ด้วยสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย ประกอบกับฝุ่น ควัน มลพิษที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้เด็กมีอาการของภูุมิแพ้เพิ่มมากขึ้น และยิ่งในช่วงที่มีการระบาดของเชื้อโรคสายพันธุ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นไข้หวัดใหญ่ และโควิด-19 ก็สร้างความกังวลให้ให้กับพ่อแม่เป็นอย่างมาก จะรับมือกับอาการภูมิแพ้ของลูกน้อยกันอย่างไรบ้าง พบกับวิธีการดูแลสุขภาพลูก โดย รศ.พญ.รวีรัตน์ สิชณรังษี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน โรงพยาบาลพระรามเก้า
ตอนนี้ด้วยสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ทุกท่านคงเดาได้ว่าภูมิแพ้เมื่อเทียบกับในอดีตมันเพิ่มขึ้นหรือลดลง มันเพิ่มขึ้นแน่นอนโดยเฉพาะใครที่อยู่ในเมืองมีมลภาวะ เช่น PM2.5 เยอะๆ สถานการณ์ก็เพิ่มขึ้นจนถึงขั้นมีบางงานวิจัยเขามีการคาดการณ์ว่าเด็กที่เกิดในยุคนี้ โดยเฉพาะเกิดกลางเมืองที่ Pollution ต่างๆ เยอะ เขามีโอกาสที่จะเป็นโรคภูมิแพ้สูงเกือบ 50% เลย สถานการณ์ของโรคภูมิแพ้ถ้ามีการเปรียบเทียบสถานการณ์สถิติในแต่ละปีจะเห็นได้ว่าเพิ่มขึ้นทุกปี อาจจะเพิ่มขึ้นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมในแต่ละที่ ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นด้วย จากข้อมูลที่เก็บกันล่าสุดเด็กที่เป็นภูมิแพ้ เอาแบบคร่าวๆ 3 โรค ที่เป็นโรคภูมิแพ้ที่พบบ่อย
1.โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ 2. โรคหืด หรือหอบหืด 3. โรคผื่นภูมิแพ้ ผิวหนังอักเสบ
โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้จากสถิติที่เคยเก็บไว้ล่าสุดบอกว่าเด็กไทยประมาณเกือบ 30% บางการศึกษาบอกว่าเกือบ 40% เป็นโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้หรือที่เราเรียกง่ายๆ กันว่า แพ้อากาศ
โรคหืดหรือบางคนยังไม่ถึงขั้นวินิจฉัยว่าเป็นโรคหืดเพราะยังเล็กๆ อยู่ยังเป่าศักยภาพปอดไม่ได้ เริ่มมีหลอดลมไว ก็เจอได้บ่อยประมาณเกือบ 20%
โรคผื่นภูมิแพ้ ผิวหนังอักเสบ เจอได้ประมาณ 10 กว่าเปอร์เซ็นต์ แต่ละโรคก็มีแนวโน้มจะเยอะขึ้นในปัจจุบันทั้งเด็กผู้ใหญ่ด้วย
จะ Strong มากถ้าใครมีคุณพ่อและคุณแม่เป็นจะมีความ Strong ในความเสี่ยงของการเกิดโรคภูมิแพ้ เช่น ถ้าเป็นโรคที่มีการ Study เก็บสถิติชัดๆ ก็จะเป็นกลุ่มภูมิแพ้ทางเดินหายใจพวกจมูกอักเสบภูมิแพ้ หรือว่าโรคหืด โดยเฉพาะโรคหืดชัดมากว่าถ้าคุณพ่อคุณแม่เป็นโอกาสที่ลูกจะเป็นก็สูงมาก สูงกว่า 50% ที่จะเป็น
แต่ถ้าคุณพ่อหรือคุณแม่เป็นคนใดคนหนึ่งสัดส่วนก็จะลดลงมาอาจจะสัก 40-50% ถ้าสมมติว่าทั้งคุณพ่อและคุณแม่เป็นอย่างที่บอกเยอะมากๆ แต่เขาก็เก็บการศึกษาว่าถ้าเกิดว่าคุณพ่อและคุณแม่เป็นโรคเดียวกันโอกาสที่ลูกจะเป็นโรคนั้นๆ ก็ยิ่งสูงมากขึ้น แล้วถ้าเทียบคุณพ่อกับคุณแม่ เขาบอกว่าถ้าคุณแม่เป็นโอกาสที่ลูกจะเป็นก็อาจจะสูงกว่าคุณพ่อเป็น ประมาณนี้ฉะนั้นกรรมพันธุ์สำคัญที่สุดอันดับหนึ่ง กรรมพันธุ์เป็นสิ่งที่เราหลีกเลี่ยงยาก
สิ่งแวดล้อมก็จะมีทั้งสิ่งแวดล้อมที่เป็นสารก่อภูมิแพ้ก็จะแบ่งเป็นสารภูมิแพ้ในอากาศ สารก่อภูมิแพ้ที่เป็นอาหาร กับสิ่งแวดล้อมที่เป็นสารกระตุ้น สารระคายเคือง
พวกสารกระตุ้น สารระคายเคือง อย่างเช่น มลภาวะต่างๆ ที่เราเผชิญกันอยู่ทุกวันนี้ แล้วก็ควันบุหรี่ อันนี้ก็จะเป็นสาเหตุใครอยู่กับสิ่งเหล่านี้มากๆ ก็ทำให้มีโอกาสเกิดโรคภูมิแพ้ได้มากขึ้น ฉะนั้นแนะนำว่าถ้าเลือกได้ก็อย่าอยู่ในที่ที่มีเรื่องของมลภาวะเยอะตั้งแต่คุณแม่ตั้งครรภ์เลยไม่ใช่แค่เฉพาะหลังจากที่ลูกเกิดมา
ส่วนสารก่อภูมิแพ้ที่เป็นสารภูมิแพ้ในอากาศ เช่น ในฝุ่น แมลงสาบ ละอองเกสร เขาก็บอกว่าถ้าคุณแม่สัมผัสกับสิ่งเหล่านี้ตั้งแต่ท้อง แล้วลูกเกิดมาก็ยังสัมผัสต่อโอกาสที่เขาจะเป็นภูมิแพ้ก็จะสูง ที่จะแพ้สิ่งต่างๆ เหล่านี้
สารภูมิแพ้ที่เป็นอาหาร มีการศึกษาว่าถ้าคุณแม่ตั้งแต่ท้องเลย ทานอาหารที่เป็นอาหารกลุ่มเสี่ยงแพ้บ่อย เช่น นมวัว ไข่ ถั่วเหลือง แป้งสาลี ถั่วลิสง เยอะตั้งแต่ตอนท้อง เยอะในที่นี้คือเยอะเกินปกติ เช่น สมมติปกติไม่ได้ทานไข่ทุกวัน พอท้องทานวันละ 3 ฟอง อันนี้ที่หมอเจอจริงๆ ปกติไม่ทานนมเท่าไหร่แต่พอท้องก็ต้องบำรุงเยอะๆ ทานวันละ 1-2 ลิตร แบบนี้มันจะเพิ่มความเสี่ยงในการที่ลูกจะเป็นภูมิแพ้ รวมถึงถ้าลูกเกิดมาก็ควรให้เขาทานอาหารตามวัย อาหารตามวัยในที่นี้ก็คือเราจะเริ่มที่อายุ 4-6 เดือน บางคนขอเริ่มหลัง 6 เดือนขึ้นไป แต่อย่าเริ่มช้ากว่านั้นเพราะว่าถ้าเราให้ลูกทานอาหารต่างๆ ช้ากว่าเกณฑ์ที่เหมาะสมก็อาจจะทำให้เขามีโอกาสที่จะแพ้อาหารได้
ตอนที่ท้องเราก็ได้ข้อมูลว่าอัดอันไหนเยอะเกินไปทำให้มีผลได้ ก็คือคุณแม่ท้องใช้ชีวิตตามปกติกินอย่างไรก็กินอยู่อย่างนั้น ไม่จำเป็นต้องโด๊ป ไม่จำเป็นต้องอด ใช้ชีวิตตามปกติ ทานอาหารที่มีประโยชน์ ไม่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่จะเสี่ยงต่อการเป็นภูมิแพ้ ทั้งของตัวเองรวมถึงมีผลต่อลูกได้ตั้งแต่ตอนตั้งครรภ์
ไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่อย่างเราเองมีอาการทางจมูกที่เราสงสัยว่าแพ้อากาศ หรือติดเชื้ออันดับแรกเรามาแยกง่ายๆ ก่อนว่าแพ้อากาศ หรือติดเชื้อ หรือบางคนมีสองอย่าง ถ้าใครเป็นจมูกอักเสบจากภูมิแพ้แล้วคุมอาการไม่ดี จมูกมีการอักเสบเรื้อรังอยู่โอกาสที่เขาติดเชื้อมันจะง่ายขึ้น หมอมีคนไข้หลายคนที่เป็นจมูกอักเสบจากภูมิแพ้แล้วไม่คุมอาการโรคเท่าไหร่ติดหวัด ไซนัส เป็นแล้วเป็นอีกก็มีผล
อาการภูมิแพ้ จมูกอักเสบภูมิแพ้ จะมีอาการคันจมูก จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล 4 อย่างนี้ ขออย่างน้อย 2 อย่าง ต่อเนื่องเกิน 4 อาทิตย์ขึ้นไป เขาก็จะสงสัยว่าอาการที่คนไข้เป็นเรียกว่าจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ซึ่งถ้าสงสัยอาการอย่างนี้ ระยะเวลายาวนานเรื้อรังอย่างน้อย 4 อาทิตย์ขึ้นไป สิ่งหนึ่งที่จะช่วยคอนเฟิร์มการวินิจฉัยคือคุณหมอตรวจแล้วจมูกบวม แล้วก็ซีด น้ำมูกใส อันเป็นการอักเสบจากูมิแพ้
ถ้ามีการติดเชื้อก็อาจจะมีจมูกแดงน้ำมูกอาจจะใส ถ้าเป็นไวรัสน้ำมูกจะเปลี่ยนเหลืองเขียวถ้าติดเชื้อแบคทีเรีย และอีกอย่างที่ช่วยได้ว่าแพ้จริงเหรอแพ้จากอะไรคือการทำทดสอบภูมิแพ้ที่จะมี 2 วิธีคือ
1.การสะกิดผิวด้วยสารก่อภูมิแพ้ที่เราเรียกว่าการทำ Skin Test
2.การเจาะเลือดเพื่อหาสารก่อภูมิแพ้
ฉะนั้นถ้ามีอาการ คัน จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล 2 ใน 4 อย่าง ต่อเนื่องกันอย่างน้อยประมาณเดือนหนึ่งขึ้นไป คุณหมอตรวจแล้วว่าเหมือนจมูกภูมิแพ้จริงๆ แล้วก็เคยทำ Test แล้วว่าแพ้จริงๆ ไม่ว่าจะ Skin Test หรือการเจาะเลือด อันนี้ก็ครบวินิจฉัยได้ 100% ว่าน่าจะเป็นภูมิแพ้จริงๆ
แต่ถ้าในสถานการณ์ตอนนี้ยังไม่กล้ามาโรงพยาบาล คุณหมอยังไม่ดูจมูกยังไม่ทำการทดสอบ เบื้องต้นให้สังเกตอาการอย่างนี้
คุณพ่อคุณแม่ดูได้ว่าลูกคันจมูก ขยี้ๆ จามบ่อยๆ คัดจมูกหายใจฟืดฟัด มีน้ำมูกใสๆ ไหล เป็นช่วงเวลา เช่น กลางคืน เช้ามืด ที่อากาศเย็น ไปใกล้สิ่งที่เขาแพ้ เช่น บางคนไปมุดผ้าม่าน เด็กโตหรือผู้ใหญ่ไปปัดฝุ่น มีอาการทันที คันตาก็ด้วยอาการตาเป็นอาการร่วมของจมูกอักเสบภูมิแพ้ แต่บางคนก็มีภูมิแพ้ทางตาอย่างเดียว เป็นอาการที่เจอร่วมกันได้ แต่เกณฑ์การวินิจฉัยเราจะเน้นเรื่องของจมูกภูมิแพ้ขึ้นตาเจอได้บ่อยมาก อาการจมูกอักเสบจากภูมิแพ้นอกจากจะมีอาการเวลาเราดูคีย์เวิร์ดว่าต่างจากติดเชื้ออย่างไร เวลาหมอแนะนำคนไข้นะคะ
ก็คือถ้าเขามีอาการเป็นช่วงๆ กลางคืน เช้ามืด หรือไปโดนสิ่งที่แพ้ เช่น แพ้สุนัข แพ้แมว ไปเล่นกับมันแล้วเป็นทันทีอันนี้คือชัดแล้วว่าเป็นแค่ภูมิแพ้ จะแยกกับติดเชื้ออย่างไร ถ้าเมื่อไหร่มีอาการติดเชื้อแทรกเข้ามาติดเชื้อทางเดินหายใจไม่ว่าจะเป็นหวัด ไข้หวัดใหญ่ โควิด มันก็จะเป็นทั้งวัน จาม คัดจมูก มีน้ำมูกเป็นทั้งวัน แต่อาการคันจะไม่เด่น
ถ้าไม่ได้มีภูมิแพ้อยู่ด้วยติดเชื้ออย่างเดียวจะไม่คันจมูก คันจมูก คันตา อาการเด่นคือภูมิแพ้ แต่อย่างที่บอกบางคนก็มี 2 อย่าง ภูมิแพ้แย่ยังเรื้อรังติดเชื้อแทรกเข้ามาก็อาจจะต้องสังเกตดูว่าช่วงก่อนหน้านี้เขามีอาการเรื้อรังอยู่เฉพาะกลางคืน เช้ามืด แต่ช่วงนี้เหมือนเป็นทั้งวันเลยแล้วก็เริ่มมีไข้ มีไอ มีเสมหะ อันนี้ก็อาจจะมีเรื่องของการติดเชื้อทางเดินหายใจแทรกเข้ามา
บางคนบอกว่าเป็นทั้งเลยแต่กลางคืนอาการเป็นเยอะ ถ้าใครติดเชื้อทางเดินหายใจกลางคืนอากาศเย็นก็จะมีอาการเยอะขึ้น โดนแอร์เป่าอาการก็อาจจะเป็นเยอะได้เหมือนกันแต่ช่วงกลางวันระหว่างไม่ได้โดนสิ่งที่แพ้ก็น่าจะอาการหายไป ถ้าเป็นอย่างนั้นก็เป็นแค่ภูมิแพ้
ส่วนใหญ่คีย์เวิร์ดง่ายๆ ที่หมอถามประโยคแรกเลย เป็นทั้งวันหรือเปล่าค่ะ อาการเป็นทั้งวันเหมือนกันไหมแล้วแย่ลงตอนกลางคืนถ้าอย่างนั้นก็คือติดเชื้อ อาการกลางวันไม่เป็นเลยค่ะ ร่าเริง แฮปปี้ พอหลังเที่ยงคืน เช้ามืด เริ่มเป็น โดนฝุ่นเยอะๆ เริ่มเป็น ฝนจะตกเริ่มเป็น อันนี้อาจจะเป็นแค่ภูมิแพ้ วิธีการแยกแบบง่ายๆ
แล้วก็มีไข้ไหม มีไอ มีน้ำมูก มีเสมหะอะไรหรือเปล่า อันนั้นก็อาจจะบ่งว่าถ้ามีไข้ก็อาจจะมีเรื่องของการติดเชื้อแล้ว
ไข้หวัดธรรมดาอาการจะคล้ายภูมิแพ้แต่จะเป็นทั้งวัน ไข้หวัดใหญ่อาการก็จะหนักกว่าไข้หวัดธรรมดาก็จะมีไข้สูง ป่วย เพลีย ซึม คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ไอ น้ำมูกเยอะ
ไข้หวัดใหญ่กับโควิดคล้ายกันมาก แยกกันง่ายๆ คือ ประวัติการสัมผัสเชื้อ เช่น คนใกล้ตัวเรามีใครมีแนวโน้มเป็นหรือเปล่าแล้วเราไปใกล้ชิดกับเขาไหม อันนี้ก็อาจจะมีความเสี่ยงว่าเราอาจจะติดโควิดไหม และการที่เด็กติดโควิดต้องมองหาคนในบ้านแน่นอนเพราะเด็กไม่ได้ไปโรงเรียน ไม่ได้ไปไหนต้องรับเชื้อมาจากคนใกล้ชิด นี่คือแยกง่ายๆ
แต่ช่วงนี้โรคไข้หวัดใหญ่ไม่ค่อยระบาดโควิดเจอบ่อยกว่า ฉะนั้นใครที่มีอาการสงสัยหมอคิดว่าอาจจะต้องตรวจ บางคนไม่รู้ตัวประวัติไม่ชัดเจน
อาการภูมิแพ้ถ้าเป็นยืดเยื้อเรื้อรังมีผลต่อร่างกายและจิตใจแน่นอนโดยเฉพาะถ้าเป็นเรื้อรังการอักเสบ เช่น เป็นจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือเป็นโรคหืด ยืดเยื้อเรื้อรังมันยิ่งเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ บางคนเป็นแค่จมูกอักเสบจากภูมิแพ้ปล่อยให้เป็นเรื้อรังไม่รักษาให้ดีๆ ก็จะกลายเป็นโรคหืดในอนาคตได้ ทางเดินหายใจส่วนบนกับส่วนล่างมีการอักเสบเกี่ยวเนื่องต่อเนื่องกัน
ถ้าเกิดเขาเป็นมันมีผลต่อคุณภาพชีวิตการเจริญเติบโต เพราะว่าถ้าใครเป็นจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ เป็นเยอะๆ กลางคืนเขาจะหายใจไม่ออกคัดจมูกตื่นมา บางคนตื่นมาไอ ตื่นมาจาม ตื่นมาหายใจไม่ได้เลยต้องลุกขึ้นนั่งก็มีผลต่อการนอนของเขาชั่วโมงการนอนลดลงแน่นอน หรือบางคนตื่นมาหอบกลางคืนถ้าเป็นโรคหอบโรคหืดแล้วไม่สามารถคุมอาการให้ดี แม้แต่เป็นผื่นภูมิแพ้ผิวหนังอักเสบถ้าตื่นมาเกาตลอดก็ไม่สามารถที่จะนอนได้ดีอีก ก็จะมีผลถ้านอนไม่ดีผลตามมาเยอะมากไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่
ถ้าเป็นเด็กเราก็ Concern เรื่องของ Growth Hormone นอนไม่ดีการเจริญเติบโตไม่มีจะมีผลเรื่องของภูมิคุ้มกันด้วยถ้านอนน้อยจะทำให้เขามีความแข็งแรงของร่างกายลดลง ก็อาจจะมีการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
นอกจากนั้นในเรื่องของพัฒนาการก็มีผลถ้าสมมติว่าเขาป่วยบ่อยๆ ติดเชื้อบ่อยๆ สมมติเป็นภูมิแพ้กำเริบมันก็จะติดเชื้อแทรกเข้ามาเยอะเป็นได้อย่างที่หมอเล่าให้ฟัง หรือโรคหืดกำเริบบ่อยๆ เขาก็ต้องหยุดเรียนร่างกายเขาอ่อนแอไม่สบายก็ต้องพักผ่อน สมรรถภาพ ประสิทธิภาพ พัฒนาการย่อมจะมีปัญหาอยู่แล้ว
ฉะนั้นทั้งร่างกายและจิตใจก็จะมีความเครียด ป่วยบ่อยก็จะรู้สึกแย่กับตัวเองแล้วก็เรื่องของพัฒนาการ แทนที่เขาจะได้รับการเรียนรู้อย่างเหมาะสมตามวัยโอกาสก็จะลดลง รวมถึงบางคนเป็นหนักถึงขั้นจมูกอักเสบภูมิแพ้เยอะๆ ก็จะมีภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับขาดออกซิเจนตอนนอน ถ้าเกิดมีต่อมอดีนอยด์ ทอนซิลโต มีภาวะขาดออกซิเจนก็ยิ่งมีผลต่อร่างกายรุนแรงมากๆ ด้วย
ฉะนั้นภูมิแพ้ไม่ใช่เรื่องเล็กแต่จะนำมาซึ่งปัญหาใหญ่ๆ ได้ถ้าเราไม่ควบคุมให้ดี แต่ถ้าเรารักษาดีๆ เขาก็อาจจะหายเลย บางคนรักษาเร็วตั้งแต่เล็กโอกาสหายมีได้ไม่ว่าจะเป็นจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ก็ตาม แต่ถ้ามารักษาตอนเป็นผู้ใหญ่เป็นมานานหลายสิบปี ทางเดินหายใจมีการอักเสบเรื้อรังมานานแล้วโอกาสที่จะหายก็ยากขึ้นภาวะแทรกซ้อนก็จะเยอะ
เอาหลักการเลยเริ่มจากไม่ใช้ยาเลย หลักก็คือถ้ามีโอกาส เราคิดว่าลูกเป็นภูมิแพ้เท่าที่ฟังคุณหมอเล่าแล้วคิดว่าเขาเป็น มีโอกาสควรพบคุณหมอเพื่อหาสาเหตุว่าเขาแพ้อะไร เช่น เราเลี้ยงแมวแล้วเขาแพ้แมวหรือเปล่า เราก็ต้องพิจารณาอีกทีหนึ่ง เรื่องของไรฝุ่น เราต้องจัดการกับไรฝุ่นถ้าเขาแพ้ สามารถทำการทดสอบภูมิแพ้ ไม่ว่าจะทำการ Skin Test หรือการเจาะเลือดได้ มาพบหมอภูมิแพ้ แล้วคุณหมอก็จะประเมินว่าตอนนี้เป็นเยอะแค่ไหน ต้องรีบรักษาแค่ไหน ควรรักษาด้วยวิธีใดบ้าง แล้วก็เขามีภาวะแทรกซ้อนหรือยัง เช่น บางคนอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับขาดออกซิเจน บางคนเป็นไซนัสอักเสบยืดเยื้อเรื้อรังจะต้องได้รับการแก้ไข
1.เราทำทดสอบเรารู้ว่าเลี่ยงอะไร
แล้วเราก็หลีกเลี่ยงสิ่งที่เราแพ้คือสารก่อภูมิแพ้ รวมถึงหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น ไม่ว่าจะเป็นควันบุหรี่ มลภาวะ คุณพ่อคุณแม่ดูแลช่วยให้ลูกหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้ให้ได้มากที่สุด ถ้าแพ้อาหารก็จะได้หลีกเลี่ยงอาหารที่เราแพ้ทำให้อาการของเราดีขึ้น
2.รักษาร่างกายให้แข็งแรง
หมอเป็นจมูกอักเสบจากภูมิแพ้มาตั้งแต่เด็กมาดูแลตัวเองดีมากๆ จริงๆ ตอนมาเป็นหมอภูมิแพ้ก็รู้รักษาไม่หายขาดเพราะเป็นมานานมากตั้งแต่เด็กแต่เรารู้วิธีการดูแลตัวเองให้เราสบายไม่เป็นอะไร เราทำตัวเองให้ร่างกายแข็งแรงก็จะลดอาการที่กำเริบได้
3.นอนพักผ่อนให้เพียงพอ
ถ้าวันไหนนอนน้อยสังเกตเลยกำเริบ อาการคัดจมูก มีน้ำมูกจะมาง่าย เด็กๆ และผู้ใหญ่ก็เช่นกัน เด็กๆ ต้องนอนถึง 10 ชั่วโมง ผู้ใหญ่ถ้า 8 ชั่วโมงจะดีมากในทางปฏิบัติบางคนก็ทำไม่ได้ ทำให้ได้เยอะที่สุดเท่าที่ทำได้ตามหน้าที่ของเรา
ถ้าเรานอนเยอะภูมิแพ้ก็จะกำเริบน้อยลงแน่นอน การออกกำลังกาย ใครเป็นจมูกอักเสบจากภูมิแพ้แล้วได้ออกกำลังกายสังเกตว่าจมูกจะโล่งอาการจะดีขึ้น พยายามให้ลูกและตัวเราออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ถ้ามีโอกาสทำได้ทุกวันก็ดี หรืออย่างน้อยวันเว้นวัน วันละครึ่งชั่วโมง การออกกำลังกายก็จะทำให้สุขภาพดี ภูมิแพ้กำเริบน้อยลงอาการดีขึ้น
4.กินอาหารครบ 5 หมู่อย่างสมดุล
เด็กๆ อาจจะไม่ชอบทานผักผลไม้ ซึ่งมีวิตามินช่วยให้ร่างกายเราสมดุล โอกาสที่ภูมิแพ้จะกำเริบก็ลดลง การอักเสบต่างๆ ในร่างกายก็จะลดลงได้ เป็นหลักการดูแลง่ายๆ เวลาที่ลูกหรือเราเองเป็นภูมิแพ้ก็ตาม ยารักษาโรคภูมิแพ้
ถ้าใครมีอาการจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ โรคหืด หรือแม้แต่ผื่นภูมิแพ้ผิวหนังคุณหมอก็จะสั่งให้กินยาแก้แพ้กลุ่ม Antihistamine สำหรับเด็กมียาแก้แพ้บางตัวที่ใช้ต่อเนื่องได้เป็นปีๆ บางคนเป็นหนักต้องกินนานมีการศึกษาว่าไม่มีผลต่อตับต่อไต มีแต่เราต้องเลือกใช้อย่างถูกต้อง ไม่แนะนำให้เริ่มใช้ยาด้วยการซื้อมาทานเองแล้วก็ใช้ต่อไปเรื่องๆ โดยที่ไม่ปรึกษาคุณหมอแนะนำให้ดูแลอาการกับคุณหมอก่อน
แล้วก็จะมียารักษาภูมิแพ้อื่นๆ เช่น ยากลุ่มต้านสาร leukotrienes ที่ใช้รักษาโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้และใช้ในโรคหืด นอกจากนั้นก็จะมียาในกลุ่มที่เป็นยาสูตร สมมติว่าใครที่เป็นโรคหืดก็ใช้อย่างสม่ำเสมอแต่ไม่ใช่ซื้อใช้เองต่อไปเรื่องๆ โดยที่ไม่ไปพบคุณหมอ อันนั้นไม่แนะนำ
ยาพ่นจมูกถ้าเป็นจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ก็สามารถใช้ต่อเนื่องได้ภายใต้การดูแลของคุณหมอไม่แนะนำให้ใช้นานเหมือนกัน แต่ในบางเคสที่เป็นหนักหมอก็จะพิจารณาว่าจะให้ใช้ต่อเนื่องเป็นหลักหลายๆ เดือนแล้วก็อาจจะหยุดเป็นพักๆ รวมถึงยาทาด้วยบางคนเป็นผื่นผิวหนังอักเสบเรื้อรังแล้วก็ทาสเตียรอยด์ทาต่อเนื่องก็ไม่ดี
บางคนเป็นภูมิแพ้หลายระบบทางเดินหายใจด้วยผื่นด้วย ยาทาสเตียรอยด์หมอไม่แนะนำให้ทาต่อเนื่องเพราะมันจะมีผลได้ เช่น กดภูมิต้านทาน หรือกดการเจริญเติบโตของเด็กถ้าใช้ภายใต้การดูแลของคุณหมอก็น่าจะดีกว่า ทั้งนี้ทั้งนั้นถ้าร่างกายเราไม่เป็นมากบางช่วงไม่ต้องใช้ยาเลย เช่น คุณหมอมีคนไข้จมูกอักเสบจากภูมิแพ้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่บางคนเป็นไม่เยอะมีน้ำมูกนิดหน่อยล้างจมูกก็หาย การล้างจมูกก็เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยได้แต่ก็ไม่จำเป็นต้องล้างทุกวันล้างตามอาการก็พอ
ต้องถามก่อนว่าเขาสามารถทานอาหารที่มีวิตามินได้หรือเปล่า ลองนึกถึงโบราณภูมิแพ้ก็มีไม่เยอะเราไม่ได้มียามีวิตามินอะไรมากมาย เด็กบางคนก็ไม่ชอบกินวิตามินเม็ดก็พยายามเชียร์ให้เขาทานผักผลไม้ที่มีวิตามินครบถ้วนก็จะช่วยให้เขาอาการภูมิแพ้ลดลง
บางคนบอกว่ากินวิตามินซีก็จะช่วยเยอะกินวันละ 1,000 มิลลิกรัมในผู้ใหญ่ แต่ในเด็กหมอไม่แนะนำให้กินเยอะเพราะทานมากไปวิตามินซีมีความเป็นกรดอาจมีการระคายกระเพราะ และอาจเป็นนิ่วในทางเดินปัสสาวะได้หากทานเยอะเกินไป แต่ถ้าผู้ใหญ่ไตดีไม่ได้มีปัญหาอะไรแต่อยากให้ทานอย่างสมดุลดีกว่า
มีการศึกษาว่าวิตามินซีป้องกันหวัดได้จริงไหม แต่โดยรวมการศึกษา ณ ปัจจุบันวิตามินซีก็อาจจะช่วยลดระยะเวลาและความรุนแรงของโรคหวัดได้ถ้าทานอย่างสม่ำเสมอแต่ว่าไม่ถึงกับป้องกันไม่ให้เป็นหวัดเลย แต่วิตามินไม่ว่าจะเป็นวิตามินซีหรือวิตามินอื่นๆ ก็ตามก็จะช่วยให้ภาวะต่างๆ ในร่างกายสมดุลไม่ควรที่จะขาดวิตามินไม่ว่าจะวิตามินใดๆ อยากจะให้ทานผักผลไม้กัน ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ถ้าทานได้ไม่ปัญหาที่จะต้องทานยาหรือวิตามินเสริมอะไร
หลายคนถามหมอเรื่องวิตามินป้องภูมิแพ้ รักษาภูมิแพ้ มันอาจจะยังไม่มีข้อมูลงานวิจัยที่ชัดเจนที่จะมาซัพพอร์ตจะไม่เหมือนวัคซีนหรือยา พยายามให้ลูกทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ อย่าลืมพวกกลุ่มวิตามินผักผลไม้เพราะเด็กจะไม่ค่อยชอบทานพยายามเชียร์กันหน่อย หรือเห็นว่าทานไม่ได้จริงๆ จะลองปรึกษาคุณหมอเรื่องของวิตามินเสริมก็ได้แต่อยากให้ใช้ในการดูแลของคุณหมอ
คำว่าวัคซีนภูมิแพ้ไม่ใช่วัคซีนป้องกันโรคแต่เป็นวัคซีนที่ใช้ในการรักษา วัคซีนภูมิแพ้หรือที่เราเรียกว่า IMMUNOTHERAPY คือการที่เราฉีดสิ่งที่เราแพ้ที่สกัดมาเป็นรูปของยาเข้าไปในร่างกายเป็นระยะเวลา 3-5 ปี จนกระทั่งเขาสามารถทนต่อสิ่งนั้นได้สัมผัสกับสิ่งนั้นแล้วไม่มีอาการ เช่น วัคซีนภูมิแพ้ไรฝุ่นที่หมอฉีดให้คนไข้อยู่เป็นประจำก็เอาไรฝุ่นที่เขาแพ้ คือทำ Skin Test เจาะเลือดแล้วรู้ว่าแพ้เจ้าตัวไรฝุ่นนี้มาสกัดเป็นยาแล้วค่อยๆ ฉีดเพิ่มปริมาณและความเข้มข้นไปเรื่อยๆ
โดย 5-6 เดือนแรกเจอคุณหมอฉีดยาทุกอาทิตย์ ฉะนั้นเราจะไม่ทำในเด็กเล็กจะทำในเด็ก 5-6 ขวบขึ้นไปที่ยินยอมพร้อมใจมาฉีดยาทุกอาทิตย์ หรือบางคนสะดวกมาอาทิตย์ละ 2-3 ครั้งก็ได้ผู้ใหญ่บางคนที่ทำอยู่ทำไปเรื่อยๆ จนกระทั่งจากทุกอาทิตย์ก็เป็น 2 อาทิตย์ 3 อาทิตย์4 อาทิตย์ครั้ง สุดท้ายที่ประมาณเดือนละครั้งจนไปถึง 3-5 ปี มีการศึกษาว่าทำให้เขาหายการจากแพ้ไรฝุ่นไปเลยโดนฝุ่นแล้วไม่เป็นอะไร ยกเว้นโดนหนักจริงๆ อาจจะมีอาการนิดหน่อย หรือบางคนแพ้แมวมาฉีดวัคซีนภูมิแพ้แมวเขาก็เลี้ยงแมวได้โดยที่ไม่มีอาการ
วัคซีนภูมิแพ้จะมีแบบฉีดและแบบอมใต้ลิ้น แบบอมใต้ลิ้นคืออมวันละหนก็อมยาทีสกัดจากไรฝุ่น วัคซีนแบบอมใต้ลิ้นในประเทศไทยตอนนี้มีแต่ตัวไรฝุ่น อมทุกวันก็จะช่วยให้หายจากการแพ้ไรฝุ่นได้ใช้เวลาเป็นปีๆ เหมือนกัน แต่ไม่ได้เป็นวัคซีนป้องกันโรคไม่ได้ฉีดครั้งเดียวแล้วป้องกันภูมิแพ้ไม่มี
ภูมิแพ้มีหลายแบบทั้งหายและไม่หายขึ้นอยู่กับชนิดของโรค ถ้าในกรณีที่หายแน่ๆ สถิติหายเยอะมากคือ แพ้อาหารในเด็กเบบี๋ แพ้นมวัว แพ้ไข่ ถั่วเหลือง อันนี้หายแน่ๆ แต่แพ้อาหารบางอย่างก็ไม่หาย เช่น แพ้ถั่วลิสง ถั่วเปลือกแข็ง บางคนแพ้จนโตไม่หาย แพ้แป้งสาลีบางคนหายหลัง 5 ขวบ แต่บางคนก็ไม่หายเลย
ขึ้นอยู่กับว่าแพ้อะไร ความรุนแรงของโรคเป็นแค่ไหน เช่น บางคนแพ้นมวัวหมอเจาะเลือดดูค่าสารภูมิแพ้ สมมติว่าเกณฑ์ที่เราจะเอาเป็นบวกมากกว่า 0.35 Specific IGE สมมติเด็กคนนี้เจาะมาตอน 1 ขวบได้ค่าประมาณ 0.9 แล้วอาการก็ไม่ได้รุนแรงหมอก็จะบอกว่าเดี๋ยวหาย เราก็เจาะดูอย่างน้อยปีละครั้ง แต่เด็กอีกคนหนึ่งมีอาการเยอะ แล้วเจาะมาค่า Specific IGE ต่อนมมากว่า 100 อันนี้หมอก็จะบอกว่าขอดูกันต่อไป ยังไม่กล้ารับปากว่าจะเป็นอย่างไร หายสนิทไหม และหายเมื่อไหร่ ขึ้นอยู่กับแพ้อะไร ความรุนแรงของโรค แล้วก็ขึ้นอยู่กับว่าเป็นโรคอะไรด้วย
เช่น จมูกอักเสบจากภูมิแพ้ กรณีแพ้ไรฝุ่น เขาบอกว่าถ้าเด็กเป็นจมูกอักเสบจากภูมิแพ้แล้วได้รับการรักษาอย่างถูกต้องตั้งแต่เล็กที่เริ่มเป็น เช่นเป็นมาไม่ถึงปีแล้วเริ่มรักษา โอกาสหายแม้จะแพ้ไรฝุ่นที่เจอกันทุกวันก็ตาม มากกว่า 20% หายแน่ ไม่ได้เป็นจนโต โรคหืดถ้ารักษาดีๆ หลายคนหายก่อนเข้าวัยรุ่น ฉะนั้นถ้าคุณพ่อคุณมี่ลูกเป็นภูมิแพ้อย่าให้เขาเสียโอกาสในการที่เขาจะหายจากโรค ควรจะต้องดูแลเขาอย่างดีให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้องตั้งแต่ยังเล็ก
ถ้าเราสงสัยว่าลูกมีอาการเรื้อรัง ทางเดินหายใจเรื้อรัง มีความคัดจมูกน้ำมูกไหล เป็นๆ หายๆ มีเรื่องของการเหนื่อยหอบผิดปกติ หายใจวี้ดๆ หรือมีผื่นคันเรื้อรังเป็นๆ หายๆ อันนี้แนะนำให้มาตรวจกับคุณหมอเพื่อหาสาเหตุด้วยการทำ Test เลย วิธีการทำ Test ถ้าเป็นการทำ Skin Test
Skin Test
ข้อมูลเด็กเล็กที่สุดที่สะกิด Skin Test แล้วจะขึ้นในกรณีที่แพ้จริงๆ ถ้าเล็กกว่า 4 เดือนมักไม่ค่อยขึ้น ถ้าจะมีโอกาสขึ้นสูงๆ สามารถทำ Skin Text ได้ตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป แต่ถ้าใครอยากทำเร็ว 4 เดือน ก็เคยมีการศึกษาก็ขึ้นเหมือนกัน แต่ด้วยความที่เขายังเล็กเซลล์ในการตอบสนองต่อการ Test มันอาจจะยังทำหน้าที่ได้ไม่สมบูรณ์เหมือนเด็กที่โตขึ้น รวมถึงการแพ้สารภูมิแพ้ในอากาศ เช่น ไรฝุ่น บางคนไม่ได้เจอฝุ่นเยอะมาตั้งแต่แรกทำ Test ตอนเป็นเบบี๋อาจจะยังไม่ขึ้นหลัง 2 ขวบถึงจะค่อยขึ้น
การเจาะเลือด
สามารถทำได้เลยในทุกวัยก็คืออายุ 2-3 เดือนก็เจาะเลือดได้ต่อสารก่อภูมิแพ้ ทั้งนี้ทั้งนั้นแต่ละ Test ก็มีข้อดีข้อเสียต่างกัน คุณหมดต้องดู Condition ของคนไข้นอกจากอายุแล้วก็จะมีอื่นๆ ว่าเขาควรใช้ Test อะไรดี เช่น ถ้าเขากินยาแก้แพ้อยู่เราจะทำ Skin Test ไม่ได้ ต้องหยุดยาแก้แพ้อย่างน้อย 7 วัน ก็ต้องเจาะเลือดเอา ซึ่ง
สมมติว่าถ้าเขามีการทำ Skin Test แล้วได้ผลไม่ชัดแต่เราสงสัยว่าแพ้อันนั้นจริงๆ ก็อาจจะใช้วิธีเจาะเลือด บางคนอาจจะต้องทำ 2 Test เพื่อ Confirm กันและกัน จริงๆ แล้วหลักในการทำทดสอบภูมิแพ้มี 3 อย่าง 1. Skin Test 2. เจาะเลือด เป็นการอ้อมๆ เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายแก่คนไข้ 3. Challenge Test คือการลองกินเลย หรือสูดไรฝุ่นเลยดูว่ามีอาการภูมิแพ้จริงไหมซึ่งทางปฏิบัติเราไม่ค่อยทำ เราจะทำ Skin Test หรือเจาะเลือดกันมากกว่า
ในช่วงนี้สถานการณ์ตอนนี้คือโควิดระบาดแต่เด็กไม่ได้ไปโรงเรียนแต่เด็กทุกคนอาจจะมีเรื่องของอาการภูมิแพ้กำเริบได้จากการที่ช่วงนี้ฝนตกบ่อย โดยเฉพาะภูมิแพ้ทางเดินหายใจ แพ้อากาศ ไอ จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล อยากให้คุณพ่อคุณแม่สังเกตดู ถ้าไม่สงสัยว่าเขาเป็นภูมิแพ้มาก่อน ก็อาจจะสังเกตดูว่ามีอาการไหนที่หมอเล่าให้ฟังหรือเปล่า ถ้ามีแนะนำให้พบคุณหมอเพื่อตรวจหาสาเหตุและได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม ถ้าไม่เคยตรวจเลยแล้วไม่อยากไปโรงพยาบาลบ่อยๆ
ครั้งแรกก็อาจจะเป็นการไปตรวจก่อนหลังจากนั้นก็สามารถนัดคุยกับคุณหมอได้ เช่น หมอทำตอนนี้ที่โรงพยาบาล ถ้าไม่เคยเจอกันเลยครั้งแรกมาตรวจกันหลังจากนั้นหมอก็จะนัดทำ Telemedicine คุยกันทาง VDO Call ส่งถึงบ้านได้ เพราะเราเคยตรวจเขามาแล้วว่าเขาเป็นอะไรอย่างไร แต่ถ้าไม่เคยเจอกันมาก่อนเลยก็อาจจะยาก แล้ว
ถ้าได้รับการวินิจฉัยแล้วคุณพ่อคุณแม่รักษาดูแลเขาให้ดีที่สุด หลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้ ทำให้ร่างกายแข็งแรง นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกาย ทานอาหารที่มีประโยชน์ แล้วถ้าคุณหมอมีความเห็นว่าเขาควรใช้ยาอะไรก็ให้เขาได้รับยาตามที่หมอบอก ถ้าคุณหมอนัดดูอาการก็ควรมาดูอาการที่โรงพยาบาล หรือถ้าไม่สะดวกก็นัดคุยกันทำ Telemedicine คุยกันทาง VDO Call ได้ไหมก็คุยกับคุณหมอที่ดูแล อย่างที่โรงพยาบาลพระรามเก้าก็จะมีบริการเหล่านี้ช่วยเหลือคนไข้อยู่
ติดตามฟังได้ที่รายการรักลูก The Expert Talk
Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB
Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX
Youtube: https://bit.ly/3cxn31u