ในเด็กเล็กที่ภูมิต้านทานยังไม่แข็ง แรง เชื้อโรค 2 ตัวนี้เป็นสาเหตุของการติดเชื้อรุนแรงที่เยื่อหุ้มสมองและในกระแสเลือด และยังเป็นสาเหตุหลักในการก่อให้เกิดโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น หูชั้นกลางอักเสบ ไซนัสอักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดบวม เป็นต้น นอกจากนี้เชื้อเอ็นทีเอชไอยังทำให้เป็นโรคตาแดง เยื่อบุตาอักเสบด้วย ในแต่ละปีเชื้อนิวโมคอคคัสทำให้เด็กทั่วโลกเสียชีวิตมากกว่า 1ล้านคน
วันนี้เรามีคุณหมอใจดีมาบอกเล่าเรื่องราวของ 2 เชื้อโรคนี้และแนวทางป้องกันค่ะ
เชื้อร้ายนี้ก่อโรคได้อย่างไร
ในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ปีมีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ โดยติดต่อโดยการหายใจหรือสัมผัสกับเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของคนที่ติดเชื้อ เช่น ไอ จาม เชื้อนิวโมคอคคัสสามารถอยู่ในอุณหภูมิห้องได้นาน 1-2 วัน แต่ถ้าอยู่ในอุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียสเชื้อจะอยู่ได้นานมากกว่า 1 สัปดาห์ ในบางพื้นที่มีรายงานว่ามือของเด็กอายุ 3-7 ปีพบเชื้อนิวโมคอคคัสได้ถึง 37%
โรคที่เกิดจาก 2 เชื้อนี้ได้แก่โรคอะไรบ้าง
1. โรคไอพีดี (IPD: Invasive Pneumococcal Disease) คือ โรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสชนิดรุนแรงโดยเชื้อจะเข้าไปในบริเวณที่ปลอดเชื้อใน ร่างกาย เช่น เยื่อหุ้มสมอง น้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลัง ในกระแสโลหิต ช่องเยื้อหุ้มปอด ทำให้เกิดโรคติดเชื้อในระบบประสาท การติดเชื้อในกระแสเลือด โรคปอดอักเสบ
อาการของโรคติดเชื้อในระบบประสาท เช่น โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เด็กจะมีไข้สูง ปวดศีรษะ ซึม คลื่นไส้ อาเจียน ในเด็กทารกอาจมีการงอแง ไม่กินนม และชักได้ ถ้าไม่ได้รับการรักษาทันทีเด็กอาจมีความผิดปกติของสมอง โรคลมชัก หูหนวก ในรายที่เป็นรุนแรงอาจถึงเสียชีวิตได้
อาการของโรคติดเชื้อในกระแสเลือดใน เด็กเล็กมักจะมีไข้สูง ร้องกวน งอแง อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ช็อกมือเท้าเย็น หายใจเร็ว ถ้าอาการเป็นมากขึ้นจนมีหัวใจวายอาจเสียชีวิตได้ (เชื้อเอ็นทีเอชไอเป็นสาเหตุในการก่อให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบและติด เชื้อในกระแสเลือดได้เหมือนกัน แต่พบได้น้อยกว่ามาก)
2. โรคปอดอักเสบ คือ การอักเสบติดเชื้อของเนื้อปอด มีการอักเสบ มีน้ำและหนองในเนื้อปอด ทำให้ปอดนำอ๊อกซิเจนเข้าไปในเลือดลดลง ปอดอักเสบเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปีมากกว่า 1.8 ล้านคนต่อปี ในเมืองไทยพบเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปีป่วยเป็นปอดอักเสบประมาณ 7 คนต่อประชากรเด็ก 100 คน
โรคปอดอักเสบที่เกิดจากโรคติดเชื้อใน เด็กเกิดได้หลายสาเหตุ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัส โดยเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัสและเชื้อเอ็นทีเอชไอเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิด ปอดอักเสบในเด็ก เด็กที่เป็นโรคนี้จะมีไข้ ไอ หายใจเร็ว หายใจลำบาก หายใจเสียงดัง โดยโรคปอดอักเสบอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน คือ ภาวะนํ้าหรือหนองในช่องเยื่อหุ้มปอด ฝีในปอด ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดที่รุนแรง ภาวะช็อกและอาจเสียชีวิตได้
3. โรคหูชั้นกลางอักเสบ คือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อที่บริเวณหูชั้นกลาง สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส โดยเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดหูชั้นกลางอักเสบในเด็ก 35%-40% เกิดจากเชื้อนิวโมคอสคัส และ 20%-25% เกิดจาก เชื้อเอ็นทีเอชไอ
การอักเสบเฉียบพลันของหูชั้นกลางพบได้ บ่อยในเด็ก มีรายงานว่ากว่า 80% ของเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปีเคยเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบอย่างน้อย 1 ครั้ง
เด็กที่ป่วยเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบ ในเด็กเล็กอาจจะมีอาการหวัด ร้องกวน เอามือจับหู ในเด็กโตมักบอกได้ว่าเจ็บหู ซึ่งหากเด็กไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมอาจเกิดความพิการทางการได้ยิน ทำให้เด็กมีปัญหาในการเรียนรู้ ส่งผลต่อเนื่องต่อพัฒนาการทางด้านภาษา พัฒนาการด้านต่างๆ และคุณภาพชีวิตตามมา
ทั้ง 3 โรคอันตรายนี้ สามารถรักษาได้หรือไม่?
รักษาได้ครับทั้ง 3 โรคนี้รักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะร่วมกับวิธีการรักษาอื่นๆ สิ่งสำคัญคือ ต้องได้รับการวินิจฉัยโรคและรักษาอย่างทันท่วงที แต่บางครั้งแม้ได้รับการวินิจฉัยโรคและรักษาอย่างถูกต้อง ผลการรักษาก็ยังไม่ดีเท่าที่ควรเพราะปัจจุบันเชื้อโรคมีการดื้อยาปฏิชีวนะ มากขึ้น ทำให้การรักษายาก ฉะนั้นการป้องกันดูจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด
จะปกป้องลูกให้ห่างไกลจาก 2 เชื้อโรคร้าย และ 3 โรคอันตราย ได้อย่างไร?
เด็กเล็กยังมีภูมิคุ้มกันโรคไม่ดีนัก เนื่องจากร่างกายของเขายังเจริญเติบโตไม่เต็มที่และยังไม่แข็งแรงพอที่จะ ต้านเชื้อโรคร้ายแรงได้ และที่สำคัญคนที่เคยป่วยเป็นโรคเหล่านี้ยังสามารถกลับมาเป็นช้ำได้ ดังนั้นการป้องกันจึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ทำได้โดย
1. เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นเวลามากกว่า 1 ปี
2. รักษาความสะอาด ดูแลข้าวของเครื่องใช้ โดยเฉพาะสิ่งของที่ใช้มือจับบ่อยๆ เช่น ลูกบิดประตู ของเล่น เป็นต้น
3. ล้างมือให้เด็กบ่อยๆ
4. ปิดปากและจมูกทุกครั้งที่ไอ หรือจาม
5. ไม่แคะจมูก ไม่เอามือใส่ปาก ไม่ขยี้ตา
6. หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วยที่มีอาการ ไอ จาม รวมถึงหลีกเลี่ยงการพาลูกไปในสถานที่ที่มีเด็กอยู่รวมกันมากๆ ที่ที่มีคนสูบบุหรี่ มลภาวะเป็นพิษต่างๆ
7. ทำร่างกายให้แข็งแรง ด้วยการออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ อย่าให้เด็กนอนดึก
8. ปรึกษากุมารแพทย์เรื่องการเสริมภูมิคุ้มกันป้องกันโรคจากเชื้อ 2 ชนิดข้างต้น และโรคอื่นๆ เช่นไข้หวัดใหญ่ ที่อาจทำให้ร่างกายอ่ออนแอติดเชื้อต่างๆ ได้ง่าย