9 พฤติกรรมลูกกินยาก เลือกกิน
ลูกไม่ยอมกินอาหาร ลูกกินข้าวน้อย กินแต่ขนม ปัญหายอดฮิตของคุณแม่!!
คงปฏิเสธไม่ได้ว่า แค่เรื่อง “กินข้าว” ก็สามารถทำให้แม่ลูกเกิดเรื่องร้าวฉานต่อกันได้ โดยเฉพาะเด็กวัย 1-3 ขวบ ที่จะมีพฤติกรรม “กินยาก ช่างเลือก” เช่น ไม่ยอมกินผัก หรือเลือกทานเนื้อบางชนิด อะไรที่มีเส้นใยเหนียวๆ แข็งๆ ก็จะไม่กิน หรือกินอาหารอย่างเดียวซ้ำๆ ซึ่งเป็นปัญหาที่พบบ่อย คุณพ่อคุณแม่จึงต้องเอาใจใส่ และค่อยๆปรับพฤติกรรม ไปพร้อมกัน เพื่อช่วยให้ลูกทานอาหารครบ 5 หมู่ ซึ่งถือเป็นเป้าหมายสำคัญที่จะทำให้ลูกได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน สมดุล ควบคู่ไปกับการเสริมโภชนาการที่ช่วยการเจริญเติบโตตามที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน
มาดูกันดีกว่าค่ะว่า 9 พฤติกรรมของหนูน้อยกินยาก ช่างเลือก นั้นมีอะไรบ้าง แล้วคุณพ่อคุณแม่จะมีวิธีการรับมือกับพฤติกรรมของลูกกันอย่างไร
-
-
- กินแต่ขนม ควรฝึกลูกตั้งแต่ยังเล็ก อายุประมาณ 1 ขวบที่เริ่มจะตักข้าวกินเองได้ ให้ลูกรู้จักทานข้าว นอกจากจะเป็นการฝึกให้ลูกช่วยเหลือตัวเองได้แล้วยังช่วยปรับพฤติกรรมการกินของลูก ที่จะส่งผลต่อไปยังอนาคตอีกด้วย
- กินแต่ของหวาน ใช้ความหิวเป็นตัวกระตุ้น ในการทานอาหาร เช่น พาลูกไปวิ่งเล่น ออกกำลังกาย เพื่อให้ลูกรู้สึกหิว และอยากทานอาหาร
- กินแต่ของจุบจิบ ปรับพฤติกรรมลูก โดยการหากิจกรรมให้ลูกทำ เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง งดเว้นการทานอาหารขนมขบเคี้ยวระหว่างมื้อ ควรกำหนดเวลาของมื้ออาหารที่แน่นอน และฝึกให้ลูกทานอาหารให้เป็นที่ เพื่อเป็นการฝึกนิสัยในการทานอาหารตั้งแต่เด็กๆ
- กินช้า จำกัดเวลาในการทานอาหาร ไม่ควรให้ลูกทานอาหารนานเกิน 30 นาที เมื่อลูกไม่ยอมทานอาหารต่อ คุณพ่อคุณแม่ควรเก็บจานชามออกจากโต๊ะ
- กินน้อย สร้างกิจกรรมให้ลูกเล่น เพื่อสร้างบรรยากาศในการกินอาหารที่สนุกสนาน เช่น การแจกขนม หรืออาหารที่ลูกชอบให้ทานเพิ่ม เมื่อลูกกินอาหารหมดพร้อมกับมีการชื่นชมลูกตามสมควร เพื่อเป็นกำลังใจ
- ชอบเขี่ย ตักอาหารให้พอดี ไม่มากเกินไป เทคนิคนี้จะช่วยให้อาหารดูน่ารับประทาน และเพื่อเป็นการกระตุ้นให้เด็กอยากอาหาร
- อมข้าว อย่าบังคับให้ลูกทานอาหาร การดุและบังคับจะทำให้เกิดบรรยากาศกดดัน เพราะการบังคับให้เด็กทานอาหารจะส่งผลให้เด็กเกิดความรู้สึกในแง่ลบต่ออาหาร
- ไม่กล้าลองอาหารใหม่ๆ คุณพ่อคุณแม่อาจลองใช้จิตวิทยาให้เด็กๆ รู้สึกดีกับการกิน เช่น ถ้าลูกไม่ชอบกินเนื้อ ผัก หรือผลไม้ เราก็อาจลองดัดแปลงอาหารเป็นรูปแบบต่างๆ ให้น่าสนใจขึ้น ด้วยการประดิษฐ์ให้มีสีสัน หรือเปลี่ยนรูปร่างหน้าตาเป็นแบบที่ลูกชอบ เช่น หน้าการ์ตูนตัวโปรด เป็นต้น
- กินซ้ำๆ ใช้อาหารเสริม หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น นม ที่จะช่วยให้ลูกมีพัฒนาการเจริญเติบโต ทั้งด้านร่างกายและสมอง ด้วยการมอบโภชนาการที่ครบ 5 หมู่