อายุปูนนี้แล้วแต่หลานยังเล็ก อยากวิ่งเล่นกับหลานแบบไม่มีปัญหาข้อเข่า คุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย ต้องอ่าน
อาการปวดเข่า เจ็บเข่า ข้อเข่าเสื่อม สร้างความลำบากในชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ ทั้งการนั่ง ยืน เดิน และนอน บ้านไหนที่มีปู่ย่าตายายอยู่ด้วย จะสนใจแค่เลี้ยงลูกอย่างเดียวไม่ได้แล้วนะคะ ต้องหันมาดูแลผู้สูงอายุในบ้านด้วย เพราะเราเชื่อว่า ท่านก็อยากวิ่งเล่นกับหลาน อยากใช้ชีวิตเป็นปกติแบบไม่เดินโอย นั่งโอย แต่จะเริ่มสังเกตและดูแลเข่าผู้สูงอายุอย่างไร เรามีคำแนะนำจาก คุณปรานต์ อนุศรี นักกายภาพบำบัด มาบอกค่ะ
ผู้สูงอายุเป็นวัยที่ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงเสื่อมสมรรถภาพตามอายุ ซึ่งหนึ่งในปัญหาที่พบได้บ่อย คือ อาการปวดเข่าและข้อเข่าเสื่อม สาเหตุก็เกิดมาจากหลายอย่าง เช่น พฤติกรรมแบบเดิมซ้ำ ๆ สะสมเรื่อย ๆ จนอายุมากขึ้น และกระดูกที่เสื่อมลงตามอายุ รวมไปถึงการออกกำลังกายแบบหักโหมและผิดวิธี ดังนั้นผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม เจ็บเข่า จำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดค่ะ
1. ความเสื่อมสภาพและสึกหรอของกระดูกอ่อนผิวข้อ
2. การใช้งานข้อเข่าที่ไม่ถูกต้องเป็นระยะเวลานาน
3. น้ำหนักตัวมาก ทำให้เข่าต้องรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวในทุกขณะที่ก้าวเดิน
4. เคยได้รับอุบัติเหตุบริเวณข้อเข่ามาก่อน
อาการปวดเป็น ๆ หาย ๆ ปวดมากขึ้นขณะใช้งานข้อเข่าและอาการปวดก็จะทุเลาขณะพัก ในรายที่เป็นมาก อาการปวดจะเป็นตลอดเวลา
ข้อฝืดหรือข้อติด ส่งผลให้เคลื่อนไหวลำบาก บางรายอาจมีเสียงดังในเข่าร่วมด้วย
ข้อผิดรูป เข่าบวม บางรายอาจมีขาโก่งออกร่วมด้วย
จำกัดการเคลื่อนไหวและการใช้งานข้อเข่า เช่น ลุกนั่งเก้าอี้, ขึ้นลงบันได และ การเดิน
อาการเหล่านี้ส่งผลต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจของผู้สูงอายุ ควรปรึกษาแพทย์และนักกายภาพบำบัด เพื่อตรวจประเมินวินิจฉัย รักษาได้อย่างถูกต้องค่ะ
ท่าที่ 1 นอน ยกขา เหยียดเข่า ให้นอนหงาย จากนั้นงอเข่าข้างหนึ่งทำมุมประมาณ 45 องศากับพื้น ยกขาอีกข้างขึ้นตรง ๆ โดยให้ส้นเท้าสูงจากพื้นประมาณ 1 ฟุต เกร็งส้นเท้าไว้ประมาณ 5-10 วินาทีพัก ทำสลับกันข้างละ 10 ครั้ง
ท่าที่ 2 นั่งเหยียดเข่า นั่งบนเก้าอี้ พิงพนักข้างหลังมือยันเบาะแล้วเหยียดเข่าไปข้างหน้า เกร็งค้างไว้แล้วนับ 1-10 หรือเท่าที่ทำได้ จากนั้นเอาขาลง สลับอีกข้าง ทำแบบเดิมซ้ำ ๆ ข้างละ 10 ครั้ง
ท่าที่ 3 นั่งเตะสลับขา นั่งบนเก้าอี้ เหยียดขาตรงไปด้านหน้าทั้ง 2 ข้าง เตะขาสลับข้าง ให้เท้าลอยจากพื้น เกร็งขา แล้วค่อยๆ เพิ่มความยากด้วยการเตะสลับไล่ความสูงขึ้นเรื่อย ๆ ควรใช้เวลาทำอย่างน้อยประมาณ 10 นาที
อีกหนึ่งวิธีที่ทางเรามักใช้เป็นประจำสำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาเข่า หัวเข่า ข้อเข่า คือ การเลือกใช้อุปกรณ์พยุงเข่า (Knee support) ซึ่งอุปกรณ์พยุงเข่าที่ดีควรจะมีต้องเป็นผ้ายืดที่ออกแบบการทอยืดได้ 4 ทิศทางโดยมีแรงกดรัดที่เหมาะสม และอุปกรณ์พยุงเข่าแบบเสริมแกน ออกแบบเฉพาะตัวให้มีการเปิดลูกสะบ้าและเนื้อผ้ามีการถักทอให้ยืดได้ทั้งแนวดิ่งและแนวนอน มีแกนคู่ด้านข้างเพื่อเสริมแรงพยุงของเข่าผู้สูงอายุไว้ค่ะ
ผู้สูงอายุที่มีปัญหาปวดเข่าสวมบริเวณเข่า เพื่อเพิ่มความกระชับและให้ความรู้สึกสบายขณะสวมใส่ แนบกระชับกับสรีระจึงสามารถสวมเสื้อผ้าทับได้ ต้องเป็นรุ่นที่ระบายอากาศและความชื้นได้ดีด้วยนะคะ อุปกรณ์พยุงเข่าจะทำหน้าที่ช่วยลดการบาดเจ็บซ้ำในผู้ป่วยที่ได้รับการบาดเจ็บบริเวณข้อเข่า กระชับกล้ามเนื้อรอบเข่า ช่วยพยุงข้อเข่าที่บาดเจ็บหรืออ่อนแอ เวลาใส่ ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกสบายในการยืน เดิน นั่งมากขึ้น
การใช้อุปกรณ์พยุงเข่าคือไม่ควรใส่ตลอดเวลา ใส่เฉพาะเวลายืนหรือเดินมาก เพื่อป้องกันกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าอ่อนแรงหรือจำกัดการเคลื่อนไหวจากการใส่นาน ๆ และควรบริหารกล้ามเนื้อขาและกล้ามเนื้อรอบเข่าเป็นประจำทุกวัน เพื่อสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุที่เรารัก
ขอบคุณข้อมูลจาก คุณปรานต์ อนุศรี นักกายภาพบำบัด
สนับสนุนโดย Futuro™
(พื้นที่เพื่อการโฆษณาและประชาสัมพันธ์)