สุขภาพครรภ์

PM 2.5 ฝุ่นร้ายอันตรายถึงลูกในท้อง เสี่ยงพิการ-ตาย ตั้งแต่แรกคลอด

แม่ท้องกับฝุ่น PM2.5, อันตรายของฝุ่น PM2.5, อันตรายของฝุ่น PM2.5 กับทารก
  

มีงานวิจัยยืนยัน PM 2.5 ส่งผลกระทบต่อแม่ท้องและทารกในครรภ์ ถึงขั้นพิการแต่กำเนิด หรืออาจเสียชีวิตตั้งแต่แรกคลอด

PM 2.5 ฝุ่นร้ายอันตรายถึงลูกในท้อง เสี่ยงพิการ-ตาย ตั้งแต่แรกคลอด

นักวิจัยเผยมลพิษทางอากาศสามารถผ่านจาก 'แม่' สู่ 'ทารกในครรภ์' มลพิษทางอากาศของประเทศไทยมีอยู่หลายรูปแบบค่ะ ทั้งมลพิษจากท่อไอเสียของรถยนต์ โรงงานอุตสาหกรรม หรือเกิดจากการเผาไหม้ขยะมูลฝอยค่ะ และที่สำคัญคือฝุ่น PM 2.5 ที่สร้างความอันตรายให้กับแม่ตั้งครรภ์มากที่สุดค่ะ 

วารสาร Nature Communications ตีพิมพ์งานวิจัยที่ระบุว่า ทีมวิจัยตรวจสอบพบอนุภาคขนาดเล็กอย่างคาร์บอนสีดำอยู่ภายในรกจำนวนมหาศาลต่อทุกๆ ลูกบาศก์เมตรในเนื้อเยื่อของตัวอย่างรกทุกชิ้นที่นำมาตรวจวิเคราะห์ โดยอธิบายว่าอนุภาคดังกล่าวที่เกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงสามารถผ่านเข้าไปสู่ทารกในครรภ์ได้ด้วยการแทรกซึมผ่านลมหายใจของมารดา

ทั้งนี้ งานวิจัยชิ้นนี้เลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์และไม่เคยสูบบุหรี่ ภายในเมือง Hasselt ประเทศเบลเยียมซึ่งเป็นเมืองที่มีระดับมลพิษต่ำกว่าข้อกำหนดของสหภาพยุโรป แต่สูงกว่าข้อกำหนดขององค์การอนามัยโลก โดยนักวิจัยเลือกใช้เทคนิคเลเซอร์เพื่อตรวจจับอนุภาคคาร์บอนสีดำ ก่อนจะพบว่าจำนวนของอนุภาคที่กีดขวางอยู่ในรกสัมพันธ์กับระดับมลพิษทางอากาศที่มารดาได้รับ

รศ.รพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล อายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล แสดงผลการศึกษาผลกระทบของฝุ่น PM 2.5 กับแม่ท้องว่าหากต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีฝุ่น PM2.5 สูง นอกจากจะเสี่ยงต่อทารกที่คลอดมาน้ำหนักตัวน้อยและเจ็บป่วยง่ายแล้ว ยังเสี่ยงต่อความพิการแรกคลอด โดยเฉพาะกลุ่มโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

มีการศึกษาชิ้นสำคัญ เผยแพร่ในวารสารของสมาคมหัวใจแห่งอเมริกา ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2023 คณะผู้วิจัยได้นำเสนอข้อมูลที่รวบรวมมาจาก 30 จังหวัดในประเทศจีน ระหว่างปี 2557-2560 ซึ่งมีเด็กทารกที่คลอดในช่วงเวลานั้นจำนวน 1,434,998 คน พบเกิดโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด 7,335 คน จึงได้ทำการเปรียบเทียบปริมาณ PM2.5 ที่แม่ของทารกดังกล่าวได้รับเข้าไปในช่วงที่อุ้มท้อง ระหว่างกลุ่มที่ทารกปกติกับกลุ่มที่ทารกมีโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด พบว่าค่าเฉลี่ย PM2.5 ที่แม่กลุ่มนี้ได้รับเฉลี่ยในหนึ่งปีคือ 56.51 (อยู่ในช่วงตั้งแต่ 10.95 - 182.13) ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งถือว่าสูงมากที่เดียว
 
โดยทุก ๆ 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรที่ปริมาณฝุ่นสูงขึ้น จะพบโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดเพิ่มขึ้น 2% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเภทผนังกั้นห้องหัวใจมีรูรั่ว คำนวณเป็นความเสี่ยงได้ 1.04 เท่า สำหรับผลร้ายของฝุ่นต่อหัวใจทารกนี้จะพบมากขึ้น ถ้าแม่ได้รับฝุ่นเข้าไปมากตั้งแต่ช่วงก่อนการปฏิสนธิ นอกจากนี้แม่ที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปี และแม่ที่มีฐานะยากจน จะพบความเสี่ยงนี้ได้มากขึ้น
 

 
 
 
ล่าสุดนักวิทยาศาสตร์ชาวจีนพบความเชื่อมโยงของ PM 2.5 กับภาวะตายคลอด (Stillbirth) หรือภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้ทารกในครรภ์เสียชีวิต ภาวะทารกตายคลอด (stillbirth) หมายถึงภาวะที่ทารกคลอดออกมาแล้วไม่มีอาการแสดงของการมีชีวิต เช่น ไม่มีการหายใจ ไม่มีการเต้นของหัวใจ ไม่มีการเคลื่อนไหว รวมถึงทารกที่คลอดออกมาแล้วตายทันทีด้วย

ในเดือนพฤศจิกายน 2565 มีการตีพิมพ์งานวิจัยผ่านเว็บไซต์ Nature Communications เรื่องมลพิษทางอากาศมีความเชื่อมโยงกับภาวะตายคลอด การวิจัยดังกล่าวได้เก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่ปี 2541-2559 (ค.ศ.1998 - ค.ศ.2016) จากประเทศรายได้ต่ำและปานกลางครอบคลุม 137 ประเทศทั่วโลก โดย 54 ประเทศในเอเชีย แอฟริกา และลาตินอเมริกา เป็นพื้นที่ที่มีการตายคลอดสูงถึง 98% และเป็นกลุ่มประเทศที่แม่ท้องมีการสัมผัส PM2.5 สูงกว่าระดับ WHO กำหนด

WHO กำหนดระดับการสัมผัส PM 2.5 ที่ไม่อันตรายคือค่าที่ไม่เกิน 5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ในปี 2558 มีสถิติการตายคลอดสูงถึง 2.09 ล้านคน โดยแม่ท้องประมาณ 950,000 คน มีภาวะตายคลอดจากการสัมผัส PM 2.5 เกินระดับ 5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

Tao Xue นักวิทยาศาสตร์จาก Peking University ประเทศจีนผู้ศึกษาความเชื่อมโยงนี้ระบุว่า การสัมผัส PM 2.5 ของแม่ท้องอาจทำให้อนุภาคของมลพิษทำให้เกิดความเสียหายต่อตัวอ่อนที่ไม่สามารถแก้ไขได้ ซึ่งเป็นอันตรายต่อรกซึ่งทำหน้าที่แลกเปลี่ยนสารอาหารและออกซิเจนจากแม่สู่ลูกTao Xue ให้ความเห็นว่า นโยบายอากาศสะอาดที่จีนและบางประเทศประกาศใช้สามารถป้องกันการตายคลอดได้ นอกจากนี้ การสวมหน้ากากอนามัย การติดตั้งเครื่องฟอกอากาศ การหลีกเลี่ยงการออกไปนอกบ้านขณะที่ค่า PM 2.5 สูง ๆ ก็ช่วยปกป้องแม่ท้องจากฝุ่น PM 2.5 ได้ เช่นกัน

 

ข้อปฏิบัติเมื่อค่า PM2.5 ในขณะนั้น (ค่ารายชั่วโมง) ขึ้นสูงเกินเกณฑ์ 


1. สูงกว่า 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร กลุ่มเสี่ยง (เด็ก คนท้อง ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคปอด-หัวใจ-ไต-สมองเรื้อรัง) งดทำกิจกรรมกลางแจ้ง คนทั่วไปลดและปรับเวลาทำกิจกรรมกลางแจ้ง โดยใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา

2. สูงกว่า 100 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ทุกคนต้องงดทำกิจกรรมกลางแจ้ง ยกเว้นคนที่ต้องทำหน้าที่บริการสาธารณะ ให้ใส่หน้ากาก N95 ตลอดเวลา

3. สูงกว่า 150 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ทุกคนควรอยู่ในตัวอาคารซึ่งติดตั้งระบบระบายและฟอกอากาศที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ยกเว้นคนที่ต้องทำหน้าที่บริการสาธารณะ ให้ใส่หน้ากาก N95 ตลอดเวลา และจำกัดช่วงเวลาปฏิบัติงานไม่ให้เกินครั้งละ 60 นาที

แม่ท้องควรทำอย่างไรเพื่อเลี่ยงฝุ่น PM 2.5 ที่อันตรายต่อทารกในครรภ์

  1. ให้อยู่ภายในอาคารบ้านเรือน หากไม่จำเป็นอย่าออกนอกบ้าน 

  2. ปิดประตูหน้าต่าง ป้องกันฝุ่นเข้า หากปิดไม่ได้ให้ใช้ผ้าชุบน้ำทำเป็นม่านปิดแทน

  3. หากต้องออกนอกบ้าน ให้ใส่หน้ากากที่สามารถกรองฝุ่น PM 2.5 

  4. ให้ดื่มน้ำมาก ๆ  ในช่วงที่มีปัญหาฝุ่นขนาดเล็ก

  5. ผู้หญิงตั้งครรภ์ จะต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสอากาศที่มีฝุ่นละออง

อันตรายจากมลพิษทางอากาศ กระทบทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์ค่ะ ดังนั้นคุณแม่ต้องดูแลตัวเองเป็นพิเศษ หลีกเลี่ยงการออกนอกบ้านถ้าไม่จำเป็น หรือถ้าต้องออกไปจริงๆ ควรส่วมใส่หน้ากากอนามัยที่ป้องกันได้จริงนะคะ เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณแม่เอง และเจ้าตัวน้อยในครรภ์นะคะ

ที่มา: 

กระทรวงสาธารณสุข

https://www.theguardian.com/environment/2019/sep/17/air-pollution-particles-found-on-foetal-side-of-placentas-study 

https://edition.cnn.com/2019/03/05/health/100-most-polluted-cities-2018-intl/index.html

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid0LmHYaREiSZwrwrtq23Lne9aBycWCXEUiC3GfyKDWgrmSPs7irEPaB2FmrzZ7DMdwl&id=100002870789106

https://www.ahajournals.org/doi/epub/10.1161/CIRCULATIONAHA.122.061245?fbclid=IwAR1Wcgi1eY_63WPzLgNj5rc-OB2uVqu0a41hc6XVXUcrACmQqlu98Zco8Z4

 

สัญญาณครรภ์อันตราย ฝุ่นPM2.5 พัฒนาการทารกในครรภ์

{ampz:share social}

  • How to resolve AdBlock issue?
    Refresh this page
  • LG TWIN Wash™ ตัวช่วยของแม่บ้านยุคใหม่ ประหยัดเวลา ประหยัดพื ...
    LG TWIN Wash™ ตัวช่วยของแม่บ้านยุคใหม่ ประหยัดเวลา...
    7 วิธีป้อนข้าวลูกวัย 6 เดือน เริ่มอาหารเสริมอย่างไรให้ลูกยอม ...
    7 วิธีป้อนข้าวลูกวัย 6 เดือน เริ่มอาหารเสริมอย่างไ...
    ห่วงเด็กไทยฆ่าตัวตาย สธ. แนะดูแลสุขภาพจิตเด็กอย่างใกล้ชิด
    ห่วงเด็กไทยฆ่าตัวตาย สธ. แนะดูแลสุขภาพจิตเด็กอย่าง...
    แพทย์เตือน กินอาหารหมักดองเสี่ยงเป็นมะเร็งหลังโพรงจมูก
    แพทย์เตือน กินอาหารหมักดองเสี่ยงเป็นมะเร็งหลังโพรง...
    อย่าปล่อยให้ลูกอ้วน เพราะจะทำให้คุณภาพชีวิตแย่
    อย่าปล่อยให้ลูกอ้วน เพราะจะทำให้คุณภาพชีวิตแย่
เช็กรายชื่อปิด 103 โรงเรียนสังกัด กทม. หนีฝุ่น PM 2.5 พุ่งเก ...
อัปเดตข่าวครอบครัว
เช็กรายชื่อปิด 103 โรงเรียนสังกัด กทม. หนีฝุ่น PM 2.5 พุ่งเกินมาตรฐาน ...
รักลูก The Expert Talk Ep.72 (Rerun) : ฝุ่น PM2.5 ตัวร้ายทำล ...
รักลูก The Expert PODCAST
รักลูก The Expert Talk Ep.72 (Rerun) : ฝุ่น PM2.5 ตัวร้ายทำลายภูมิคุ้ม...
เช็กลูกด่วน! 3 อาการอันตรายช่วงค่าฝุ่นสูง ต้องรีบพาไปหาหมอ
พัฒนาการเด็ก 3-6 ปี
เช็กลูกด่วน! 3 อาการอันตรายช่วงค่าฝุ่นสูง ต้องรีบพาไปหาหมอ
พัฒนาการสมองทารกในครรภ์เก่งยิ่งกว่าคอมพิวเตอร์อีกนะแม่
สุขภาพครรภ์
พัฒนาการสมองทารกในครรภ์เก่งยิ่งกว่าคอมพิวเตอร์อีกนะแม่
ดูเพิ่มเติม +
  • How to resolve AdBlock issue?
    Refresh this page
  • LG TWIN Wash™ ตัวช่วยของแม่บ้านยุคใหม่ ประหยัดเวลา ประหยัดพื ...
    LG TWIN Wash™ ตัวช่วยของแม่บ้านยุคใหม่ ประหยัดเวลา...
    7 วิธีป้อนข้าวลูกวัย 6 เดือน เริ่มอาหารเสริมอย่างไรให้ลูกยอม ...
    7 วิธีป้อนข้าวลูกวัย 6 เดือน เริ่มอาหารเสริมอย่างไ...
    ห่วงเด็กไทยฆ่าตัวตาย สธ. แนะดูแลสุขภาพจิตเด็กอย่างใกล้ชิด
    ห่วงเด็กไทยฆ่าตัวตาย สธ. แนะดูแลสุขภาพจิตเด็กอย่าง...
    แพทย์เตือน กินอาหารหมักดองเสี่ยงเป็นมะเร็งหลังโพรงจมูก
    แพทย์เตือน กินอาหารหมักดองเสี่ยงเป็นมะเร็งหลังโพรง...
    อย่าปล่อยให้ลูกอ้วน เพราะจะทำให้คุณภาพชีวิตแย่
    อย่าปล่อยให้ลูกอ้วน เพราะจะทำให้คุณภาพชีวิตแย่