การตั้งครรภ์ 6 เดือน อายุครรภ์ 6 เดือน ลูกตัวเท่าดอกกะหล่ำและได้ยินเสียงแม่แล้ว
พัฒนาการทารภในครรภ์ 6 เดือน หรือ แม่ตั้งครรภ์ 6 เดือน ที่ อายุครรภ์ 6 เดือน คุณแม่กำลังย่างเข้าสู่ การตั้งครรภ์ ไตรมาสที่ 3 ( อายุครรภ์ 21 สัปดาห์, อายุครรภ์ 22 สัปดาห์, อายุครรภ์ 23 สัปดาห์, อายุครรภ์ 24 สัปดาห์ ) แล้วนะคะ ช่วงนี้ พัฒนาการทารกในครรภ์ มีอะไรเพิ่มเติมบ้าง แม่ตั้งครรภ์ 6 เดือน ดูแลตัวเองอย่างไร และ ร่างกาย แม่ท้องอายุครรภ์ 6 เดือน เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร บ้าง มาเช็กกันตรงนี้ค่ะ
พัฒนาการทารกในครรภ์ 6 เดือน ลูกในท้องตัวหัวดอกกะหล่ำ
(24 สัปดาห์ สิ้นเดือนที่ 6 ทางจันทรคติ หรือ 5 1/2 เดือนตามปฏิทิน)
- ทารกในครรภ์มีความยาวหัวจรดเท้าประมาณ 33 เซนติเมตร น้ำหนักตัวประมาณ 600 กรัม
- ตามร่างกายมีขนอ่อนปกคลุมมากขึ้น และเปลือกตาเริ่มเปิดออกได้แล้ว
- ปอดเริ่มทำงานได้ แต่หลอดลมของปอดยังทำงานได้ไม่เต็มที่
- ลูกในท้องเริ่มไวต่อคลื่นเสียงความถี่สูง ๆ และจะเคลื่อนตัวตามจังหวะเสียงพูดของคุณพ่อคุณแม่ได้ การที่คุณพ่อคุณแม่พูดคุยกับทารกเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ทารกสามารถจดจำเสียงได้ ยิ่งพูดคุยด้วยบ่อย ๆ ก็จะยิ่งดี
- คุณแม่อาจจะรู้สึกว่าช่วงตั้งท้อง 6 เดือนลูกไม่ค่อยดิ้น โดยทั่วไปคุณหมอจะแนะนำให้นับลูกดิ้นตั้งแต่อายุครรภ์ 28 สัปดาห์ หรือตั้งครรภ์ 7 เดือนขึ้นไปเดังนั้นหากรู้สึกว่าลูกไม่ดิ้น แต่คุณแม่ไม่มีสัญญาณบ่งบอกถึงความผิดปกติใด ๆ ในร่างกาย ก็ไม่ต้องกังวลไปค่ะ
อาการคนท้อง 6 เดือนร่างกายเปลี่ยนแปลงอย่างไร
- คุณแม่ท้อง 6 เดือน เท้าบวมเป็นเรื่องปกติที่ต้องเจอ เพราะร่างกายจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นประมาณอาทิตย์ละครึ่งกิโลกรัม คุณแม่ไม่ต้องกังวลว่าท้องจะเล็กหรือใหญ่แล้วมีผลกับพัฒนาการทารกในครรภ์นะคะ ขอแค่ดูแลตัวเองดี กินอาหารหลากหลายครบถ้วน ลูกในท้องจะแข็งแรงแน่นอนค่ะ
- เวลาแม่เปลี่ยนอิริยาบทอาจจะเกิดการเสียดท้องน้อยได้ เพราะมดลูกจะเกิดการหดตัวและเกร็ง
- อาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ 6 เดือน สามารถเกิดขึ้นได้เป็นเรื่องปกติ ท้องแข็งมีหลายสาเหตุ เช่น ท้องแข็งที่เกิดจากลูกโก่งตัว เป็นอาการท้องแข็งในบางที่ โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นร่างกายลูก เช่น ศีรษะ ศอก เข่า หรือท้องแข็งหลังจากคุณแม่กินอิ่มเกินไปจนรู้สึกแน่น อึดอัด
- คุณแม่อาจจะปวดชายโครงได้ เนื่องจากขนาดครรภ์ใหญ่ขึ้น และขณะที่ทารกดิ้นก็อาจเกิดการกดทับกระเพาะอาหารและแสบร้อนได้เหมือนกัน
- สิ่งที่คุณแม่ต้องระวังเป็นพิเศษในช่วงนี้คือ โรคหรือภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น ภาวะเบาหวาน ครรภ์เป็นพิษ การอักเสบจากเชื้อรา เป็นต้น ดังนั้นจะต้องระวังเรื่องอาหาร และหากตรวจพบภาวะดังกล่าวจะต้องปฏิบัติตามที่คุณหมอแนะนำอย่างเคร่งครัด
อาหารคนท้องอายุครรภ์ 6 เดือน
- แคลเซียม ควรรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมให้เพียงพอเพื่อป้องกันการเกิดตะคริว
- กากใย การกินอาหารที่มีกากใยสูงตลอดช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ นอกจากจะช่วยป้องกันท้องผูกหรือริดสีดวงทวารแล้ว ยังลดโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ได้
*************************************************
เช็กพัฒนาการทารกในครรภ์ตลอดอายุครรภ์ 9 เดือน ได้ที่นี่
- ตั้งครรภ์ 1 เดือน อายุครรภ์ 1 เดือน
- ตั้งครรภ์ 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน
- ตั้งครรภ์ 3 เดือน อายุครรภ์ 3 เดือน
- ตั้งครรภ์ 4 เดือน อายุครรภ์ 4 เดือน
- ตั้งครรภ์ 5 เดือน อายุครรภ์ 5 เดือน
- ตั้งครรภ์ 6 เดือน อายุครรภ์ 6 เดือน
- ตั้งครรภ์ 7 เดือน อายุครรภ์ 7 เดือน
- ตั้งครรภ์ 8 เดือน อายุครรภ์ 8 เดือน
- ตั้งครรภ์ 9 เดือน อายุครรภ์ 9 เดือน