ก้าวข้ามหรือป้องกันไม่ให้ลูกถูกแกล้งอะไรคือเป้าหมายอันนี้คือคำถามก่อน ถามตัวเองก่อนทะเลาะกับตัวเองให้เสร็จ เรามองเหตุการณ์ไปเด็กอนุบาลบูลลี่กันสำหรับครูหม่อมมองว่าคือเด็กที่ไม่มีทักษะสังคมมาอยู่ด้วยกันมาแย่งความสนใจกันและกัน เพราะฉะนั้นถามว่าวินัยเชิงบวกช่วยป้องกันลูกเราได้อย่างไรบ้าง คือ
ลูกเราจะให้ความสนใจกับคนอื่นได้ถ้าเขาได้รับความสนใจจากเราจนอิ่มแล้ว เหมือนเขามีข้าวผัดอยู่ถุงหนึ่งแล้วเขาอิ่มอยู่มีคนมาขอเราให้ไหม เรานึกถึงตอนจ่ายตลาดตอนอิ่มซื้ออะไรได้เยอะไหม แต่ถ้าเราไปซื้อตอนหิวเราก็จะอยากได้ไปหมด เพราะฉะนั้นป้องกันอย่างไรเวลาที่ลูกเรามีเพื่อนมาขอความสนใจจากครูจากเพื่อนอย่าไปเล่นกับลูกเรานะมาเล่นกับหนูดีกว่าลูกเราอย่างนั้นอย่างนี้ ลูกเราจะรู้สึกว่าอยู่ได้เพราะว่าไปเล่นอย่างอื่นเล่นกับคนอื่นก็ได้
บูลลี่จะเกิดคำว่าเหยื่อหรืออันธพาลได้สำหรับเด็กๆ คือเหมือนมีคนมายั่วโมโหเรา ยั่วโมโหจะสำเร็จเมื่ออีกฝ่ายโมโหแต่ถ้าอีกฝ่ายไม่โมโหมันไม่สำเร็จนะ ถามว่าอันไหนเรียกแกล้งอันไหนเรียกกลั่นแกล้งหรืออันไหนเรียกเล่นกัน บางทีกลั่นแกล้งอาจจะเป็นมุมมองของผู้ใหญ่ว่าไปพูดแบบนี้ไม่ดีแต่ถ้าอีกฝ่ายไม่ได้รู้สึกอะไรมันไม่ได้เรียกว่ากลั่นแกล้ง
เพราะฉะนั้นถ้าลูกเรามีความมั่นคงทางจิตใจคือได้รับความสนใจที่อิ่มถ้ามีใครมาเรียกร้องไม่ให้ใครมาเล่นด้วยเขาก็จะอยู่ของเขาได้ ที่สำคัญป้องกันไม่ให้ลูกเราไปบูลลี่คนอื่น ถ้าลูกเราไม่บูลลี่คนอื่นแสดงว่าลูกเราน่าคบเพราะฉะนั้นลูกเราจะมีเพื่อนแน่นอน ไม่ว่าเพื่อนนั้นอย่าไปเล่นกับคนนั้นอย่าไปเล่นกับคนนี้แต่ลูกเราไม่ต้องทำอะไรมากแต่เพื่อนจะอยากเล่นด้วย เพราะลูกเราจะเป็นคนที่มั่นคงทางอารมณ์ไม่ไปบูลลี่คนอื่น วิธีพูดจาก็จะมีแต่คนอยากเข้าหา
ที่นี่ถามว่าถ้าลูกเราถูกบูลลี่แล้วลูกเราอารมณ์มันไปเราจะทำอย่างไร เราไม่ได้ป้องกันไม่ให้คนมาบูลลี่เพราะทำไม่ได้ อันนี้พ่อแม่ต้องยอมรับก่อนที่จะไม่ไปพร้อมบวกกับคนอื่นมันห้ามสถานการณ์แบบนี้ไม่ได้ ที่นี่ให้เราคิดบวกมองในแง่ดีให้ลูกเราเจอแต่เล็กถ้าเราสอนวิธีการป้องกันเท่ากับลูกเรามีโอกาสที่จะฝึกเรื่องทักษะอารมณ์ก่อนใคร
ทักษะอารมณ์เป็นเรื่องแปลกอย่างหนึ่งคือว่าถ้าลูกเราไม่โกรธก่อนเราสอนไม่ได้นะ ลูกเราต้องโกรธก่อนถึงจะสอนลูกควบคุมอารมณ์ได้ ลูกเราต้องโกรธก่อนถึงจะสอนลูกให้ๆ อภัยคนอื่นได้ นี่คือเรื่องทักษะอารมณ์ สังคมที่แปลกมากแล้วสิ่งหนึ่งเลยเราไม่ Protect มากเกินไปยอมรับไปเลยว่าต้องเกิดขึ้น เกิดขึ้นแต่เด็กยิ่งดีแปลว่า
1.ลูกเรามีโอกาสที่จะฝึกได้ยาวนานขึ้นตั้งแต่แรกเริ่ม
2.เกิดขึ้นตั้งแต่เด็กจะดีคือบูลลี่กันตั้งแต่เด็กอนุบาลไม่ร้ายแรงเท่าบูลลี่ตอนโตถ้าฝึกตอนนี้ลูกเรารับมือตอนโตได้ ป้องกันโตไปลูกเราไม่บูลลี่ใครกับเมื่อถูกบูลลี่รับมือเป็นเพราะฝึกตั้งแต่อนุบาล ซึ่งเป็นการฝึกพ่อแม่ฝึกลูกฝึกวิธีการรับมือสถานการณ์ต่างๆ
วิธีการฝึก ถ้าลูกเราถูกบูลลี่ เหมือนเดิมมันเป็นเรื่องของอารมณ์ เราแสดงความเข้าใจอารมณ์นั้นได้กับลูกเล็กๆ เราบอกเลยว่าพ่อเข้าใจ แม่เข้าใจ ว่าหนูรู้สึกอย่างไรเมื่อเพื่อนมาทำอะไร อันนี้ในกรณีที่เขามาเล่าอะไรให้ฟังและเรามองไปรู้ว่าลูกโกรธ ลูกไม่พอใจ “พ่อรู้ว่าหนูเสียใจที่เพื่อนมากันไม่ให้คนอื่นมาเล่นกับหนู พ่อรู้ว่าหนูไม่พอใจที่เพื่อนมาหยิบของเล่นของหนูไปแล้วไปปาทิ้ง” คือเราใช้การแสดงความเข้าใจทำอย่างไรก็ได้ให้ลูกรู้ว่าเป็นพวก แต่ถ้าเราฮึดฮัดขึ้นมา “ไปทำอีท่าไหนให้เพื่อนปาของไปได้ คราวหลังไม่ต้องเอาไป ก็บอกแล้วว่าอย่าเอาไป” อันนี้เรียกซ้ำเติมและทับถม
คุณพ่อคุณแม่มักไม่รู้ตัวว่าจริงๆ แล้วตัวเองไม่พอใจที่คนอื่นมาทำกับลูกแบบนี้ แล้วแสดงความไม่พอใจนั้นโดยการโทษลูก แต่ลูกไม่เข้าใจทำไมเพื่อนเป็นคนเอาของหนูไปปาทิ้งแล้วหนูยังโดนดุอีก แล้วข้างในของเด็กคืออะไรความคับข้องใจจะเกิด
เพราะฉะนั้นมันจะไม่ตรงกับคำว่าสอนและฝึกฝน Teach and train target behavior คือสอนและฝึกฝนพฤติกรรมเป้าหมาย พฤติกรรมเป้าหมายคือการที่ลูกสามารถที่จะรับรู้อารมณ์ตัวเองและแสดงออกมาอย่างเหมาะสม ซึ่งนี่คือทักษะ EF ด้วย แต่ทักษะ EF หรือสมองจะกำกับไม่ได้เลยถ้าเขาไม่มีคำสอนหรือประสบการณ์เดิมที่จะดึงออกมาแล้วก็ฟังแล้วฝึกตัวเอง เช่น ถ้าคุณพ่อคุณแม่ไม่เคยบอกว่าแบบนี้เรียกว่าโมโห หนูไม่พอใจที่เพื่อนเอาของเล่นหนูไปปา ถ้าเขาไม่มีศัพท์คำนี้ครั้งหน้าเมื่อเกิดขึ้นเขาจะไม่มีคำศัพท์ว่าโมโหในการเข้าใจอารมณ์ตัวเองในการสื่อสารกับตัวเอง
ซึ่งเด็กเล็กไม่มีคำศัพท์เหล่านี้อยู่ในหัว มีแต่ความรู้สึก พอเขาเข้าใจอารมณ์ตัวเองแล้วก็จะนำไปสู่การสอน หนูลองคิดสิถ้าครั้งหน้าเพื่อนมาทำแบบนี้อีก หนูจะทำอย่างไร ให้ลูกคิดลูกเด็กแค่ไหนก็ตามให้ถามแล้วก็วางใจกันและกัน วางใจว่าลูกเราตอบได้
เราผ่าน EP ผู้ประคองมาแล้ว นี่คือหน้าที่ของผู้ประคอง ผู้ประคองไม่ไปบวกเอง ไม่ไปบวกแทน ไม่ไปรบราเอง แต่ไว้ใจฝึกฝนคนของเรา เพราะฉะนั้นถามว่าทำไมถึงอยากให้คุณพ่อคุณแม่วางใจลูก เมื่อไหร่ที่คุณพ่อคุณแม่วางใจลูก ลูกจะได้โอกาสในการฝึก EF ของตัวเองไม่พอผลที่ตามมาจะทำให้เขาเกิดการไว้ใจตัวเองได้ด้วย แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่บอกว่า “ต้องทำแบบนี้”
1 เป็นประโยคคำสั่งไม่เป็นมิตรกับสมอง
2 คำสั่งนี้ไปทำอย่างนี้นะ แต่มันไม่ใช่ตัวเขา ลูกเราเป็นคนที่อยู่หน้างานแล้วเขารู้สึกไม่ Comfortable ที่จะทำวิธีนั้นมันเป็นไปได้ว่าเขาจะไม่ทำหรือเป็นไปได้ว่าเขาทำแต่ไม่เวิร์ค
ถ้ากรณีทั้งสองอย่างมันไม่เวิร์คสำหรับเขา คิดว่าเขาจะโทษใคร ทำตามแม่แล้วมันไม่เวิร์คโทษตัวเองโทษแม่ด้วย ฐานที่มั่นก็ไม่ดีตัวเองก็ไม่ดีไม่เหลืออะไรนะ แต่ถ้าเราเอาใหม่เราถามลูกว่าครั้งหน้าหนูจะทำอย่างไรให้เขาตอบอะไรมาก็ตามให้เขาไปลอง ถ้ามันไม่เวิร์คทำอย่างไร เปลี่ยนวิธีครั้งหน้าหนูทำอย่างไรเราพาเขาเปลี่ยนวิธี เห็นไหมคำว่าร่วมทุกข์ร่วมสุขเกิดขึ้นแล้ว
ขณะเดียวกันเรากำลังโมเดลคำว่าคิดบวก คิดบวกคือไม่คิด Blame ใครแต่คิดไปทางเป้าหมายว่าถ้าแบบนี้ไม่เวิร์คเราเรียนรู้แล้วว่าไม่เวิร์ค ถ้าไม่เวิร์คมีทางเดียวไหม ไม่เวิร์คเปลี่ยนวิธี ไหนลองเปลี่ยนวิธีลองอันนั้นสิ ถ้าเขาบอกอะไรมาให้เขาลองดู ถ้าคิดไม่ออกจริงๆ แม่ลองอาจจะแชร์แต่ขอให้แชร์ประสบการณ์ว่าถ้าเป็นแม่แม่เคยทำแบบนี้
คุณพ่อคุณแม่หลายคนถามว่า Fake ได้ไหมถ้าเป็นพ่อแม่ทำแบบนี้หรือไม่เคยทำแต่อยากเล่าได้ไหม เล่าได้แต่ให้อยู่ในโทนที่ไม่ได้แบบไปทำตามนี้นะลูก คือเราให้เป็นข้อมูลแต่ที่เหลือลูกเราเป็นคนตัดสินใจมันถึงจะอยู่บนฐานของความวางใจไว้ใจ
เพราะฉะนั้นครูหม่อมมองว่าวินัยเชิงบวกจะเป็นแบบนี้ไปตลอดชีวิตไม่ใช่เรื่องนั้นก็เรื่องนี้ หมายความว่าปัญหาที่เข้ามาเพียงแต่ว่าสิ่งที่เรากำลังสื่อสารให้ลูกฟังก็คือเมื่อไหร่ที่ลูกมีปัญหาแม้ในวันที่ไม่มีคุณพ่อคุณแม่อยู่ คุณพ่อคุณแม่กำลังพูดอยู่ซ้ำๆ ว่าครั้งหน้าลองใหม่ ครั้งหน้าทำใหม่วิธีนี้ไม่เวิร์คเหรอ ครั้งหน้าเราเปลี่ยนวิธี
เพราะฉะนั้นหลักคิดตรงนี้มันจะอยู่กับลูกของเรา ลูกเราโตขึ้นไป ง่ายๆ เลยถ้าวันนี้ลูกเรามีเราที่คอยบอกว่าพ่อเข้าใจว่ารู้สึกอย่างไร ลูกเราโตขึ้นไปมีแฟนจะพูดกับแฟนเขาอย่างไร ก็พูดแบบนี้ ไม่เป็นไรเอาใหม่เริ่มใหม่ได้ พรุ่งนี้ยังมีโอกาส คือมันจะเป็นลู่ทางไปแบบนี้เลยแสดงว่าลูกเรากลายเป็นคนที่มีความมั่นคงทางอารมณ์ในตัวเอง ให้ความสำคัญกับคนอื่นเป็นเคารพในความรู้สึกนึกคิดของคนอื่น
ความคาดหวังจะอยู่บนความคาดหวังร่วมกันก็คือเราเดินไปด้วยกัน แต่ไม่ใช่ความคาดหวังที่เป็นคำสั่งว่าเธอต้องทำแบบนี้เธอจะได้เป็นแบบนี้
สามารถเริ่มได้เลย เพราะวินัยเชิงบวกมีไว้ให้คุณพ่อคุณแม่เป็นไม่ได้มีไว้ปรับลูก ในความหมายของครูหม่อมก็คือว่าถ้าไม่ได้ใช้วินัยเชิงบวกมันก็คือวินัยเชิงลบ วินัยเชิงลบหมายความว่าคือการเลี้ยงลูกด้วยความรุนแรง การเลี้ยงลูกให้เกิดความอับอาย การเลี้ยงลูกด้วยการประจาน ประชด เลี้ยงลูกด้วยการทำร้ายร่างกายหรือการทำร้ายจิตใจ เป็นการเลี้ยงลูกที่ให้เกิดการตีตราว่าห่วยว่าไม่ดี
ส่วนวินัยเชิงบวกคือการเลี้ยงลูกด้วยการสอนและฝึกฝนพฤติกรรมเป้าหมายบนความไว้วางใจลูก เป็นวิธีการที่ให้คุณพ่อคุณแม่เป็น สมมติเราเป็นคุณพ่อคุณแม่เชิงบวกอาจจะโอ๋ลูกว่า รู้ว่าลูกเสียใจหนูเลยร้องไห้ไม่ได้แปลว่าลูกจะต้องหยุดนะคะ
แต่คำถามคือถ้าลูกไม่หยุดคุณพ่อคุณแม่จะทำอย่างไร ก็ขอให้คุณพ่อคุณแม่เป็นเชิงบวกต่อไป รู้ว่าลูกเสียใจมากหนูเลยยังร้องไห้อยู่ แล้วถ้าไม่หยุดทำอย่างไร ก็ทำต่อไป เพราะฉะนั้นถามว่าเริ่มได้เลยเพราะมันอยู่ที่ตัวเราไม่ได้อยู่ที่ผลของมัน ถ้าเราอยากเป็นคุณพ่อคุณแม่เชิงบวกต่อให้ลูกจะใช้เวลานานแค่ไหนกว่าลูกจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเราก็ยังต้องบวกอยู่ แต่เมื่อไหร่ที่เรา โอ้ย ร้องอยู่ได้ รำคาญ แบบนี้เราหยุดการเป็นเชิงบวกและเป็นเชิงลบทันที
การสร้างวินัยเชิงลบส่งผลทั้งสมองและจิตใจด้วย เมื่อตอนต้น EP เราบอกว่าการสร้างวินัยเชิงบวกเป็นเครื่องมือทำให้ EF ทำงาน แต่ถ้าเราใช้เชิงลบเมื่อไหร่ เรากำลังกระตุ้นให้สมองส่วนอารมณ์ทำงาน ถ้าสมองส่วนอารมณ์ทำงานจะเกิดอะไรขึ้นเขาเรียกว่าสมองปิด สมองส่วนอารมณ์จะไม่ปล่อยข้อมูลให้ EF ลงมาทำงานร่วมด้วย
เพราะฉะนั้นเราจะหาเด็กที่มีเหตุผลไม่ได้เลยเพราะสมองส่วนอารมณ์จะทำงาน เมื่อเวลาที่สมองส่วนอารมณ์ทำงานอะไรจะเกิดขึ้นเด็กจะใช้ Defence mechanism หรือว่ากลไกปกป้องตัวเอง กลไกปกตัวเองมีอยู่ 3 รูปแบบ
รูปแบบแรก “กลไกปกป้องตัวเองแบบสู้”
ถ้าสู้คือง่ายๆ เลยเวลาลูกเราประทะคารมกันลูกเราก้าวร้าว เถียงไหม นั่นคือลูกเรามีสัญชาตญาณปกป้องตัวเองเป็นแบบสู้ เขาไม่ได้เป็นคนก้าวร้าว กลไกปกป้องตัวเองเป็นเรื่องที่สำคัญของชีวิตมนุษย์ทุกคน มนุษย์ทุกคนไม่สามารถเหตุผลแก้ไขปัญหาทุกอย่างได้ในยามคับขันเราจำเป็นต้องใช้กลไกปกป้องตัวเองความสำคัญอยู่ที่เราไม่ได้คับขันจนเป็นนิสัยและสันดาน คืออะไรที่มันคับขันเช่น ไฟไหม้ต้องยกตุ่มหนี แบบนี้คับขัน หรือว่าอะไรที่ต้องอาศัยการเอาตัวรอดเฉพาะหน้าไหวพริบอะไรแบบนี้
กลไกลปกป้องตัวเองสำคัญ แต่ถ้าการดำเนินชีวิตแบบมีเป้าหมาย EF สำคัญเพราะฉะนั้นถ้าเราใช้วินัยเชิงลบเราชวนลูกบวกบ่อยๆ ไม่ใช้วินัยเชิงบวกนั่นแปลว่าเราจะเป็นคนที่ไปกระตุ้นสมองส่วนอารมณ์ของลูกเราให้ลูกเราใช้กลไกปกป้องตัวเองจนเป็นนิสัย แบบแรกคือ แบบสู้ลูกเราจะเถียงก้าวร้าวลูกเราจะกลายเป็นคนแบบนั้นไหม จะกลายเป็นถ้าเราให้ลูกเราใช้สมองส่วนอารมณ์ในการเถียงเราบ่อยๆ เพราะฉะนั้นวินัยเชิงบวกจึงจำเป็น
รูปแบบที่สอง “กลไกปกป้องตัวเองแบบถอย” กลไกปกป้องตัวเองแบบถอยเราก็จะเจอลูกดื้อตาใส ดื้อตาใสคือไม่ทะเลาะด้วยแต่ก็ไม่ทำ ดื้อเงียบ แอบทำ โกหก เหมือนจะเรียบร้อย เหมือนคนพูดง่ายแต่ทำไมยาก
รูปแบบที่สาม “กลไกปกป้องตัวเองแบบสมยอม” สมยอมคือทำเพราะกลัวพ่อแม่ไม่รัก ทำเพราะกลัวถูกทำร้ายร่างกายหรือจิตใจก็ตาม ก็คือจะสมยอม บอกให้นั่ง นั่ง บอกให้ยืน ยืน ทำไมถึงทำกลัวไม่รัก กลัวพ่อแม่ตี กลัวประจานหนูต่อหน้าคนอื่น ใช้ชีวิตไปด้วยความกลัวระแวง
เพราะฉะนั้นเวลาที่ลูกของเราใช้กลไกปกป้องตัวเองบ่อยๆ จนเป็นนิสัยก็ลองคิดดูว่าลูกเราจะเป็นอย่างไรส่วนใหญ่เราจะใช้ตอนที่เราเอาตัวรอดจริงๆ แต่ถ้าลูกเราต้องดำเนินชีวิตด้วยการเอาตัวรอดก็แสดงว่าเราเป็นพ่อแม่ที่ไม่มั่นคงไม่ปลอดภัยให้กับลูก เพราะฉะนั้นนี่แหละทำไมถึงอยากให้ใช้วินัยเชิงบวก และมันสำคัญอย่างไร ถ้าไม่ทำแล้วมันจะเกิดอะไรขึ้น เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่คงไม่อยากให้ลูกใช้กลไกปกป้องตัวเองจนเป็นนิสัย ถ้าใช้วินัยเชิงบวกเมื่อไหร่ EF ของลูกก็ได้ทำงานเมื่อนั้นเรียกว่าการเลี้ยงลูกเชิงบวกกับทักษะสมอง EF มันต้องมาคู่กัน
ติดตามฟังได้ที่รายการรักลูก The Expert Talk
Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB
Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX
Youtube: https://bit.ly/3cxn31u