facebook  youtube  line

10 วิธีเลี้ยงลูกชายให้กลายเป็นสุภาพบุรุษ

EF, ทักษะสมอง EF, สอนลูกให้มี EF, เลี้ยงลูกให้มี EF, อยากให้ลูกมี EF, อยากให้ลูก EF ดี, วิธีสร้าง EF, เลี้ยงลูกด้วย EF, ครอบครัว EF, คลินิก EF, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, ครอบครัวรักลูก EF

การเลี้ยงลูกชายให้ดี ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ยิ่งปัจจุบันมีสิ่งยั่วยุต่างๆ มากมาย การประคับคองลูกให้เติบโตขึ้นเป็นคนดีมีคุณภาพ ไม่ก่อความเดือดร้อนให้ตนเองและผู้อื่น ให้เกียรติผู้หญิง และไม่ทำร้ายคนที่อ่อนแอกว่า คือคุณสมบัติเบื้องต้นที่สุภาพบุรุษทุกคนพึงมี

ซึ่งการเลี้ยงดูที่ดี เปรียบเสมือนการฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกตั้งแต่เล็กๆ เป็นการสร้างลูกชาย ให้เป็นลูกผู้ชายที่มีความเป็นสุภาพบุรุษด้วย  

10 วิธีเลี้ยงลูกชายให้เป็นสุภาพบุรุษ

1. เลี้ยงลูกเอง  การที่พ่อแม่ให้ความรักความอบอุ่นอย่างสม่ำเสมอ  แสดงออกให้ลูกรู้ว่ารัก ผ่านการพูด กอดหอม ชมเชย  เป็นปัจจัยสำคัญมากที่จะทำให้เด็กรู้สึกว่าตนเป็นที่รัก เป็นคนมีคุณค่า และภูมิใจในตนเอง

2. สัมพันธภาพที่ดีในครอบครัวเป็นเรื่องสำคัญ บรรยากาศที่ดีในครอบครัวจะช่วยให้ลูกรู้สึกปลอดภัย เป็นคนอารมณ์ดี  มีความสุขได้ง่าย  ไม่ขี้หงุดหงิดหรือวิตกกังวล  ต่างจากครอบครัวที่ทะเลาะเบาะแว้งกันบ่อยๆ

3. ยอมรับและรักในแบบที่ลูกเป็นเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ทั้งในด้านพื้นฐานอารมณ์  นิสัยใจคอ ความสามารถด้านต่างๆ  การยอมรับและรักลูกในแบบที่ลูกเป็นนั้นสำคัญ  พ่อแม่ไม่ควรเปรียบเทียบลูกระหว่างพี่น้องหรือเด็กคนอื่น  

4. การอบรมอย่างเหมาะสมเลี้ยงดูอย่างมีกรอบกติกา ไม่ตามใจเด็กเกินไป เช่น เด็กจะได้ของเล่นไม่เกินกี่ชิ้นต่อสัปดาห์ เวลาโมโหห้ามทำร้ายตนเองและผู้อื่น  ไม่ทำลายข้าวของ ความรักที่ตามใจอย่างไร้ขอบเขต  จะทำให้เด็กเอาแต่ใจ ทำอะไรไม่เป็น เพราะขาดการฝึกฝนอบรม

5. ปลูกฝังคุณธรรมตั้งแต่เด็ก

- สามารถควบคุมตนเอง อดทนรอคอยได้ตามพัฒนาการของเด็กวัยเตาะแตะมักงอแงเอาแต่ใจ ไม่รู้จักรั้งรอ หงุดหงิดโมโหง่าย หากพ่อแม่ตามใจหยิบยื่นทุกอย่างให้เวลาที่งอแง เด็กจะเอาแต่ใจแบบไร้ขอบเขต พ่อแม่จึงควรสอนให้เด็กรู้จักรอคอย และควบคุมอารมณ์ได้

- เข้าใจกติกาสังคมและศีลธรรม เช่น เมื่อเด็กโกรธสามารถแสดงอารมณ์โกรธได้  แต่ไม่ควรแสดงออกด้วยการทำร้ายผู้อื่น หรือทำลายข้าวของ เวลาอยากได้อะไรให้บอก แต่ห้ามแย่งของคนอื่น หรือหยิบโดยไม่ได้รับอนุญาต 

- รู้จักแบ่งปันและอยู่ร่วมกับผู้อื่น เช่น รู้จักแบ่งขนม หรือของเล่นให้เพื่อน 

6. ฝึกให้ลูกช่วยเหลือตัวเองได้พ่อแม่ควรปล่อยวางบ้าง และทำหน้าที่เป็นคนสอนให้เด็กฝึกทำอะไรด้วยตัวเอง โดยไม่เข้าไปทำแทนทุกอย่าง จนเด็กทำอะไรไม่เป็น 

7. ชมเชยเมื่อลูกทำดีเช่น เมื่อรู้จักควบคุมอารมณ์ตนเอง และทำตามกรอบกติกาได้  เพื่อให้เด็กเรียนรู้ว่าการควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ เป็นเรื่องที่พ่อแม่ชอบ และเมื่อเด็กทำอะไรดีๆ ได้สำเร็จก็ควรชื่นชมให้เด็กรู้และภูมิใจว่าเขามีดี มีความสามารถ  เด็กจะกล้าริเริ่มทำในสิ่งดีๆ ต่อไป

8. เมื่อลูกทำผิดพลาด ควรสอนว่าที่ถูกคืออะไร อธิบายด้วยเหตุผล แต่ไม่ควรตำหนิหรือลงโทษรุนแรง  เพราะจะทำให้เด็กเข้าใจผิดว่าเขาไม่ดี และไม่เป็นที่รักของพ่อแม่

9. สอนให้ลูกรู้จักยอมรับความผิดหวัง เมื่อไม่ได้อะไรดังใจ หรือทำอะไรไม่สำเร็จ เด็กที่เข้าใจตนเอง ควบคุมอารมณ์เมื่อผิดหวังได้ จะเป็นเด็กที่มี EF ดี

10. เป็นที่ปรึกษาที่ดีเพื่อช่วยฝึกลูกให้แก้ปัญหาง่ายๆ ตามวัยได้  เมื่อลูกแก้ปัญหาสำเร็จก็ควรชื่นชม   เด็กที่สามารถแก้ปัญหาและทำอะไรสำเร็จด้วยตนเองได้ จะเกิดความภูมิใจในตัวเอง 

ไม่ใช่แค่เด็กผู้ชาย แต่เด็กทุกคนที่ได้รับความรัก ความอบอุ่น การอบรมที่เหมาะสม ถูกปลูกฝังให้รู้จักช่วยเหลือและแก้ปัญหาเองได้ จะมีภูมิคุ้มกันที่ดี มีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นโดยไม่ก่อความเดือดร้อนให้ใคร เป็นคนที่ไม่ย่อท้อต่อปัญหาและอุปสรรค รวมทั้งเป็นคนดีที่มีความสุขค่ะ 





 

 

 



9 วิธีเลี้ยงลูกให้เป็นเด็กคิดบวก

 

EF, ทักษะสมอง EF, สอนลูกให้มี EF, เลี้ยงลูกให้มี EF, อยากให้ลูกมี EF, อยากให้ลูก EF ดี, วิธีสร้าง EF, เลี้ยงลูกด้วย EF, ครอบครัว EF, คลินิก EF, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, ครอบครัวรักลูก EF
 
​ความคิดของคนเรามาจากสมองส่วนหน้า ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมความคิด ที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาของอารมณ์เชิงบวกและลบ โดยความคิดของเราจะเป็นแบบไหนนั้นไม่ได้มาจากพันธุกรรม เพราะคนเราไม่ได้คิดเป็นตั้งแต่เกิด แต่ต้องมีพัฒนาการด้านต่างๆ ก่อน แล้วจึงเกิดเป็นความคิดตามมาในภายหลัง


ความคิดเชิงบวก หรือ Positive Thinking มีความสำคัญกับชีวิตเพราะเด็กจะคิดเชิงบวกได้ต้องเอาชนะกับอารมณ์และความคิดเชิงลบที่ตนเองมีอยู่ให้ได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่พ่อแม่ต้องปลูกฝัง เพราะถ้าเด็กๆ มีความคิดเชิงบวก ก็จะทำให้อารมณ์และพฤติกรรมเป็นไปในทางบวกด้วย ซึ่งแน่นอนว่าย่อมส่งผลต่อตนเอง คนรอบข้าง ครอบครัวและสังคมจากการลงมือปฏิบัติตามความคิดนั้นค่ะ

พ่อแม่สามารถปลูกฝังลูกให้มีความคิดเชิงบวกได้ดังนี้ 

1. สร้างครอบครัวให้อบอุ่นเมื่อพ่อแม่ให้เวลากับลูกอย่างเต็มที่ พร้อมเสมอที่จะโอบอุ้มและดูแลลูก ตอบสนองลูกอย่างถูกต้องและเพียงพอ โดยสามารถปลูกฝังสิ่งเหล่านี้ได้ตั้งแต่ลูกยังอยู่ในวัยขวบแรก ซึ่งเป็นวัยที่ต้องปูพื้นฐานเรื่องความมั่นคงทางอารมณ์ ความรู้สึกว่าตนเองมีค่า มีความปลอดภัยในชีวิต

ลูกขวบแรกจะมีอารมณ์มากมาย พ่อแม่ต้องตอบสนองอารมณ์ต่างๆ ของลูกด้วยความคิดในเชิงบวก หรือความคิดที่เข้าใจลูก และต้องตอบสนองอย่างเหมาะสม เมื่อลูกมีความมั่นคงทางอารมณ์ มั่นใจในตัวเอง ก็สามารถต่อยอดได้ในเรื่องความคิดในเชิงบวกได้ง่ายขึ้นค่ะ
 
2. เล่นกับลูก ไม่ว่าจะเป็นลูกวัยไหน การที่พ่อแม่เข้าไปเล่นกับลูก จะเป็นการแสดงออกถึงความคิดบวกต่อการเล่นของลูก เพราะสีหน้าท่าทาง น้ำเสียงของพ่อแม่เวลาที่เล่นกับลูกจะเป็นบวก ทำให้ลูกรู้สึกได้ว่าสิ่งที่เขาทำอยู่มีค่าและได้รับความสนใจจากพ่อแม่

และควรให้ลูกได้เล่นแบบ free play และเล่นตามจินตนาการ โดยมีการพบว่า เด็กที่มีความคิดยืดหยุ่นจะต้องผ่านการเล่นที่มีอิสระ เพราะในโลกของจินตนาการจะมีการลื่นไหลทางความคิด ทำให้สมองเด็กมีการปรับเปลี่ยนได้ตลอดค่ะ

3. สอนบนพื้นฐานของความจริง คือ พยายามเน้นให้ลูกได้เห็นสภาพความเป็นจริง ถ้าใส่ความคิดที่เป็นบวกได้ ก็ใส่ไปด้วย แต่ต้องไม่ใช่การคิดบวกแบบโอเวอร์หรือไม่ใช่บนพื้นฐานของความเป็นจริง เพราะถ้าคิดบวกแบบเกินจากข้อเท็จจริงก็มีโอกาสที่จะผิดหวัง และมีโอกาสที่จะแย่กว่าเดิมก็ได้ค่ะ
 
4. ให้ความรักในแบบที่ถูกต้อง ไม่ใช่การเลี้ยงดูด้วยเงินหรือเลี้ยงแบบตามใจ แต่ต้องฝึกให้เขาเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านการชี้แนะของพ่อแม่ ให้ลูกได้เรียน รู้ถึงความผิดหวัง ในวันที่ยังมีพ่อแม่คอยชี้แนะ สอนให้ลูกเรียนรู้ที่จะสร้างกำลังใจให้ตนเอง สร้างกำลังใจให้ผู้อื่น
         
5. ฝึกให้ช่วยเหลือตัวเองและผู้อื่น โดยต้องมีความอดทน ขยัน มุ่งมั่น ไม่ย่อท้อกับอุปสรรค ตั้งแต่เล็กๆ ผ่านการซึบซับไปทีละเล็กทีละน้อย ตอนเล็กๆ อาจเริ่มสอนจากนิทานสำหรับเด็ก กระตุ้นให้ลูกเห็นคุณค่าในตัวเอง เช่น ฝึกให้ช่วยเหลือตัวเอง ชวนมาทำงานบ้านง่ายๆ ด้วยกัน เพื่อให้ลูกรู้ว่าเขาสามารถทำได้
 
6. พยายามเต็มที่ & รู้จักปล่อยวาง สอน ให้ลูกพยายามทำสิ่งต่างๆ อย่างเต็มที่ และถ้าตั้งใจทำก็จะทำสำเร็จ แต่อยู่บนพื้นฐานของการทำเท่าที่จะทำได้ตามความสามารถของลูก เพื่อเป็นการไม่กดดันลูกและไม่ให้ลูกรู้สึกเครียด

7. สอนให้เข้าใจคนอื่น เช่น ลูกวัยอนุบาลโดนเพื่อนแกล้ง ก็บอกลูกว่าเพื่อนอาจจะยังเด็กอยู่ยังไม่รู้เรื่อง หรือเพื่อนอาจจะไม่ได้ตั้งใจ หนูโตแล้วเข้าใจแล้วว่าเพื่อนกันต้องรักกัน ไม่แกล้งกัน ไม่ต้องโกรธเพื่อน

8. ไม่หนีปัญหา ให้ลูกได้เจอปัญหาและฝึกแก้ปัญหาด้วยตัวเอง โดยพ่อแม่คอยชี้แนะและสอนให้เข้าใจว่าทุกคนล้วนต้องเจอปัญหาทั้งนั้น แต่เราต้องอดทนและหาทางแก้ไขปัญหา ให้ลูกมองปัญหาเป็นเรื่องปกติ ที่จะต้องหาทางแก้ไข แล้วลุกขึ้นสู้ เช่น ยกตัวอย่างปัญหาที่พ่อแม่เจอ เพื่อให้ลูกดูเป็นตัวอย่าง ว่าเวลามีปัญหาพ่อแม่ก็ต้องแก้ไขโดยไม่ย่อท้อเหมือนกัน เป็นต้น

9. ใช้คำพูดดีๆพ่อแม่ต้องเป็นผู้ให้พรอันประเสริฐกับลูกค่ะ ทุกคำที่พูดกับลูกต้องเป็นมงคลแก่ชีวิตลูก โดยเฉพาะการให้กำลังใจและให้ความคิดเชิงบวก เช่น “ลูกต้องทำได้” หรือ ”พ่อกับแม่เชื่อว่าถ้าลูกตั้งใจทำ อะไรก็สบายอยู่แล้ว” เป็นต้น
 
การปลูกฝังให้ลูกมีความคิดเชิงบวกสามารถทำได้ตั้งแต่ลูกยังเล็กๆ ค่ะ โดยและพ่อแม่ก็ควรทำให้การคิดบวกนั้นเป็นเรื่องที่อยู่ในวิถีชีวิตประจำวัน เพื่อให้ลูกเกิดความเคยชินค่ะ 

 

"รักวัวให้ผูก รักลูกให้เลี้ยงด้วย EF"
ขอบคุณความรู้ EF โดย สถาบัน RLG


ลูกไม่มีความอดทน, ลูกไม่รู้จัก, ฝึกให้ลูกรู้จักรอคอย, สอนลูกให้รู้จักรอคอย, ลูกรอเป็น, สอนลูกเข้าคิว, สอนลูกต่อคิว, EF, Executive Functions, ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ, การทำงานของสมองส่วนหน้า, ทักษะสมอง EF, พัฒนา EF, ฝึก EF, EF คืออะไร, อีเอฟคืออะไร, ปรับพฤติกรรมลูก, ลูกก้าวร้าว, ลูกเอาแต่ใจ, ลูกดื้อ, ลูกไม่มีความอดทน, ลูกขี้เกียจ, ลูกความจำไม่ดี, ลูกชอบเถียง, ลูกอาละวาด, ลูกอารมณ์ร้าย, ลูกอ่อนไหว, ลูกปรับตัวไม่เป็น, ลูกปรับตัวไม่เก่ง, ลูกขี้อาย, ลูกไม่มีความยับยั้งชั่งใจ, ลูกไม่มีระเบียบ, ลูกไม่มีวินัย, Working memory, ความจำเพื่อใช้งาน, Inhibitory Control, การยั้งคิด ไตร่ตรอง, Shift, Cognitive Flexibility, การยืดหยุ่นความคิด,Focus, Attention, จดจ่อใส่ใจ, Emotional Control, การควบคุมอารมณ์, Planning,Organizing, การวางแผน, การจัดระบบดำเนินการ, Self-Monitoring, การรู้จักประเมินตนเอง,Initiating, การริเริ่มและลงมือทำ, Goal-Directed Persistence, ความพากเพียร, มุ่งสู่เป้าหมาย, เลี้ยงลูกให้เก่ง, เลี้ยงลูกให้เอาตัวรอด, เลี้ยงลูกให้ดี, เลี้ยงลูกให้ฉลาด, เลี้ยงลูกให้เป็นคนดี, เลี้ยงลูกให้ดูแลตัวเองได้, เลี้ยงลูกให้มีความสุข

กดดันลูกเกินไป ระวังลูกป่วย

EF, ทักษะสมอง EF, สอนลูกให้มี EF, เลี้ยงลูกให้มี EF, อยากให้ลูกมี EF, อยากให้ลูก EF ดี, วิธีสร้าง EF, เลี้ยงลูกด้วย EF, ครอบครัว EF, คลินิก EF, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, ครอบครัวรักลูก EF
พักหลังเราจะได้ยินข่าวเกี่ยวกับเด็กเครียด ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า และฆ่าตัวตายกันมากขึ้น ปฏิิเสธไม่ได้ว่าแรงกดดันจากสภาพแวดล้อมมีส่วนสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน ครู เพื่อน หรือแม้แต่พ่อแม่ซึ่งเป็นคนที่อยู่ใกล้ชิดลูกมากที่สุด

ยิ่งถ้าทุกคนคาดหวังความสำเร็จกับเด็ก ไม่ว่าจะเป็นการเรียน กีฬา ดนตรี หรือแม้แต่กิจกรมที่ลูกชื่นชอบ ก็ยังคาดหวังว่าลูกจะทำสิ่งนั้นให้ได้ดี ประสบความสำเร็จ ชนะเลิศ หรือมีชื่อเสียงโด่งดังโดยมองข้ามความสุขหรือมองว่าเป็นกิจกรรมเสริมทักษะ พ่อแม่เองอาจกำลังสร้างความเครียดและความกดดันให้ลูกอยู่ก็ได้  

พ.ญ.วิมลรัตน์ วันเพ็ญ รอง ผอ.สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ เคยกล่าวถึงสถานการณ์ผู้ป่วยที่เป็นโรคจิตรเวชในเด็กและวัยรุ่นว่า "การคาดหวังในตัวเด็กไม่ใช่สิ่งที่ผิดแต่บางครั้งผู้ปกครองเองก็ลืมไปว่าเป้าหมายในชีวิตนั้นลูกๆ ต้องเป็นผู้กำหนดไม่ใช่เรากำหนด การที่เราไปกำหนดเป้าหมายให้บ่อยครั้งเราก็กำหนดผิดทิศและกำหนดยากเกินไปสำหรับเด็ก ผู้ปกครองเพียงแต่แนะนำเป็นแนวทางเท่านั้นและสถิติเด็กที่ป่วยจิตเวชมีอยู่ในทุกช่วงอายุและแต่ละคนนั้นจะมีปัญหาที่แตกต่างกันไปตามช่วงวัยแต่ที่พบส่วนใหญ่จะเป็นเคสเด็กสมาธิสั้น

ดังนั้นผู้ปกครองทุกท่านควรทำความเข้าใจในการเลี้ยงดูบุตรหลาน ทำความเข้าใจในสิ่งที่เด็กเป็นและคอยประคับประคองให้อยู่ในกรอบที่ถูกต้อง ไม่ใช่การบังคับขู่เข็ญ หรือเปรียบเทียบให้เด็กเกิดความน้อยใจ และหากบุตรหลานของท่านมีความผิดปกติเสี่ยงต่อการเป็นโรคทางจิตเวชควรพาไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพราะคนที่มีอาการดังกล่าวไม่ใช่คนบ้าเพียงแต่เป็นผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษาเพียงเท่านั้น" 

เอมี โมริน นักจิตวิทยาและนักเขียนหนังสือจิตวิทยาชื่อดังพูดถึงผลกระทบที่เด็กๆ ต้องเผชิญเมื่อถูกพ่อแม่กดดันอย่างหนัก

ผลกระทบที่เด็กๆ ต้องเผชิญเมื่อถูกพ่อแม่กดดันอย่างหนัก
 

1. อัตราการป่วยทางจิตจะสูงขึ้นเด็กที่ถูกกดดันอย่างหนักอาจรู้สึกวิตกกังวลอย่างต่อเนื่อง ความเครียดที่มีอยู่ในระดับสูงทำให้เด็กมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะซึมเศร้าหรือปัญหาสุขภาพจิตอื่นๆ ได้

2. มีความเสี่ยงจะฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น มีการศึกษาพบความเชื่อมโยงระหว่างความคิดฆ่าตัวตายและแรงกดดันจากพ่อแม่ผู้ปกครอง โดย 1 ใน 5 ของเด็กนักเรียนมีความคิดที่จะฆ่าตัวตายเมื่อได้รับแรงกดดันอย่างหนักจากพ่อแม่

3. เด็กไม่เห็นคุณค่าในตนเองการผลักดันเด็กๆ ให้เก่งจะทำลายความนับถือตนเอง เด็กที่เครียดตลอดเวลาจะขาดความเป็นตัวของตัวเอง เพราะเขาจะรู้สึกว่าตนเองนั้นยังไม่ดีหรือไม่มีคุณค่ามากพอ

4. อดนอน เด็กที่ถูกกดดันเรื่องการเรียนอย่างต่อเนื่อง อาจะตื่นสาย เรียนช้า และและมีความพยายามที่จะงีบหลับตลอดเวลา   

5. มีความเสี่ยงที่จะได้รับบาดเจ็บโดยเฉพาะเด็กที่เป็นนักกีฬาที่รู้สึกกดดันมากๆ แม้จะได้รับบาดเจ็บจากการข่งขันก็จะเมินเฉย ไม่สนใจความเจ็บปวด เพราะตนเองุ่งหวังแต่ชัยชนะ สุดท้ายแล้วอาจทำให้บาดเจ็บเพิ่มมากขึ้น 

6. เพิ่มโอกาสในการโกง เมื่อมุ่งเน้นความสำเร็จมากกว่าการเรียนรู้ เด็กๆ มักจะโกง ไม่ว่าจะเป็นการลอกข้อสอบเพื่อนข้างในชั้นประถมหรือจ่ายเงินจ้างให้คนอื่นทำรายงานในระดับชั้นที่โตขึ้นไป

7. ปฏิเสธการมีส่วนร่วมกับผู้อื่น เด็กที่ถูกกดดันมักจะมองแต่เป้าหมายของตนเอง เมื่อเข้าร่วมทีมกับเด็กคนอื่นเขาอาจรู้สึกตนเองถูกลดบทบาท หรือไม่ฉายแสงก็จะออกจากกลุุ่มไป ซึ่งน่าเสียดายว่าพวกเขาจะไม่ได้ใช้ทักษะสัมคม ไม่ได้เรียนรู้การใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น เห็นอกเห็นใจกัน เป็นต้น 



 

"รักวัวให้ผูก รักลูกให้เลี้ยงด้วย EF"
ขอบคุณความรู้ EF โดย สถาบัน RLG


ลูกไม่มีความอดทน, ลูกไม่รู้จัก, ฝึกให้ลูกรู้จักรอคอย, สอนลูกให้รู้จักรอคอย, ลูกรอเป็น, สอนลูกเข้าคิว, สอนลูกต่อคิว, EF, Executive Functions, ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ, การทำงานของสมองส่วนหน้า, ทักษะสมอง EF, พัฒนา EF, ฝึก EF, EF คืออะไร, อีเอฟคืออะไร, ปรับพฤติกรรมลูก, ลูกก้าวร้าว, ลูกเอาแต่ใจ, ลูกดื้อ, ลูกไม่มีความอดทน, ลูกขี้เกียจ, ลูกความจำไม่ดี, ลูกชอบเถียง, ลูกอาละวาด, ลูกอารมณ์ร้าย, ลูกอ่อนไหว, ลูกปรับตัวไม่เป็น, ลูกปรับตัวไม่เก่ง, ลูกขี้อาย, ลูกไม่มีความยับยั้งชั่งใจ, ลูกไม่มีระเบียบ, ลูกไม่มีวินัย, Working memory, ความจำเพื่อใช้งาน, Inhibitory Control, การยั้งคิด ไตร่ตรอง, Shift, Cognitive Flexibility, การยืดหยุ่นความคิด,Focus, Attention, จดจ่อใส่ใจ, Emotional Control, การควบคุมอารมณ์, Planning,Organizing, การวางแผน, การจัดระบบดำเนินการ, Self-Monitoring, การรู้จักประเมินตนเอง,Initiating, การริเริ่มและลงมือทำ, Goal-Directed Persistence, ความพากเพียร, มุ่งสู่เป้าหมาย, เลี้ยงลูกให้เก่ง, เลี้ยงลูกให้เอาตัวรอด, เลี้ยงลูกให้ดี, เลี้ยงลูกให้ฉลาด, เลี้ยงลูกให้เป็นคนดี, เลี้ยงลูกให้ดูแลตัวเองได้, เลี้ยงลูกให้มีความสุข
ที่มา : verywellfamily.com , ข่าวสด
 

รักลูก The Expert Talk EP.73 (Rerun) : "รักลูก" เลี้ยงลูกแบบนักจิตวิทยา

 

รักลูก The Expert Talk Ep.73 (Rerun) : "รักลูก" เลี้ยงลูกแบบนักจิตวิทยา

 

เลี้ยงแบบไหนที่นักจิตวิทยาแนะนำ

 

ฟังวิธีการเลี้ยงลูก โดยนักจิตวิทยา อาจารย์อลิสา รัญเสวะ

นักจิตวิทยาคลินิก ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น ศูนย์กุมารเวชกรรม โรงพยาบาลพระรามเก้า 

 

Apple Podcast:https://apple.co/3m15ytB

Spotify:https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube:https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

รักลูก The Expert Talk Ep.77 (Rerun) : Toxic Parents? คลี่คลายก่อนกลายเป็น (พ่อแม่) เป็นพิษ

 

รักลูก The Expert Talk Ep.77 (Rerun) : Toxic Parents? คลี่คลายก่อนกลายเป็น (พ่อแม่) เป็นพิษ

 

หาทางออก คลี่คลายตัวเองจากการการเป็นพ่อแม่เป็นพิษ

เข้าใจความต้องการ สื่อสารความคาดหวังและรับมือจัดการด้วยวิธีการเชิงบวก เพื่อลดความเป็นพิษในตัวพ่อแม่ลง

 

ฟังวิธีการโดย The Expert ผศ. ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

ลูก “ดื้อ” รับมือให้ได้



3095

คุณหมอครับ คำถามอะไรที่คุณหมอได้รับบ่อยเป็นอันดับ 1 ?

"ดื้อ" คือคำตอบสุดท้าย

ดื้อแปลได้มากมาย โดยรวมๆ คือพูดไม่ฟัง มากกว่านี้คือมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ยกตัวอย่างเช่นพฤติกรรม x y หรือ z ยกตัวอย่างไปเถอะ
การจัดการเด็กดื้อแต่โบราณเราใช้หลักการของจิตวิทยาคลาสสิกคือการวางเงื่อนไข (conditioning) ได้แก่การทำโทษ การเพิกเฉย และการให้รางวัล

การทำโทษ มีหลายวิธี ดุ ด่า กักขัง ตี เหล่านี้เราพบว่าไม่ได้ผลดีเท่าไรนัก สร้างบาดแผลและมักทำให้พฤติกรรม xyz หายไปชั่วคราว มันจะกลับมาใหม่ด้วยความซับซ้อนและร้ายกาจกว่าเดิมเสมอ ไม่นับว่าการตีเด็กในหลายประเทศผิดกฎหมาย ครูตีก็ผิด พ่อแม่ตีก็ผิด

การเพิกเฉย มีตั้งแต่ทำไม่เห็นรอเขาหายเองไปจนถึงการไทมเอาท์สมัยใหม่บางตำราแผลงเป็นไทมอินเพื่อเน้นย้ำว่าเรามิได้กักขัง ทอดทิ้ง หรือเดินหนี ไทมเอาท์เท่ากับการนั่งลงเป็นเพื่อน สงบสติด้วยกัน รอเขาสงบลง แล้วจึงปลอบหรือกอด ทำให้เด็กรู้ว่ากริยาเมื่อสักครู่ไม่มีประโยชน์อะไรเลย เขาก็จะค่อยเรียนรู้และเลิกทำในที่สุด

การให้รางวัล เป็นวิธีที่ดี ช่วยให้เด็กรู้ว่าควรทำอะไรและไม่ควรทำอะไรเด็กจะพัฒนาจากการทำความดีเพราะพ่อแม่ปลื้มไปจนถึงทำความดีเพราะเป็นเรื่องสมควรทำตามพัฒนาการของวิธีคิดเชิงรูปธรรมไปสู่นามธรรม  การทำความดีมีข้อแม้อยู่บ้างแต่โดยรวมๆ เป็นวิธีที่ใช้ได้ผลดี ดีมากเมื่อเราชมเชยให้มากกว่าตำหนิ จะช่วยให้เด็กมีเซลฟ์เอสตีมรู้ว่าตนเองทำดีก็ได้มิได้แย่เสมอไป แล้วทิศทางพัฒนาการจะไปในทางที่ดีเอง

จิตวิทยาคลาสสิกเริ่มอ่อนกำลังลง มาถึงจิตวิทยาเชิงบวก (positive psychology) จิตวิทยาเชิงบวกใช้หลักการเคารพและเชื่อมั่นในความสามารถของมนุษย์  ประกอบด้วยวิธีการต่างๆ ที่ช่วยให้เด็กได้เห็นความสามารถของตนเอง การกำหนดทางเลือกการตัดสินใจ แล้วรับผลลัพธ์ที่ตนเองเลือก ล่วงรู้อารมณ์ตนเอง แล้วพัฒนาต่อไป

จิตวิทยาเชิงบวกมิใช่การพูดหวานๆ แต่เป็นศาสตร์ที่มีหลักการและวิธีการที่จำเพาะ ชัดเจน และได้ผล ต้องการผู้เชี่ยวชาญที่รู้จริงช่วยชี้แนะ
แล้วเราก็มาถึงยุคที่ชีวิตมีทางเลือกมากมายเพราะไอที เด็กจะเลือกทำหรือไม่ทำ จะไปหรือไม่ไป กลายเป็นเรื่องยากที่พ่อแม่จะเข้าไปกะเกณฑ์บังคับเหมือนสมัยก่อน 

เด็กสมัยใหม่ควรได้รับการพัฒนาให้ควบคุมตนเองได้ บริหารความจำใช้งานได้ดี แล้วคิดยืดหยุ่นได้หลากหลาย จากนั้นนำพาชีวิตของตนเองไปสู่จุดหมายที่ตนเองกำหนด คือ Executive Function(EF)

หากเด็กคนหนึ่งควบคุมตนเองและคิดยืดหยุ่นได้  พ่อแม่สมัยใหม่จะยินดีนั่งดูมากกว่าเข้าไปบังคับ ยินดีเดินตามแล้วคอยแนะนำหรือช่วยเหลือตามความจำเป็น  

เช่นนี้คำว่าดื้อก็จะเลือนหายไป

 

นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
จิตแพทย์และนักเขียน ขวัญใจพ่อแม่ชาวโซเชียล

 

สกัดอารมณ์ร้าย ๆ ของลูก ด้วย 5 วิธีง่าย ๆ

EF, ทักษะสมอง EF, สอนลูกให้มี EF, เลี้ยงลูกให้มี EF, อยากให้ลูกมี EF, อยากให้ลูก EF ดี, วิธีสร้าง EF, เลี้ยงลูกด้วย EF, ครอบครัว EF, คลินิก EF, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, ครอบครัวรักลูก EF

สกัดอารมณ์ร้าย ๆ ของลูก ด้วย 5 วิธีง่าย ๆ

ลูกวัย 1-3 ปี จะสามารถทำอะไรด้วยตัวเองได้มากขึ้น โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวร่างกาย แต่สิ่งที่เด็กวัยนี้ยังทำได้ไม่สมบูรณ์คือพัฒนาการทางภาษา การควบคุมอารมณ์ การอดทนรอคอย คือยังไม่มีความสามารถในการควบคุมตัวเอง (self control) ด้วยสาเหตุนี้เองลูกมักแสดงความรุนแรงออกมา ซึ่งพ่อแม่มีส่วนสำคัญที่จะเป็นผู้ช่วยให้ลูกเรียนรู้และแสดงออกอย่างเหมาะสมค่ะ

นอกจากนี้ ถ้าขณะที่ลูกกำลังโกธรและต้องการระบายอารมณ์ด้วยการตีหรือขว้างปาสิ่งของ พ่อแม่ไม่ควรปล่อยให้ลูกทำแบบนั้น เพราะการปล่อยให้ลูกระบายอารมณ์ด้วยวิธีที่ไม่เหมาะสม ลูกจะคิดว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง และจะติดเป็นนิสัยเมื่อเติบโตขึ้นได้

มาช่วยให้ลูก สกัดอารมณ์ร้ายและรู้จักการระบายอารมณ์ของลูก ด้วย 5 วิธีต่อไปนี้กันค่ะ     

1. สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้ลูก เริ่มจากพ่อแม่ไม่ใช้ความรุนแรงต่อกัน รู้จักการระงับอารมณ์ของตัวเอง

2. ถ้าลูกแสดงอารมณ์รุนแรง ต้องหยุดลูกโดยไม่ใช้ความรุนแรงตอบ เช่น การตี แต่ควรเข้าไปจับตัวลูกให้หยุดการกระทำเพราะเด็กจะยังควบคุมตัวเองไม่ได้ สามารถหยุดด้วยการกอดไว้แน่นๆ และโยกตัวลูกเบาๆ 

3. เมื่อเด็กๆ เริ่มเรียนรู้การระงับอารมณ์มากขึ้น พ่อแม่ควรเปลี่ยนจากการจับให้ลูกหยุดมาเป็น การหยุดด้วยคำพูด เช่น พูดว่า ทำไม่ได้ ไม่อนุญาต ฯลฯ ควรเป็นคำที่สั้นกระชับ ชัดเจน

4. ตั้งชื่อทางอารมณ์ให้ลูกรู้เช่น บอกลูกว่าตอนนี้ลูกกำลังโกธร ลูกกำลังเสียใจ เพราะเด็กจะยังไม่รู้ว่าอารมณ์ที่ตัวเองรู้สึกคืออะไร เด็กจะรับรู้แค่ความรู้สึกทางร่างกายว่าหัวใจเต้นแรง น้ำตาไหล หน้าแดง เป็นต้น 

5. หากลูกใช้ความรุนแรง ควรมองว่าเป็นโอกาสในการที่จะสอนสิ่งที่ถูกต้องให้กับลูก เพราะเด็กบางคนที่ไม่เคยใช้ความรุนแรงเลย อาจเพราะไม่เคยเจอกับสถานการณ์ที่ถูกขัดใจ จะทำให้ลูกไม่รู้จักอารมณ์ตัวเอง เมื่อโตขึ้นเขาจะแสดงอารมณ์รุนแรงออกมา ซึ่งก็ยากในการปรับตัวค่ะ

หากปล่อยให้ลูกใช้ความรุนแรงตั้งแต่วัยซน ลูกจะถูกบ่มเพาะและติดตั้งการใช้ความรุนแรงในสมอง ทำให้เมื่อเติบโตขึ้นจะกลายเป็นคนที่เห็นว่าความรุนแรงเป็นเรื่องธรรมดา ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ส่งผลเสียต่อตัวลูกเองในทุกด้าน ดังนั้นมาเริ่มหยุดความรุนแรงให้ลูกกันตั้งแต่วันนี้เลยค่ะ

 




 



ใช้ EF ปกป้องลูกจากการฆ่าตัวตาย

EF, ทักษะสมอง EF, สอนลูกให้มี EF, เลี้ยงลูกให้มี EF, อยากให้ลูกมี EF, อยากให้ลูก EF ดี, วิธีสร้าง EF, เลี้ยงลูกด้วย EF, ครอบครัว EF, คลินิก EF, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, ครอบครัวรักลูก EF
 
ทุกวันนี้เด็กไทยมีความเครียดสูงมากขึ้น ทั้งความกดดันเรื่องการเรียน กดดันจากครอบครัว ถูกเพื่อนแกล้งที่โรงเรียน หรือปัญหาอื่นๆ ที่หาทางออกไม่ได้ เด็กหลายคนป่วยเป็นโรคซึมเศร้า และฆ่าตัวตายในที่สุด 

เพราะฉะนั้นการสอนลูกให้เข้าใจสภาวะอารมณ์ รู้จักควบคุมอารมณ์ตนเองในเบื้องต้น จะเป็นเกราะป้องกันลูกทำร้ายตัวเองได้ 


9 วิธีสร้างเกราะป้องกันลูกฆ่าตัวตาย

1. เตือนลูกว่าการทำร้ายตนเอง ทำร้ายผู้อื่น และทำลายของเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ โดยเฉพาะทุกๆ ครั้งที่พ่อแม่อยู่ด้วยแล้วลูกไม่สามารถควบคุมอารมณ์โกรธ โมโห หรือเสียใจได้ พ่อแม่ต้องห้ามลูกก่อน ว่าอย่าทำร้ายร่างกายตนเองและผู้อื่น ควรบอกลูกว่า เราไม่มีสิทธิ์ทำร้ายผู้อื่นทั้งต่อร่างกาย ทรัพย์สิน หรือแม้แต่คำพูดของเราเองก็ไม่ควรทำร้ายจิตใจคนอื่น และการทำร้ายตัวเองก็ทำให้พ่อกับแม่เสียใจมาก และนอกเหนือจากความเสียใจของพ่อกับแม่แล้วลูกเองก็จะรู้สึกเจ็บ และเสียใจยิ่งกว่า ความรู้สึกของลูกเป็นสิ่งสำคัญมากนะ 

2. ให้สูดหายใจลึกๆ 3 ครั้งและนับ 1 ถึง 10 อย่างช้าๆ วิธีนี้ช่วยให้เด็กๆ เข้าใจว่าความรู้สึกเหล่านี้เป็นเรื่องปกติ และผลกระทบจากอารมณ์เหล่านั้นก็อาจทำร้ายคนอื่นได้ ฉะนั้นการสูดหายใจลึกๆ 3 ครั้ง และนับ 1 ถึง 10 ช้าๆ จะช่วยให้เด็กอารมณ์สงบลงได้

3. ลูกต้องบอกความรู้สึกของตัวเองได้ การรับรู้ความรู้สึกของตนเองเป็นเรื่องที่ดี และการอธิบายความรู้สึกก็เป็นเรื่องสำคัญ เพราะการระบายความรู้สึก แม้บางครั้งอาจไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาให้ลูก แต่ย่อมดีกว่าการระเบิดอารมณ์หรือแก้ปัญหาด้วยความรุนแรงแน่นอน

4. พ่อแม่ต้องไม่ใช้อารมณ์ตัดสินความรู้สึกลูก เมื่อลูกพูดระบายความรู้สึกออกมาแล้ว พ่อแม่ต้องมีความใจเย็น รับฟังอย่างตั้งใจ เข้าใจ และไม่ใช้อารมณ์ในการตัดสินสิ่งที่ลูกพูด

5. ลูกต้องรู้จักขอความช่วยเหลือ การพูดคุยถึงปัญหาที่เกิดขึ้นสามารถแก้ปัญหาหรือหาแนวทางแก้ไขสถานการณ์ต่างๆ ให้กับลูกได้ ซึ่งเด็กๆ เองก็จะเกิดความไว้วางใจและกล้าที่จะขอความช่วยเหลือ และต่อไปไม่ว่าจะมีปัญหาอะไร ลูกๆ ก็จะปรึกษากับคุณพ่อคุณแม่ตลอด แม้ว่าเขาจะโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่แล้วก็ตาม

6. เวลาจะช่วยให้ลูกสงบลง บางครั้งการแก้ปัญหาต่างๆ ก็ไม่ได้ช่วยให้อารมณ์ของลูกดีขึ้น ดังนั้นการเดินออกจากที่เกิดเหตุหรือการหาทางออกอื่น อาจจะช่วยให้ความรู้สึกของลูกผ่อนคลายลง

7. สร้างภูมิคุ้มกันด้านสังคมให้กับลูก เริ่มจากสังคมครอบครัวค่ะ ทำให้ลูกรู้สึกมีคุณค่าในสายตาคนรอบข้างและมีความภาคภูมิใจในตัวเองผ่านการสื่อสารภายในครอบครัว

8. เพิ่มทักษะแก้ไขปัญหา พ่อแม่ควรให้ลูกฝึกแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง เช่น ตั้งคำถามจำลองสถานการณ์ให้ลูกลองคิดแก้ปัญหา ฝึกให้ลูกช่วยเหลือตนเอง มอบหมายงานตามความสามารถ เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้ลูกว่าสามารถทำได้ เป็นต้น

9. ส่งเสริมให้ลูกกล้าแสดงออก ในสังคมโรงเรียน คุณครูควรจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กกล้าแสดงออกร่วมกับเพื่อนๆ เป็นการส่งเสริมให้เขาได้รับการยอมรับจากเพื่อนๆ มากยิ่งขึ้นค่ะ

บ่อยครั้งที่เด็กๆ มักจะควบคุมอารมณ์ตนเองไม่อยู่ หลายคนร้องไห้งอแง บางคนก็ทำร้ายตัวเอง หนักเข้าก็ทำร้ายผู้อื่น อย่าปล่อยให้เป็นความเคยชินค่ะ เพราะสิ่งเหล่านี้อาจติดตัวลูกไปจนโต ทำให้ลูกเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่รู้จักการควบคุมอารมณ์ และเกิดผลเสียต่อตัวเขาเองได้ 

 

 




 

"รักวัวให้ผูก รักลูกให้เลี้ยงด้วย EF"
ขอบคุณความรู้ EF โดย สถาบัน RLG


ลูกไม่มีความอดทน, ลูกไม่รู้จัก, ฝึกให้ลูกรู้จักรอคอย, สอนลูกให้รู้จักรอคอย, ลูกรอเป็น, สอนลูกเข้าคิว, สอนลูกต่อคิว, EF, Executive Functions, ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ, การทำงานของสมองส่วนหน้า, ทักษะสมอง EF, พัฒนา EF, ฝึก EF, EF คืออะไร, อีเอฟคืออะไร, ปรับพฤติกรรมลูก, ลูกก้าวร้าว, ลูกเอาแต่ใจ, ลูกดื้อ, ลูกไม่มีความอดทน, ลูกขี้เกียจ, ลูกความจำไม่ดี, ลูกชอบเถียง, ลูกอาละวาด, ลูกอารมณ์ร้าย, ลูกอ่อนไหว, ลูกปรับตัวไม่เป็น, ลูกปรับตัวไม่เก่ง, ลูกขี้อาย, ลูกไม่มีความยับยั้งชั่งใจ, ลูกไม่มีระเบียบ, ลูกไม่มีวินัย, Working memory, ความจำเพื่อใช้งาน, Inhibitory Control, การยั้งคิด ไตร่ตรอง, Shift, Cognitive Flexibility, การยืดหยุ่นความคิด,Focus, Attention, จดจ่อใส่ใจ, Emotional Control, การควบคุมอารมณ์, Planning,Organizing, การวางแผน, การจัดระบบดำเนินการ, Self-Monitoring, การรู้จักประเมินตนเอง,Initiating, การริเริ่มและลงมือทำ, Goal-Directed Persistence, ความพากเพียร, มุ่งสู่เป้าหมาย, เลี้ยงลูกให้เก่ง, เลี้ยงลูกให้เอาตัวรอด, เลี้ยงลูกให้ดี, เลี้ยงลูกให้ฉลาด, เลี้ยงลูกให้เป็นคนดี, เลี้ยงลูกให้ดูแลตัวเองได้, เลี้ยงลูกให้มีความสุข