เมื่ออายุมากขึ้นก็มักจะเห็นคนรอบข้างเป็นโรคความดันโลหิตสูงใช่ไหมคะ ซึ่งส่วนมากเป็นโรคต้นเหตุของโรคเบาหวานด้วยค่ะ แต่ไม่ใช่แค่ต้องเริ่มเป็นสะสมตอนโตนะคะ เด็กเล็กอายุ 3-5 ปี หากได้กินมากไป จนอ้วนหรือน้ำหนักเกินก็มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานตอนโตได้เหมือนกันค่ะ
ยังมีอีกหลายปัจจัยที่เป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ใหญ่และเด็กเป็นโรคเบาหวานค่ะ เช่น น้ำหนักแรกเกิด ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ พันธุกรรม หรือระยะเวลาทานนมแม่น้อย แต่พฤติกรรมการทาน พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ก็มีส่วนสำคัญอย่างมากค่ะ เพราะสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่เด็กหรือที่เรียกกันว่า ‘น้ำหนักเกิน’
โรคเบาหวาน เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างฮอร์โมนที่เรียกว่า ‘อินซูลิน’ ได้ไม่เพียงพอ ถ้ามีการใช้ยาขับปัสสาวะ ยาคุมกำเนิด สเตียร์รอยด์ ดื่มเหล้าและเป็นโรคตับอ่อนอักเสบด้วย ก็จะทำให้น้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เพราะอินซูลินจะช่วยน้ำเอาน้ำตาลจากแป้งและของหวานที่เราทานไปใช้เป็นพลังงานแก่ร่างกาย
ถ้าน้ำตาลในเลือดสูงสะสมในระยะยาว ส่งผลให้อวัยวะต่างๆ ในร่างกายทำงานผิดปกติ เช่น ตับ กล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อไขมัน และเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น จอประสาทตามัว ตาพร่า แขนขาชา ไต หัวใจ ระบบสมอง แผลหายช้า และแผลที่เท้า แถมโรคเบาหวานก็มีหลายชนิดขึ้นอยู่กับเฉพาะบุคคล แต่เด็กเล็กก็อาจเป็นที่อยู่ในชนิดที่คนทั่วไปเป็น คือ โรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ซึ่งต้องใช้ยาในการรักษา
โรคเบาหวานทั่วไป มี 4 ชนิด
1. โรคเบาหวาน ชนิดที่ 1
มักเกิดกับคนอายุน้อยและผอม พบได้ประมาณ 5-10%
เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เลย จำเป็นต้องฉีดอินซูลินอย่างสม่ำเสมอ
ถ้าหากร่างกายขาดอินซูลินก็อาจทำให้เสียชีวิตแบบเฉียบพลัน
2. โรคเบาหวาน ชนิดที่ 2
มักเกิดกับผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ ผู้ที่น้ำหนักเกินหรืออ้วน
เกิดจากการขาดอินซูลินบางส่วนหรืออินซูลินทำหน้าที่บกพร่อง
ซึ่งต้องควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย และใช้ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด
3. เบาหวานชนิดอื่นๆ
เกิดจากยาบางชนิด
ตับอ่อนอักเสบ
ติดเชื้อไวรัสบางชนิด
4. เบาหวานขณะตั้งครรภ์
จะไม่มีอาการบ่งบอก ส่วนมากจะพบเมื่อไปตรวจคัดกรองและตรวจพบขณะอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ขึ้นไป พบเจอได้ประมาณ 2%
สาเหตุอื่นก็คล้ายกับผู้ที่เป็นเบาหวานทั่วไป
มีประวัติครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน
มีประวัติครอบครัวเป็นโรคความดันโลหิตสูง
มีประวัติครอบครัวเป็นโรคไขมันในเลือดสูง
อายุที่เพิ่มขึ้น
คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ตอนอายุ 30 ปีขึ้นไป
ก่อนตั้งครรภ์เป็นโรคเบาหวาน
การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนของแม่ท้อง ต้องควบคุมอาหาร ควบคุมน้ำตาล หายได้หลังคลอดแล้ว
เบาหวานในเด็ก มี 2 ชนิด
1. เบาหวาน ชนิดที่ 1
พบเจอได้บ่อยสุดเมื่ออายุยังน้อย รวมถึงวัยรุ่น
เกิดจากเซลล์ในตับอ่อนถูกทำลาย จากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม
ต้องรักษาโดยการฉีดอินซูลิน
อาการ
ปัสสาวะบ่อย
ดื่มน้ำเยอะ
กินเก่ง
บางรายน้ำหนักลด 10 กิโลกรัม
คลื่นไส้ อาเจียน
ปวดท้อง
หายใจเหนื่อย หอบ
2. เบาหวาน ชนิดที่ 2
ปกติทั่วไปจะเกิดขึ้นในกลุ่มผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ แต่ก็พบมากขึ้นกับเด็กที่อ้วนและมีน้ำหนักเกิน
ต้องรักษาด้วยการทานยาหรือฉีดอินซูลิน
อาการ
มักมีอาการตอนเป็นวัยรุ่น
มีปื้นดำ หนาที่คอ, รักแร้, ขาหนีบ
อาจเป็นเชื้อราที่ช่องคลอดและผิวหนัง
เด็กๆ บางคนอาจไม่มีอาการ ถ้าไม่ได้ไปหาหมอตรวจสุขภาพทั่วไป และยังมีความผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ นอนกรน ปวดข้อ ไขมันเกาะที่ตับ ไขมันในหลอดเลือดสูง และไขมันในเลือดสูง
เด็กเล็กและวัยรุ่น ยังเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย อารมณ์และฮอร์โมนต่างๆ ถ้าอ้วน น้ำหนักเกินเกณฑ์ก็สามารถรักษาให้หายได้ โดยการควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย เคลื่อนไหวร่างกาย ไม่ทำอะไรอยู่ท่าเดิมนานๆ แต่สำหรับเด็กที่เป็นโรคเบาหวานแล้ว มันอาจรักษาให้หายขาดไม่ได้แต่สามารถอยู่กับโรคนี้ได้ แค่ต้องควบคุมอาหาร ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด หมั่นออกกำลังกาย ทานยาหรือฉีดอินซูลินทุกวันสม่ำเสมอ