แม่หลายคนสงสัยเรื่องการฉีดวัคซีนทารก วัคซีนเด็กเล็ก เราได้รวบรวมคำถามมาตอบให้แล้วค่ะ จะช่วยให้แม่มั่นใจในการพาลูกไปฉีดวัคซีนมากขึ้นค่ะ
9 คำถามเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนทารก วัคซีนเด็กที่แม่ถามเข้ามามากที่สุด
1. เตรียมตัวลูกทารก ลูกเล็กก่อนไปฉีดวัคซีนอย่างไร
- ถ้าเด็กโตพอพูดรู้เรื่องก็ควรคุยกันก่อน หรืออาจเล่าเป็นนิทานเรื่องลูกหมีไปหาหมอ ฉีดยาให้แข็งแรงจะได้ไม่ป่วย
- ห้ามบอกลูกเด็ดขาดว่าถ้าดื้อจะให้หมอฉีดยา เพราะไม่อย่างนั้นแค่เจอหน้าหมอ ยังไม่ทันเห็นเข็มก็คงร้องไห้จ้าแล้วล่ะ
- อาจจะลองทำความคุ้นเคย เช่น เอากระบอกฉีดยาของเล่นมาลองฉีดยิงน้ำ พ่นระบายสี เป็นต้
- พอจะฉีดยาของจริงก็ร้องเพลงหลอก คุยหลอก ได้จังหวะก็ฉีดปั๊บเข้าไปเลย วิธีนี้น่าจะได้ผลค่ะ เพราะบ่อยครั้งที่เด็กๆถูกล่อหลอกจนลืมร้องไห
- เมื่อฉีดเสร็จแล้วก็ปรบมือเป็นกำลังใจให้คนเก่งหน่อย
2. ก้อนแข็งหลังจากการฉีดวัคซีน ทำอย่างไรถึงจะหาย
ถ้าบวมและแข็งมากบรรเทาได้โดยการประคบเย็น ถ้าปวดมากก็ให้ลูกกินยาแก้ปวดได้ค่ะ อาการบวมจะเป็นประมาณ 2-3 วันค่ะ ถ้ามีอาการอักเสบมากอย่าปล่อยจนเป็นหนองให้รีบพาลูกไปพบแพทย์ด่วนค่ะ
3. ให้ลูกกินยาดักไข้ ก่อนไปฉีดยา ทำได้หรือไม่
ไม่ได้ค่ะ ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง ต้องรอให้ลูกเป็นไข้ก่อนดีกว่านะคะคุณแม่ เข้าใจว่าเป็นห่วงลูก แต่ไม่ใช่เด็กทุกคนไปฉีดยาแล้วจะป่วยนะคะ ทางที่ดีห้ามให้ลูกกินยาดักเด็ดขาดค่ะ
4. หลังจากฉีดวัคซีนเสร็จ ลูกร้องไห้ไม่หยุด รับมืออย่างไรดี
เหตุผลที่ลูกร้องไห้ไม่หยุด เป็นเพราะน้องเจ็บจากการโดนฉีดยามานะคะ อยากให้คุณแม่ใจเย็น ๆ อาจให้กินยาพาราเซตามอนแก้ปวดและใช้ผ้าเย็นประคบเบาๆ ไม่ต้องนวดคลึงและไม่จำเป็นต้องกินยาปฏิชีวนะคะ
5. ผื่นขึ้นหลังจากฉีดวัคซีน
อาจเกิดจากเชื้อที่อยู่ในวัคซีนเช่น หัดเยอรมัน คางทูม อีสุกอีใส อาจขึ้นหลังจากฉีดไปแล้ว 5-7 วัน รวมอาการมีไข้ด้วย แต่หลังจากนั้นประมาณ 1 สัปดาห์ก็จะหายไปเองค่ะ
6. ฉีดวัคซีนแล้วลูกไม่สบาย มีไข้ วิธีแก้ไข
อาการไข้จะเกิดขึ้นกับลูกได้ค่ะ คุณแม่สามารถเช็ดตัวให้ลูกเพื่อให้ไข้ลดได้ หรือถ้าเป็นมากให้กินยาลดไข้ที่คุณหมอให้มาก็ได้ค่ะ อาจให้กินยาพาราเซตามอน อาการจะหายไปเองภายใน 2-3 วันค่ะ ไม่ควรกินยาดักไว้ก่อนนะคะ ให้ลูกมีไข้ก่อนแล้วค่อยกิน ถ้ามีไข้ขึ้นสูงมากจน ลูกชัก ให้จับหน้าลูกตะแคงหันด้านข้าง เพื่อไม่ให้ลิ้นอุดตันทางเดินหายใจ ห้ามใช้สิ่งของยัดเข้าไปในปากของลูกเพราะอาจเกิดการบาดเจ็บที่ช่องปากหรือสิ่งของนั้นอาจหลุดเข้าไปในปากลูกได้ พยายามเช็ดตัวให้ไข้ลดโดยการเน้นเช็ดที่ซอกคอ และข้อพับต่าง ๆ ถ้าอาการไม่ดีขึ้นให้รีบพาลูกส่งโรงพยาบาลทันที
7. ข้อควรระวัง อาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนให้ลูก
- อย่าให้วัคซีนที่ทำให้ตัวร้อนได้พร้อมกันเช่น วัคซีนรวมคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน พร้อมกับวัคซีนป้องกันไทฟอยด์
- เมื่อรับวัคซีนแล้วอาจมีอาการข้างเคียงบางอย่างเกิดขึ้นได้ ทั้งนี้เนื่องจากร่างกายมีปฏิกิริยาต่อวัคซีนซึ่งโดยทั่วไปจะมีอาการไม่มาก และจะหายไปเอง
- เนื่องจากอาการแพ้วัคซีนชนิดรุนแรงมักเกิดขึ้นไม่นานหลังการฉีด จึงควรแนะนำให้เฝ้าสังเกตอาการผิดปกติหรือฉีดวัคซีนทุกชนิดประมาณ 15-30 นาทีขณะยังอยู่ในโรงพยาบาล
- อาการแพ้วัคซีนหรือแพ้ส่วนประกอบของวัคซีนสามารถพบได้ในวัคซีนทุกชนิด หากเป็นแค่เพียงผื่นเล็กน้อยก็ไม่มีอะไรน่ากังวลนัก แต่หากลักษณะที่เกิดขึ้นเป็นผื่นลมพิษ มีอาการหน้าบวมปากบวม หายใจลำบาก หรือความดันโลหิตต่ำลง ถือเป็นอาการข้างเคียงสำคัญ ซึ่งหากอาการเหล่านี้เกิดขึ้น อาจพิจารณางดการฉีดวัคซีนชนิดนั้นในครั้งต่อไป และควรบันทึกไว้ในหลักฐานทางการแพทย์และสมุดวัคซีนให้ชัดเจน
- ที่มาของผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน
8. เด็กที่มีอาการข้างเคียงเมื่อได้รับวัคซีน
อาจไม่ได้มีอาการจากตัววัคซีนโดยตรง เนื่องจากในวัคซีนป้องกันโรค นอกจากจะประกอบด้วยสารที่กระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานโรคแล้ว ยังมีสารอื่น ๆ ที่เป็นส่วนประกอบของวัคซีนด้วย เช่น
- อลูมินัม พบในวัคซีนป้องกันเยื่อหุ้มสมองอักเสบฮิบ, ไวรัสตับอักเสบเอและบี
- ยีสต์ พบในวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี
- ไข่ พบในวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่
- เจลาติน พบในวัคซีนป้องกันสุกใส, หัด หัดเยอรมันและคางทูม
- ยาปฏิชีวนะนีโอมัยซิน พบในวัคซีนป้องกันสุกใส, หัด หัดเยอรมันและคางทูม ดังนั้นถ้าเด็กที่มีอาการข้างเคียงจากสารที่เป็นส่วนประกอบในวัคซีน ก็จะมีอาการข้างเคียงเมื่อได้รับวัคซีนได้ค่ะ
9. คำแนะนำในการมารับวัคซีนครั้งต่อไป
- ในวันนัด ถ้าเด็กเป็นไข้ไม่สบาย ควรให้เด็กหายดีก่อนหลังจากนั้น 1 สัปดาห์จึงพามารับวัคซีน
- ในกรณีที่ไม่สามารถมาตามนัดได้ ท่านสามารถพามารับวัคซีนเพื่อกระตุ้นให้ครบไม่ว่าจะเว้นไว้ไปนานเท่าใดได้โดยไม่ต้องเริ่มต้นใหม่ แต่ไม่ควรพามา
- ก่อนนัดเนื่องจากระยะห่างระหว่างการกระตุ้นของวัคซีนที่สั้นเกินไปจะมีผลให้ภูมิต้านทานโรคขึ้นน้อยกว่าปกติ
- ถ้าเด็กเคยมีประวัติแพ้ยา แพ้ไข่ไก่ หรือเคยมีอาการผิดปกติรุนแรงหลังได้รับวัคซีน เช่น ชัก ผื่น ลมพิษไข้สูงมาก ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนได้รับวัคซีนครั้งต่อไป

มีคุณแม่หลายคนเข้าใจและเชื่อต่อ ๆ กันว่า ถ้าพาลูกไปฉีดวัคซีนที่คลินิก ลูกจะไม่เป็นไข้ ไม่แพ้วัคซีนเหมือนไปฉีดที่โรงพยาบาล เรื่องนี้จริงเท็จอย่างไร คุณหมอเด็กมาเฉลยให้เข้าใจกันใหม่ค่ะ
คุณหมอเฉลยแล้ว! จริงไหมฉีดวัคซีนที่คลินิกลูกจะไม่มีไข้ ไม่แพ้วัคซีน
เพื่อช่วยคลายข้อสงสัย ทางรักลูกได้สอบถาม พญ. สินดี จำเริญนุสิต กุมารเวชศาสตร์พัฒนาการและพฤติกรรม ได้ให้คำตอบ พร้อมความรู้เรื่องเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนของลูกมาฝากคุณพ่อคุณแม่กันค่ะ
จริงไหม? ฉีดวัคซีนที่คลินิกลูกจะไม่มีไข้ ไม่แพ้วัคซีน
ตอบ ไม่จริงค่ะ ความจริงแล้วขึ้นอยู่กับชนิดของวัคซีน และภูมิคุ้มกันของเด็ก ไม่ได้ขึ้นอยู่กับสถานที่ฉีด โดยส่วนใหญ่มักจะเกิดกับวัคซีนเข็มแรก พอเด็กเริ่มโตขึ้นจะฉีดที่โรงพยาบาล หรือคลินิก ก็อาจจะไม่มีไข้ได้ค่ะ
เด็กทารกเกิดมาพร้อมภูมิต้านทานโรคบางชนิดที่ได้มาตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา นอกจากนี้การให้นมแม่ยังช่วยเพิ่มภูมิต้านทานโรคให้แก่เด็ก อย่างไรก็ตามภูมิต้านทานโรคนี้จะคงอยู่เพียงชั่วคราว การฉีดวัคซีนจึงช่วยสร้างภูมิต้านทานโรคให้แก่เด็กในระยะยาว โดยวัคซีนจะกระตุ้นภูมิต้านทานโรคให้เกิดปฏิกิริยาเหมือนกับร่างกายติดเชื้อโรคจริง ๆ และจดจำเชื้อโรคนั้นไว้ เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายอีกครั้ง ภูมิต้านทานจะสามารถทำลายเชื้อโรคนั้นได้
วัคซีนสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทด้วยกัน ได้แก่
- วัคซีนประเภทท็อกซอยด์ (Toxoid) เป็นการนำพิษของเชื้อโรคมาทำให้หมดฤทธิ์แต่ยังสามารถกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันได้ ได้แก่ วัคซีนคอตีบ บาดทะยัก
- วัคซีนชนิดเชื้อเป็น (Live Vaccine) เป็นวัคซีนที่นำเชื้อมาทำให้อ่อนแรงจนไม่สามารถก่อโรคได้ แต่สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ ได้แก่ วัคซีนหัด คางทูม หัดเยอรมัน อีสุกอีใส งูสวัด ไข้สมองอักเสบ เจอี (ชนิดเชื้อเป็น)
- วัคซีนชนิดเชื้อตาย (Killed Vaccine)เป็นวัคซีนที่ผลิตขึ้นจากเชื้อโรคทั้งตัวหรือบางส่วนของเชื้อ ได้แก่ วัคซีนตับอักเสบ เอ บี ไอกรน ไข้หวัดใหญ่ โปลิโอชนิดฉีด
ทางคลินิกส่วนใหญ่จะเป็นแบบเชื้อตายไม่ทำให้มีไข้ ส่วนทางโรงพยาบาล จะเป็นแบบเชื้อเป็นค่ะ แต่ก็มีบางโรงพยาบาลจะมีแบบไม่มีไข้ให้คุณพ่อคุณแม่เลือกได้เหมือนกันกับทางคลินิก แต่อาจจะต้องจ่ายเงินเพิ่มเติมนะคะ ราคาขึ้นอยู่กับทางโรงพยาบาล หรือคลินิกนั้น ๆ ค่ะ
สรุปแล้ว การฉีดวัคซีนจะโดยทางโรงพยาบาล อนามัยใกล้บ้าน หรือคลินิกก็ไม่ต่างกันค่ะ ลูกจะมีไข้หรือไม่มีไข้ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับสถานที่ แต่ขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันและชนิดของวัคซีนที่เจ้าตัวน้อยจะได้รับ อย่าลืมพาลูกไปฉีดวัคซีนให้ครบตามกำหนดกันด้วยนะคะ เพื่อให้ลูกรักมีสุขภาพแข็งแรง “วัคซีน” ซึ่งเป็นเสมือนปราการด่านแรกที่จะช่วยปกป้องลูกน้อยจากเชื้อโรคร้ายต่าง ๆ

วัคซีนเด็ก วัคซีนพื้นฐาน ปี 2565 ปีนี้ลูกต้องฉีดวัคซีนอะไรบ้าง มีวัคซีนตัวไหนอัปเดตเพิ่มเติม เช็กตารางฉีดวัคซีนเด็กปี 2565 ได้เลยค่ะ
ตารางฉีดวัคซีนเด็ก วัคซีนทารก 2565 วัคซีนพื้นฐานที่ลูกต้องฉีด
กระทรวงสาธารณสุขออกกำหนดการให้วัคซีนเด็กตามแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ปี 2565 มาแล้วค่ะ สำหรับปีนี้ภาพรวมของวัคซีนยังคงเหมือนเดิม ส่วนวัคซีนโควิด-19 ดูคำแนะนำจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณะสุข ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย

ดาวน์โหลดตารางวัคซีนเด็กฉบับเต็ม คลิก

ตารางวัคซีน 2566 ของเด็กมาแล้ว ปีนี้ลูกต้องฉีดอะไร มีวัคซีนอะไรอัปเดตบ้าง มาดูกันค่ะ
ตารางวัคซีน 2566 วัคซีนพื้นฐาน ลูกต้องฉีดวัคซีนอะไรบ้าง
แผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค กองโรคติดต่อทั่วไป กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ออกกำหนดการให้วัคซีนหรือตารางวัคซีนตามแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ปี 2566 มาแล้วค่ะ
ภาพรวมของตารางวัคซีนเด็กที่ต้องฉีดปีนี้ยังคงเหมือนเดิมค่ะ และมีการเพิ่มคำแนะนำการฉีดวัคซีนในผู้ใหญ่ รวมถึงแนวทางการปฏิบัติเมื่อพาเด็กไปรับวัคซีนช้าด้วยค่ะ

คุณแม่สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่ : ตารางกำหนดการให้วัคซีน ปี 2566
อาการทารกท้องเสีย ท้องร่วงพบได้บ่อย เพราะลูกทารกยังมีภูมิต้านทานในร่างกายน้อย ได้รับเชื้อง่าย เรามีวิธีสังเกตเพื่อการรักษาและดูแลที่ถูกต้องมาแนะนำค่ะ
ทารกท้องเสีย ท้องร่วงเกิดจากอะไร พร้อมวิธีสังเกตทารกท้องเสีย ท้องร่วง
สาเหตุที่ทำให้ลูกทารกท้องเสีย ท้องร่วง
โดยปกติแล้วเด็กทารกแรกเกิดที่กินนมแม่อย่างเดียว อุจจาระจะมีลักษณะเหลวข้นคล้ายซุปฟักทอง ซึ่งอาจทำให้คุณพ่อคุณแม่ตกใจและคิดว่าลูกท้องเสีย ท้องร่วง แต่จริง ๆ แล้วเป็นภาวะปกติ ซึ่งเลูกทารกจะถ่ายวันละ 8-10 ครั้ง หรือในเด็กบางคนอาจอุจจาระทุกครั้งหลังกินนมแม่เสร็จก็มี แต่หากลักษณะอุจจาระเหลวเป็นน้ำ มีกลิ่นเหม็นเปรี้ยวรุนแรงกว่าปกติและมีมูกเลือดปนแบบนี้ไม่ธรรมดาแล้ว
สาเหตุของอุจจาระไม่ปกติ และนำไปสู่อาการท้องร่วงในเด็กนั้น เกิดได้จากการติดเชื้อ ซึ่งการติดเชื้อแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ ติดเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย และภาวะแพ้นมวัว โดยจะมีอาการให้สังเกต ดังนี้
- อุจจาระร่วงที่เกิดจากการติดเชื้อ จะมีลักษณะเป็นมูก มีเลือดปน หรือมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยวรุนแรง และอาจมีอาการป่วยอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น มีอาการงอแงหรือซึมกว่าปกติ ไม่สบายตัว ท้องอืด เป็นไข้
- อุจจาระร่วงจากไวรัสโรต้า เป็นเชื้อยอดฮิตที่พบมากที่สุดในเด็ก เพราะผลจากการตรวจเชื้อพบว่าเด็กท้องร่วงจากการติดเชื้อไวรัสโรต้าประมาณ 60-70% เลยทีเดียว อาการเด่นคือ ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำปริมาณมาก มักพบร่วมกับภาวะขาดน้ำรุนแรง เริ่มแรกจะมีอาการไข้สูง อาเจียนใน 2-3 วันแรกก่อนมีอาการอุจจาระ บางรายอาจมีหวัดนำมาก่อน มักเกิดในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี
- อุจจาระร่วงจากการแพ้นมวัว มักมีอาการถ่ายเป็นมูกเลือด ร่วมกับอาการอื่นๆ เช่น ท้องอืด อาเจียน มีผื่นตามลำตัว โดยเฉพาะตามข้อพับและแก้ม น้ำหนักไม่ค่อยขึ้น และที่น่าสังเกต คือ ปัจจุบันเด็กๆ มีอาการท้องร่วง โดยมีสาเหตุมาจากการแพ้นมวัวมากขึ้น
วิธีรักษาอาการทารกท้องเสีย ท้องร่วง
- โรคอุจจาระร่วงจากไวรัสโรต้าไม่มียารักษาโดยเฉพาะ ซึ่งการรักษาส่วนใหญ่เป็นการรักษาตามอาการและการรักษาแบบประคับประคอง คือ การรักษาภาวะขาดน้ำ โดยการให้น้ำทางปาก แต่ถ้ารับน้ำทางปากไม่ได้ เกิดอาการขาดน้ำปานกลางถึงขาดน้ำมาก จำเป็นต้องให้น้ำทางหลอดเลือดดำ ให้ยาลดไข้เป็นระยะถ้ามีไข้ ให้ยาลดการอาเจียน
- หากลูกมีอุจจาระร่วงมากขึ้นเมื่อดื่มนมทั่วไปที่มีแล็กโทส ให้เปลี่ยนนมเป็นนมที่ไม่มีแล็กโทส และเมื่อแก้ไขภาวะขาดน้ำแล้ว ให้เริ่มอาหารทางปากได้ทันทีโดยให้เป็นอาหารอ่อน ย่อยง่าย ควรให้ทีละน้อย แต่บ่อยๆ คุณหมออาจพิจารณาการให้จุลินทรีย์ชีวภาพ (Probiotics) ได้แก่ Lactobacillus GG ซึ่งมีการศึกษาพบว่าช่วยลดระยะเวลาการนอนในโรงพยาบาลจากโรคอุจจาระร่วงจากไวรัสโรต้า
ป้องกันลูกทารกท้องเสีย ท้องร่วง
- โรคอุจจาระร่วงจากเชื้อไวรัส เกิดจากการได้รับเชื้อไวรัสเข้าสู่ปากโดยตรง โดยเฉพาะหนู ๆ ที่อยู่ในช่วงวัยนักสำรวจ หยิบจับอะไรก็จะเอาเข้าปาก จึงทำให้รับเชื้อได้ง่าย โดยเชื้อไวรัสอาจติดมากับมือหรือของเล่นที่เปื้อนน้ำลาย น้ำมูก และอาจเกิดจากการไอจามรดกัน ซึ่งป้องกันได้โดย
- เด็ก ๆ ควรได้รับวัคซีนป้องกันไวรัสโรต้า เพื่อช่วยลดความเสี่ยง อาการรุนแรงของการติดเชื้อไวรัสโรต้า
- ระมัดระวังเรื่องความสะอาด ตั้งแต่การเตรียมอาหาร การปรุงอาหาร และการกินอาหาร ควรล้างมือบ่อยๆ (ด้วยน้ำและสบู่) โดยเฉพาะหลังการขับถ่ายและก่อนกินอาหาร รวมทั้งการใช้ช้อนกลาง และหลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น แก้วน้ำ หลอดดูด ผ้าเช็ดหน้า และผ้าเช็ดมือ เป็นต้น
- ไม่พาลูกไปในสถานที่แออัด เช่น สนามเด็กเล่น สระว่ายน้ำ และห้างสรรพสินค้า คุณพ่อคุณแม่ต้องล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย หรืออุจจาระเด็กป่วย ในเด็กเล็กที่ดื่มขวดนมก็ควรล้างขวดนมให้สะอาดและนำไปต้มหรือนึ่งทุกครั้ง ก่อนการนำมาใช้ใหม่

ไอกรนคือโรคระบบทางเดินหายใจที่อันตรายสำหรับเด็กเล็ก ซึ่งในเด็กโตและผู้ใหญ่ก็ป่วยได้เช่นกัน แต่อาการอาจไม่รุนแรงเท่า ดังนั้นเด็กทุกคนจำเป็นต้องได้รับวัคซีนไอกรนตั้งแต่ยังเล็กและต่อเนื่องครบตามจำนวน เพื่อป้องกันโรคไอกรนค่ะ
ระวัง! โรคไอกรน โรคอันตรายระบบทางเดินหายใจเด็กเล็ก
โรคไอกรน คือโรคอะไร
ไอกรนเป็นโรคทางเดินหายใจที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งชื่อว่า Bordetella pertussis (B. pertussis) ปัจจุบันพบน้อยเพราะมีวัคซีนไอกรนป้องกันโรค สามารถเป็นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยมีอาการสำคัญคือ ไออย่างรุนแรงต่อเนื่องหลายสัปดาห์ ไอเป็นชุด มีเสียงหายใจดังฮู้บระหว่างหรือหลังไอ และอาเจียนหลังไอ อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนทางสมองและปอดอักเสบโดยเฉพาะทารกและเด็กเล็ก
อาการของโรคไอกรน
หากเกิดในผู้ใหญ่ไม่มีความรุนแรง สามารถใช้ชีวิตได้เป็นปกติ ไม่มีอาการเหนื่อยหอบ ไม่มีไข้ มีเพียงอาการไอเท่านั้น แต่ถ้าหากโรคไอกรนเกิดกับเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 3 ขวบ มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ที่พบบ่อยคือไอหนักจนตัวเขียวหรือไอจนหยุดหายใจ ทำให้สมองขาดออกซิเจน และอาจเสียชีวิตได้ ส่วนอาการชักสามารถพบได้เช่นกันแต่พบไม่บ่อยนัก
ไอกรนในวัยเด็ก
มักเกิดจากการได้รับวัคซีนป้องกันที่ยังไม่ครบหรือบางรายอาจยังไม่เคยได้รับวัคซีนเลย ทำให้เด็กยังขาดภูมิคุ้มกัน เนื่องจากวัคซีนป้องกันไอกรนเข็มแรกจะได้รับเมื่ออายุ 2 เดือน ส่วนการรับเชื้อส่วนมากมักมีการรับมาจากผู้ใหญ่ที่ป่วยและมีอาการไอ ซึ่งในวัยผู้ใหญ่มักไม่ยอมไปพบแพทย์ เนื่องจากอาการไม่รุนแรง ทำให้เกิดการแพร่เชื้อไปยังเด็กที่อยู่ใกล้ชิดในที่สุด
วัคซีนป้องกันโรคไอกรน
วัคซีนป้องกันคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก จะฉีดครั้งแรกที่อายุ 2 เดือน 4 เดือน 6 เดือนและ 18 เดือน และครั้งที่ 2 เมื่ออายุ 4-6 ปี หลังจากนั้นควรฉีดวัคซีนกระตุ้นอีก 2 เข็ม ตอนอายุ 10-12 ปี หากเด็กคนไหนไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคไอกรนช่วง 10-12 ปี อาจรับช่วงวัยรุ่นอายุ 15-16 ปี และหลังจากนั้นควรได้รับวัคซีนกระตุ้นทุก 10 ปี
คำแนะนำเมื่อพาลูกไปรับวัคซีนไอกรน
- ในวันนัด ถ้าลูกเป็นไข้ไม่สบาย ควรให้เด็กดีก่อนหลังจากนั้น 1 สัปดาห์จึงพาไปรับวัคซีน
- ในกรณีที่ไม่สามารถไปตามนัดได้ พ่อแม่สามารถพาลูกไปรับวัคซีนเพื่อกระตุ้นให้ครบไม่ว่าจะเว้นไว้ไปนานเท่าใดได้โดยไม่ต้องเริ่มต้นใหม่ แต่ไม่ควรพาไปก่อนนัดเนื่องจากระยะห่างระหว่างการกระตุ้นของวัคซีนที่สั้นเกินไปจะมีผลให้ภูมิต้านทานโรคขึ้นน้อยกว่าปกติ
- ถ้าเด็กเคยมีประวัติแพ้ยา แพ้ไข่ไก่ หรือเคยมีอาการผิดปกติรุนแรงหลังได้รับวัคซีน เช่น ชัก ผื่น ลมพิษไข้สูงมาก ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนได้รับวัคซีนครั้งต่อไป
อ้างอิง
โรคไอกรนในเด็ก อันตรายถึงตาย อาการคล้ายโรคหวัดธรรมดา
หลังพาลูกทารกไปฉีดวัคซีนอาจมีผลข้างเคียง และอาการแพ้วัคซีนที่เกิดขึ้น ผลข้างเคียงของวัคซีนทารกมีอะไรบ้าง และพ่อแม่ต้องดูแลลูกทารหลังฉีดวัคซีนอย่างไร เรามีคำแนะนำค่ะ
รับมืออาการแพ้วัคซีน อาการข้างเคียงหลังพาลูกทารกไปฉีดวัคซีน
การฉีดวัคซีนเป็นเรื่องปกติที่เด็กทุกคนต้องเจอ ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนพื้นฐานหรือวัคซีนทางเลือก ซึ่งเป็นเกราะป้องกันต่อสู้กับเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย สร้างภูมิคุ้มกันให้กับลูก แต่การฉีดวัคซีนนั้น อาจมีผลข้างเคียงเกิดขึ้นกับลูกบ้าง หากรู้จุดสังเกตอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้น คุณแม่ก็จะรับมือกับอาการเหล่านั้นได้ดีขึ้นค่ะ
สาเหตุของผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนเด็กทารก
เด็กที่มีอาการข้างเคียงเมื่อได้รับวัคซีน อาจไม่ได้มีอาการจากตัววัคซีนโดยตรง เนื่องจากในวัคซีนป้องกันโรค นอกจากจะประกอบด้วยสารที่กระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานโรคแล้ว ยังมีสารอื่น ๆ ที่เป็นส่วนประกอบของวัคซีนด้วย เช่น
- อลูมินัมพบในวัคซีนป้องกันเยื่อหุ้มสมองอักเสบฮิบ, ไวรัสตับอักเสบเอและบี
- ยีสต์พบในวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี
- ไข่พบในวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่
- เจลาตินพบในวัคซีนป้องกันสุกใส, หัด หัดเยอรมันและคางทูม
- ยาปฏิชีวนะนีโอมัยซินพบในวัคซีนป้องกันสุกใส, หัด หัดเยอรมันและคางทูม
ดังนั้นถ้าเด็กที่มีอาการข้างเคียงจากสารที่เป็นส่วนประกอบในวัคซีน ก็จะมีอาการข้างเคียงเมื่อได้รับวัคซีนได้ค่ะ
อาการและวิธีรับมือผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน
อาการข้างเคียงของวัคซีนแต่ละชนิดมีความแตกต่างกันไป วัคซีนที่ผลิตจากเชื้อตาย เช่น วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรนและบาดทะยัก อาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงได้ภายในวันที่ฉีดวัคซีน และมักมีอาการไม่เกิน 2-3 วัน ส่วนวัคซีนที่ผลิตจากเชื้อเป็น เช่น วัคซีนป้องกันโรคสุกใสหรือหัด หัดเยอรมันและคางทูม อาจมีอาการข้างเคียง เช่น ไข้และผื่น ภายหลังฉีด 5-7 วัน นอกจากนี้วัคซีนป้องกันโรคหัด หัดเยอรมันและคางทูม ยังอาจทำให้มีอาการปวดข้อภายหลังฉีด 2-4 สัปดาห์ แต่มักพบในผู้ใหญ่
อาการข้างเคียงของวัคซีนทารกแบ่งเป็น
- อาการข้างเคียงเฉพาะที่ เช่น ปวดบวมแดงบริเวณรอยฉีดยา
วิธีดูแล: หากลูกมีอาการปวดบวมแดงบริเวณรอยฉีดยา อาจให้กินยาพาราเซตามอนแก้ปวดและใช้ผ้าเย็นประคบเบา ๆ ไม่ต้องนวดคลึงและไม่จำเป็นต้องกินยาปฏิชีวนะ
- อาการข้างเคียงทั่วไปที่ไม่รุนแรงเช่น ไข้ ร้องกวน กินอาหารน้อยลง คลื่นไส้อาเจียน ปวดศีรษะ มีผื่น ปวดข้อ
วิธีดูแล : หากมีไข้ ให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวลดไข้ อาจให้กินยาพาราเซตามอนแก้ไข้และให้เด็กดื่มน้ำบ่อย ๆ แต่ถ้าคลื่นไส้อาเจียนก็ไม่จำเป็นต้องให้กินยาแก้อาเจียน เพียงให้เด็กค่อย ๆ ดื่มน้ำและกินอาหารอ่อนครั้งละน้อย ๆ ส่วนใหญ่อาการข้างเคียงที่ไม่รุนแรงอย่าง มีไข้ ปวดบวมแดงบริเวณรอยฉีดยา ร้องกวน มักหายภายใน 2-3 วัน
- อาการข้างเคียงทั่วไปที่ค่อนข้างรุนแรง พบได้น้อยมาก อาการเหล่านั้นได้แก่ มีผื่นลมพิษ, หน้า ปาก มือและเท้าบวม, หายใจหอบ, ความดันโลหิตต่ำและช็อก อาจเกิดขึ้นได้ภายหลังฉีดวัคซีนไม่กี่นาทีจนถึง 2-3 วัน
วิธีดูแล : ต้องนำเด็กไปพบแพทย์อย่างเร่งด่วนและควรได้รับการรักษาในโรงพยาบาล
วัคซีนเด็กทารกตัวไหนต้องระวัง
ทั้งวัคซีนพื้นฐานและวัคซีนทางเลือก ต่างก็ทำให้เกิดอาการข้างเคียงได้ทั้งนั้น ในกรณีที่มีอาการไม่รุนแรง ยังสามารถให้วัคซีนนั้น ๆ ซ้ำได้ แต่ถ้าลูกมีอาการข้างเคียงที่รุนแรงมาก ไม่ควรให้วัคซีนนั้น ๆ อีก หากลูกที่มีไข้สูง หรือชักหลังฉีดวัคซีนป้องกันโรคไอกรนชนิดสเต็มเซลล์ ควรให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไอกรนชนิดไม่มีเซลล์ซึ่งมีราคาสูงกว่า
โดยทั่วไปคุณแม่ไม่จำเป็นต้องให้ยาลดไข้กับลูกก่อนฉีดวัคซีน แต่ถ้าลูกเคยชักมาก่อน อาจให้ยาลดไข้ก่อนให้วัคซีนป้องกันคอตีบ ไอกรนและบาดทะยัก ประมาณ 30 นาที รวมทั้งหลังได้วัคซีนแล้ว ก็อาจให้ยาลดไข้ต่อทุก 4-6 ชั่วโมง เป็นเวลา 24 ชั่วโมงค่ะ
ถึงแม้การฉีดวัคซีนในเด็กอาจทำให้มีอาการข้างเคียงบ้าง แต่ส่วนใหญ่เป็นอาการข้างเคียงที่ไม่รุนแรง ลูกของคุณแม่ยังคงได้รับประโยชน์จากการรับวัคซีนมากกว่า ดีกว่าปล่อยให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อที่รุนแรง จนถึงขั้นเสียชีวิตได้นะคะ
ที่มา : รศ.พญ. วรนุช จงศรีสวัสดิ์

จะดีไหมคะถ้าเราสามารถพาลูกทารกไปฉีดวัคซีนรวม 6 โรคได้ในเข็มเดียว อยากรู้ว่าวัควีนรวมโรคคืออะไร ต้องรับวัคซีนอย่างไร มาอ่านกันเลยค่ะ
รู้จักวัคซีนทารก วัคซีนเด็กเล็ก รวม 6 โรค ฉีดเข็มเดียว เจ็บครั้งเดียว
เด็กทารกควรได้รับวัคซีนตั้งแต่แรกเกิดเพื่อป้องกันโรคต่างๆ ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายและอันตรายต่อสุขภาพร่างกายของเขา โดยเฉพาะกลุ่มโรคติดเชื้อ เช่น โรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ตับอักเสบ โปลิโอ ที่ก่อให้เกิดทั้งการเจ็บป่วยเรื้อรัง ความพิการ และเสียชีวิตได้
ดังนั้นวิธีหนึ่งที่ป้องกันลูกน้อยจากโรคต่างๆ ที่ง่าย และได้ผลดีที่สุดคือการฉีดวัคซีนให้เขา โดยเฉพาะวัคซีนรวม 6 โรคที่จะช่วยสร้างภูมิต้านทานให้ลูกรักเจริญเติบโตสมวัย
ทำไมต้องฉีดวัคซีนรวม วัคซีนรวมดียังไง
สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย แนะนำพ่อแม่ให้พาลูกไปฉีดวัคซีนตามวัยในแต่ละปี เพื่อป้องกันความรุนแรงของโรคต่างๆ ที่อาจเกิดกับลูก ซึ่งเด็กทารกแรกเกิด – 12 เดือนต้องฉีดวัคซีนหลายเข็มเพื่อป้องกันหลายๆ โรคที่อาจเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นการฉีดวัคซีนรวมจึงถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่เหมาะกับครอบครัวยุคนี้มาก
- วัคซีนรวม 6 โรค ฉีดเข็มเดียว ไม่ต้องเจ็บตัวบ่อย : เนื่องจากเป็นวัคซีนรวม 6 โรค ลูกจึงไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนหลายๆ เข็ม ทำให้ลดจำนวนครั้งของการฉีด ช่วยให้ลูกเกิดความกลัวน้อย เพราะฉีดยาเพียงครั้งเดียว แต่ได้รับวัคซีนหลายชนิด
- ประหยัด : ประหยัดทั้งเงิน ประหยัดทั้งเวลา ลดภาระค่าใช้จ่ายของพ่อแม่ทั้งค่าวัคซีน ค่าเดินทางไปโรงพยาบาล
- ครอบคลุมหลายโรค : พ่อแม่มั่นใจได้ว่าลูกจะได้รับการปกป้องอย่างดีจากวัคซีนป้องกันโรคหลายๆ โรคในคราวเดียว ไม่ต้องกังวลว่าจะลืมฉีดวัคซีนโรคใดโรคหนึ่ง ลดความสับสนของพ่อแม่ เมื่อต้องพาลูกไปรับวัคซีนหลายครั้ง
- วัคซีนรวมมีความปลอดภัยสูง : เพราะรูปแบบของวัคซีนมีความปลอดภัยสูง ลดปัญหาการปนเปื้อนของยา และมีผลข้างเคียงน้อย
การฉีดวัคซีนรวม 6 โรค สามารถฉีดในช่วงอายุ 2-4-6 เดือนเพื่อภูมิต้านทานที่ดี ทำให้ลูกรักมีการเจริญเติบโตสมวัย นำไปสู่การเสริมสร้างพัฒนาการที่ดีของลูกรัก

วัคซีนทารก ลูกเล็ก รวม 6 โรค ป้องกันอะไรบ้าง
- โรคคอตีบ(Diphtheria)เป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจจากเชื้อแบคทีเรีย ติดต่อได้จากการไอ จาม สัมผัสกัน ก่อให้เกิดอาการอวัยวะในลำคอบวม หายใจลำบาก กล้ามเนื้ออักเสบ เป็นอันตรายต่อระบบหายใจ
- โรคบาดทะยัก(Tetanus) เป็นโรคติดต่อจากแผลติดเชื้อที่เป็นพิษต่อระบบประสาท เกิดอาการเกร็งกระตุกขากรรไกรแข็ง เจ็บปวดกล้ามเนื้อ เช่น แผลอักเสบจากสะดือเด็กที่ไม่สะอาด ทำให้ติดเชื้อบาดทะยักได้
- โรคโปลิโอ (Polio) เป็นโรคที่ติดต่อจากการกินหรือดื่มน้ำปนเปื้อนเชื้อโรค ก่อเกิดอาการแขนขาลีบ อ่อนแรง เป็นอัมพาต สมองอักเสบ หายใจไม่ได้ และเสียชีวิตได้
- โรคตับอักเสบบี (Hepatitis B) ติดต่อได้ง่ายจากแม่สู่ลูก หรือติดต่อจากเลือดและสิ่งคัดหลั่ง เด็กที่รับเชื้ออาจกลายเป็นพาหะแพร่สู่ผู้อื่นได้ด้วย ต้นเหตุของอาการตับแข็ง ตับวาย และมะเร็งตับได้
- โรคไอกรน (Pertussis) เป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจที่ติดต่อง่าย ก่ออาการหายใจติดขัด ไอเป็นชุดจนสำลัก ปอดบวม อาจมีอาการแทรกซ้อนทางสมอง ทำให้ชัก สมองพิการได้
- โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อฮิบ (Hib) เป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจจากแบคทีเรียฮีโมฟิลัส อินฟลูเอนซ่า ชนิดบี หรือ เชื้อฮิบ ซึ่งมีความรุนแรงถึงแก่ชีวิตได้
เตรียมตัวลูกก่อนไปฉีดวัคซีนรวม 6 โรค
- ตรวจสอบกำหนดนัดรับวัคซีน และนำสมุดบันทึกสุขภาพไปด้วยทุกครั้ง
- บอกลูกว่าจะพาไปฉีดยา พูดคุยกับลูกให้ลูกรับรู้ แม้ว่าลูกยังเล็กก็ตาม บอกลูกว่าการฉีดยาจะทำให้ลูกแข็งแรง ไม่เจ็บป่วย
- อาบน้ำ เตรียมตัวลูกให้เรียบร้อย
- เตรียมของเล่นที่ช่วยดึงดูดความสนใจของลูกระหว่างฉีดยา
- ทำความคุ้นเคย เช่น เอากระบอกฉีดยาของเล่นมาลองฉีดยิงน้ำ พ่นระบายสี เป็นต้น
- หลอกล่อลูกด้วยการร้องเพลงหลอก คุยหลอก เมื่อได้จังหวะก็ให้คุณหมอฉีดปั๊บเข้าไปเลย เด็กที่ถูกล่อหลอกอาจจะลืมร้องไห้ได้
- เมื่อลูกฉีดวัคซีนเสร็จแล้วอย่าลืมปรบมือให้กำลังใจลูกด้วยนะคะ
ในวันฉีดวัคซีนหากลูกมีไข้สูง สามารถเลื่อนการฉีดวัคซีนเป็นเดือนถัดไปได้ หรือหากคุณพ่อคุณแม่ลืมพาลูกไปรับวัคซีน เมื่อพ้นกำหนดไปแล้ว ก็ให้พาลูกไปรับวัคซีนในเดือนถัดไปโดยไม่ต้องเริ่มใหม่ค่ะ ถ้าลูกมีประวัติแพ้ เช่น ยา อาหาร นม ก็ต้องแจ้งคุณหมอทุกครั้ง
วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบ Hib เป็นวัคซีนพื้นฐานและจำเป็นต้องฉีดให้ลูกทารกนะคะ เพราะยังสามารถป้องกันการติดเชื้ออื่น ๆ ได้ด้วยค่ะ
รู้จักโรคฮิบ Hib วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อในเด็ก จำเป็นต้องฉีดวัคซีนให้ลูกไหม
โรคติดเชื้อฮิปมีความเป็นมาอย่างไร และเกิดขึ้นกับเด็กในกลุ่มอายุใด
Hib ย่อมาจาก Haemophilus Influenzae Type B เป็นแบคทีเรียซึ่งทำให้เกิดโรคติดเชื้อในมนุษย์ โดยเฉพาะในเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 5 ปี โรคติดเชื้อชนิดนี้มีมานานแล้ว ไม่ใช่โรคใหม่ พบได้ทั่วโลก และไม่ใช่โรคที่เป็นกันมากขึ้นในเด็กไทยในสถานการณ์ปัจจุบัน เพียงแต่มีการนำวัคซีนป้องกันโรคฮิบ(Hib vaccines) มาใช้แพร่หลายในประเทศไทย คุณพ่อคุณแม่จึงน่าจะมีความรู้ เพื่อนำไปประกอบการพิจารณาว่า บุตรหลานมีความจำเป็นต้องรับวัคซีนนี้หรือไม่ เมื่อเด็กได้รับเชื้อฮิบ จะมีความรุนแรงของโรคมากน้อยแค่ไหนคะ
ความรุนแรงของโรคติดเชื้อฮิป Hib
เชื้อโรคฮิบเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหลายชนิดในเด็ก โดยเฉพาะโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และเป็นสาเหตุของโรคอื่นๆ เช่น ปอดอักเสบ หรือการติดเชื้อในกระแสเลือด เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ฝาปิดกล่องเสียงอักเสบ ฯลฯ การติดเชื้อฮิบอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ถ้าไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาในระยะเวลาที่เหมาะสม
ฮิบจะทำให้เกิดการติดเชื้อและอักเสบได้เกือบทุกส่วนของร่างกาย ดังได้กล่าวถึงมาแล้ว โรคที่รุนแรงที่สุดจะมีโรคแทรกซ้อนตามมาได้มากคือเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ซึ่งมักพบในเด็กเล็ก โดยเฉพาะกลุ่มอายุต่ำกว่า 2 ปี ผู้ป่วยมักมีไข้สูง ซึม เบื่ออาหาร อาเจียน กระหม่อมโป่งตัวในเด็กเล็ก และมีอาการชักกระตุก ถ้าได้รับการรักษาไม่ทันท่วงที ผู้ป่วย ประมาณร้อยละ 5-20 ที่เป็นโรคนี้จะเสียชีวิต เด็กที่รอดร้อยละ 10-40 จะมีความผิดปกติทางสมองที่รุนแรง เช่น หูหนวก ชักกระตุก หรือพิการทางสมอง และเกือบร้อยละ 50 มีความผิดปกติทางสมอง แม้จะไม่รุนแรง แต่อาจมีผลต่อสมาธิและการเรียนรู้เมื่อโตขึ้น
การติดต่อของเชื้อโรคฮิบ Hib ในเด็ก เกิดขึ้นโดยวิธีใด
เราจะพบเชื้อฮิบในทางเดินลมหายใจของคน โดยเฉพาะในเด็กอายุน้อยกว่า 4 ปี ที่เป็นพาหะของโรค โดยที่เด็กอาจจะไม่มีอาการเจ็บป่วย และพบได้ในเด็กที่เพิ่งหายจากการป่วยเป็นโรคนี้ และมีการติดต่อของโรคผ่านการสัมผัสหรือหายใจเอาฝอยละออง น้ำลายที่มีเชื้อนี้เข้าไป การติดเชื้อเริ่มจากจมูกและลำคอ และแพร่กระจายสู่ส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น เยื่อหุ้มสมอง กระแสเลือด ปอด เยื่อหุ้มหัวใจ ฯลฯ
เด็กมีโอกาสที่จะเป็นโรคฮิบ Hib ทุกคนหรือไม่
เด็กทารกแรกเกิดส่วนใหญ่ จะได้รับภูมิคุ้มกันป้องกันโรคนี้จากมารดาผ่านรกแต่ภูมิคุ้มกันนี้จะหมดไปในเวลาไม่กี่เดือนหลังจากคลอดออกมา จากการศึกษาโดย ศาสตราจารย์ สมศักดิ์ โล่ห์เลขา พบว่าเด็กไทยได้รับภูมิคุ้มกันลดลงเหลือต่ำสุด ในช่วงอายุ 5 เดือน หลังจากนั้นภูมิคุ้มกันจะเริ่มสูงขึ้น จนกระทั่งเด็กอายุ 2 ปี จะมีภูมิคุ้มกันประมาณร้อยละ 60 และเด็กไทยเกือบทุกคน จะมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อนี้เมื่ออายุครบ 4 ปี ในประเทศไทยพบโรคนี้ในเด็ก ตั้งแต่อายุ 2 เดือน จนถึง 2 ปี เป็นส่วนใหญ่ อายุที่พบบ่อยคือช่วง 4 เดือน แต่หลังจากนั้นก็จะพบได้น้อยลงมาก
พ่อแม่จะมีวิธีป้องกันและรักษาโรคฮิบ Hib ได้อย่างไร
การติดเชื้อฮิบ สามารถรักษาให้หายได้ โดยการใช้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสม แต่ถ้าผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยล่าช้า การอักเสบเป็นไปมากแล้ว หรือเชื้อดื้อยา ก็อาจทำให้มีการทำลายอวัยวะต่างๆ ซึ่งไม่สามารถฟื้นคืนได้ดีเหมือนเดิมก่อนรักษา
ปัจจุบันนี้ มีวัคซีนที่ใช้ป้องกันโรคติดเชื้อฮิบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่ใช้แพร่หลายในประเทศไทยอยู่ 2 ชนิด โดยทั้งสองชนิดให้ผลในการป้องกันโรคได้ดีไม่แตกต่างกัน และผลข้างเคียงในการฉีดวัคซีนทั้งสองชนิดมีน้อยมาก เช่น อาจมีไข้ ปวด บวม ในบริเวณที่ฉีด ซึ่งพบเพียงประมาณร้อยละ 6 เท่านั้น แต่เนื่องจากวัคซีนทั้งสองชนิดนี้ยังมีราคาแพงประกอบกับอัตราการป่วยจากเชื้อฮิบในประเทศไทย มีแนวโน้มที่ค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับประเทศแถบตะวันตก วัคซีนชนิดนี้จึงยังไม่ได้แนะนำให้ฉีดในเด็กไทยทุกคน
เด็กกลุ่มไหน ที่ควรฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคฮิบ Hib
เด็กกลุ่มที่ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคฮิบ แบ่งได้ 3 กลุ่ม
- เด็กเล็ก โดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ที่ฝากเลี้ยงตามสถานเลี้ยงเด็ก(nursery) หรือเด็กที่อยู่ในบริเวณแออัดตามชุมชนต่างๆ
- เด็กเล็กที่มีพี่ๆ หรือเด็กในย่านเดียวกัน ที่อยู่โรงเรียนอนุบาล ซึ่งอาจนำเชื้อมาฝากให้น้องๆ ที่บ้าน
- เด็กที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องชนิดต่างๆ เช่น โรคเลือด ธาลัสซีเมีย ถูกตัดม้าม หรือติดเชื้อ HIV เป็นต้น
กรณีเด็กทั่วไปที่อายุน้อยกว่า 4 ปี ที่ผู้ปกครองไม่ต้องการให้เด็กมีโอกาสป่วยจากโรคนี้ แม้ว่าโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคน้อยอยู่แล้วก็ตาม และไม่มีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียในการฉีดวัคซีน ก็สามารถปรึกษาเรื่องการฉีดวัคซีนกับกุมารแพทย์ของท่านได้
ถ้าฉีดวัคซีนแล้วเด็กจะปลอดภัยจากโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบแน่นอนใช่หรือไม่
โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบเป็นโรคที่รุนแรง และอาจมีความพิการทางสมองตามมาได้ พ่อแม่อาจจะคิดว่า เมื่อฉีดวัคซีนฮิบแล้ว จะป้องกันบุตรหลานให้ปลอดภัยจากโรคนี้โดยสิ้นเชิง แต่ควรทราบเพิ่มเติมว่า แม้ว่าวัคซีนฮิบจะป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้เป็นอย่างดี แต่การเกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ก็อาจเกิดจากเชื้อโรคอื่นๆได้อีก ซึ่งนอกเหนือจากการป้องกันของวัคซีนฮิบ
นอกจากการพาลูกไปรับวัคซีนป้องกันโรคแล้ว การดูแลให้บุตรหลานมีสุขภาพพลานามัยที่ดี อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอากาศบริสุทธิ์ ไม่นำเด็กไปยังสถานที่ซึ่งมีคนแออัดยัดเยียด มีคนอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ห้างสรรพสินค้า และฝึกหัดให้เด็กล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอจนเป็นนิสัย ตลอดจนรับประทานอาหารที่สะอาดให้ครบทุกหมู่ พักผ่อนและออกกำลังกายให้พอเพียง ก็จะช่วยลดการป่วยเจ็บจากทั้งโรคฮิบและโรคอื่นๆ ได้อีกด้วย
ไวรัสโรต้าเป็นเชื้อโรคหนึ่งที่ทำให้เด็กทารกท้องร่วง มีอาการท้องร่วงรุนแรง ถ่ายเป็นน้ำ ซึ่งป้องกันได้ด้วยการรับวัคซีนโรต้าตั้งแต่ยังเป็นทารก
ลูกทารกอุจจาระร่วงจากโรต้าไวรัส อาการท้องร่วงไวรัสโรต้าและวิธีดูแลลูกจากท้องร่วง
ไวรัสโรต้าคืออะไร
ไวรัสโรต้า (Rotavirus) คือเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการอาเจียน และอุจจาระร่วงอย่างรุนแรง ซึ่งมักพบในเด็กทารก และเด็กเล็กที่อายุน้อยกว่า 2 ขวบ โดยเด็กทุกคนมีโอกาสติดเชื้อไวรัสโรต้าได้อย่างน้อย 1 ครั้งก่อนอายุ 5 ขวบ เชื้อไวรัสตัวนี้นี้ระบาดได้ตลอดทั้งปีและพบมากขึ้นในช่วงฤดูหนาว และเชื้อพบได้ในอุจจาระของเด็กที่เป็นโรค
โรคอุจจาระร่วงมีหลายสาเหตุอาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเชื้อแบคทีเรียหรือพิษจากอาหาร แต่ในเด็กต่ำกว่า 5 ขวบ ที่มีอาการท้องเสียพบว่าครึ่งหนึ่งเกิดจากโรต้าไวรัส โดยเฉพาะเด็กวัย 6-12 เดือน ท้องร่วงได้จากโรต้าไวรัสบ่อยๆ เนื่องจากเด็กๆ มักชอบเอาของทุกอย่างเข้าปากนั่นเอง บางครั้งชาวบ้านเรียกว่าทองเสีย เพราะยืดตัวหรือเปลี่ยนเดือนนั่นเอง แต่จริงๆแล้วเกิดจากการติดเชื้อนะคะ
อาการไวรัสโรต้า
หลังได้รับเชื้อ 1-2 วัน ถ้าเด็กมีอาการ
- อาเจียน
- มีไข้
- ท้องเสียถ่ายเป็นน้ำ
- เหมือนอาหารไม่ย่อย
- อุจจาระเป็นฟอง มีกลิ่นเปรี้ยว
โรต้าเป็นเชื้อไวรัสที่ติดต่อได้ง่ายมาก ชอบแฝงตัวอยู่ตามสิ่งของ เช่นของเล่นเด็ก และอยู่ได้นานเป็นวัน ถึงดูแลเรื่องความสะอาดของน้ำ อาหาร และที่อยู่เป็นอย่างดี ก็ยังป้องกันลูกรัก จากไวรัสโรต้าได้ไม่เต็มที่ หากนำสิ่งของ หรือ มือที่เปื้อนเชื้อเข้าปาก ลูกน้อยก็ติดไวรัสได้อย่างง่ายดาย อาการรุนแรงกว่าที่คิด
เด็กทุกๆ 1 ใน 2 คนที่ป่วยเป็นโรคอุจจาระร่วง จะต้องนำตัวเข้ารักษาในโรงพยาบาล มีสาเหตุจากเชื้อไวรัสโรต้า เด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบแทบทุกคนต้องเคยติดเชื้อ ไวรัสโรต้าอย่างน้อย 1 ครั้ง
ข้อควรรู้เรื่องไวรัสโรตา
หลังเด็กได้รับเชื้อ1-2 วันจะมีอาการเริ่มจาก อาเจียน อาจมีไข้ร่วมด้วย แสดงว่าเชื้อโรคอยู่ในกระเพาะอาหาร อาการเด็กจะดูน่าเป็นห่วง ดูอ่อนเพลียทานอาหารไม่ได้ อาการนี้จะมีประมาณ 1 วัน ต่อมาเด็กจะมีอาการท้องเสียตามมา เมื่อเชื้อโรคเคลื่อนจากกระเพาะไปสู่ลำไส้ อาจท้องเสียนาน 1- 3 สัปดาห์โรคนี้ยังไม่มียาเฉพาะ แต่มีวัคซีนป้องกันซึ่งต้องให้เด็กภายในอายุ 2-6 เดือนค่ะ
วัคซีนโรต้า เด็กทารกต้องได้รับตอนไหน
วัคซีนโรต้า สามารถให้โดยการหยอดทางปาก โดยทารกควรได้รับวัคซีน 2 หรือ 3 ครั้ง ขึ้นกับยี่ห้อของวัคซีนที่ได้รับ ทั้งนี้วัคซีนโดสแรกควรได้รับก่อนอายุ 15 สัปดาห์ และวัคซีนโดสสุดท้ายควรได้รับก่อนอายุ 8 เดือน
- หากเป็นวัคซีนชนิดหยอด 2 ครั้ง ควรได้รับที่อายุ 2 เดือน และ 4 เดือน
- หากเป็นวัคซีนชนิดหยอด 3 ครั้ง ควรได้รับที่อายุ 2 เดือน, 4 เดือน, และ 6 เดือน
การดูแลลูกทารกเมื่อท้องร่วงจากไวรัสโรต้า
- ให้รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย เช่น น้ำข้าว, โจ๊กเปล่า หรือข้าวต้มใส่เกลือ (แต่เพียงพอเค็ม)มื้อละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง หรือาหารประเภทแป้งเช่นขนมปัง ,แครกเกอร์ ก็จะช่วยให้การฟื้นตัวจากภาวะท้องเสียกลับเป็นปกติได้เร็วขึ้น
- ให้ยาแก้อาเจียน ก่อนมื้ออาหารวันละ 3-4 ครั้ง ทุก 6-8 ชั่วโมง
- ให้น้ำเกลือแร่ทดแทนน้ำที่สูญเสียไป
- ในขณะเดียวกันควรที่จะงดนมสด หรือเจือจางนมที่ให้กับลูก (เจือจาง โดยใช้เนื้อนมน้อยลงครึ่งหนึ่ง) หรือใช้นมที่เหมาะกับภาวะท้องเสีย เช่น นมถั่วเหลือง หรือนมที่ไม่มีแล็คโตส เพื่อช่วยให้การย่อยและการดูดซึมนมของลำไส้ในสภาวะที่มีการติดเชื้อในลำไส้นั้นดีขึ้น ควรงดการให้น้ำผลไม้ เช่นน้ำส้มสด เนื่องจากอาจทำให้เกิดการถ่ายเหลวได้มากขึ้น
- งดอาหารประเภท ไข่ ผัก ผลไม้ทุกชนิด ให้ทานอาหารประเภทแป้งและโปรตีน เช่น ข้าวต้ม ขนมปัง แครกเกอร์ จนกว่าอาการท้องเสียจะดีขึ้น ส่วนใหญ่ 1 สัปดาห์ขึ้นไป
- ถ้าอาเจียนมาก ทานอะไรก็ออกหมด ,ท้องเสียมาก หรือมีอาการ เพลีย ซึม หน้าซีด ตัวเย็น กระหม่อมหน้าบุ๋มในเด็กอ่อน แสดงว่ามีภาวะขาดน้ำอย่างรวดเร็วและรุนแรงต้องรีบพบแพทย์เพื่อให้นำเกลือทดแทน อย่าปล่อยให้ถึงขั้นนี้นะคะ
- โดยทั่วไปถ้าเรารู้ทันโรคและเฝ้าระวังแต่ถ้าเป็นแล้วรู้วิธีดูแลลูก เด็กจะมีอาการดูน่าเป็นห่วงเฉพาะวันแรกที่ยังมีอาเจียนอยู่เท่านั้นค่ะ เรื่องท้องเสียมักมีเล็กน้อยโดยเฉพาะเด็กที่เคยเป็นมาก่อนแล้ว เด็กจะยังวิ่งเล่นได้ร่าเริงเป็นปกติ
- ในกรณีพบว่าเด็กของท่านมีอาการของโรคดังกล่าวกรุณาพบแพทย์และหยุดเรียนจนกว่าอาการจะดีขึ้นเพื่อเป็นการควบคุมโรคไม่ให้แพร่กระจายต่อไป
จะดีไหมคะ ถ้ามีวัคซีนเด็กทารกที่รวมการป้องกัน 6 โรคไว้ในเข็มเดียว ลูกเจ็บทีเดียวและปลอดภัย มาดูกันค่ะว่าวัคซีนรวมสำหรับทารกช่วยป้องกันโรคอะไรบ้าง
วัคซีนรวม 6 โรค วัคซีนเด็กทารกที่ปลอดภัย ไม่เจ็บตัวบ่อย ลดภาระค่าใช้จ่าย
องค์การอนามัยโลก(WHO) สนับสนุนให้พัฒนาวัคซีนเพื่อช่วยป้องกันโรคให้แก่เด็กตั้งแต่แรกเกิด แนะนำให้แต่ละประเทศดำเนินการให้วัคซีนป้องกันโรคอย่างทั่วถึง เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อให้มากที่สุด โดยสามารถพัฒนาวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูง ครอบคลุมโรคสำคัญ ถึง 6 โรค ไว้ในวัคซีนเพียงเข็มเดียว เพื่อลดภาระทั้งเวลา การเดินทางค่าใช้จ่ายในการฉีดวัคซีนหลายครั้งให้ลดลงได้ด้วย
วัคซีนรวม 6 โรคที่รวมเอาไว้ในเข็มเดียว ช่วยป้องกันการติดต่อโรคดังนี้
- โรคคอตีบ(Diphtheria)เป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจจากเชื้อแบคทีเรีย ติดต่อได้จากการไอ จาม สัมผัสกัน ก่อให้เกิดอาการอวัยวะในลำคอบวม หายใจลำบาก กล้ามเนื้ออักเสบ เป็นอันตรายต่อระบบหายใจ
- โรคบาดทะยัก(Tetanus) เป็นโรคติดต่อจากแผลติดเชื้อที่เป็นพิษต่อระบบประสาท เกิดอาการเกร็งกระตุกขากรรไกรแข็ง เจ็บปวดกล้ามเนื้อ เช่น แผลอักเสบจากสะดือเด็กที่ไม่สะอาด ทำให้ติดเชื้อบาดทะยักได้
- โรคโปลิโอ(Polio) เป็นโรคที่ติดต่อจากการกินหรือดื่มน้ำปนเปื้อนเชื้อโรค ก่อเกิดอาการแขนขาลีบ อ่อนแรง เป็นอัมพาต สมองอักเสบ หายใจไม่ได้ และเสียชีวิตได้
- โรคตับอักเสบบี(Hepatitis B) ติดต่อได้ง่ายจากแม่สู่ลูก หรือติดต่อจากเลือดและสิ่งคัดหลั่ง เด็กที่รับเชื้ออาจกลายเป็นพาหะแพร่สู่ผู้อื่นได้ด้วย ต้นเหตุของอาการตับแข็ง ตับวาย และมะเร็งตับได้
- โรคไอกรน(Pertussis) เป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจที่ติดต่อง่าย ก่ออาการหายใจติดขัด ไอเป็นชุดจนสำลัก ปอดบวม อาจมีอาการแทรกซ้อนทางสมอง ทำให้ชัก สมองพิการได้
- โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อฮิป (Hib)เป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจจากแบคทีเรียฮีโมฟิลัส อินฟลูเอนซ่า ชนิดบี หรือ เชื้อฮิป ซึ่งมีความรุนแรงถึงแก่ชีวิตได้
ข้อดีของการฉีดวัคซีนรวม 6 โรคในครั้งเดียวนั้น มีข้อดี ได้แก่
- กลัวน้อยลง เจ็บน้อยครั้งลง : จากการลดจำนวนครั้งของการฉีด ทำให้เด็กเกิดความกลัวน้อยลงเพราะเจ็บเพียงครั้งเดียวแต่ได้รับวัคซีนหลายชนิด
- ประหยัด : ลดภาระค่าใช้จ่ายของพ่อแม่ทั้งค่าวัคซีน ค่าเดินทางไปโรงพยาบาล ประหยัดเวลาผู้ปกครองด้วย
- ครอบคลุมหลายโรค : พ่อแม่มั่นใจได้ว่าลูกจะได้รับการปกป้องอย่างดีจากโรคหลายๆ โรคในคราวเดียว ไม่ต้องกังวลว่าจะลืมฉีดวัคซีนบางโรค หรือขาดตัวไหนไป
- ปลอดภัยมากขึ้น : รูปแบบของวัคซีนมีความปลอดภัยสูง ลดปัญหาการปนเปื้อนของยา และมีผลข้างเคียงน้อย
- ลดความเสี่ยงการมีไข้สูงหลังฉีด : วัคซีนรวม 6 โรค พัฒนาให้มีไข้น้อยลง หรือมีไข้เพียงเล็กน้อย 1-2 วันก็หายเป็นปกติ
- ลดความยุ่งยาก :ลดความสับสนของคุณพ่อคุณแม่ ในการรับวัคซีนหลายครั้ง
อย่างไรก็ดี หากเด็กมีอาการแพ้วัคซีน เช่น มีไข้สูง มีอาการชัก หรือหมดสติ ควรรีบพบแพทย์ให้เร็วที่สุด แต่ส่วนใหญ่มักไม่พบอาการแพ้ที่รุนแรงดังกล่าว เนื่องจากวัคซีนรวม 6 โรค มีความปลอดภัยสูง พบเพียงมีไข้เล็กน้อยเท่านั้น
การฉีดวัคซีนรวม 6 โรค สามารถฉีดในช่วงอายุ 2-4-6 เดือนเพื่อภูมิต้านทานที่ดี ทำให้ลูกรักมีการเจริญเติบโตสมวัย นำไปสู่การเสริมสร้างพัฒนาการที่ดีของลูกรัก
ทุกครั้งที่พาลูกทารกไปฉีดวัคซีน คุณพ่อคุณแม่มักกลัวผลข้างเคียงที่ทำให้ลูกเป็นไข้ ไม่สบายตัว ผลข้างเคียงของวัคซีนมีอะไรบ้างและต้องดูแลลูกอย่างไร เรามีคำแนะนำค่ะ
หลังพาลูกทารกไปฉีดวัคซีน ผลข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนมีอะไรบ้าง
อาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนให้ลููกทารก
- อย่าให้วัคซีนที่ทำให้ตัวร้อนได้พร้อมกัน เช่น วัคซีนรวมคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน พร้อมกับวัคซีนป้องกันไทฟอยด์
- เมื่อรับวัคซีนแล้วอาจมีอาการข้างเคียงบางอย่างเกิดขึ้นได้ ทั้งนี้เนื่องจากร่างกายมีปฏิกิริยาต่อวัคซีนซึ่งโดยทั่วไปจะมีอาการไม่มาก และจะหายไปเอง ตัวอย่างเช่น
- ตุ่มหนองมัก เกิดจากการฉีดวัคซีน BCG ที่ฉีดบริเวณไหล่ซ้ายตอนแรกคลอด พบหลังฉีดประมาณ 3 - 4 สัปดาห์ และตุ่มหนอง จะเป็นๆหายๆ ประมาณ 3 - 4 สัปดาห์ เหลือเป็นรอยแผลเป็นเล็กๆ การดูแลตุ่มหนองให้ใช้สำลีสะอาดชุบน้ำต้มสุกเช็ด ห้ามบ่งหนอง
- ปวด บวม แดง ร้อน บริเวณที่ฉีดเด็กอาจร้อง กวน งอแง ถ้าอาการมาก มารดาอาจให้ยาแก้ปวด และใช้ผ่าชุบน้ำเย็นประคบ
- ไข้ตัวร้อน มักเกิดหลังได้รับวัคซีนคอบตีบ บาดทะยัก ไอกรน ที่ฉีดตอนอายุ 2 , 4, 6 เดือน, 1ขวบครึ่ง และ 4 ขวบ มารดารควรเข็ดตัวลูกด้วยน้ำธรรมดา โดยเฉพาะบริเวณซอกคอ และข้อพับต่างๆ และอาจให้ยาลดไข้ พาราเซตามอล อาการจะเป็น 1 - 2 วัน และจะหายไปเอง
- มีไข้ ไอ มีน้ำมูก มีผื่น อาจพบหลังฉีดวัคซีนหัด หัดเยอรมัน คางทูม ประมาณ 1 สัปดาห์ โดยมากอาการมักไม่รุนแรง
- เนื่องจากอาการแพ้วัคซีนชนิดรุนแรงมักเกิดขึ้นไม่นานหลังการฉีด จึงควรแนะนำให้เฝ้าสังเกตอาการผิดปกติหรือฉีดวัคซีนทุกชนิดประมาณ 15-30 นาที ขณะยังอยู่ในโรงพยาบาล
- อาการแพ้วัคซีนหรือแพ้ส่วนประกอบของวัคซีนสามารถพบได้ในวัคซีนทุกชนิด หากเป็นแค่เพียงผื่นเล็กน้อยก็ไม่มีอะไรน่ากังวลนัก แต่หากลักษณะที่เกิดขึ้นเป็นผื่นลมพิษ มีอาการหน้าบวมปากบวม หายใจลำบาก หรือความดันโลหิตต่ำลง ถือเป็นอาการข้างเคียงสำคัญ ซึ่งหากอาการเหล่านี้เกิดขึ้น อาจพิจารณางดการฉีดวัคซีนชนิดนั้นในครั้งต่อไป และควรบันทึกไว้ในหลักฐานทางการแพทย์และสมุดวัคซีนให้ชัดเจน
ให้ลูกกินยาลดไข้ ดักไข้ก่อนไปฉัคซีนได้ไหม
ความเข้าใจที่ว่า ให้ลูกกินยาลดไข้ กินยาดักไข้ก่อนพาลูกไปฉีดวัคซีน เป็นความเข้าใจที่ผิดนะคะ เพราะไม่ได้ช่วยให้ลดอาการข้างเคียงหรืออาการแพ้วัคซีนได้ค่ะ อีกทั้งจะเป็นการทำให้ลูกรับยาโดยไม่จำเป็นด้วย
เทคนิคพาลูกไปฉีดวัคซีน
- ถ้าเด็กโตพอพูดรู้เรื่องก็ควรคุยกันก่อน หรืออาจเล่าเป็นนิทานเรื่องลูกหมีไปหาหมอ ฉีดยาให้แข็งแรงจะได้ไม่ป่วย
- ห้ามบอกลูกเด็ดขาดว่าถ้าดื้อจะให้หมอฉีดยา เพราะไม่อย่างนั้นแค่เจอหน้าหมอ ยังไม่ทันเห็นเข็มก็คงร้องไห้จ้าแล้วล่ะ
- อาจจะลองทำความคุ้นเคย เช่น เอากระบอกฉีดยาของเล่นมาลองฉีดยิงน้ำ พ่นระบายสี เป็นต้น
- พอจะฉีดยาของจริงก็ร้องเพลงหลอก คุยหลอก ได้จังหวะก็ฉีดปั๊บเข้าไปเลย วิธีนี้น่าจะได้ผลค่ะ เพราะบ่อยครั้งที่เด็กๆถูกล่อหลอกจนลืมร้องไห้
- เมื่อฉีดเสร็จแล้วก็ปรบมือเป็นกำลังใจให้คนเก่งหน่อย
คำแนะนำในการมารับวัคซีนครั้งต่อไป
- ในวันนัด ถ้าเด็กเป็นไข้ไม่สบาย ควรให้เด็กหายดีก่อนหลังจากนั้น 1 สัปดาห์จึงพามารับวัคซีน
- ในกรณีที่ไม่สามารถมาตามนัดได้ ท่านสามารถพามารับวัคซีนเพื่อกระตุ้นให้ครบไม่ว่าจะเว้นไว้ไปนานเท่าใดได้โดยไม่ต้องเริ่มต้นใหม่ แต่ไม่ควรพามาก่อนนัดเนื่องจากระยะห่างระหว่างการกระตุ้นของวัคซีนที่สั้นเกินไปจะมีผลให้ภูมิต้านทานโรคขึ้นน้อยกว่าปกติ
- ถ้าเด็กเคยมีประวัติแพ้ยา แพ้ไข่ไก่ หรือเคยมีอาการผิดปกติรุนแรงหลังได้รับวัคซีน เช่น ชัก ผื่น ลมพิษไข้สูงมาก ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนได้รับวัคซีนครั้งต่อไป

เตรียมพร้อมรับมือ 5 โรคยอดฮิตในโรงเรียน เปิดเทอมมั่นใจ
ใกล้เปิดเทอมทีไร คุณพ่อคุณแม่ใจเต้นแรงทุกที เพราะต้องลุ้นว่าลูกจะสนุกกับการเล่นกับเพื่อนและพร้อมเรียนรู้มากแค่ไหน และยังต้องลุ้นว่าลูกจะไม่สบายจากโรคติดต่อของเด็กที่พบบ่อยในช่วงเปิดเทอมหรือเปล่า แต่คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องเป็นกังวลไปค่ะ เพราะเราสามารถเตรียมความพร้อมให้ลูกแข็งแรง มีภูมิต้านทาน พร้อมลุยทุกสถานการณ์และพร้อมกลับไปสนุกที่โรงเรียนได้ค่ะ

5 โรคยอดฮิตที่มักระบาดในโรงเรียน
- อีสุกอีใส -เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ (Varicella-Zoster Virus) ติดต่อโดยการหายใจเอาฝอยละอองจากทางเดินหายใจของผู้ป่วยเข้าไป หรือจากการสัมผัสโดยตรงกับตุ่มน้ำที่ผิวหนังของผู้ป่วยที่อยู่ในระยะแพร่เชื้อ
- ท้องร่วง ท้องเสีย– เกิดจากไวรัสโรต้า ติดต่อจากการได้รับเชื้อเข้าสู่ปากโดยตรง เช่น เชื้อปนเปื้อนมากับมือ สิ่งของ เครื่องใช้ หรือของเล่นต่าง ๆ รวมทั้งอาหารและน้ำ
- ไข้หวัดใหญ่ - เกิดจากการติดเชื้ออินฟลูเอนซาไวรัส(Influenza Virus) ซึ่งอยู่ในน้ำมูก น้ำลาย และติดต่อผ่านการไอ จาม หรือการหายใจรดกัน
- โรคมือเท้าปาก – เกิดจากเชื้อไวรัส Enterovirus 71 (EV71) ผ่านทางระบบทางเดินอาหารและระบบหายใจ เช่น อาหารปนเปื้อนเชื้อโรค ของเล่นปนเปื้อนเชื้อโรค หรือติดต่อผ่านการไอ จาม เป็นต้น
- โรคRSV – เกิดจากการรับเชื้อไวรัส RSV ผ่านทางสารคัดหลั่งต่าง ๆ เช่น น้ำลาย น้ำมูก ไอ จาม เป็นต้น ทำให้เกิดการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ
สิ่งสำคัญที่สุดที่จะช่วยเตรียมความพร้อมให้ลูกสู้กับ 5 โรคนี้ได้ คือ การเสริมภูมิต้านทานในทุก ๆ ด้าน และพ่อแม่มืออาชีพอย่างเรานี่ล่ะค่ะ ที่จะต้องหาวิธีเสริมภูมิต้านทานให้ลูก โดยเฉพาะการรักษาความสะอาดอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ลูกรู้จักป้องกันตัวเองจากโรคต่าง ๆ พร้อมเสริมภูมิต้านทานให้แข็งแรงเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ

5 วิธีเสริมภูมิต้านทานแข็งแรงให้ลูกพร้อมรับเปิดเทอม
- รับวัคซีนที่จำเป็นสำหรับเด็กในแต่ละช่วงวัย - ลูกๆ วัยเรียนยังต้องได้รับวัคซีนตามช่วงวัย ตามคำแนะนำของแพทย์นะคะ การให้ลูกได้รับวัคซีนครบถ้วนเป็นหนึ่งในการเสริมเกราะภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ช่วยลดความรุนแรงของอาการหากเกิดการติดเชื้อ และลดโอกาสการแพร่ระบาดของเชื้อในโรงเรียนอีกด้วย
- สอนเรื่องความสะอาด - เรื่องนี้สำคัญค่ะ เพราะเวลาไปโรงเรียนเด็กๆ มักมีการสัมผัสของเล่น หรือสิ่งของที่ใช้ร่วมกันเป็นจำนวนมาก เป็นการเพิ่มโอกาสการระบาดของเชื้อโรคต่างๆในโรงเรียนได้ง่ายขึ้น เรื่องของการรักษาสุขอนามัยสามารถฝึกได้ตั้งแต่ที่บ้าน เช่น ล้างมือหลังเล่นเสร็จ ล้างมือก่อนทานอาหาร หมั่นนำของเล่น ของใช้มาทำความสะอาด ฝึกสวมใส่หน้ากากอนามัยในที่สาธารณะ คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสอนให้ลูกปฏิบัติเป็นประจำ ลูกจะจดจำและสามารถทำได้เองทั้งในบ้านและในโรงเรียน
- กินอาหารที่ถูกสุขลักษณะ ปรุงสุก สะอาด หลากหลายครบ5 หมู่ ให้เด็กได้รับสารอาหารและโภชนาการที่เหมาะสมตามช่วงวัย โดยเด็กๆ สามารถเสริมด้วยนมวันละ 2-3 แก้ว ซึ่งปัจจุบันมีนมเสริมสารอาหารเป็นตัวเลือกเพื่อช่วยเพิ่มโภชนาการให้เพียงพอกับความต้องการของเด็ก รวมถึงการเสริมวิตามินซี และใยอาหารพรีไบโอติก เช่น กอสแอลซีฟอส ที่มีส่วนช่วยเสริมภูมิต้านทานอีกด้วย
- จัดเตรียมตัวช่วยต่าง ๆ ใส่กระเป๋า – ไม่ว่าจะเป็นหน้ากากอนามัย หรือผ้าเช็ดหน้า เพื่อให้ลูกหยิบขึ้นมาใช้ได้ทันที เช่น เมื่ออยู่ใกล้เพื่อนเป็นหวัด หรือมีอาการไอ จาม เป็นต้น
- พักผ่อนให้เพียงพอและออกกำลังกายเป็นประจำ - ลูกควรได้นอนหลับสนิทเฉลี่ย 10 ชั่วโมง/วัน และให้เด็กวิ่งเล่น ออกกำลังกายอย่างน้อย 1 ชั่วโมง/วัน จะช่วยให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเติบโตได้อย่างสมวัย
หากทำเป็นประจำทุกวัน ลูก ๆ ก็จะมีภูมิต้านทานที่ดี มีร่างกายแข็งแรงพร้อมออกไปเล่น ไปลุย กับเพื่อน ๆ ได้ไม่กลัวป่วย พร้อมทั้งเสริมระบบประสาทและสมอง พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ๆในโรงเรียน ต่อยอดสู่ความคิดสร้างสรรค์ การคิดวิเคราะห์ รวมถึงทักษะสำคัญต่อการใช้ชีวิตในอนาคตค่ะ

อีกหนึ่งตัวช่วยดีๆ ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถเลือกเสริมภูมิต้านทานให้กับลูกได้ คือนมเสริมสารอาหารไฮคิว ยูเอชที ที่มีสารอาหารเพื่อเสริมภูมิต้านทานให้ลูกรับเปิดเทอมอย่างมั่นใจ และช่วยเสริมสมองพร้อมเรียนรู้
√
🧠 มีDHA, Omega 3,6,9 และวิตามินบี 12 สูง มีส่วนช่วยในการทำงานตามปกติของระบบประสาทและสมอง
√
🛡️ มีใยอาหารพรีไบโอติก GOS/lcFOS วิตามินซีสูง และ วิตามินบี 12 สูง มีส่วนช่วยในการทำหน้าที่ตามปกติของระบบภูมิคุ้มกัน
√
🦷 มีวิตามินดีสูง แคลเซียมสูง มีส่วนช่วยในกระบวนการสร้างกระดูกและฟันที่แข็งแรง
√
ผลิตจากนมโคแท้ รสชาติอร่อย 😋
√
และควรกินอาหารหลากหลายครบ 5 หมู่ในสัดส่วนที่เหมาะสมเป็นประจำ

ลูกท้องร่วงไม่ใช่แค่จากไวรัสโรต้านะคะ แต่ยังมีเชื้อซาลโมเนลลา ที่อันตรายไม่แพ้กัน และรุนแรงจนทำให้เด็กๆ ต้องแอดมิทด้วย
แม่เตือน! ลูกน้อยติดเชื้อซาลโมเนลลา มีไข้สูง ถ่ายเหลว อันตรายจนต้องแอดมิท
การรักษาความสะอาดร่างกายและของใช้ทุกอย่างของลูก นับเป็นเรื่องสำคัญมากที่พ่อแม่ต้องใส่ใจ เพราะเชื้อโรคมากมายอยู่รอบตัวลูก ที่เรามองไม่สามารถเห็นได้ ยิ่งลูกน้อยที่มีภูมิคุ้มกันน้อย ก็จะยิ่งป่วยได้ง่ายมากขึ้น ดังเช่นคุณแม่จากเพจ แม่มาเม้าท์ ที่ได้เล่าเรื่องราวของลูกสาววัย 11 เดือน ที่ป่วยติดเชื้อ "ซาลโมเนลลา" ให้เป็นเรื่องราวเตือนใจทุกครอบครัว
คุณแม่โพสต์ดังนี้...
" บอกเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับลูกสาวแม่ กับโรคอุจจาระร่วงจากเชื้อซานโมเนลลา หรือจะอ่านว่าซัลโมเนลลาก็ได้ โดยเชื้อโรคนี้จะเกิดกับเด็กเล็กตั้งแต่ 0-15 ปี ใช่ค่ะ น้องเจอแปนโดนแจ็คพอตนี้เข้าไปเต็ม ๆ น้องถูกเลือกให้ติดเชื้อนี้ตั้งแต่อายุ 11 เดือน ไม่สิ แม่หยิบยื่นเชื้อไวรัสนี้ให้น้องเอง เดี๋ยวแม่จะบอกนะว่าน้องนี้ได้รับเชื้อไวรัสนี้ได้อย่างไร เพราะตั้งแต่เกิดมาน้องแข็งแรง ไม่เคยเจ็บป่วย และนี่เป็นครั้งแรกหนักหนาเหลือเกิน จนต้องแอดมิทที่โรงพยาบาลถึง 4 วัน 3 คืน
อาการเริ่มต้น (วันศุกร์)
เริ่มตัวร้อนมีไข้ ไข้จะขึ้น ๆ ลง ๆ แต่ยังเล่นได้ กินได้ปกติ แค่ซึม ๆ นิดหน่อย และติดแม่มาก ไม่ค่อยเอาใคร วันแรกที่มีไข้ เมื่อแม่พาน้องไปหาหมอ หมอวัดไข้ได้ 39.6 องศา ตัวร้อนมาก น้องซึม ๆ พยาบาลพาไปเช็ดตัว เช็ด ๆ ถู ๆ แรงมาก มันเป็นวิธีที่จะทำให้ไข้ลด ขยี้หัว ขยี้หลัง ทั้งตัว จนไข้ลดเหลือ 37 องศากว่า หลังจากนั้นเข้าพบหมอเพื่อประเมิณอาการเบื้องต้น หมอให้ยาลดไข้ และให้เช็ดตัวบ่อย ๆ และกลับมาดูอาการที่บ้าน
อาการคืนแรก (คืนวันศุกร์-เช้าวันเสาร์)
มีไข้ขึ้น ๆ ลง ๆ แต่เมื่อประมาณตีสาม ไข้ขึ้นสูงมาก แม่เช็ดตัวให้แทบจะทุกชั่วโมงเลย อาการเริ่มออก น้องท้องเสียถ่ายประมาณ 3 รอบ อุจจาระมีกากอาหารมีน้ำเยอะมาก 2 รอบแรกเต็มแผ่นผ้าอ้อมสำเร็จรูป ส่วนรอบ 3 เริ่มมีน้ำจนน่ากังวล จึงตัดสินใจพาโรงพยาบาลอีกครั้ง น้องร้องไห้หนักมาก เริ่มงอแงไม่ค่อยเอาใคร วัดไข้ วัดชีพจรก็ร้องไห้ วันนั้นจึงตัดสินใจแอดมิท
วันแรกที่แอดมิท (เช้าวันเสาร์-คืนวันเสาร์)
วัดไข้ วัดชีพจร เจาะเลือดพร้อมกับดูดเลือดออกไปตรวจถึง 3 หลอด แล้วเปลี่ยนเป็นสายให้น้ำเกลือ น้ำเกลือขวดแรกเริ่มขึ้น น้องซึม ๆ อยู่ เล่นแฟลชการ์ดได้ แต่กินข้าวได้น้อยมาก หลังจากนั้นก็แปะที่เก็บปัสสาวะ และตักอุจจาระไปตรวจ วันนี้ยังมีไข้ตัวร้อนอยู่ตลอด พยาบาลเข้ามาวัดไข้แทบจะทุกชั่วโมง เพราะไข้ขึ้นสูงถึง 40 องศากว่า เช็ดตัว ให้ยาลดไข้ ดีขึ้นมาหน่อย เป็นแบบนี้จนถึงเช้า น้องไม่ค่อยงอแงจะมีร้องไห้ โวยวายตอนมาวัดไข้ และก็เช็ดตัว (มียาหลังอาหาร 3 มื้อ เป็นยากลุ่มฆ่าเชื้อประมาณ 4 ตัว)
วันรุ่งขึ้น (เช้าวันอาทิตย์-คืนวันอาทิตย์)
อาการยังทรง ๆ หมดน้ำเกลือขวดแรกไปเติมขวดที่สองต่อ วันนี้ถ่ายประมาณ 6 ครั้ง (อุจจาระมีสีเขียวเข้ม ๆ มีมูกด้วย มูกใส ๆ ยืด ๆ บางรายมีมูกและมีเหลือ นี่ถือว่าเบาหน่อย) น้องทานอาหารในแต่ล่ะมื้อได้น้อย มื้อล่ะ 5 คำ ทานนมได้ 3 มื้อ มื้อล่ะ 3-4 ออนซ์เป็นนมสูตรใหม่ที่ทางโรงพยาบาลปรับให้สำหรับน้องที่ยังท้องเสียอยู่ วันนี้ก็เช่นกันที่มีไข้สูง 39-40 องศา แม่รู้ว่าเค้าปวดท้อง เพราะแม่เอาเค้ามานอนบนตัวเค้าจะอ้อน ๆ หน่อย คือเค้าจะเกร็งท้อง เหมือนกันคนที่แขม่วพุงขึ้นลงอยู่แบบนั้น แค่ตด อุจจาระก็เล็ดออกมาแล้ว ผลการเพาะเชื้อออกแล้ว หมอว่าน้องติดเชื้อในลำไส้ และกระเพาะอาหาร เป็นเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อ ซาลโมเนลลา หมออธิบายตัวเชื้อและสาเหตุไปเบื้องต้น เดี๋ยวแม่จะอธิบายอีกทีว่ามาได้อย่างไร
วันถัดมา วันแม่แห่งชาติ เช็คอินโรงพยาบาลช่วงเวลาดี ๆ ที่วันนี้อาการเริ่มดีขึ้นแล้ว (เช้าวันจันทร์-คืนวันจันทร์)
อาการเริ่มดีขึ้นแล้วค่ะ ไข้ลงมา 36 37 ร่าเริงแล้ว แต่ก็ยังท้องเสียอยู่ ถ่ายมา 5-6 ครั้ง วันนี้น้องทานได้เยอะขึ้น อาหารยังอ่อนอยู่
วันนี้หนูพร้อมกลับบ้านแล้ว พอแล้วโรงพยาบาล (เช้าวันอังคาร)
ก่อนกลับบ้านวันนี้ มีหมอมาตรวจประเมิณอาการดูว่ากลับบ้านได้แล้ว แต่ยังคงต้องกินยาฆ่าเชื้ออยู่ เพราะเชื้อจะอยู่ในร่างกายราว ๆ 1 สัปดาห์ วันนี้มีการเก็บอุจจาระอีกครั้งเพื่อไปเพาะเชื้อ แต่ช่วงที่เก็บน้องยังไม่ถ่ายท้อง พยาบาลใช้ไม้ที่หุ้มสำลี คัตเติลบัตนั่นแหละแต่ไม้จะยาว ๆ และหัวใหญ่อยู่ แหย่เข้าไปในรูทวารน้อง น้องนอนนิ่งไม่ร้องเลย ทำเอาแม่ใจหายใจคว่ำ

สาเหตุของอาการป่วย เด็กท้องเสีย ท้องร่วง
ด้วยความที่แม่อยู่กับน้องแทบจะ 24 ชั่วโมง เลยรู้กิจวัตรประจำวัน ทำไรมา กินอะไรเข้าไป โดยวันก่อนที่จะมีไข้ แม่พาน้องไปทานอาหารนอกบ้าน แล้วด้วยความเสียดายเงินสิบบาทยี่สิบบาท แม่หยิบน้ำขวดหลังรถให้น้องทาน จริง ๆ น้องมีน้ำขวดต้มสุกส่วนตัวแต่แม่ไม่ได้หยิบลงไป ตอนหยิบก็เอะใจ ไม่เป็นไรหรอก เพราะปกติก็เคยทานได้อยู่ แจ็คพอตแตกเลย นั้นแหละเป็นสาเหตุ เพราะน้ำที่อยู่ในรถและตากแดดเป็นเวลานาน เป็นแหล่งเพาะเชื้อดี ๆ นี่เองซึ่งก็ไม่รู้ว่าอยู่ในรถนานแค่ไหนแล้ว ส่วนสาเหตุอื่น ๆ ก็มาจากน้ำดิบ น้ำที่ไม่ได้ต้มสุก น้ำแข็ง การหยิบจับของเล่นเข้าปาก เอามือเข้าไป ตัวนี้ก็มีส่วนเช่นกัน อาหารไม่สุกก็ด้วยนะ ที่หมอเค้าบอกมาค่ะ
การป้องกันก็ต้องดูแลความสะอาดมือเป็นพิเศษหน่อย หมั่นล้างมือบ่อย ๆ เช็ดข้าวของ ของเล่นด้วยแอลกอฮอล์ลหรือน้ำยาฆ่าเชื้อ ตอนนี้ก็เลี่ยงการดื่มน้ำจากขวด ให้กินน้ำต้มสุกแล้ว แม่พลาดเองจริง ๆ ช่วงกลับมาจากโรงพยาบาลก็กินยากลุ่มฆ่าเชื้อวันละ 5 ครั้ง กินต่อเนื่องจนยาหมด ประมาณ 10 วันนับจากวันที่เป็น น้องมีเรียนว่ายน้ำก็ต้องหยุดไปก่อน เพราะยังท้องเสียอยู่ ไม่ควรนำเชื้อโรคไม่แพร่ไปสระ อันนี้กาดอกจันทน์ไว้เลยนะ ถ้าเด็กท้องเสียอย่าพาลงสระ เพราะจะแพร่เชื้อโรคให้คนอื่นได้ แม่ต้องให้น้องหยุดไปเทมอนึงก่อน แล้วค่อยไปเรียนใหม่ กลับมาบ้านครั้งนี้ก็ดูแลรักษาความสะอาดมากขึ้นกว่าเดิม น้องเริ่มทานอาหารได้เยอะเหมือนเดิม แต่ยังคงงดผักผลไม้ ขับถ่ายดีขึ้นไม่มีมูกแล้ว เริ่มมีชื้นเนื้อ ๆ บ้าง แต่ยังไม่ปกติ
ขอบคุณที่ติดตามนะคะ เรื่องราวของหนูจะเป็นประโยชน์สำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองไม่มากก็น้อยนะคะ "
จากกรณีของคุรแม่ เรามารู้จักโรคติดเชื่อ Salmonella Infection หรือ โรคติดเชื้อซาลโมเนลลา หรือโรคซาลโมเนลโลสิส กันค่ะ
โรคติดเชื้อซาลโมเนลลา เป็นโรคติดเชื้อจากแบคทีเรียซาลโมเนลลา มักเกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนอุจจาระที่มีเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเป็นไข้ ถ่ายเหลว หรืออาเจียน โดยอาการอาจปรากฏอยู่นาน 8-72 ชั่วโมง ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่สุขภาพแข็งแรงอาจมีอาการดีขึ้นเองภายใน 2-3 วันโดยไม่จำเป็นต้องรับการรักษา ทั้งนี้ ผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีอาการใด ๆ เกิดขึ้น
อาการของโรคติดเชื้อซาลโมเนลลา
การติดเชื้อแบคทีเรียซาลโมเนลลา อาจใช้เวลานานหลายชั่วโมงจนถึง 2 วัน จึงจะปราฏอาการของโรค อาการดังนี้
- ปวดท้อง
- ท้องเสีย โดยอุจจาระอาจมีเลือดปน
- อาเจียน
- ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ
- เป็นไข้ หนาวสั่น
- เบื่ออาหาร
โดยปกติแล้วอาการของซาลโมเนลลา จะคงอยู่ประมาณ 2-7 วัน ส่วนอาการท้องเสียอาจคงอยู่ประมาณ 10 วัน ซึ่งอาจอาจต้องใช้เวลาหลายเดือนจนกว่าลำไส้จะกลับมาทำงานปกติ หรือ หากยังมีอาการผิดปกตินานเกิน 7 วัน ควรไปพบแพทย์อีกซ้ำ
นอกจากนี้ หากผู้ติดเชื้อเป็นเด็กที่ภูมิคุ้มกันบกพร่อง แล้วมีอาการอุจจาระเป็นเลือด มีไข้สูง หรือมีภาวะขาดน้ำ เกิดขึ้นนานกว่า 2-3 วัน ควรไปพบแพทย์ซ้ำเช่นเดียวกัน
โรต้าไวรัส เชื้อโรคตัวดีที่ทำใเด็ก ๆ ท้องร่วงและแอดมิดปีละหลายพันคนค่ะ ไวรัสโรต้าคืออะไร พ่อแม่จะป้องกันไม่ให้ลูกติดเชื้อโรต้าได้อย่างไร นพ.พรเทพ สวนดอก กุมารแพทย์สาขาโรคติดเชื้อ โรงพยาบาลกรุงเทพ มีคำแนะนำค่ะ
ไวรัสโรต้า (Rota Virus) คืออะไร
ไวรัสโรต้า (Rota Virus) เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่มีหลายสายพันธุ์ โดยเชื้อไวรัสโรต้ามีอยู่รอบตัวตลอดปี แต่จะสังเกตได้ว่าเด็กเล็กจะได้รับเชื้อมากจนแอดมิดเข้าโรงพยาบาลในช่วงปลายฝนต้นหนาว ซึ่งเป็นช่วงที่เชื้อไวรัสมีการแพร่กระจายมากกว่าปกติ
ไวรัสโรต้าติดสู่เด็กเล็กได้อย่างไร
- ไวรัสโรต้าติดจากการสัมผัสรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายทางการสัมผัส การเอาของสกปรกที่อาจมีเชื้อเข้าปาก
- การสัมผัสของเล่น ของใช้ หรือ ใช้ของร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ที่อาจมีเชื้อไวรัสโรต้าอยู่ก่อนแล้ว
- อุจจาระของผู้ป่วยท้องร่วงจากไวรัสโรต้า อาจเป็นแหล่งแพร่เชื้อมายังของใช้ได้
อาการเมื่อติดไวรัสโรต้า
- หลังได้รับเชื้อแล้วประมาณ 2-3 วัน เด็กเล็กจะถ่ายแหลวเป็นน้ำ บางคนมีอาการรุนแรงถึงขั้นถ่ายเป็นมูกเลือด
- มีไข้ อ่อนเพลีย ร่างกายขาดน้ำ
- บางคนมีอาการอาเจียน หรือ ปวดท้องร่วมด้วย

การรักษาท้องร่วงจากไวรัสโรต้า
- เด็กเล็กที่ติดไวรัสโรต้ามักรุนแรงมาก จะต้องได้รับน้ำเกลือแร่ ซึ่งอาจจะใช้วิธีจิบน้อย ๆ บ่อย ๆ หรือ อาจให้ผ่านทางสายน้ำเกลือ เพื่อลดอาการอ่อนเพลียจากการถ่ายเหลว
- หากมีไข้ อาจได้รับยาลดไข้ควบคู่กันไปด้วย
การป้องกันไวรัสโรต้า
- ก่อนและหลังทานอาหารรวมถึงหลังเข้าห้องน้ำต้องล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง
- ทานอาหารปรุงสุก สดใหม่
- ดื่มน้ำสะอาด
- ไม่ใช้อุปกรณ์การทานอาหารร่วมกับผู้อื่น
- ถ้าเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกต้องล้างมือทุกครั้ง
- หมั่นทำความสะอาดของเล่นอยู่เสมอ
- เลี่ยงการสัมผัสกับผู้ที่มีอาการท้องเสีย
วัคซีนโรต้าป้องกันท้องร่วง
ปัจจุบันวัคซีนโรต้าเป็นวัคซีนเสริม ที่ยังไม่ใช่วัคซีนพื้นฐานที่เด็กไทยทุกคนต้องได้รับ วัคซีนเป็นวัคซีนเด็กชนิดหยอดทางปาก โดยอาจหยอดต่อเนื่อง 2-3 ครั้ง ขึ้นอยู่กับยี่ห้อของวัคซีน
- วัคซีนโรต้าชนิดหยอด 2 ครั้ง ควรหยอดเมื่ออายุ 2 และ 4 เดือน
- วัคซีนโรต้าชนิดหยอด 3 ครั้ง ควรหยอดเมื่ออาย 2 4 แลพ 6 เดือน
*การหยอดวัคซีนโรต้าครั้งสุดท้ายไม่ควรอายุเกิน 8 เดือน
ราคาวัคซีนโรต้า
เนื่องจากวัคซีนโรต้าเป็นวัคซีนเสริมจึงมีราคาค่อนข้างสูง ราคาวัคซีนจะเป็นแพ็กเกจ (แบบหยอด 2 ครั้ง หรือ 3 ครั้ง) เฉลี่ยแล้วราคาจะอยู่ประมาณ 2,000-3,000 บาท ขึ้นอยู่กับสถานพยาบาล (รัฐบาลหรือเอกชน) ดังนั้นก่อนพาลูกไปฉีดวัคซีนโรต้า จะต้องสอบถามราคาให้แน่ใจก่อนทุกครั้ง
รักลูก Community of The Experts
นพ.พรเทพ สวนดอก
กุมารแพทย์สาขาโรคติดเชื้อ โรงพยาบาลกรุงเทพ