คุณแม่หลายคนอาจเข้าใจคลาดเคลื่อนมาตลอดว่า กรดโฟลิก กับ โฟเลต ต่างกัน หรือไม่ แต่คุณหมอบอกว่าต่างกันนะคะ กรดโฟลิก เป็น วิตามิน จำเป็น ต่อ การเติบโตของร่างกาย เมื่อได้รับ กรดโฟลิก ร่างกายจะเปลี่ยนโครงสร้างวิตามินนี้ให้กลายเป็น โฟเลต ประโยชน์คือช่วยสังเคราะห์ และ ซ่อมแซม dna มีผลต่อ การเจริญเติบโตของเซลล์ มีส่วนสำคัญใน การสร้าง เม็ดเลือดแดง และ ป้องกัน โรคโลหิตจาง ค่ะ
กรดโฟลิก คือ รูปแบบของวิตามินที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมา ส่วน โฟเลต นั้น เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีอยู่ในอาหารต่างๆ
อาหารที่มีกรดโฟลิก เช่น ซีเรียลแบบเย็น แป้ง ขนมปัง พาสต้า ขนมอบทั้งหลาย คุกกี้ และขนมปังกรอบ
อาหารที่มีโฟเลต เช่น ผักใบเขียวต่างๆ เช่นผักโขม บล็อกโคลี กะหล่ำ หน่อไม้ฝรั่ง กล้วย เมลอนเลมอน ถั่ว ยีสต์ เห็ด เนื้อ ตับวัว ไตวัว น้ำส้ม และน้ำมะเขือเทศ
กระทรวงสาธารณสุขและสมาคมเพื่อเด็กพิการแต่กำเนิดแห่งประเทศไทย แนะนำ การรับประทาน โฟลิค ใน หญิงวัยเจริญพันธุ์ ว่า ควรเริ่ม รับประทาน ก่อน วางแผนตั้งครรภ์ อย่างน้อย 1 เดือน และรับประทานอย่างต่อเนื่องในช่วง ตั้งครรภ์ เพราะอาจช่วยป้องกัน ความพิการแต่กำเนิด รวมทั้ง โรคสมองและไขสันหลัง ได้ปริมาณแนะนำให้ทาน 400 ไมโครกรัมต่อวัน
นอกจากการเสริม โฟลิก ให้ร่างกายเพื่อสุขภาพที่ดี รักษาภาวะขาด Folic Acid และ โรคโลหิตจาง แล้ว โฟลิก อาจถูกนำไปใช้เพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยอื่นๆ ได้อีกด้วย เช่น อัลไซเมอร์ กระดูกพรุน ภาวะซึมเศร้า ปวดประสาท ปวดกล้ามเนื้อ จอประสาทตาเสื่อม เป็นต้น
หากรับประทาน กรดโฟลิก ในปริมาณที่มากกว่าที่กล่าวไปอาจะเกิดความเสี่ยง เนื่องจาก การกิน กรดโฟลิก ปริมาณสูง อาจทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องร่วง ผื่นขึ้น ปัญหาการนอนหลับ ฉุนเฉียว สับสน คลื่นไส้ พฤติกรรมเปลี่ยน เกิดปฏิกิริยาบนผิวหนัง ชัก เกิดลมในร่างกาย รู้สึกตื่นเต้น
เวียนศีรษะ
ไม่อยากอาหาร
เรอ ท้องอืด มีแก๊สในกระเพาะอาหาร
รู้สึกขมปาก
มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ
มีภาวะซึมเศร้า
รู้สึกตื่นเต้น กระสับกระส่าย แปรปรวน อยู่ไม่สุข
รู้สึกชา หรือคันยุบยิบ
เจ็บปวดบริเวณปากและลิ้น
อ่อนล้าหมดแรง
สับสับกระส่าย ไม่มีสมาธิ
มีข้อกังวลว่า การบริโภค กรดโฟลิก มากเกินไป เป็นเวลานาน อาจทำให้ เกิดผลข้างเคียง ร้ายแรงขึ้น โดยบางงานวิจัยได้กล่าวว่าการรับประทานมากไปหรือที่ปริมาณ 800-1,200 mcg อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อ ภาวะหัวใจวาย ในกลุ่มผู้ที่มี ปัญหาหัวใจ และ ยังอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อ โรคมะเร็ง ต่างๆ อย่าง มะเร็งปอดหรือ มะเร็งต่อมลูกหมาก ได้
บทความโดย : แพทย์หญิง วรประภา ลาภิกานนท์ สูตินรีแพทย์