กรมอนามัยออกสำรวจสุขภาพฟันเด็กๆ แล้วพบว่า เด็กที่มีอายุตั้งแต่ 9 เดือนก็เป็นฟันผุแล้ว เพราะไม่ได้เริ่มแปรงฟันให้เด็กตั้งฟันน้ำนมซี่แรกขึ้น
เด็กๆ จะมีฟันทั้งหมด 20 ซี่ เริ่มจากฟันน้ำนมไปเป็นฟันแท้ วัยฟันน้ำนมซี่แรกจะขึ้นเมื่อเด็กอายุครบ 6 เดือนจนอายุ 2 ปีครึ่งถึงจะขึ้นครบ 20 ซี่ ฟันบน 10 ซี่ ฟันล่าง 10 ซี่และเมื่อฟันน้ำนมหลุดฟันแท้จะทยอยขึ้นทดแทนจนครบเมื่ออายุ 6 ปี และมักจะเป็นช่วงเวลาการเกิดฟันผุจากการทาน การรักษาความสะอาดไม่ถูกต้องและการละเลย ส่วนหนึ่งมาจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม โดยกรมอนามัยออกสำรวจสุขภาพฟันเด็กๆ แล้วพบว่า เด็กที่มีอายุตั้งแต่ 9 เดือนก็เป็นฟันผุแล้ว และเด็กที่มีอายุ 3 ปีขึ้นไป มีฟันผุเฉลี่ย 3 ซี่ต่อคน เพราะไม่ได้เริ่มแปรงฟันให้เด็กตั้งฟันน้ำนมซี่แรกขึ้น
ปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดฟันผุ
น้ำตาล สาเหตุหลักของฟันผุ
อาหารส่วนใหญ่ของเด็กในยุคปัจจุบันจะมีส่วนผสมของแป้งและน้ำตาลทั้งสิ้น ตั้งแต่นม ขนมอบกรอบ ขนมหวาน น้ำหวาน น้ำอัดลม ซึ่งแป้งและน้ำตาลจะเป็นแหล่งอาหารชั้นดีของแบคทีเรีย พร้อมที่จะทำปฏิกิริยากับน้ำตาลจนกลายเป็นกรดเพื่อไปทำลายผิวฟันทีละนิดๆ จนลุกลามไปเรื่อยๆ หากไม่รีบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทานอาหาร
ลักษณะฟันและช่องปาก
รูปร่างฟันแต่ละซี่ที่มีร่องลึก มีตำแหน่งที่ผิดที่ ซ้อนเกไม่เป็นระเบียบจะทำให้ยากต่อการทำความสะอาด ส่งผลให้เศษอาหารเข้าไปติดอยู่เป็นเวลานานและเกิดฟันผุง่าย
สาเหตุที่เด็กเล็กฟันผุง่าย
ฟันผุสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ฟันน้ำนมซี่แรก เกิดจากพฤติกรรมการกินอาหารที่ไม่เหมาะสมและการดูแลความสะอาดช่องปากที่ไม่ทั่วถึง
โรคฟันผุเกิดจากแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในช่องปากที่อยู่ร่วมกับเศษอาหารและน้ำลาย สะสมเป็นคราบขี้ฟันหรือคราบแบคทีเรีย เหนียวเกาะติดแน่นอยู่ตามผิวฟัน ไม่สามารถหลุดออกจากการบ้านน้ำหรือเช็ด จำเป็นต้องแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันเพื่อกำจัดเชื้อโรค เพราะแบคทีเรียสามารถเปลี่ยนน้ำตาลและแป้งให้เป็นกรดที่มีฤทธิ์ทำลายผิวฟันจนเกิดเป็นรูปเล็กๆ เมื่อรูเล็กๆ เหล่านี้ขยายใหญ่ขึ้น เด็กจะเริ่มปวดฟัน มีอาการเสียวฟันได้
ฟันน้ำนมจะเป็นฟันที่เด็กจะใช้งาน 5-10 ปี ก่อนที่ฟันแท้จะขึ้นมาแทนที่ โอกาสที่ฟันน้ำนมจะผุจึงมีได้ง่ายและลุกลามไวกว่าฟันแท้ เพราะชั้นเคลือบฟันน้ำนมมีความบางกว่าฟันแท้ เชื้อแบคทีเรียจะได้น้ำตาลเป็นอาหารและจะผลิตเป็นกรดที่จะฝังอยู่ในคราบขี้ฟันเป็นเวลานาน เมื่อกรดสัมผัสกับเนื้อฟันจะเกิดการทำลายของผิวฟันอย่างรวดเร็ว หากไม่รีบแปรงฟัน
อย่าปล่อยให้เด็กหลับคาขวดนม
ไม่ควรให้เด็กทานขนมหวานหรือน้ำหวานตามใจชอบแล้วไม่ได้แปรงฟัน
ผลกระทบการเกิดฟันผุในเด็กเล็ก
ปวดฟัน
กัดหรือเคี้ยวอาหารไม่ได้
มีความอยากอาหารน้อยลงหรือเลือกกินมาก
ร่างกายจะได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน
ส่งผลต่อการนอนหลับ
ส่งผลต่อการเรียนรู้
ส่งผลต่ออารมณ์และสติปัญญาได้
ฟันน้ำนมผุ มักจะพบว่าฟันแท้ก็ผุไปด้วย
เกิดเชื้อโรคในช่องปากมากกว่าปกติ ส่งผลให้ฟันแท้ที่จะขึ้นใหม่ก็เกิดฟันผุได้ด้วย
กระทบต่อการหลั่งฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญเติบโต (growth hormone)
เด็กที่มีฟันผุลุกลามมาก สามารถพบการติดเชื้อและเป็นหนองลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงได้ เช่น แก้ม ดวงตา และสมอง หรืออาจทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดได้ จนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
เด็กขาดความมั่นใจในการพูด เพราะฟันมีการเปลี่ยนสีหรือมีรูปร่างที่ผิดปกติ
การที่เด็กต้องถอนฟันน้ำนมออกก่อนที่ฟันแท้ขึ้นก็ส่งผลต่อฟันที่กำลังงอกใหม่ให้มีการล้มเอียงส่งผลเสียต่อสุขภาพช่องปากในระยะยาวได้เช่นเดียวกัน
การสังเกตเมื่อเด็กเกิดฟันผุ
มีรอยสีขาวขึ้นบริเวณคอฟัน
มีจุดสีดำหรือน้ำตาลเล็กๆ บนผิวฟัน
ถ้ารูที่พบมีขนาดใหญ่ขึ้น เด็กจะมีอาการปวดฟันหรือเสียวฟัน เมื่อดื่มน้ำเย็น น้ำร้อนหรือของหวาน
ถ้าเด็กๆ เกิดอาการเหล่านี้ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการอุดฟัน ไม่ควรปล่อยให้ฟันผุลุกลาม เพราะจะเกิดการติดเชื้อในเนื้อเยื่อโพรงประสาทฟัน จะทำให้เด็กปวดมากจนนอนไม่หลับและจะเกิดหนองตามมา ถึงขั้นนี้จะต้องทำการรักษารากฟันหรือถอนฟัo
โรคฟันผุป้องกันและรักษาได้
เลือกแปรงสีฟันที่เหมาะสมกับเด็ก
เลือกยาสีฟันที่เหมาะสมกับเด็ก
ปลูกฝังการแปรงฟันให้เด็กอย่างถูกวิธี
พาเด็กไปพบทันตแพทย์ เพื่อตรวจสุขภาพฟัน อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
ฟลูออไรด์ คืออะไร
ฟลูออไรด์มักอยู่ในส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดช่องปาก ตั้งแต่ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปากที่ทุกคน ทุกวัยใช้อยู่เป็นประจำ รวมถึงยาเม็ดวิตามินเสริม
ความจริงแล้วฟลูออไรด์เป็นแร่ธาตุตามธรรมชาติที่ช่วยป้องกันฟันผุได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีงานวิจัยที่มีคุณภาพรองรับที่ผ่านการศึกษาวิจัยมากกว่า 30 ปี หน้าที่ของฟลูออไรด์ คือ ป้องกันฟันผุ ทำให้โครงสร้างของฟันแข็งแรงทนกรดมากขึ้น ซ่อมแซมฟันผุเล็กๆ หรือฟันผุในระยะแรก โดยการตกตะกอนแร่ธาตุกลับเข้าไปใหม่
ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์
พบได้ในยาสีฟันทั่วไปตามท้องตลาดโดยแต่ละยี่ห้อจะมีปริมาณฟลูออไรด์ที่ต่างกัน สังเกตได้จากปริมาณที่บอกบนฉลากข้างหลอดยาสีฟันที่มีหน่วยวัดเป็นส่วนในล้านส่วน (ppm) ปัจจุบันความเข้มข้นของฟลูออไรด์ที่ได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิภาพในการป้องกันฟันผุคือ ฟลูออไรด์ความเข้มข้นอย่างต่ำ 1000 ppm โดยควรแปรงอย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน
การใช้น้ำยาบ้วนปาก
ควรใช้น้ำยาบ้วนปากกับเด็กที่มีอายุ 6 ปีขึ้นไปที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุสูง เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 ปี ไม่ควรใช้ เพราะเด็กวัยนี้ยังไม่สามารถควบคุมการกลืนและการบ้วนปากได้ดี มีโอกาสที่จะกลืนน้ำยาบ้วนปากได้
วิตามินฟลูออไรด์
ยังมีฟลูออไรด์รูปแบบทานได้ด้วย ทั้งรูปแบบอาหารและเครื่องดื่ม ตั้งแต่ยาเม็ดฟลูออไรด์ ยาน้ำ วิตามิน ฟลูออไรด์ในน้ำดื่ม นมฟลูออไรด์ที่เหมาะสำหรับเด็กตั้งแต่อายุ 6 เดือนถึง 12 ปี
สำหรับยาเม็ดและยาน้ำฟลูออไรด์ ควรอยู่ในการควบคุมปริมาณโดยทันตแพทย์ซึ่งจะต้องมีการประเมินฟลูออไรด์ในแหล่งน้ำและอาหารที่เด็กจะได้รับก่อนที่จะสั่งจ่ายให้เด็ก เนื่องจากจะมีโอกาสที่เด็กจะได้รับฟลูออไรด์มากเกินไป
นมฟลูออไรด์
นมทั่วไปเมื่อเด็กดื่มแล้วจะมีคราบนมติดอยู่ตามผิวฟัน ซึ่งถ้าแปรงฟันสะอาดไม่ได้ก็จะเป็นเหตุให้เกิดฟันผุได้ สำหรับนมฟลูออไรด์หรือนมที่มีการเติมโซเดียวฟลูออไรด์เข้าไปในปริมาณที่กรมอนามัยโลกกำหนด จะช่วยให้เด็กที่นอกจาจะได้รับแคลเซียมจากนมในปริมาณที่เหมาะสมแล้วยังจะได้รับแคลเซียมซึ่งช่วยในการป้องกันฟันผุ โดยกลิ่น สีและรสชาตินมยังคงเดิม
จากการศึกษาของโครงการนมฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุในประเทศไทยในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่าการให้เด็กดื่มนมฟลูออไรด์เป็นระยะเวลา 5 ปี สามารถช่วยลดการเกิดฟันผุในฟันแท้ที่งอกขึ้นมาใหม่ได้ร้อยละ 34.4 และไม่พบผลเสียเรื่องฟันตกกระจากการได้รับฟลูออไรด์เกิดขนาด ซึ่งเด็กยังคงต้องแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์
โดยควรพาลูกไปพบทันตแพทย์ครั้งแรกเมื่อเด็กอายุไม่เกิน 1 ปี เพื่อประเมินความเสี่ยงในการเกิดฟันผุ และรับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง เพื่อให้เด็กมีสุขภาพร่างกายและสุขภาพฟันที่แข็งแรง มีพัฒนาการสมวัย