วิกฤตในวิกฤตของเด็กปฐมวัย เมื่อโรงเรียนสอนแบบ On Site ไม่ได้ พัฒนาการด้านสังคมของเด็กจึงเริ่มถดถอย ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมขาดหาย และสูญเสียโอกาสในการเรียนรู้หลายมิติ พ่อแม่รับมือกับสถานการณ์นี้อย่างไร รับฟังความคิดเห็นนักวิชาการด้านการศึกษา ผศ.ดร.ยศวีร์ สายฟ้า รองคณบดี คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สาเหตุหลักที่เราไม่สามารถ On site ได้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าเราคำนึงเรื่องความปลอดภัยของเด็กๆ เป็นหลัก ด้วยการแพร่ระบาดของโรคมีอัตราค่อนข้างสูงในแต่ละวัน แล้วโรงเรียนเป็นสถานที่หนึ่งที่รวมบุคคลเข้าด้วยกันอาจจะเป็นคลัสเตอร์ได้เลยหากเกิดอะไรขึ้นมา
เพราะฉะนั้นต้องทำความเข้าใจมันมีความจำเป็นของมันจริงๆ ที่ไม่สามารถ On site ได้ ถ้าเกิดอะไรขึ้นมาก็จะส่งผลกระทบต่อกันเป็นทอดๆ เลยเป็นที่มาว่าอย่าเพิ่ง On site ก็คงไม่ได้เป็นแบบนี้ตลอดไปอาจจะต้องมีกระบวนการบางอย่างมีแนวคิดในทำนองว่าถ้าตัวเลขลดลงมาถึงในระดับที่น่าจะรับมือกันได้ หรือการกระจายของจำนวนพื้นที่ที่ผู้ติดเชื้อมีการกระจายตัวหรือพื้นที่สถานการณ์ดีแล้ว ก็เชื่อว่าสถานการณ์น่าจะกลับมาเป็นเหมือนเดิมได้ ท้ายที่สุดการที่อยากให้เด็กกลับเข้าไปเรียนในโรงเรียน เชื่อว่าผู้เกี่ยวข้องไม่ว่าจะผู้บริหารหรือคุณครู คุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครอง ก็ต้องสบายใจที่จะให้ลูกไป ถ้าสมมุติว่าเราที่เป็นคุณพ่อคุณแม่มีความรู้สึกว่าหายห่วง
อีกประเด็นในมุมของคุณครูก็อยากให้มา การสอนทุกวันนี้มันทำให้งานของเขายากด้วยไม่ใช่ทุกคนที่จะเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ภายใต้สถานการณ์ตรงนี้ ซึ่งคุณครูส่วนใหญ่รับทราบข้อมูลประเด็นนี้ถ้าเลือกได้ ถ้าสถานการณ์มันดีกว่านี้มากๆ แล้วเลือกได้ก็อยาก On site
ต้องเล่าก่อนว่าเป็นเหมือนภาคต่อเรื่อยๆ ของระลอกใหม่ ถ้าเปรียบกับปีการศึกษาปี 2563 ที่เริ่มวิกฤตกันประมาณเมษายนจะเปิดเทอมกันตั้งแต่พฤษภาคมก็เปิดไม่ได้เขยิบไปมิถุนายนแล้วก็ประกาศอีกที เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคมปีที่แล้วก็เปิดแบบ On site แต่เปิดแบบมีเงื่อนไขต้องเว้นระยะห่าง ในรอบนั้นลักษณะการเรียนรู้แบบออนไลน์หรือเรียนรู้จากที่บ้านเป็นเหมือนการชิมราง มีเป้าหมายว่าเปิดเทอม 1 กรกฎาคม เปิดเทอมเพราะฉะนั้นการสอนของคุณครูบางโรงเรียนที่มีความพร้อมเยอะหน่อยเขาก็สอนไปตามปกติเพราะเขาก็มีช่องทางที่เข้าถึง
เพียงแต่ในหลายๆ โรงเรียนที่เหมือนพอได้บางเหมือนกับซ้อมรอก่อนเปิดเทอมเป็นการเรียนรู้ค่อยเป็นค่อยไป บางที่ก็จะหาอย่างอื่นมาให้เด็กๆ ทำในช่วงระหว่างรอเปิดเทอมแต่นั่นคือปีที่แล้ว แต่พอมาปีนี้สถานการณ์คือ 1.ตัวเลขแย่ลง ผู้ป่วยมีเยอะขึ้นๆ ก็จะมีการเลื่อนเปิดเทอมไปเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงจุดทำใจว่าเทอมนี้ต้องอยู่กันยาวๆ เลยเกิดเป็นคำถามว่าสถานการณ์ของปีที่แล้วกับสถานการณ์ของปีนี้มันต่างในแง่ของการเรียนรู้ อย่างปีทีแล้วจะรู้ว่าช่วงสั้นๆ 1 กรกฎาคม ก็จะเปิดเทอมแล้วเดี๋ยวถึงมือคุณครูก็จะสบายใจ
แต่ตอนนี้ประเมินสถานการณ์ไม่ได้ เลยเป็นที่มาของการสำรวจสถานการณ์ว่าคุณครูในระดับปฐมวัยจนถึงระดับประถมศึกษาตอนต้นเขาดำเนินอย่างไรกัน ซึ่งเราก็พยายามสำรวจกับกลุ่มเป้าหมายคือกลุ่มคุณครูเป็นการเฉพาะ
ทำไมถึงต้องเลือกศึกษาเฉพาะกลุ่มเด็กปฐมวัยกับเด็กประถมศึกษาตอนต้นเพราะว่าในแง่ของการเรียนรู้เราจะพบว่าด้วยวุฒิภาวะด้วยสมาธิต่างๆ เด็กกลุ่มนี้ถ้าเวลาที่เขาเรียนอยู่ที่บ้านจำเป็นจะต้องมีผู้ใหญ่มาคอยช่วยเหลือช่วยสนับสนุน พูดง่ายๆ คือต้องมีคนคอยประกบ ไม่อย่างนั้นเขาจะไม่สามารถเรียนรู้ได้
ซึ่งมันจะต่างกับพี่ๆ มัธยมหรือพี่ๆ ประถมปลาย ที่พอมีวุฒิภาวะรู้ว่าเวลานี้จะต้องเรียนเข้าออนไลน์ได้หรือสมมติว่ามีลักษณะกิจกรรมที่เป็น On hand เขาก็จะรู้ได้ว่าต้องทำอะไรอย่างไรแล้วเขาก็จะกำกับตัวเองได้ แต่เด็กปฐมวัยกับเด็กประถมต้นอันนี้ยากเพราะต้องมีคนกำกับเราเลยอยากสำรวจตรงนี้มันก็จะสอดคล้องกับคำแนะนำของทางกระทรวงที่เขาก็จะมีคำแนะนำหรือแนวทางที่จะจัดให้กับคุณครูที่จะจัดในช่วงที่ยังเปิดเรียนแบบ On Site ไม่ได้ก็จะมีเป็น 5 On
1.On site ซึ่งตอนนี้ทำได้น้อยมากเพราะส่วนใหญ่พื้นที่ไม่สีแดงเข้มก็สีแดงไม่ก็สีส้ม ในต่างจังหวัดบางส่วนได้ On site แต่บางส่วนก็ได้ On site ในระยะเวลาสั้นๆ ยกตัวอย่างจังหวัดเชียงใหม่
พอดีทำงานวิจัยงานหนึ่งที่เชียงใหม่ เลยได้ข้อมูลจากโรงเรียนว่าช่วงแรกเปิดเรียนแบบ Onsite แต่เป็นการเปิดแบบมีเงื่อนไข คือโชคดีที่โรงเรียนแห่งนี้จำนวนเด็กต่อห้องไม่เยอะเวลาเรียนก็จะกระจายตัวได้ก็จะมีบางส่วนที่ตอนแรกเปิดเรียนชิมรางไปแล้วช่วงสั้นๆ ขณะนี้ก็ไม่ได้เปิดแล้ว ตอนนี้เกือบทุกพื้นที่แทบจะ On site ไม่ได้
2.On Air ให้นึกถึงภาพโทรทัศน์ดาวเทียม สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมที่จะมี ภาษาคุณครูก็จะเหมือนครูตู้ ครูที่อยู่ในตู้ ซึ่งการเรียน On Air ก็จะเป็นตารางวันหนึ่ง คือช่องหนึ่งก็จะเป็นระดับชั้นหนึ่ง
เช่น ป.1 ช่องนี้ ป. 2 ช่องนี้ จะแยกช่องกัน แล้วในแต่ละวันเขาก็จะมีตารางเรียนว่าชั่วโมงนี้วิชานี้ของชั้นนี้ เขาก็จะมีตารางเรียนไว้ไห้ การเรียนเราต้องเข้าไปตามเวลาของเขา แต่ข้อเสียคือเป็นการปฏิสัมพันธ์ทางเดียวเด็กๆ ดูอย่างเดียวไม่สามารถพูดกับคุณครูได้
3.On Demand จะคล้ายกันมีตารางให้ แต่ไม่จำเป็นต้องเข้าตามเวลาเป็นลักษณะ Login หรือ Access อะไรบางอย่างที่เข้าไปถึงคลิปที่ทางโรงเรียนหรือหน่วยงานจัดระบบไว้ให้ เขาจะแขวนคลิปไว้ให้เราอยากเข้าไปดูคลิปไหนก็ไปคลิกดูคลิปนั้น
ซึ่งเป็นลักษณะของ On demandก็จะสบายหน่อยเป็นลักษณะสะดวกเมื่อไหร่ก็ค่อยเรียนสะดวกเวลาไหนก็ค่อยมา ตอนเช้าคุณพ่อคุณแม่ไม่สะดวกดูแลลูกเขาก็จะให้รอตอนเย็นกลับมาจากทำงานแล้วค่อยให้ลูกดูคลิปแล้วเราก็ช่วยดูไปเป็น On demand แต่หลักการก็จะเป็นหลักการเดียวกันคือผู้รับฝ่ายเดียวไม่ใช่ลักษณะของการสื่อสารสองทาง
4.Online เป็นลักษณะของการสอนเสมือนจริงอาจจะผ่านจอ ผ่านระบบบางอย่างซึ่งสามารถมีปฏิสัมพันธ์สื่อสารสองทางได้คุณครูพูดเด็กโต้ตอบกลับคุณครูได้ เด็กๆ คุยกับเพื่อนได้ผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น Zoom, Google meet ข้อจำกัดของออนไลน์ไม่ใช่ว่าผู้ปกครองทุกคนจะสามารถสะดวกคุณครูบางคนก็ใช้วิธีเอาสิ่งที่ง่ายที่สุดไม่ต้องไปลงแอปอะไรเพิ่มเติมใช้กรุ๊ปไลน์สอน
ในกรุ๊ปไลน์ก็จะมีฟังก์ชั่นวีดิโอคอล สมมุติคุณครูใช้ไลน์จากเครื่องเดสท็อปหรือโน๊ตบุคก็สามารถแชร์หน้าจอได้เวลาสอนแล้วก็สะดวกเพราะคุณพ่อคุณแม่ทุกคนส่วนใหญ่จะมีไลน์ แต่ก็พบว่าไม่ใช่คนทุกที่จะเข้าถึงตรงนี้ได้
5.On Hand คือลักษณะของการสอนที่คุณครูจะเตรียมชุดกิจกรรม หรือแพ็คเกจสำหรับนักเรียนซึ่งในนั้นก็อาจจะประกอบไปด้วย เด็กอนุบาลก็จะเป็นสื่ออุปกรณ์ทำผลงานศิลปะหรือของเล่น หรือเกมการศึกษาหรือหนังสือนิทานอยู่ในชุดแล้วก็จัดอยู่ในซองซิปล็อคว่าสัปดาห์ที่หนึ่งชุดนี้ สัปดาห์ที่สองชุดนี้
อันนี้กรณีที่เป็นอนุบาล ถ้าเป็นประถมเขาก็จะมีหนังสือแล้วก็มีลิสต์รายการว่าสัปดาห์ที่หนึ่งเรียนเรื่องนี้แบบเรียนหนังสือวิชานี้เรียนหน้านี้วันนี้ทำแบบฝึกหัดถึงหน้านี้ที่เหลือเด็กก็จะโซโล่เอง
On Hand คือทุกคนเข้าถึงได้แน่นอนเพราะว่าแค่มารับอุปกรณ์ที่โรงเรียนหรือบางคนใช้บริการไปรษณีย์ไทยส่งมาให้ที่บ้านเพราะฉะนั้นทุกคนเข้าถึงได้อยู่แล้วถ้าเป็น On Hand แต่ข้อจำกัดคือเรียนรู้ด้วยตัวเองเลย แล้วถามว่าใครสอน พ่อแม่สอนนี่เลยเป็นข้อจำกัด
เราดูตามนโยบายของกระทรวงว่าเขาแนะนำอะไรให้คุณครูปฏิบัติบ้างแล้วก็เกิดความสงสัยอยากรู้ว่าในโรงเรียนเขาสอนแค่ไหนใช้วิธีการแบบไหนเลยเป็นที่มาของงานวิจัยว่าเราก็อยากรู้ว่าเขาสอนกันอย่างไรเราก็จะได้เห็นภาพรวมว่าการสอนสวนใหญ่ของบ้านเราเด็กปฐมวัยเด็กอนุบาลเด็กประถมต้นเป็นแบบนี้จะส่งผลอย่างไรกับเด็กบ้างในระยะยาว
พื้นที่การสำรวจ สำรวจทั่วประเทศ มีคนตอบมา 4 พันกว่าคน มีแต่คนอยากตอบคำถาม เราจะมีคำถามที่เป็นปลายเปิดเพราะฉะนั้น 4 พันกว่าคนตอบมาหมดเรามีข้อความ 4 กว่าข้อความที่ต้องวิเคราะห์ แต่ก็ดีใจที่คุณครูสื่อสารให้เราได้ยิน
ผลที่ได้ออกมาค่อนข้างเซอร์ไพรส์ในหลายๆ เรื่อง แต่ผลสืบเนื่องมากจากครูส่วนใหญ่ 4 พันกว่าคนประมาณร้อยละ 70 เป็นครูในบริบทโรงเรียนรัฐบาลซึ่งก็คือรวมหมดเลยทั้งสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ สังกัดกระทรวงมหาดไทย ที่เหลือก็จะมีคุณครูโรงเรียนเอกชน ครูโรงเรียนนานาชาติ โรงเรียนสาธิต ข้อมูลที่ได้มาค่อนข้างเซอร์ไพรส์พอสมควร
คือสมมติเปรียบเทียบเป็น On ทั้ง 4 เราตัด On site ไปเพราะเรารู้ว่าส่วนใหญ่ไม่ได้ On Site อยู่แล้วก็จะมี 1.On Air 2.Ondemand 3.Online 4.On Hand ตอนแรกเราคิดว่า Online จะเวิร์คที่สุดปรากฏไม่ใช่
สิ่งที่ถูกใช้มากที่สุดคือ On Hand ใช้ค่อนข้างเยอะซึ่งพอข้อมูลที่เป็น On Hand ค่อนข้างเยอะ ก็เลยคิดต่อว่าถ้าเป็น On Hand แล้วไม่มีกระบวนการอะไรมาสอดรับกันเด็กจะ Lost พอสมควรเลย เป็นโจทย์ที่ทำให้เห็นว่า On Hand ถูกใช้เยอะมารองลงมาเป็น Online ส่วน On Air กับ On demand กลายเป็นว่าไม่เยอะมากนักเป็นเพราะช่วงวัยด้วยอย่างอนุบาลระบบการเรียนรู้ผ่านโทรทัศน์อาจจะไม่ได้เหมาะเลยกลายเป็นข้อค้นพบว่าตอนนี้ส่วนใหญ่ใช้วิธี On Hand ต้องคิดต่อว่าเด็กจะได้รับผลกระทบอะไรบ้าง
มีข้อคำถามอีกข้อหนึ่งที่เราถามคุณครูไปว่า จากสถานการณ์ตอนนี้รูปแบบการสอนที่เขาใช้ไปส่วนใหญ่จะเป็นรูปแบบ On Hand เขาประเมินแล้วว่าเด็กจะได้รับผลกระทบด้านไหนบ้าง ให้เขาประเมินนักเรียนในช่วง 2-3 เดือนที่ต้อง Off โรงเรียนไปต้องเรียนรู้แบบ On Hand เด็กได้รับผลกระทบอะไรบ้างปรากฏว่าคะแนนที่สูงเลย
64% คุณครูบอกว่าเสียโอกาสในการเรียนรู้เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จริงๆ ประการต่อมาก็จะมองว่าการพัฒนาเรื่องของทักษะทางสังคมก็จะหายไปเลยเพราะการไม่ได้พบเจอเพื่อนในห้องเรียนหรือทำกิจกรรมร่วมกันกับเพื่อนในห้องเรียนหรือแม้กับคุณครูเองมันหาย
เรียกว่าบริบทแวดล้อมทางสังคมของเด็กก็ค่อนข้างจำกัด คือแคบลงพอล็อคดาวน์ต้องอยู่บ้านไปห้างก็ไม่ได้ไปสถานที่อื่นๆ ก็ไม่ได้เสี่ยงไปหมดต้องอยู่กับบ้านนี่เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่กระทบแล้ววิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นตามมา
55% มองว่าพัฒนาการถดถ้อยสำหรับคุณครูมองเด็ก ในหลายๆ มิติอย่างเรื่องของภาษาการฟังการพูดการสื่อสารพอเด็กได้อยู่บ้านวิธีการสอนของโรงเรียนเข้าไปไม่ถึงตัวเด็กได้ พัฒนาการหลายๆ มิติเด็กไม่ได้พัฒนาเด็กอยู่แต่บ้านอาจจะสื่อสารมากสื่อสารน้อยขึ้นอยู่กับสมาชิกในครอบครัวถ้าพูดคุยกับเขาเยอะเขาก็มีโอกาสได้ฝึกฝนได้ใช้ภาษาเยอะ
ถ้าบางคนเลี้ยงลูกให้อยู่กับจอลูกก็ฟังอย่างเดียวไม่ได้สื่อสารไม่รู้จักการใช้ภาษาในการพูดคุยก็สูญเสียเสียโอกาสในการที่จะพัฒนาและเป็นที่มาของพัฒนาการถดถ้อยตามมา
หรือเรามองเรื่องของกิจกรรมทางกายการออกกำลังกายหรือการเล่นกลางแจ้ง ถ้าอยู่แต่ในบ้านหรือสถานที่ที่บ้านหรือบางที่อยู่คอนโดแล้วค่อนข้างไม่ปลอดภัยที่จะออกไปเล่นร่วมกันเลยเป็นข้อจำกัดที่พัฒนาการเด็กไม่ได้รับการพัฒนาอย่างที่ควรจะเป็นเลยเป็นผลเสีย
ซึ่งจริงๆ แล้วในบรรดา 4 On ที่เรามองกันนักวิชาการก็จะมองกันว่าในสภาวะที่ลำบากที่สุดแบบนี้ในแง่ของการสอนที่ไม่สามารถสอนแบบ On Site ได้ On ที่เราคิดว่าน่าจะพอช่วยได้คือ Online เพราะอย่างน้อยที่สุดโดยเครื่องมือของมันยังมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ยังมีการกำกับติดตามของคุณครูได้อย่างเป็นปัจจุบัน
วันนี้เราจะชวนกันออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมกายเคลื่อนไหวและจังหวะแล้วก็ทำพร้อมกันผ่านจอ เด็กก็ทำที่บ้านดูคุณครูฟังเสียงสัญญาณจากคุณครูผ่านจอถ้าได้ยินเสียงสัญญาณนี้ให้ทำท่านี้อะไรแบบนี้ยังพอทำได้บ้างแม้ว่าจะเป็นเสมือนจริงก็ตามทีแต่ข้อจำกัดของออนไลน์ตามที่บอกไปตอนต้นก็คือมันไม่ใช่ทุกคนที่สามารถเข้าถึงได้เลยเป็นข้อจำกัดที่ค่อนข้างยากลำบากในการที่จะจัดการแก้ไขให้มันดีขึ้นได้
สำหรับกระทรวงศึกษาธิการเองเขาก็จะมีมิติช่วยเหลือคุณครูในเรื่องของการสอนอย่างในระดับประถมศึกษาก็จะมีเนื้อหาสาระค่อนข้างเยอะแล้วผู้ปกครองก็จะกังวลเรื่องของการวัดประเมินผลซึ่งที่ผ่านมากระทรวงศึกษาธิการก็จะออกแนวทางหรือให้คำแนะนำว่าไม่จำเป็นต้องสอนครบในหลักสูตรก็ได้ภายใต้สถานการณ์แบบนี้
สอนเฉพาะเรื่องที่สำคัญเขาก็จะมีลิสต์รายการเป็นตัวชี้วัดที่ต้องรู้ต้องมีเรื่องอะไรบ้างซึ่งจะหายไปเยอะมากจากตัวหลักสูตรเพราะฉะนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คุณครูค่อนข้างสบายใจว่าไม่ต้องเครียดกับการสอนให้เด็กต้องได้เนื้อหาครบถ้วนตามหลักสูตรกำหนดไว้
ในขณะเดียวกันกระทรวงศึกษาธิการก็ให้พื้นที่คุณครูในการออกแบบการวัดประเมินผลมากขึ้น แน่นอนคงไม่สามารถวัดโดยการใช้ข้อสอบได้ วิธีการสอบเด็กเครียดเลย
อย่างตอนนี้เป็น Viral ว่าจะสอบแล้วคุณพ่อคุณแม่อ่านหนังสือหรือยัง เลยมีคำแนะนำว่าอาจจะเปลี่ยนวิธีการในการวัดประเมินผลคือ
1.เด็กไม่ต้องมีภาวะเครียด 2.ลดภาระพ่อแม่ในการช่วยเหลือ งานวิจัยนี้ก็ถามในหลายมิติ ในแง่ความพร้อมของเด็กในการเรียนรู้แบบต่างๆ ทั้ง 4 On ในความคิดเห็นของคุณครูที่ดูแลเด็กเขาประเมินว่าเด็กของเขามีความพร้อมในการเข้าถึงแต่ละ On มากแค่ไหน
งจริงๆ เขาเลือกวิธีที่ผู้ปกครองพร้อมที่สุดคือ On Hand แต่ความน่าสนใจคือหลายโรงเรียนไม่ได้ใช้แค่วิธีการเดียวเขาก็จะมีการผสมผสานซึ่งอันนี้ถือว่าเป็นแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของคุณครูได้ค่อนข้างดี
ยกตัวอย่างเช่น โรงเรียนรัฐบาลที่อยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัดแน่นอนว่าเด็กไม่พร้อมที่จะมีคอมพิวเตอร์ มี I-Pad จะมาออนไลน์ ก็ทำให้รู้ว่าคุณครูแก้ปัญหาดีเขารู้ว่าโดยนโยบายเขาก็จัดเป็น On Hand ให้ก็ส่งส่งอุปกรณ์ชุดการเรียนรู้ไปให้เด็ก มีกระบวนการกำกับติดตามซึ่งวิธีการกำกับติดตามของเขาถ้าไปหาเด็กที่บ้านเลย
ส่วนใหญ่ก็อยู่ละแวกใกล้ๆ โรงเรียนก็ไปหาที่บ้านได้ กับอีกส่วนคือใช้โทรศัพท์เพราะโทรศัพท์อย่างไรก็ถึงได้ไม่ต้องวีดิโอคอลก็โทรเลยพูดคุย เขาก็จะเซทตารางเลยว่าวันหนึ่งเขาต้องหาใครอาทิตย์หนึ่งต้องโทรคุยกับเด็กทุกคน ซึ่งก็ดีอย่างน้อยที่สุดปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนก็ไม่หายแล้วครูก็รู้ว่าเด็กแต่ละคนใช้ชีวิตหรือเรียนรู้ที่บ้านเป็นอย่างไรบ้าง ก็เป็นกระบวนการที่ช่วยทำให้เห็นความพยายามของคุณครูในการช่วยเอาใจใส่กำกับติดตามเด็ก เคยคุยกับผู้บริหารโรงเรียนรัฐบาลแห่งหนึ่งตอนนี้เขาจำแนกเด็กออกเป็น 4 กลุ่ม แปลว่าเขาต้องเตรียมการสอน คุณครูห้องเรียนเดียวต้องเตรียมการสอนเด็กแบบ 4 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 ต้องใช้แบบ Online คือพร้อมถึงจำนวนก็ไม่ได้ถึง 20% สมมุติห้องหนึ่งมี 30 คน ก็จะ Online ได้ 7-8 คน
กลุ่มที่ 2 เป็นลักษณะ On hand อย่างเดียว
กลุ่มที่ 3 เป็น Online On Hand และ On Demand เพราะฉะนั้นเอาแค่ 3 แบบครูต้องเตรียมการสอนในวิชาเดียว 3 อย่าง
กลุ่มที่ 4 ติดต่อไม่ได้หายไปจากสาระบบ ซึ่งยังแก้ปัญหาไม่ได้ แต่กลุ่มนี้เราจะพบในโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัด แล้วก็เป็นครอบครัวที่ต้องสัญจรไปตามที่ต่างๆ ย้ายถิ่นฐานตามการทำงานของเขา
เพราะฉะนั้นข้อมูลตรงนี้อยากให้กำลังใจคุณพ่อคุณแม่ว่าท่านไม่ได้หนักหนาสาหัสแต่เพียงลำพัง ฟังคุณครูคือทำงานแทบจะ 7 วัน ภูมิปัญญาอีกอันของเขาคือใช้เป็น Online แต่ Online ของเขาคือเขาก็จะสอนตามตารางสอนจะมีนักเรียนบางคนในห้องที่สะดวกเรียนตามช่วงเวลานั้นพร้อมเรียนคุณพ่อคุณแม่เตรียมให้เพราะฉะนั้นครูก็จะสอนสด
แต่ขณะเดียวกันการสอนสดของคุณครูก็ต้อง Record ไว้เพื่อเอามาทำเป็น On demand ให้กับเด็กที่ดูย้อนหลัง คุณครูรอบคอบเห็นประโยชน์กับเด็กไม่ทิ้งเด็กไว้อยู่เบื้องหลังเลย ซึ่งเบื้องหลังคุณครูต้องทำงานมี Post Production ต้องตัดต่อเพราะเวลาสอนสดจะมีทำแบบฝึกหัดก็จะมีเฉลยเราต้องมาตัดต่อส่วนนั้นออกเพื่อให้เด็กได้ทำจริงเป็นการ Up Skill คุณครู
ตอนนี้โรงเรียนส่วนใหญ่เขาทราบอยู่แล้วว่าต้องคลายอะไรบ้างในการเรียนการสอนเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ในบริบทแบบนี้ให้ได้มากที่สุดโดยที่ไม่เกิดความเครียดหรือความกดดัน คือเขาต้องหาวิธีการให้เด็กเรียนรู้อะไรบางอย่างพอเท่าที่ได้ แต่ถ้าไม่ได้ทุกคนก็พอเข้าใจว่าไม่ได้เพราะอะไร แต่ในมุมของพ่อแม่ก็อย่างที่บอกโรงเรียนก็ผ่อนมาแล้ว
ทีนี้แต่ละบ้านจะมีข้อจำกัดในการดูแลลูกไม่เหมือนกัน แต่สิ่งหนึ่งถ้ามองในนักวิชาการประเด็นที่ได้จากงานวิจัยเราค่อนข้างเป็นห่วงเด็กรุ่นนี้ในเรื่องของความหยุดนิ่งของการพัฒนาช่วงหนึ่งที่เขาจะ Lost ไปเลยในพัฒนาการในด้านต่างๆ เด็กมีแนวโน้มอ้วนขึ้นเพราะอยู่บ้านทานเยอะมาก แล้วก็ในเรื่องของภาษาพูดพัฒนาการล่าช้าลงเพราะอยู่บ้านไม่ได้สื่อสารคือฟังอย่างเดียวแต่ไม่ได้สื่อสารจากการพูด
เรายังไม่ได้พูดถึงการอ่านการเขียนในระดับอนุบาลแค่ฟังกับพูดเป็นหลักพบว่าถ้าไม่มีโอกาสให้ฝึกฝนก็ไม่ได้รับการพัฒนา ซึ่งรวมกับเรื่องทักษะทางสังคมคือการได้พบปะพูดคุยกับผู้คนมากหน้าหลายตาต่างเพศต่างวัยมันเป็นประสบการณ์ที่ทำให้เขาได้พัฒนาทักษะทางสังคมได้ สามารถนำพาไปสู่การปรับตัวเข้ากับคน เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ง่ายขึ้น
สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เรารู้ว่ามันยากมากกับการสอนเขาช่วงนี้ ส่วนที่พูดทั้งหมดเราจะบอกว่าพัฒนาการพวกนี้มันรอคอยไม่ได้เพราะว่ามันมีช่วงเวลาในการพัฒนาของมัน เพราะฉะนั้นอันนี้อยากจะฝากให้คุณพ่อคุณแม่ อันนี้มุมที่เป็นคุณพ่ออาจารย์จะพยายามดีไซน์ให้กิจกรรมของลูกๆ ในแต่ละวันมีความหลากหลายไม่มุ่งเน้นไปที่เรื่องการพัฒนาเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นการเฉพาะ คือ
1.พ่อแม่ต้องไม่คาดหวังให้ลูกได้เรื่องวิชาการอย่างเดียว
การเรียนรู้เรื่องของวิชาการแฝงไปด้วยความเครียดของการทำได้กับทำไม่ได้แต่ตอนนี้ไม่มีระบบคะแนนเข้ามาแต่ถ้าเมื่อก่อนต้องทำให้ได้ต้องสอบต้องเก็บคะแนนก็จะมีความเครียดตามมา ถ้าไม่คาดหวังเขาในขณะเดียวกันก็เอาเท่าที่เขาทำได้แต่ทำได้ในที่นี้คือเขาต้องรับผิดชอบในหน้าที่อย่างเต็มที่แล้วจริงๆ แต่ได้แค่ไหนคือได้แค่นั้น
นอกจากเรื่องของวิชาการที่ควรจะต้องยืดหยุ่นแล้วก็ไม่ต้องคาดหวังแต่ให้เขาทำอย่างเต็มที่ที่สุดตามความรับผิดชอบหรือตามศักยภาพของเขาที่จะมี
2.พัฒนาการด้านอื่นๆ
การออกกำลังกาย dารเคลื่อนไหวร่างกายทักษะทางสังคมอาจจะต้องให้ความสำคัญกับตรงนี้ด้วยซึ่งจริงๆ การพัฒนาพวกนี้ง่ายนิดเดียว อย่างพัฒนาการด้านสังคมแค่เราพูดคุยกับเขาบ่อยๆ เรื่องที่พูดคุยก็สัพเพเหระดูการ์ตูนชวนพูดชวนคุยให้เขาได้ใช้ภาษาเยอะๆ หรือใช้โทรศัพท์เครื่องมือสื่อสารให้เขาได้คุยกับเพื่อนหรือญาติพี่น้องให้เขาฝึกฝนในเรื่องนี้บ้างไม่ใช่ให้เขาอยู่แต่กับเราที่เป็นพ่อแม่กับตัวเขาเองลำพังในช่วงเวลาหนึ่งนานๆ เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยได้
อย่างเรื่องการเคลื่อนไหวร่างกายอาจต้องแบ่งเวลาบ้าง ทั้งวันไม่ได้ออกข้างนอกร่างกายไม่ได้ใช้เลยประกอบกับรับประทานเยอะก็มีแนวโน้มที่จะน้ำหนักเยอะขึ้นแล้วฮอร์โมนไม่ได้ใช้เต็มที่เด็กมีพลังที่จะต้องปล่อยออก อยู่แต่บ้านอย่างเดียวไม่ได้ทำอะไรก็เป็นการเสียโอกาสในการพัฒนาหลายๆ อย่าง
จริงๆ หลายบ้านถ้าอยากจะให้ความสำคัญเรื่องนี้อาจจะต้องดูแลในเรื่องของการเรียนแต่ต้องไม่คาดหวัง เช่น คุณครูสั่งให้ลูกทำอะไรมาแล้วลูกทำไม่ได้ อย่าไปโกรธ ไปว่าทำไมทำไม่ได้ คือถ้าเขาทำเต็มที่พยายามแล้วทำไม่ได้จริงๆ เราไม่ว่าเขาเลยแต่เราสนับสนุนเขา หนูลองตั้งใจไม่วอกแวก ถ้าไม่ได้พ่อไม่ว่า ถ้าถึงจุดที่เต็มที่แล้วไม่ได้จริงๆ เราจะไม่ว่าเขา
ถ้าถึงจุดที่เขายังพอไปได้อยู่เราจะผลักให้เขาไปเต็มที่แล้วถ้าไม่ได้จริงๆ ก็ไม่เป็นไร ถ้าได้ก็สบายใจ ต้องช่วยเขาดูแลลูกเรายังอยู่ในวัยที่ในแง่ของการเรียนที่บ้านไม่มีทางที่เขาจะไม่พึ่งพาผู้ใหญ่เขาต้องพึ่งพาเราเสมอแต่การพึ่งพาต้องไม่ไปมีอิทธิพลกับเขาให้เรียนรู้ของเขาเป็นไปตามธรรมชาติการทำหน้าที่ของเราก็คือดูแลเขาอำนวยความสะดวก
ถ้าเป็น On Hand ก็ปล่อยให้เขาทำไปติดขัดตรงไหนมาถามได้ แต่ไม่ใช่ไปนั่งประกบแล้วต้องแบบเอาให้ได้ถ้าเป็นแบบนี้ค่อนข้างกังวลว่าบรรยากาศตรงนั้นจะไม่น่าเรียนรู้สำหรับลูก ที่สำคัญคุณพ่อคุณแม่ก็จะเครียดด้วยเพราะเราคาดหวังแล้วเป็นไม่ได้อย่างที่คาดหวังก็จะเครียด ทุกวันนี้เรามีเรื่องเครียดมากพอแล้ว
ติดตามฟังได้ที่รายการรักลูก The Expert Talk
Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB
Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX
Youtube: https://bit.ly/3cxn31u