เรื่องสุขภาพและความเจ็บป่วยของลูก นับเป็นความกังวลที่สุดของคนเป็นพ่อแม่ค่ะ เพราะระบบภูมิคุ้มกันของลูกยังไม่แข็งแรง เสี่ยงต่อการรับเชื้อโรคที่อยู่รอบตัวได้ง่าย โดยเฉพาะโรคต่อไปนี้ ที่ต้องระวังเป็นพิเศษค่ะ
สาเหตุ : เกิดจากเชื้อไวรัส (Enterovirus 71, Coxsackie) พบได้ตลอดทั้งปี ซึ่งหาเป็นแล้วอาการมักหายได้เองภายใน 3-10 วัน
การติดต่อของโรค : ทางการไอ จาม น้ำลาย หรืออุจจาระ มีระยะฟักตัวของโรค 3 - 6 วัน
อายุกลุ่มเสี่ยง : เด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี
อาการ: มีไข้ ผื่น ตุ่มน้ำใสตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า มีแผลในปาก กระพุ้งแก้ม ลิ้น เหงือก บางรายอาจมีผื่นที่ขา และก้นร่วมด้วย ซึ่งต้องระวังอย่าให้ลูกมีไข้สูง เพราะเสี่ยงภาวะชัก รวมถึงอาการแทรกซ้อนอื่นๆ
อาการต้องรีบพบแพทย์
: ซึม ไม่เล่น ไม่อยากอาหารหรือนม
: ปวดศีรษะมาก
: ปวดต้นคอ
: อาเจียน
: ตัวสั่น แขนหรือมือสั่นบ้าง
: พูดเพ้อไม่รู้เรื่อง สลับกับการซึมลง
สาเหตุ : เป็นโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ สามารถพบเชื้อได้ตลอดทั้งปี
การติดต่อของโรค : ทางน้ำมูก น้ำลาย การไอ และละอองเสมหะของเด็กที่ป่วย
อายุกลุ่มเสี่ยง : เด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี
อาการ
: มีอาการหอบเหนื่อย และหายใจลำบาก
: หายใจเร็ว และมีเสียงครืดคราด ๆ จนสังเกตได้จากการยุบบุ๋มลงไป และโป่งพองขึ้นมา
: ไอหนักมาก
: มีเสียงหวีดในปอด จากการที่เยื่อบุทางเดินหายใจบวมอักเสบและหลอดลมหดตัว
: มีเสมหะมาก
: มีไข้
สาเหตุ : ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส เป็นโรคที่สามารถพบได้ตลอดปี โดยเฉพาะในฤดูหนาวและฤดูฝนเป็นช่วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อโรคมากขึ้น
การติดต่อของโรค : ผ่านน้ำมูก หรือเสมหะของผู้ป่วย หรือการสัมผัสสิ่งปนเปื้อนเชื้อโรคจากผ้าเช็ดหน้า ช้อน หรือแก้วน้ำที่ใช้ร่วมกัน
อายุกลุ่มเสี่ยง : เด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี
อาการ
: อาการเบื้องต้นคล้ายไข้หวัดธรรมดา ซึ่งส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจในส่วนของจมูก ลำคอ และปอด แต่มีความรุนแรงมากกว่าและพัฒนาทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ คุณแม่สามารถสังเกตอาการที่แตกต่างจากไข้หวัดธรรมดา ได้ดังนี้
: มีไข้สูง ซึ่งมักเกิดอาการอย่างเฉียบพลัน และมีอาการรุนแรงกว่าไข้หวัด
: ปวดเมื่อย ตามกล้ามเนื้อ และรู้สึกอ่อนเพลียมาก
: ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ อาจเกิดขึ้นได้ หากพบว่ามีอาการเข้าข่ายไข้หวัดใหญ่ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์
สาเหตุ : เกิดจากการติดเชื้อไวรัสโรต้า
การติดต่อของโรค : ผ่านการหยิบอาหาร หรือสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าปาก ซึ่งเกิดการแพร่ระบาดได้ง่าย
อายุกลุ่มเสี่ยง : เด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี
อาการ
: ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำและถ่ายบ่อยกว่าปกติ หรืออาเจียนร่วมด้วย
: เด็กเล็กอาจมีไข้
: ซึม มือเท้าเย็น
: ปัสสาวะออกน้อยลง
: ขาดน้ำ อาจเกิดภาวะช๊อกได้
: หากท้องร่วงไม่รุนแรงจะหายได้เองใน 3-7 วัน
การรักษา
: อุจจะระออกไปให้หมดเพื่อไล่เชื้อ
: ดื่มเกลือแร่หรือให้น้ำเกลือ
1. ฉีดวัคซีน ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งโรคไข้หวัดใหญ่ และโรคอุจจาระร่วงจากไวรัสโรต้า
2. ดื่มน้ำสะอาดอย่างเพียงพอ และกินอาหารที่ถูกต้องตามโภชนาการ
นอนหลับอย่างเพียงพอ ควรจัดห้องนอนให้มีบรรยากาศปลอดโปร่ง มืดสนิท มีเสียงรบกวน เพื่อให้ลูกน้อยนอนหลับสนิทตลอดคืน เพื่อการเจริญเติบโตที่สมวัยและมีภูมิคุ้มกันร่างกายที่แข็งแรง
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เช่น ออกไปวิ่ง ว่ายน้ำ เล่นกีฬา ทำกิจกรรมที่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง ปอดและหัวใจแข็งแรง
ดื่มนมที่มีประโยชน์สูง เช่น นมแพะ เพราะมีกระบวนการสร้างน้ำนมแบบอะโพไครน์ ซึ่งพบในนมแม่และนมแพะเท่านั้น ทำให้เยื่อหุ้มเซลล์น้ำนมหลุดออกมากับน้ำนมในปริมาณสูง จึงมีสารอาหารธรรมชาติสูง มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ย่อยง่าย ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูก ไม่ป่วยง่าย
เสี่ยงไปสถานที่แออัด หรือสถานที่ที่เสี่ยงการแพร่กระจายของเชื้อโรค
ล้างมือให้สะอาดเสมอ โดยล้างด้วยสบู่หรือน้ำยาล้างมือให้นานเพียงพอ
ทำความสะอาดของใช้เด็กอยู่เสมอ หมั่นเช็ดแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ ทำความสะอาดของเล่นที่ลูกหยิบเข้าปากได้ หรือของใช้ของลูกให้สะอาดปลอดเชื้ออยู่เสมอ
แยกเด็กป่วยจากเด็กปกติ เมื่อสังเกตว่าลูกมีอาการผิดปกติ ให้รีบแยกลูกออกจากเด็กๆ ที่ปกติดี เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ
พบแพทย์ เมื่อลูกมีอาการผิดปกติ ให้รีบแยกลูกออกจากเด็กๆ ที่ปกติ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ และพาไปพบแพทย์ค่ะ