คนอยากมีลูกต้องระวัง เพราะ 10 โรคเสี่ยงต่อการตั้งท้องที่ตัวเองเป็นอยู่ก่อนตั้งครรภ์อาจส่งผลอันตรายถึงลูกได้ทั้งตอนท้องและตอนคลอด
ก่อนตั้งครรภ์ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเตรียมตัวก่อนอยู่แล้ว ด้วยการตรวจสุขภาพร่างกายก่อนมีน้อง ว่ามีความพร้อมหรือไม่ และคุณแม่ที่มีโรคประจำตัวก็ต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูอาการ รับการรักษา และการดูแลอย่างใกล้ชิดตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ รวมถึงการดูแลรักษาโรคที่อาจจะเกิดในระหว่างตั้งครรภ์เพื่อความปลอดภัยทั้งตัวคุณแม่และทารก นี่คือ 10 โรคเสี่ยงสำหรับการตั้งครรภ์ที่ควรพิจารณาก่อนตั้งสินใจตั้งครรภ์
6. โรคซิฟิลิส
ถ้าตรวจพบในขณะตั้งครรภ์ไม่เกิน 5 เดือน จะสามารถรักษาให้หายขาด โดยที่เชื้อซิฟิลิสยังไม่เข้าไปทำอันตรายหรือสร้างความพิการให้ทารกในครรภ์ แต่ถ้าหลังจากอายุครรภ์ 5 เดือนแล้ว เชื้อซิฟิลิสจะสามารถผ่านรกไปถึงทารกได้ ทำให้เกิดความพิการต่าง ๆ เช่น ลิ้นหัวใจรั่ว แท้งลูก คลอดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวน้อย หรือรุนแรงถึงขั้นทำให้ทารกเสียชีวิตในครรภ์
7. โรคเอดส์
โรคเอดส์ถือเป็นโรคอันตรายที่ทุกคนหวาดกลัว เพราะเกี่ยวกับชีวิตและยังไม่มียารักษา กรณีคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ตรวจพบเชื้อเอชไอวี (HIV) ในระยะตั้งครรภ์อ่อน ๆ สามารถปรึกษากับแพทย์ถึงการทำแท้งหรือยังคงรักษาการตั้งครรภ์ต่อไป ถ้าคุณแม่มีความต้องการที่จะตั้งครรภ์ แพทย์จะให้ยาต้านไวรัสแก่คุณแม่ในเดือนสุดท้ายก่อนคลอด ซึ่งโอกาสที่เจ้าตัวเล็กติดเชื้อไวรัสจากแม่ขณะคลอดจะลดลงจากประมาณ 30% เหลือไม่เกิน 8%
8. ภูมิแพ้ หอบหืด
คุณแม่ที่เป็นโรคภูมิแพ้ หอบหืด จะต้องหลีกเลี่ยงสิ่งที่กระตุ้นให้อาการแพ้กำเริบ ช่วงตั้งครรภ์คุณแม่ยังสามารถใช้ยาพ่นจมูกขยายหลอดลม และสารสเตียรอยด์ที่นิยมใช้กันได้อยู่ เนื่องจากค่อนข้างปลอดภัย อย่างไรก็ตามเมื่อตั้งครรภ์ ต้องแจ้งแพทย์ที่ดูแลรักษาโรคภูมิแพ้ว่าสงสัยจะตั้งครรภ์และควรแจ้งสูตินรีแพทย์ที่ดูแลการตั้งครรภ์ด้วยว่ารักษาโรคภูมิแพ้อยู่ เพื่อให้การดูแลและการให้ยาต่าง ๆ เป็นไปอย่างปลอดภัยที่สุด นอกจากนั้นคุณแม่ควรให้แพทย์ดูแลอย่างใกล้ชิดและไม่ควรซื้อยามาใช้เองเด็ดขาด
9. โรคธาลัสซีเมีย
ยีนที่ผิดปกติจะทำให้เกิดการสร้างสารโพลีเปปไตด์โกลบิน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในเม็ดเลือดแดงลดน้อยลงหรือไม่สร้างเลย ทำให้มีอาการซีดเล็กน้อยหรือถึงขั้นต้องให้เลือดทดแทน โรคทาลัสซีเมียนี้เป็นการถ่ายทอดทางพันธุกรรมชนิดด้อย คุณพ่อคุณแม่มักไม่มีอาการปรากฏ แต่จะมียีนแฝงอยู่ในตัว เมื่อต่างฝ่ายต่างถ่ายทอดยีนด้อยจึงทำให้ลูกได้รับยีนที่ผิดปกติเต็มที่ แสดงอาการของโรคทาลัสซีเมียชัดเจน
ทารกที่เป็นโรคทาลัสซีเมียอาจมีความรุนแรงมากจนทำให้เสียตั้งแต่ในครรภ์ คลอดแล้วเสียชีวิต หรือเสียชีวิตตั้งแต่อายุน้อย ๆ บางรายอาจรอดชีวิตแล้วเติบโตเป็นผู้ใหญ่ แต่ความผิดปกติจะไม่สิ้นสุดลงเพียงเท่านี้ เพราะสามารถถ่ายทอดต่อไปยังลูกหลานได้ โรคเบต้าทาลัสซีเมีย ทารกที่คลอดออกมาแล้วมีชีวิตรอด อาจมีอาการซีดมาก เจริญเติบโตช้า ตับม้ามโต จำเป็นจะต้องเติมเลือดบ่อย ๆ เพื่อยืดการมีชีวิตต่อได้ประมาณ 10 – 30 ปี
10. ไวรัสตับอักเสบบี
โรคไวรัสตับอักเสบบีเป็นโรคที่พบกันบ่อยในเมืองไทย มีคุณแม่ตั้งครรภ์เป็นพาหะของโรคนี้กันมาก ผู้ที่เป็นพาหะของโรคมีโอกาสเกิดโรคตับแข็งหรือมะเร็งตับสูงกว่าคนทั่วไป 200 เท่า และสามารถติดต่อกันง่ายที่สุดโดยผ่านทางเลือด ดังนั้นโอกาสที่ทารกจะติดโรคนี้จากแม่ก็โดยการสัมผัสกับเลือดที่เป็นพาหะในขณะคลอดนั่นเอง วิธีป้องกันคือการฉีดวัคซีนป้องกันให้แก่ทารกภายใน 12 ชั่วโมงหลังคลอด และฉีดกระตุ้นภูมิต้านทานอีก 3 เข็ม คือ ตั้งแต่หลังคลอด เมื่ออายุได้ 1 เดือน และ 6 เดือน
ทั้ง 10 โรคนี้ หากผู้หญิงเป็นแล้วอยากตั้งครรภ์ หรือ เป็นอยู่แล้วเกิดตั้งครรภ์ขึ้น ต้องปรึกษาแพทย์อย่างเคร่งครัดนะคะ เพื่อให้ทารกเกิดมาสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่จะทำได้ค่ะ