การอัลตราซาวด์ (Ultrasound) ดูพัฒนาการและความผิดปกติของทารกในครรภ์เป็นเรื่องจำเป็นค่ะ แต่จริงไหมที่ต้องอัลตราซาวด์ทารกในครรภ์บ่อย ๆ และต้องอัลตราซาวด์ 3 มิติ อัลตราซาวด์ 4 มิติ อย่างที่แม่ท้องหลายคนเข้าใจ เรามีคำแนะนำจากคุณหมอมาบอกค่ะ
การตรวจอัลตราซาวด์ทารกในครรภ์ไม่ได้มีจุดประสงค์เพียงเพื่อให้ทราบเพศของทารกเท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์ในทางการแพทย์มากมายเพื่อช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ เช่น
การตรวจอัลตราซาวด์มีขีดจำกัดในการวินิจฉัยเช่นเดียวกับการตรวจด้วยเครื่องมืออื่น ๆ ความถูกต้องแม่นยำขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ชนิดของโรคหรือความผิดปกติของทารกเอง โดยโรคบางอย่างอาจเกิดขึ้นภายหลัง โรคบางอย่างวินิจฉัยได้ยากหรือไม่สามารถเห็นได้จากภาพอัลตราซาวด์ ในบางกรณีภาพอัลตราซาวด์เห็นไม่ชัด เช่น หญิงตั้งครรภ์หน้าท้องหนาทารกนอนคว่ำ อายุครรภ์น้อย เครื่องอัลตราซาวด์ที่มีความละเอียดต่ำรวมไปถึงแพทย์ผู้ตรวจที่มีความชำนาญแตกต่างกัน
แม้ว่าการตรวจอัลตราซาวด์โดยทั่วไปจะปลอดภัยต่อทารกในครรภ์ แต่แนะนำให้ทำเฉพาะเมื่อมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์เท่านั้น นอกจากนี้ การตรวจอัลตราซาวด์โดยไม่จำเป็นก็เป็นการสิ้นเปลืองค่ะ
การตรวจอัลตราซาวด์ 2 มิติ ก็เพียงพอต่อการวินิจฉัยความผิดปกติดังกล่าวข้างต้น โดยควรตรวจอัลตราซาวด์ในช่วงอายุครรภ์ 18-22 สัปดาห์ หรือ อายุครรภ์ 4 เดือน แต่สำหรับการอัลตราซาวด์ 3 มิติ และ 4 มิติ จะทำเฉพาะกรณีพบความผิดปกติจากการตรวจแบบ 2 มิติ และต้องการการวินิจฉัยเพิ่มเติมในบางโรคเท่านั้น
ปัจจุบันแม่ท้องนิยมอัลตราวซาวด์ 3 มิติ และ 4 มิติ เพื่อดูพัฒนาการและหน้าตาของลูกในท้องอย่างชัดเจน หรือ แม้แต่อยากได้ภาพถ่ายอัลตราซาวด์แบบ 4 มิติมาเป็นที่ระลึก แต่จริง ๆ หากลูกไม่มีอาหารผิดปกติที่แพทย์บ่งชี้ว่าต้องทำ ก็ไม่จำเป็นต้องทำ เนื่องจากมีราคาสูง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
รศ.พญ.เฟื่องลดา ทองประเสริฐ
คณะอนุกรรมการอนามัยแม่และเด็ก ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย