เข้าสู่หน้าฝนอย่างเป็นทางการ แต่อากาศบ้านเราก็ยังคงแดดจ้า อากาศร้อน ฝนตก อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย จนอาจทำให้เจ้าตัวน้อยไม่สบายได้ค่ะ เพื่อช่วยให้คุณพ่อคุณแม่รับมือกับโรคหน้าฝนและป้องกันไม่ให้ลูกป่วยได้
มาทำความรู้จักกับ 5 โรคหน้าฝน จะมีโรคอะไรที่เป็นโรคยอดฮิตและพ่อแม่ต้องระวังบ้าง ไปทำความรู้จักกันเลยค่ะ
เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza virus) อาการที่รุนแรงมากกว่าไข้หวัดธรรมดา โดยสังเกตได้จากอาการที่สำคัญคือ มีไข้สูงติดกันหลายวันโดยเฉพาะในเด็กจะมีไข้สูงลอยเกินกว่า 39-40 องศาเซลเซียสติดต่อกัน 3-4 วัน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลียอย่างมาก และเบื่ออาหาร
วิธีป้องกัน ต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ควรฉีดประมาณ 1-2 เดือนก่อนฤดูกาลระบาดของโลกในทุก ๆ ปี และสามารถฉีดได้ในเด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป
เกิดจากเชื้อไวรัส (Enterovirus 71, Coxsackie) พบมากในฤดูฝน อาการของโรค เด็กจะมีไข้ ผื่น ตุ่มน้ำใสตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า แผลในปาก กระพุ้งแก้ม ลิ้น เหงือก บางรายอาจมีผื่นที่ขา และก้นร่วมด้วย พบมากในเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 3 ปี (อนุบาลถึงประถม) อาการมักหายได้เองภายใน 3-10 วัน
เมื่อเป็นโรคมือเท้าปากแล้ว เด็กบางคนจะทานอาหาร และน้ำไม่ค่อยได้ เพราะเจ็บปากมาก ซึ่งแม้แต่น้ำลายก็ไม่ยอมกลืน ทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ ดังนั้นอย่าให้เด็กมีไข้สูงเกินไป เพราะอาจจะชักได้ บางรายอาจมีภาวะแทรกซ้อนตามมา โดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เช่น สมองอักเสบ เยื้อหุ้มสมองอักเสบ คุณพ่อคุณแม่ต้องสังเกตอาการ เมื่อผิดปกติต้องรีบพาพบแพทย์ทันที
วิธีป้องกัน ผู้ปกครองควรดูแลลูกในเรื่องอาหาร น้ำดื่ม และถ้าไม่จำเป็นไม่ควรให้ลูกไปอยู่ในสถานที่แออัด และควรมีกระติกน้ำ หรือแก้วน้ำส่วนตัวให้ลูกไปใช้กินที่โรงเรียนด้วย รวมถึงปลูกฝัง และฝึกให้ลูกใช้ช้อนกลางขณะรับประทานอาหารทุกครั้งไม่ว่าจะที่โรงเรียน หรือที่บ้านก็ตาม
เป็นโรคที่มี “ยุงลาย” เป็นพาหะนำโรค มีโอกาสเป็นได้ทั้งเด็ก ถ้าได้รับเชื้อแล้ว จะมีไข้สูงเกิน 3 วันขึ้นไป ตา และหน้าจะเริ่มแดง มีความรู้สึกอ่อนเพลีย และปวดท้อง กินยาลดไข้เท่าไหร่ก็ไม่ได้ผล ปวดเมื้อยตามตัว
วิธีป้องกัน อย่าให้ยุงกัดและอย่าให้ยุงเกิด ด้วยการจำกัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายให้หมดสิ้น และอย่ารอให้เกิดอาการที่รุนแรงก่อนแล้วจึงมาพบแพทย์ เช่น เป็นไข้สูงเกินไป ช็อก หรือมีปัญหาเลือดออกง่าย ต้องรีบพาลูกมาพบแพทย์ทันที
อาการของโรค ผู้ป่วยจะมีไข้ เป็นผื่นแดง และมีตุ่มน้ำใสเกิดขึ้นตามตัว โดยเริ่มจากบริเวณท้อง ลามไปตามต้นแขน ขา และใบหน้า หลังจากนั้นจะเกิดเป็นสะเก็ด และแผลเป็นขึ้นได้ มักหายได้เองประมาณ 2-3 สัปดาห์
วิธีป้องกัน ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส ซึ่งมีประสิทธิภาพค่อนข้างดี เริ่มฉีดในเด็กตั้งแต่ 1 ขวบเป็นต้นไป และจะกระตุ้นอีกครั้งในตอน 4 ขวบ ซึ่งเป็นวัคซีนเสริม ยังไม่กำหนดเป็นมาตรฐานที่เด็กทุกคนจะต้องฉีด
คือโรคติดเชื้อชนิดรุนแรงที่มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ “นิวโมคอคคัส” ทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดและที่เยื้อหุ้มสมอง ซึ่งมีความรุนแรง และอาจทำให้เด็กพิการ หรือเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ปี
ถ้าติดเชื้อที่ระบบประสาท เช่น เยื้อหุ้มสมองอักเสบ เด็กจะมีไข้สูง ปวดศีรษะรุนแรง คลื่นไส้ อาจเจียน คอแข็ง เด็กเล็กจะมีอาการงอแง ซึม และชักได้ ส่วนการติดเชื้อในกระแสเลือด เด็กจะมีไข้สูง งอแง ถ้ารุนแรงอาจทำให้ช็อก และเสียชีวิตได้ อย่างไรก็ดีถ้ามีอาการดังกล่าวควรรีบพามาพบแพทย์ทันที
วิธีป้องกัน ปัจจุบันมีวัคซีนฉีดให้เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี เด็กทารกควรเริ่มฉีดเมื่ออายุได้ 2 เดือนขึ้นไป และฉีดเข็มต่อไปเมื่ออายุได้ 4, 6 และ 12-15 เดือน โดยเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี ที่มีโรคประจำตัว หรือภูมิคุ้มกันบกพร่อง มีความเสี่ยงสูง วัคซีนจึงสำคัญ
ช่วงหน้าฝนนี้ คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลป้องกันโรคต่าง ๆ จากลูกได้ด้วยการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ ออกกำลังกายเป็นประจำและล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอนะคะ
หากลูกมีอาการผิดปกติ เช่น มีไข้สูง กินอาการได้น้อย อาเจียน อ่อนเพลียง่าย มีภาวะขาดน้ำ หรือมีปัญหาเรื่องระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอบ่อย หายใจเร็ว และกินอาหารได้น้อย ควรรีบพามาพบแพทย์ทันที เพราะถ้าวินิจฉัยโรคเร็ว ความรุนแรงของโรค และโอกาสที่รักษาให้หายจะมีแนวโน้มมากยิ่งขึ้นค่ะ