5 โรคพิการแต่กำเนิดที่มักเกิดกับทารกแรกเกิด แม่ท้องต้องดูแลตัวเองตั้งแต่ก่อนท้อง
โรคพิการแต่กำเนิดอะไรบ้างที่พบบ่อยในทารกแรกเกิด โรคพิการแต่กำเนิดป้องกันได้หรือไม่ ดูแลรักษาอย่างไร เรามีคำแนะนำค่ะ
5 โรคพิการแต่กำเนิดที่มักเกิดกับทารกแรกเกิด แม่ท้องต้องดูแลตัวเองตั้งแต่ก่อนท้อง
โรคพิการแต่กำเนิด คือ ความผิดปกติของส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ หลายส่วนของร่างกาย ซึ่งเป็นผลมาจาก การเจริญผิดปกติของทารก ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ แต่คุณแม่อย่างกังวลมากไปนะคะ เราป้องกันได้ด้วยการทำตามคำแนะนำของแพทย์ และ ทานโฟเลต หรือ อาหารที่มีโฟเลตสูง ตลอดการ ตั้งครรภ์ ก็สามารถ ป้องกันโรคพิการแต่กำเนิดของทารก ได้ค่ะ
5 โรคพิการแต่กำเนิดที่พบบ่อยในทารกแรกเกิด
- โรคหลอดประสาทไม่ปิด (อ่านบทความเพิ่มเติม คลิกที่นี่)
คือภาวะสมองสร้างไม่สมบูรณ์ ร้อยละ 90 ของทารกมีชีวิตเกิน 1 ปี เพราะได้รับการผ่าตัดแก้ไข และร้อยละ 75 มีชีวิตจนเป็นผู้ใหญ่แต่จะพิการขาทั้งสองข้าง ระบบทางเดินปัสสาวะและอุจจาระทำงานบกพร่อง และยังมีความพิการทางสมองอีกด้วย
- โรคปากแหว่งเพดานโหว่
เป็นความพิการของส่วนศีรษะและใบหน้า สาเหตุของโรคนี้เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม และภาวะขาดสารของแม่ในขณะที่ตั้งครรภ์ ฯลฯ ทารกจะมีปัญหาการดูดกลืนอาหาร เจริญเติบโตช้า ระบบทางเดินหายใจ และปัญหาด้านการสื่อสาร ทั้งการพูดและภาษา นอกจากนี้ยังกระทบกับจิตใจด้วย เนื่องจากเด็กจะมีปมด้อยในการเข้าสังคมเพราะหน้าตาและการพูดไม่ปกติ แม้ว่าจะได้รับการผ่าตัดศัลยกรรมแล้วก็ตาม
- โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
เป็นภาวะที่มีความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือดที่เกิดขึ้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์ โดยเฉพาะใน 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ความผิดปกติที่เกิดขึ้นนี้ทำให้มีเลือดดำปนอยู่ในเลือดแดงที่ไปเลี้ยงร่างกาย โรคนี้มีความแตกต่างกันไปตามด้านพยาธิสภาพ และอาการแสดง การรักษาและการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงแตกต่างกัน โดยทั่วไปแพทย์จะประเมินการรักษาเป็นราย ๆ ไป
- แขนขาพิการ
เกิดจากความผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์ใน 3 เดือนแรก แม่ไม่ได้ วิตามิน โฟลิก หรือ กินอาหารที่มี โฟเลต จึงเกิดความผิดพลาดขึ้นตอนที่มีการปฏิสนธิ ซึ่งทารกจะแสดงอาการตั้งแต่ทารกยังอยู่ในครรภ์ แขนขาทารกอาจได้รับการพัฒนาปกติ แต่มือและเท้าขาดหายไป หรือกระดูกเชิงกรานขาดไป เป็นต้น
- กลุ่มอาการดาวน์ หรือ ดาวน์ซินโดรม
เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม ในคนปกติจะมี 46 โครโมโซม แต่คนที่เป็นโรคดังกล่าวมี 47 โครโมโซม ถือเป็นความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ที่พบได้บ่อยที่สุดจากแม่ตั้งครรภ์ที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป ซึ่งมีความเสี่ยงค่อนข้างมาก เด็กจะมีลักษณะของตาที่เฉียงขึ้นบน ดั้งจมูกแบน ตาห่าง มือเท้าสั้น กล้ามเนื้อที่อ่อนแรง และมักจะมีโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดร่วมด้วย และมีพัฒนาการทางสมองล่าช้า
การป้องกันโรคพิการแต่กำเนิด
- เมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ ควรรีบฝากครรภ์เพื่อรับการดูแลทันที
- ควรตรวจสุขภาพและตรวจโรคก่อนตั้งครรภ์ เพื่อเตรียมความพร้อม
- ควรเริ่มกินโฟเลตก่อนตั้งครรภ์อย่างน้อย 3 เดือน และกินต่อเนื่องเมื่อตั้งครรภ์ช่วงไตรมาสแรก
- แม่ตั้งครรภ์ที่มีอายุ 35+ ขึ้นไป ควรตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์ และ อยู่ในความดูแลของหมอสูติฯ อย่างเคร่งครัด รวมถึงการเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจหาภาวะดาวน์ซินโดรม
- ในระหว่างตั้งครรภ์ควรกินอาหารให้ครบถ้วน ออกกำลังกายเบา ๆ พักผ่อนให้เพียงพอ และ ตรวจสุขภาพครรภ์ตามนัดหมายเสมอ