อาการคนท้องอ่อน ๆ อาการคนท้องระยะแรกที่แม่ท้องต้องเจอแน่นอน อาการคนท้องระยะแรกมีอะไรบ้าง มาเช็กอาการคนท้องไปด้วยกันพร้อมสาเหตุ และวิธีดูแลอย่างถูกต้อง
อาการคนท้องอ่อน ๆ อาการคนท้องระยะแรกที่มักใช้สังเกตว่ากำลังตั้งครรภ์ ส่วนมากอาการแพ้ท้องจะเป็นช่วงเช้าหลังตื่นนอน และเป็นมากที่สุดในช่วงตั้งครรภ์อ่อน ๆ ระยะแรก หรือ 2-3 เดือนแรก หลังจากนั้นอาการก็จะหาย แต่สำหรับแม่ท้องบางคนที่ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนสูงก็อาจมีอาการแพ้ท้องหนักมาก และแพ้ไปจนถึงใกล้คลอดได้ อ่านบทความแพ้ท้อง
ตกขาวช่วงตั้งครรภ์เป็นอาการปกติของคนท้องค่ะ โดยอาจจะมีมากกว่าตอนยังไม่ตั้งครรภ์เพราะระดับฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลง ตกขาวที่เกิดขึ้นจะมีมีลักษณะใส หรือขาว ไม่มีกลิ่น ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ช่องคลอด แต่หากตกขาวสีเหลืองหรือเขียว มีกลิ่นเหม็น ควรรีบพบแพทย์ เพราะอาจติดเชื้อที่ส่งผลไปถึงช่วงคลอดลูกได้ อ่านบทความตกขาวตอนท้อง
คนท้องจะเริ่มปัสสาวะบ่อยช่วงตั้งครรภ์ระยะแรก และ ช่วงไตรมาสสุดท้ายก่อนคลอด เนื่องจากมดลูกมีการเคลื่อนตัวและกดทับให้พื้นที่ของกระเพาะปัสสาวะบรรจุปัสสาวะได้น้อยลง รวมถึงแม่ท้องบางคนเริ่มดื่มน้ำมากขึ้น จึงอาจทำให้ปัสสาวะบ่อยขึ้น อ่านบทความคนท้องปัสสาวะบ่อย
อาการคนท้องปวดหลังมักเกิดจากการกล้ามเนื้อหลังต้องเกร็งรับน้ำหนักของมดลูก ทารก และน้ำหนักตัวแม่ท้องที่เพิ่มขึ้นช่วงด้านหน้า ทำให้ศูนย์รับน้ำหนักเปลี่ยนไปอยู่บริเวณด้านหลัง ซึ่งสามารถบรรเทาอาการปวดหลังได้ด้วยการนวดเบา ๆ ไม่ยืน นั่ง เดินนาน ๆ ควรมีหมอนหนุนหลังรับน้ำหนักตอนเอนตัวพัก ท่านอนคนท้อง ที่ทำให้รู้สึกสบายตัว หรือมีหมอนคนท้องประคองรับน้ำหนักทั้งด้านหน้าและด้านหลัง อ่านบทความปวดหลังตอนท้อง
อาการนี้มักเกิดขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ระยะแรก ที่ฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลงสูงจึงอาจทำให้แม่ท้องรู้สึกคัดเต้านม เจ็บเต้านม หรือเจ็บตึงเต้าคล้ายตอนใกล้มีประจำเดือน อาการนี้จะหายไปหลังจากตั้งครรภ์ 2-3 เดือน และ อาจจะกลับมาอีกครั้งช่วงก่อนคลอดที่เต้านมเริ่มเตรียมพร้อมผลิตน้ำนมแม่สำหรับลูก อ่านบทความเจ็บคัดเต้า เจ็บตึงเต้านมตอนท้อง
แม่ท้องง่วงนอนตลอดเวลา เป็นทั้งอาการท้องอ่อน ๆ ท้องระยะแรก และบางคนก็ง่วงนอน อ่อนเพลียยาวไปจนคลอดเลยค่ะ มักเกิดจากร่างกายและขนาดท้องที่ใหญ่ขึ้น ทำให้หายใจไม่สะดวก ปอดได้รับออกซิเจนได้ไม่เต็มที่จึงทำให้รู้สึกเพลีย ง่วงนอนง่าย ง่วงนอนตลอดเวลา อ่านบทความคนท้องง่วงนอนบ่อย ตลอดเวลา
อาการนี้เริ่มเป็นได้ตั้งแต่ตั้งครรภ์อ่อน ๆ หรือ ตั้งครรภ์ระยะแรก ๆ เพราะมดลูกที่ขยายตัวไปกดทับลำไส้ใหญ่ให้ทำงานได้ไม่ดีนัก รวมถึงแม่ท้องที่อาจจะดื่มน้ำน้อย ไม่กินผักผลไม้สม่ำเสมอ และไม่ค่อยออกกำลังกาย จึงทำให้ไม่มีกากใย แรงเบ่งในการขับถ่ายและกลายเป็นอาการท้องผูกได้ อ่านบทความคนท้องท้องผูก
มักเกิดเมื่อแม่ท้องนั่ง ยืน เดินนาน ๆ ทำให้ขาและเท้ารับน้ำหนักมากขึ้น ระบบไหลเวียนเลือดไม่สะดวก โดยปกติแล้วสามารถแช่เท้าในน้ำอุ่นเพื่อผ่อนคลายและลดอาการคนท้องเท้าบวมได้ รวมถึงควรเปลี่ยนขนาดรองเท้าให้พอดีกับเท้าที่ขยายตัวมากขึ้น โดยการเลือกซื้อรองเท้าสำหรับแม่ท้อง ควรเลือกซื้อช่วงบ่าย ๆ เย็น ๆ ซึ่งเป็นเวลาที่เท้าจะขยายตัวมากที่สุด แต่หากอาการบวมขึ้นมาถึงหน้าแข้งและใบหน้า ควรรีบพบแพทย์เพราะอาจเป็นสัญญาณของอาการครรภ์เป็นพิษได้ อ่านบทความคนท้องเท้าบวม ขาบวม
แม่ท้องเป็นกรดไหลย้อนจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ซึ่งส่งผลให้ระบบย่อยอาหารทำงานช้าลงและทำให้กล้ามเนื้อหูรูดบริเวณปลายหลอดอาหารที่อยู่ติดกับกระเพาะคลายตัวบ่อยกว่าปกติ และมดลูกขยายใหญ่เบียดกระเพาะอาหารให้ไปอยู่ในตำแหน่งที่สูงขึ้น น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรดจึงไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดอาหาร ทำให้รู้สึกเจ็บและแสบร้อนบริเวณหน้าอกตามมา อ่านบทความกรดไหลย้อนในคนท้อง
แม่ท้องคอดำ รักแร้ดำ ข้อพับดำ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเป็นหลัก ซึ่งหลังคลอดแล้วรอยดำจะค่อยๆ จางหายไปได้เอง ในระหว่างตั้งครรภ์ คุณแม่สามารถดูแลผิวง่าย ๆ ด้วยการดื่มน้ำสะอาดเยอะ ๆ อาบน้ำให้สะอาด ใช้เบบี้ออยล์หยอดลงสำลีเช็ดเบา ๆ ที่รอยดำนั้นได้ (ห้ามขัด) เพื่อให้ผิวชุ่มชื้น ยืดหยุ่นดี อ่านบทความคอ รักแร้ดำตอนท้อง
เส้นดำกลางท้องแม่ท้องเกิดจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน คุณแม่บางคนอาจเป็นเส้นสีน้ำตาลจาง ๆ ไม่มาก บางคนเป็นเส้นดำเห็นชัด เส้นดำกลางท้องแม่ตั้งครรภ์จะค่อย ๆ หายไปหลังจากคลอดลูกแล้ว อ่านบทความคนท้องมีเส้นดำกลางท้อง
แม่ท้องนอนไม่หลับจากหลายสาเหตุ เช่น ความเครียด ไม่สบายตัว ปวดหลัง เป็นต้น เพื่อให้แม่ท้องนอนหลับได้สบายขึ้น ควรกินอาหารเย็นแต่พอดีไม่มากเกินไป แช่เท้าในน้ำอุ่นให้ผ่อนคลาย มีหมอนคนท้องรองรับท้องด้านหน้าและพยุงหลัง หรือเปิดเพลงเบา ๆ ให้ผ่อยคลายช่วยให้หลับสบาย อ่านบทความคนท้องนอนไม่หลับ นอนไม่หลับตอนท้อง
ตะคริวของคนท้องเกิดจากระบบไหลเวียนเลือด และ ร่างกายแม่ท้องมีฟอสเฟตมากเกินไปและมีแคลเซียมในกระแสเลือดน้อยไป เลือดคั่งที่บริเวณน่องมากเกินไป จะมีภาวะเป็นกรดมากทำให้แคลเซียมในเลือดต่ำลงไปอีกจนเกิดตะคริว ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นตอนกลางคืน หลังจากที่ยืน นั่ง เดิน นาน ๆ ในช่วงกลางวัน อ่านบทความคนท้องเป็นตะคริว เป็นตะคริวตอนท้อง
เส้นเลือดขอดของคนท้องเกิดจากมดลูกที่ขยายใหญ่ไปกดทับเส้นเลือดดำ ระบบไหลเวียนเลือดได้ไม่ดี ทำให้เกิดการคั่งและเส้นเลือดโป่งพองจนกลายเป็นเส้นเลอดขอดขึ้นมาอย่างชัดเจน อ่านบทความเส้นเลือดขอดตอนท้อง
เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน กินอาหารทอด อาหารเผ็ด การดูแลช่องปากไม่สะอาด เป็นต้น ร้อนในในแม่ตั้งครรภ์ไม่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ แต่จะทำให้คุณแม่รำคาญ ไม่สบายตัว หากคุณแม่เลือกกินอาหารดี รักษาความสะอาดช่องปากดี ๆ ดื่มน้ำมาก ๆ จะหายได้เอง อ่านบทความคนท้องเป็นร้อนใน
ฝ้าที่เกิดขึ้นช่วงตั้งครรภ์มีสาเหตุเกิดจากฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรน ที่มีการสร้างในปริมาณสูงขณะตั้งครรภ์ ฮอร์โมนดังกล่าวกระตุ้นให้สร้างเม็ดสีเพิ่ม ทำให้ผิวหนังคล้ำขึ้นจนกลายเป็นรอยดำอย่างฝ้าบนผิวหน้า อ่านบทความฝ้าคนท้อง เป็นฝ้าตอนท้อง
สิวคนท้องเกิดจากฮอร์โมนเอสโตรเจน และ ฮอร์โมนต่อมใต้สมองส่วนกลางมีปริมาณเพิ่มขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ ส่งผลให้ขุมขนจะผลิตน้ำมันมากขึ้น ใบหน้ามีความมัน และรูขุมขนบนใบหน้าขยายตัว ทำให้สิ่งสกปรกเข้าไปอุดตันได้ง่ายเป็นสาเหตุของการเกิดสิวในช่วงตั้งครรภ์ นอกจากนั้น ถ้าคุณแม่มีความเครียด และความกังวลร่วมด้วยก็จะยิ่งกระตุ้นให้เกิดสิวได้ง่ายขึ้น อ่านบทความสิวคนท้อง เป็นสิวตอนท้อง
ท้องแตกลายเกิดได้จากสาเหตุหลัก คือ ฮอร์โมนช่วงตั้งครรภ์มีการเปลี่ยนแปลงซึ่งส่งผลต่อสภาพผิว และ ขนาดท้องที่ขยายใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะช่วงอายุครรภ์ 5 เดือนขึ้นไป ทำให้ผิวคุณแม่ต้องขยายยืดไว ซึ่งหากผิวขาดความยืดหยุ่น ขาดความชุ่มชื้นก็จะทำให้ผิวท้องแตกลายง่าย และมีรอยแดงอย่างชัดเจน อ่านบทความคนท้องท้องแตกลาย
มักมาพร้อมกับแม่ท้องที่มีอาการท้องผูกมาก และเบ่งอุจจาระแรง ๆ ทำให้ความดันในเส้นเลือดสูง เส้นเลือดโป่งพองออก บางคนเป็นก้อนโผล่ออกมาจากทวารหนัก อาการริดสีดวงทวารตอนท้อง ในบางคนจะมีอาการคันและปวด บางคนมีเลือดออก อ่านบทความริดสีดวงทวารตอนท้อง
เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น มดลูกขยายตัวและเส้นเอ็นที่ยึด ระหว่างมดลูกกับหัวหน่าวตึง ทารกใหญ่ขึ้นจนไปกดทับบริเวณกระดูกเชิงกราน ท่านั่ง ยืน เดิน อยู่ในท่าเดิมนาน ๆ จนมีอาการเกร็งปวดตึง เป็นต้น อ่านบทความปวดขาหนีบตอนท้อง