facebook  youtube  line

ตารางเช็กกำหนดคลอดด้วยตัวเอง จากประจำเดือนวันสุดท้ายก่อนท้อง

กำหนดคลอดลูก, วันคลอดลูก, คำนวณวันคลอดลูก, นับวันคลอดลูก, ฝากครรภ์, คลอดลูกวันไหน, การคลอดลูก, ตารางคำนวณวันคลอดลูก, เช็กวันคลอดลูกเอง, นับวันคลอดลูกเอง, นับวันคลอด ประจำเดือนครั้งสุดท้าย, ประจำเดือนเดือนสุดท้าย ก่อนท้อง

ทราบไหมคะว่าคุณแม่ท้องสามารถคำนวนณวันคลอดเองเบื้องต้นได้ด้วยตัวเอง จากครั้งสุดท้ายที่มีประจำเดือนก่อนที่จะรู้ว่าตั้งท้อง เรามีตารางให้คุณแม่ท้องเช็คกำหนดคลอดเองคร่าว ๆ ตามด้านล่างนี้ แต่บอกก่อนนะคะว่า เป็นเพียงการคำนวณเบื้องต้นเท่านั้น เพราะสุดท้ายแล้วการตรวจวินิจฉัยของคุณหมอในการกำหนดวันคลอดลูกสำคัญที่สุด เพราะขึ้นอยู่กับสุขภาพครรภ์ สุขภาพคุณแม่เป็นสำคัญ

ตารางเช็กกำหนดคลอดด้วยตัวเอง จากประจำเดือนวันสุดท้ายก่อนท้อง

การนับวันกำหนดคลอดลูกอย่างคร่าว ๆ คือ นับจากวันแรกที่มีประจำเดือนครั้งสุดท้ายก่อนตั้งครรภ์ นับต่อไปอีก 9 เดือน + 7 วัน เพื่อให้ได้วันคลอดที่ใกล้เคียงที่สุด เช่น ประจำเดือนมาวันที่ 1 ม.ค. ก็ให้นับจากวันที่ 1 ม.ค. ไปอีก 9 เดือน + 7 วัน กำหนดคลอดคือ 8 ต.ค.

*** ตารางกำหนดคลอดด้านล่างนี้ เป็นการนับ 9 เดือน + 7 วันให้เรียบร้อยแล้ว ดังนั้น คุณแม่ดูแค่วันแรกที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้าย (แถวบน) ก็จะได้วันและเดือนกำหนดคลอดคร่าว ๆ (แถวล่าง)

กำหนดคลอดลูก, วันคลอดลูก, คำนวณวันคลอดลูก, นับวันคลอดลูก, ฝากครรภ์, คลอดลูกวันไหน, การคลอดลูก, ตารางคำนวณวันคลอดลูก, เช็กวันคลอดลูกเอง, นับวันคลอดลูกเอง, นับวันคลอด ประจำเดือนครั้งสุดท้าย, ประจำเดือนเดือนสุดท้าย ก่อนท้อง

พ่อจ๋าพร้อมไหม? 5 วิธีเตรียมตัวคุณพ่อเข้าห้องคลอดไปช่วยแม่คลอดลูก

พ่อเข้าห้องคลอดได้ไหม, พ่อช่วยแม่คลอดลูก, พ่อเข้าห้องคลอด ช่วยแม่คลอดลูก, โรงพยาบาลรัฐบาล พ่อเข้าห้องคลอดได้ไหม, โรงพยาบาลเอกชน พ่อเข้าห้องคลอดได้ไหม, ทำไมพ่อต้องเข้าห้องคลอด, พ่อถ่ายวิดีโอตอนคลอด, เตรียมตัวก่อนคลอด, เตรียมตัวเข้าห้องคลอด, คุณพ่อมือใหม่

คุณพ่อคนไหนตั้งใจว่าจะเข้าไปลุ้นและให้กำลังคุณแม่ท้องคลอดลูกถึงในห้องคลอดด้วยล่ะก็ นี่คือคำแนะนำที่จะช่วยให้ว่าที่คุณพ่อมือใหม่ได้เตรียมตัวเตรียมใจก่อนเข้าห้องคลอดในวันจริงกันค่ะ

พ่อจ๋าพร้อมไหม? 5 วิธีเตรียมตัวคุณพ่อเข้าห้องคลอดไปช่วยแม่คลอดลูก

  1. สอบถามเรื่องกฎของโรงพยาบาลให้แน่ใจ
    คุณพ่อต้องถามคุณหมอตั้งแต่ตอนพาคุณแม่ไปฝากท้องว่าเข้าไปในห้องคลอดกับคุณแม่ได้ไหม เพราะบางโรงพยาบาลก็ไม่อนุญาตให้เข้าค่ะ แต่ส่วนใหญ่โรงพยาบาลเอกชนอนุญาตนะคะ และอย่าลืมสอบถามว่าสามารถเอากล้องถ่ายรูป กล้องวิดีโอ เข้าไปทึกภาพลูกได้หรือเปล่า สงสัยอะไรถามไว้ก่อนเลยค่ะ

  2. เตรียมร่างกายและใจให้พร้อม
    การมีร่างกายที่แข็งแรงก็เป็นสิ่งจำเป็นต่อการเข้าห้องคลอดเช่นกันนะคะ เพราะการคลอดใช้เวลานานเป็นชั่วโมง คุณพ่อก็ต้องดูแลสุขภาพตัวเองด้วย พักผ่อนให้เพียงพอ และที่ขาดไม่ได้คือ จิตใจต้องเข้มแข็งมากด้วยค่ะ เพราะไหนจะเห็นเลือด ได้กลิ่นคาว และเห็นคุณแม่เจ็บปวดตอนคลอด คุณพ่อคนไหนใจไม่แข็งพออาจมีเป็นลมได้นะคะ 

  3. เข้าอบรมในคอร์สที่ทางโรงพยาบาลจัดเตรียม
    หลายโรงพยาบาลเปิดคอร์สสำหรับการเตรียมตัวเป็นคุณพ่อคุณแม่ ซึ่งเนื้อหามีทั้งสอนให้นมบุตร การอุ้มเด็ก อาบน้ำเด็ก เป็นต้น นอกจากนี้หลายแห่งยังเปิดให้คุณพ่อคุณแม่ได้เข้าชมห้องคลอดของจริงกันอีกด้วย ซึ่งการเข้าอบรมในคอร์สลักษณะดังกล่าวจะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่มีความเข้าใจในกระบวนการคลอดมากขึ้นค่ะ และเมื่อเข้าใจมากขึ้นก็ช่วยให้หลายครอบครัวมีการเตรียมตัวที่ดีมากขึ้นไปด้วย

  4. เตรียมให้กำลังใจ นาทีของการคลอด
    การให้กำลังใจกันเป็นสิ่งสำคัญที่สุดนะคะ สามีทั้งหลายอาจเตรียมหาคำดีๆ เอาไว้พูดกับภรรยาในห้องคลอด เช่น พูดให้กำลังใจกัน จับมือกัน มองตากัน ให้เธอมั่นใจว่าเธอมีคุณอยู่เคียงข้าง และไม่ทิ้งหรือหนีหายไปในยามทุกข์ยากอย่างแน่นอน เท่านั้นก็จะช่วยเพิ่มกำลังใจให้ว่าที่คุณแม่ได้อย่างมากเลยค่ะ         

  5. กระตือรือร้น แต่มีสติ
    ไม่ว่าจะสถานการณ์การคลอดเอง หรือผ่าคลอด คุณพ่อล้วนตื่นเต้นไม่แพ้ภรรยา แต่ต้องมีสติและทำให้เป็นเรื่องที่ผ่านไปได้ง่ายๆ เช่น การบีบนวดเบาๆ ที่มือแม่เพื่อผ่อนคลายระหว่างผ่าตัด หรือจังหวะการหายใจตอนเบ่งคลอด เพื่อให้การคลอดของภรรยาเป็นไปอย่างราบรื่นให้มากที่สุดค่ะ

เทียบข้อดีข้อเสีย คลอดธรรมชาติ vs ผ่าคลอด เลือกคลอดแบบไหนดีที่สุด

การผ่าคลอด, การคลอดลูกด้วยวิธีธรรมชาติ, C-Section, คลอดลูกแบบไหนดี, ข้อดีของการคลอดลูกเอง, ข้อดีของการผ่าคลอด,ข้อดี คลอดธรรมชาติ, ข้อเสีย คลอดธรรมชาติ, ข้อเสียของการคลอดลูกเอง, ข้อเสียของการผ่าคลอด, เปรียบเทียบการคลอดลูกเองกับการผ่าคลอด, ผ่าคลอด คลอดธรรมชาติ แบบไหนดีกว่า

คลอดลูกด้วยวิธีธรรมชาติ กับ การผ่าคลอด วิธีคลอดแบบไหนดีและเหมาะกับแม่ตั้งครรภ์ที่สุด เรามีการเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของการคลอดทั้ง 2 แบบมาให้คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ได้ดูกันก่อนตัดสินใจเลือกการคลอดที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับลูกค่ะ 

เทียบข้อดีข้อเสีย คลอดธรรมชาติ vs ผ่าคลอด เลือกคลอดแบบไหนดีที่สุด

การคลอดลูกด้วยวิธีธรรมชาติ

ข้อดีของการคลอดธรรมชาติ

  1. มดลูกหดตัวไว และไม่มีแผลที่มดลูก
  2. คุณแม่ฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว
  3. ความเสี่ยงติดเชื้อจากบาดแผลน้อยกว่าผ่าคลอด
  4. ลูกจะหายใจได้เต็มที่ เพราะตอนคลอดออกมาได้รีดน้ำในช่องปอดออกจนแห้ง
  5. แบคทีเรียทางช่องคลอด จะทำให้ลูกสร้างภูมิคุ้มกันได้ดีกว่าเด็กที่ผ่าคลอด 

ข้อเสียการคลอดธรรมชาติ

  1. กำหนดวันเวลาที่แน่นอนไม่ได้
  2. ต้องอดทนกับความเจ็บปวดเป็นเวลานาน
  3. คุณแม่อาจได้รับอันตรายหากลูกไม่กลับหัวหรือช่องคลอดไม่เปิด
  4. ช่องคลอดไม่กระชับเหมือนเดิม  

การคลอดลูกด้วยการผ่าคลอด C-Section

ข้อดีของการผ่าคลอด C-Section

  1. สามารถระบุวันและเวลาชัดเจน เพื่อเตรียมตัวได้
  2. ไม่เสี่ยงกับภาวะแทรกซ้อน เช่น มดลูกไม่เปิด หัวใจเด็กเต้นช้า เป็นต้น
  3. คุณแม่ไม่ต้องเจ็บปวดกับการคลอดเอง
  4. ไม่ต้องรอให้ปวดท้องก็สามารถผ่าตัดคลอดได้
  5. ช่องคลอดยังกระชับเหมือนเดิม 

ข้อเสียของการผ่าคลอด C-Section

  1. แผลหายช้า และฟื้นตัวได้ช้ากว่าคลอดตามธรรมชาติ
  2. แผลติดเชื้อที่ช่องท้องได้ง่ายกว่าการคลอดธรรมชาติ
  3. เสียเลือดมากระหว่างผ่าตัด และเกิดอันตรายได้ง่าย
  4. คุณแม่อาจเกิดอันตรายจากยาสลบได้ เช่น ความดันต่ำจากการบล็อกหลัง เป็นต้น  

การคลอดทั้งสองแบบมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไปนะคะ ขึ้นอยู่ที่ว่าคุณแม่จะเลือกการคลอดแบบไหนมากกว่า นอกจากนี้ต้องเลือกจากสุขภาพของคุณแม่เป็นหลักด้วยนะคะ เพื่อความปลอดภัยทั้งคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ค่ะ

 

แม่ท้องต้องรู้ ผ่าคลอดทำลูกขาดภูมิต้านทานตามธรรมชาติ

การผ่าคลอด, คลอดธรรมชาติ, ภูมิต้านทานตามธรรมชาติ, เด็กผ่าคลอด ไม่มีภูมิคุ้มกันจริงไหม, เด็กผ่าคลอด ป่วยง่ายจริงไหม, เด็กผ่าคลอด ภูมิคุ้มกันต่ำ, เด็กผ่าคลอด เสริมภูมิคุ้มกันยังไง, เด็กผ่าคลอด ไม่มีภูมิต้านทาน, นมสำหรับเด็กผ่าคลอด, เด็กผ่าคลอด กินนมอะไร, นมแม่, นมแม่มี พรีไบโอติก, พรีไบโอติก, Prebiotics, จุลินทรีย์โพรไบโอติก, โพรไบโอติก, Hi-Q, ซินไบโอติก, Synbiotics

แม่ผ่าคลอดหลายคนอาจกังวลว่าลูกจะไม่แข็งแรงเพราะไม่ได้รับภูมิต้านทานจากโพรไบโอติกในขณะคลอด แต่ถึงแม้จะผ่าคลอดแล้ว คุณแม่ก็ยังสามารถสร้างภูมิต้านทานตามธรรมชาติให้ลูกได้ค่ะ

แม่ท้องต้องรู้ ผ่าคลอดทำลูกขาดภูมิต้านทานตามธรรมชาติ 

ปัจจุบันมีคุณแม่ท้องหลายคนอาจต้องเลือกวิธีผ่าคลอดมากกว่าการคลอดด้วยวิธีธรรมชาติผ่านช่องคลอด เนื่องด้วยปัจจัยต่างๆเช่น ปัญหาสุขภาพของคุณแม่ พัฒนาการของทารกในครรภ์ที่ไม่ยอมกลับหัว หรือทารกตัวใหญ่จนไม่สามารถคลอดเองได้ เรื่องความสะดวก หรือการถือฤกษ์ยามของที่บ้าน อย่างไรก็ตาม คุณแม่ทราบหรือไม่ว่าการผ่าคลอดนั้นอาจส่งผลต่อภูมิต้านทานตั้งต้นของลูกผ่าคลอดเมื่อเทียบกับการคลอดธรรมชาติ

คลอดธรรมชาติ ต่างจากผ่าคลอดอย่างไร

มีการศึกษามากมายว่าการคลอดธรรมชาติจะได้รับจุลินทรีย์สุขภาพที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เรียกว่า โพรไบโอติก (Probiotics) ซึ่งส่งผลต่อพัฒนาการของระบบภูมิต้านทานตั้งต้นของลูกน้อย

เนื่องจากการคลอดธรรมชาติ เด็กจะต้องเคลื่อนตัวผ่านช่องคลอด เด็กจึงมีการกลืนโพรไบโอติกเข้าไป ทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานตั้งต้น ช่วยสร้างสมดุลให้กับร่างกาย ลดโอกาสเกิดภูมิแพ้และโรคต่างๆ ในขณะที่เด็กผ่าคลอดจะไม่ได้รับจุลินทรีย์สุขภาพโพรไบโอติก ซึ่งอาจส่งผลให้มีพัฒนาการของระบบภูมิต้านทานตั้งต้นช้ากว่าเด็กคลอดธรรมชาติได้

คุณแม่เบาใจ แม้ผ่าคลอดก็ยังเสริมสร้างภูมิต้านทานให้ลูกได้

การผ่าคลอด, คลอดธรรมชาติ, ภูมิต้านทานตามธรรมชาติ, เด็กผ่าคลอด ไม่มีภูมิคุ้มกันจริงไหม, เด็กผ่าคลอด ป่วยง่ายจริงไหม, เด็กผ่าคลอด ภูมิคุ้มกันต่ำ, เด็กผ่าคลอด เสริมภูมิคุ้มกันยังไง, เด็กผ่าคลอด ไม่มีภูมิต้านทาน, นมสำหรับเด็กผ่าคลอด, เด็กผ่าคลอด กินนมอะไร, นมแม่, นมแม่มี พรีไบโอติก, พรีไบโอติก, Prebiotics, จุลินทรีย์โพรไบโอติก, โพรไบโอติก, Hi-Q, ซินไบโอติก, Synbiotics

มีการศึกษาว่าในช่วง 3 วันแรกหลังผ่าคลอด ถ้าลูกได้ดื่มนมแม่ จะสามารถเร่งคืนภูมิต้านทานให้ลูกได้เช่นกัน

เนื่องจากน้ำนมแม่ในระยะนี้เป็นหัวน้ำนมหรือโคลอสตรุ้ม (Colostrum) ที่เป็นน้ำนมที่ดีที่สุด และช่วยเสริมภูมิคุ้มกันลูกน้อยได้ดีที่สุด

โคลอสตรุ้มมีสารสร้างภูมิต้านทานที่ดีให้กับลูก เช่น เซลล์เม็ดเลือดขาว โปรตีนต่างๆ ที่ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายลูกตั้งแต่แรกเกิด ป้องกันการติดเชื้อ และกระตุ้นการทำงานของลำไส้เพื่อช่วยขับถ่ายขี้เทาออก เป็นการป้องกันแก้ไขอาการตัวเหลืองของลูกวัยทารกด้วย

นอกจากนี้ในนมแม่ยังมีซินไบโอติก (Synbiotic) ที่มีโพรไบโอติก (Probiotics) ปริมาณมาก และพรีไบโอติก (Prebiotics) ที่เป็นอาหารสำคัญสำหรับโพรไบโอติก

การผ่าคลอด, คลอดธรรมชาติ, ภูมิต้านทานตามธรรมชาติ, เด็กผ่าคลอด ไม่มีภูมิคุ้มกันจริงไหม, เด็กผ่าคลอด ป่วยง่ายจริงไหม, เด็กผ่าคลอด ภูมิคุ้มกันต่ำ, เด็กผ่าคลอด เสริมภูมิคุ้มกันยังไง, เด็กผ่าคลอด ไม่มีภูมิต้านทาน, นมสำหรับเด็กผ่าคลอด, เด็กผ่าคลอด กินนมอะไร, นมแม่, นมแม่มี พรีไบโอติก, พรีไบโอติก, Prebiotics, จุลินทรีย์โพรไบโอติก, โพรไบโอติก, Hi-Q, ซินไบโอติก, Synbiotics

ดังนั้นเมื่อให้ลูกผ่าคลอดดื่มนมแม่เป็นประจำร่างกายก็จะมีโพรไบโอติกสูงที่ช่วยเร่งคืนภูมิต้านทานที่ขาดหายไปในเด็กผ่าคลอด ช่วยลดปริมาณจุลินทรีย์ก่อโรค ป้องกันการติดเชื้อ และพัฒนาระบบประสาทและสมอง เพื่อให้ลูกผ่าคลอดพร้อมยิ่งกว่าค่ะ

แต่หากคุณแม่มีความจำเป็นไม่สามารถให้นมลูกได้ หรือน้ำนมยังไม่มา มีปัญหาสุขภาพร่างกาย ควรปรึกษาคุณหมอหรือบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อขอคำแนะนำถึงการใช้นมผสมสูตรที่มีโพรไบโอติกและสารอาหารเพียงพอต่อความต้องการของลูก

อ้างอิง

https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/24674981/

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK148970/

https://www.si.mahidol.ac.th/th

https://pharmacy.mahidol.ac.th

สนับสนุนโดย Hi-Family Club สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเตรียมให้ลูกผ่าคลอดพร้อมยิ่งกว่าได้ที่

https://www.hifamilyclub.com/c-section.html

 

พื้นที่โฆษณาและประชาสัมพันธ์

แม่ผ่าคลอดต้องรู้ให้ลึก สารอาหารสำคัญสำหรับเด็กผ่าคลอดช่วยลูกสมองไว

แม่ผ่าคลอด, การผ่าคลอด, เด็กผ่าคลอด, สฟิงโกไมอีลิน, B. lactis, นมผง, นมผงสำหรับเด็ก, นมผงสูตรไหนดี, นมสำหรับเด็กผ่าคลอด, เด็กคลอดธรรมชาติ, นมแม่, นม, S-26, เอส 26, นมเอส 26, นมผงเด็กผ่าคลอด, นมเด็กผ่าคลอด, ให้ลูกกินนมอะไร, สารอาหารสำคัญในนมแม่, นมแม่ดีที่สุด, กิจกรรมเสริมพัฒนาการเด็ก 

แม่ผ่าคลอดต้องรู้ให้ลึก สารอาหารสำคัญสำหรับเด็กผ่าคลอดช่วยลูกสมองไว

การผ่าคลอดนั้นเด็กจะถูกนำตัวออกมาผ่านหน้าท้องของคุณแม่ ทำให้เสียโอกาสที่จะได้รับจุลินทรีย์สุขภาพผ่านทางช่องคลอดของคุณแม่ ส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการระบบภูมิต้านทานตั้งต้นที่แตกต่างจากเด็กที่คลอดธรรมชาติ จึงมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้ และเจ็บป่วยได้ง่ายกว่า นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กผ่าคลอดมีความเสี่ยงด้านพัฒนาการทางสมองอีกด้วย ดังนั้นคุณแม่ผ่าคลอดควรเตรียมความพร้อมของลูก เพื่อให้ลูกมีพัฒนาการทางสมองและภูมิต้านทานที่ดี

สมองและการเรียนรู้ของเด็กผ่าคลอด

มีการศึกษาของ Deoni S.C. et al. เกี่ยวกับพัฒนาการทางสมองของเด็กผ่าคลอด พบว่าสมองของเด็กผ่าคลอด ที่อายุ 2 สัปดาห์ มีการเชื่อมโยงการทำงานของสมองแตกต่างจากเด็กที่คลอดธรรมชาติ และพัฒนาการทางสมองส่วนคอร์ปัส คาโลซัม (Corpus Callosum) ซึ่งเชื่อมโยงการทำงานระหว่างสมองซีกซ้ายและซีกขวาของเด็กอายุตั้งแต่อายุ 3 เดือนจนถึง 3 ปี มีการสร้างเยื่อหุ้มไมอีลินในสมองที่แตกต่างกัน

นมแม่ ภูมิคุ้มกันแรกเกิดสร้างลูกสมองไวและเสริมภูมิคุ้มกันให้เด็กผ่าคลอดแข็งแรง

 

 แม่ผ่าคลอด, การผ่าคลอด, เด็กผ่าคลอด, สฟิงโกไมอีลิน, B. lactis, นมผง, นมผงสำหรับเด็ก, นมผงสูตรไหนดี, นมสำหรับเด็กผ่าคลอด, เด็กคลอดธรรมชาติ, นมแม่, นม, S-26, เอส 26, นมเอส 26, นมผงเด็กผ่าคลอด, นมเด็กผ่าคลอด, ให้ลูกกินนมอะไร, สารอาหารสำคัญในนมแม่, นมแม่ดีที่สุด, กิจกรรมเสริมพัฒนาการเด็ก

นมแม่คืออาหารที่ดีที่สุดสำหรับเด็กทารก เปรียบเหมือนภูมิคุ้มกันที่แม่สร้างให้ลูกตั้งแต่แรกเกิด เพราะในนมแม่มีสารอาหารที่มีประโยชน์มากกว่า 200 ชนิด สารอาหารหลัก เช่น โปรตีน น้ำตาล ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน แร่ธาตุ ต่าง ๆ  ยิ่งให้ลูกกินนมแม่ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 เดือน หรือยาวนานที่สุด ยิ่งช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางร่างกาย สมอง และภูมิคุ้มกันให้ลูกแข็งแรง ซึ่งนมแม่สามารถป้องกันและลดความรุนแรงของโรคติดเชื้อในเด็กได้หลายโรค อาทิ โรคมือเท้าปาก โรคปอดอักเสบ โรค RSV เป็นต้น  

สฟิงโกไมอีลินและ B. lactis เป็นอีก 2 สารอาหารสำคัญในนมแม่ที่มีบทบาทในการพัฒนาสมองและเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูก

โดยสฟิงโกไมอีลิน ไขมันกลุ่มฟอสโฟไลปิดมีความสำคัญในการสร้างปลอกไมอีลิน ซึ่งเจ้าปลอกไมอีลินนี้เป็นส่วนที่ห่อหุ้มเส้นใยประสาท ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งสัญญาณประสาท ทำให้สมองส่งสัญญาณประสาทได้เร็วแบบก้าวกระโดด และทำให้สมองมีการประมวลผลอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

มีการศึกษาพบว่าแขนงประสาทนำออกที่มีปลอกไมอีลินห่อหุ้มจะส่งสัญญาณประสาทได้เร็วกว่าที่ไม่มีถึงกว่า 100 เท่า ซึ่งกระบวนการสร้างปลอกไมอีลินในสมองของลูกนั้นเกิดขึ้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์และยังคงมีการพัฒนาต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ จนคลอดและเติบโตขึ้นตามวัย

ขณะที่ B. lactis จุลินทรีย์สุขภาพบิฟิโดแบคทีเรียม แล็กทิส (Bifidobacterium lactis หรือ B. lactis) คือจุลินทรีย์สุขภาพที่พบมากในนมแม่ และลำไส้ของเด็กที่คลอดธรรมชาติ ซึ่งบี แล็กทิส จะช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ลดการติดเชื้อ ลดการอักเสบ ช่วยเรื่องระบบย่อยอาหาร บรรเทาอาการท้องผูก ช่วยปรับสมดุลในลำไส้ได้ดี ป้องกันอาการท้องเสียเฉียบพลันในทารก และอาการลำไส้แปรปรวนได้ด้วย

กิจกรรมกระตุ้นพัฒนาการสมองของเด็กทารก

 แม่ผ่าคลอด, การผ่าคลอด, เด็กผ่าคลอด, สฟิงโกไมอีลิน, B. lactis, นมผง, นมผงสำหรับเด็ก, นมผงสูตรไหนดี, นมสำหรับเด็กผ่าคลอด, เด็กคลอดธรรมชาติ, นมแม่, นม, S-26, เอส 26, นมเอส 26, นมผงเด็กผ่าคลอด, นมเด็กผ่าคลอด, ให้ลูกกินนมอะไร, สารอาหารสำคัญในนมแม่, นมแม่ดีที่สุด, กิจกรรมเสริมพัฒนาการเด็ก

การจะเสริมสร้างพัฒนาการสมองให้เด็กผ่าคลอด นอกจากกินนมแม่แล้วคุณแม่จะต้องกระตุ้นการทำงานของสมองให้ลูกด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งในบ้านและนอกบ้านตามวัยของลูกด้วย เช่น เล่นปูไต่ จ๊ะเอ๋ เล่นตบมือ ร้องเพลงให้ลูกฟัง พาลูกออกไปเดินเล่นดูต้นไม้ดอกไม้ เล่นต่อบล็อกต่อจิ๊กซอว์ เล่านิทานให้ลูกฟัง เล่นบ่อทราย ฯลฯ

และในระหว่างที่พ่อแม่เล่นกับลูก หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ นั้น ควรพูดคุย สบตา ยิ้ม กอด กับลูกด้วย เพราะการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดี จะส่งผลให้สมองลูกน้อยมีพัฒนาดีอย่างรอบด้านไปด้วยค่ะ

ดังนั้นแล้วคุณแม่ควรให้ลูก ๆ ทานนมแม่ เพราะนมแม่ดีที่สุด และเป็นแหล่งของสารอาหารที่สำคัญหลากหลายชนิด เช่นสารอาหารสร้างสมองไวอย่างสฟิงโกไมอีลินและจุลินทรีย์สุขภาพบีแล็กทิสที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้เด็กผ่าคลอด จะช่วยให้ลูกสมองไวเรียนรู้ได้เร็ว และมีภูมิคุ้มกันดี ลดโอกาสเจ็บป่วยบ่อยได้ด้วยค่ะ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอด พร้อมเสริมภูมิคุ้มกัน | S-Mom Club