10 วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อลูกมีไข้ ตัวร้อน
คุณพ่อคุณแม่รู้ไหมคะว่าลูกเป็นไข้ ลูกตัวร้อน ลูกไม่สบาย ลูกเป็นหวัดได้ทุกฤดู เพราะเชื้อโรคมีอยู่ในทุกที่ ขึ้นอยู่กับว่าภูมิคุ้มกันในร่างกายลูกจะอ่อนแอเมื่อไหร่ เจ้าเชื้อโรค หรือไข้หวัดก็ทำให้ป่วยได้เสมอ และเมื่อลูกเป็นไข้ ลูกตัวร้อน ลูกไม่สบาย ลูกเป็นหวัดเป็นสาเหตุของพัฒนาการเด็กที่ไม่สมวัยได้เช่นกัน ดังนั้นเมื่อลูกเป็นไข้ ลูกตัวร้อน ลูกไม่สบาย ลูกเป็นหวัด คุณแม่ควรดูแลแบบนี้ค่ะ
วิธีสังเกตว่าอาการแบบนี้ที่เรียกว่าลูกเป็นไข้ ลูกตัวร้อน
ลูกไม่สบายเพื่อลดไข้ให้ลูก โดยปกติแล้วอุณหภูมิร่างกายของเราจะอยู่ที่ประมาณ 37 องศาเซลเซียส แต่เมื่อไม่สบาย เป็นไข้ หรือตัวร้อน อุณหภูมิในร่างกายก็จะสูงขึ้นเพราะร่างกายจะต้องต่อสู้กับเชื้อโรคที่อยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งถ้าอุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียสจะถือว่ามีอาการไข้ ตัวร้อน คุณแม่จึงควรมีปรอทวัดไข้สำหรับเด็กประจำบ้านไว้ด้วย และเมื่อลูกมีไข้ เป็นไข้ ตัวร้อน จะได้รีบดูแลกันได้ทันค่ะ
วิธีลดไข้ ลดอาการตัวร้อน ดูแลเมื่อลูกเป็นไข้
-
ให้ลูกพักผ่อนให้เพียงพอ เพราะระหว่างที่นอนหลับร่างกายจะนำสารอาหารต่างๆ ไปซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ขับของเสียออกจากอวัยวะต่างๆ เพิ่มระบบภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย และฟื้นฟูพลังงาน ทำให้อาการเป็นไข้ ตัวร้อนลดลงและหายไข้ได้ไวขึ้น
-
อยู่ในห้องที่อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่อับหรือร้อนเกินไป ช่วงที่ลูกเป็นไข้ ลูกตัวร้อน ลูกไม่สบาย เขาจะไม่สบายตัว รวมถึงการหายใจที่ไม่ค่อยสะดวก เพราะมีความร้อนออกมาจากลมหายใจด้วย ดังนั้นคุณแม่ควรให้ลูกนอนในที่อากาศถ่ายเทสะดวกเพื่อช่วยให้ลูกรู้สึกสดชื่น ผ่อนคลาย และห้องโปร่งๆ ยังช่วยไม่ให้เกิดการสะสมของเชื้อโรคเพิ่มเติมด้วย
-
หากลูกมีไข้สูงให้ปฐมพยาบาลด้วยการเช็ดตัวลูก ลองเช็ดตัวลดไข้ ลดตัวร้อนให้ลูกด้วยการผสมน้ำอุ่นกับน้ำมะนาว แล้วใช้ผ้าเช็ดตัวผืนเล็กหรือผ้าอ้อมผืนนุ่มๆ มาชุบน้ำ บิดหมาด เช็ดถูตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น หน้าผาก ซอกคอ รักแร้ ขาหนีบ และข้อพับต่างๆ เพื่อช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตที่ผิวหนัง และช่วยลดไข้ ลดอาการตัวร้อน
-
พยายามให้ลูกดื่มน้ำเยอะๆ เพราะน้ำจะช่วยควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย และยังช่วยกระตุ้นให้เซลล์ผิวหนังชุ่มชื่นด้วย
-
ให้ลูกกินยาลดไข้ Paracetamol เมื่อลูกเป็นไข้ ลูกตัวร้อนสูงเกิน 37.5 องศาเซลเซียส ไม่สบายตัว หรือปวดตัว ให้เลือกยาลดไข้สำหรับเด็กที่มีส่วนผสมของพาราเซตามอล ซึ่งเป็นตัวยาที่เหมาะสำหรับการลดไข้เด็กมากที่สุด
-
ใส่เสื้อผ้าบางๆ เพื่อระบายความร้อน
-
ไม่ควรให้ไปโรงเรียน เพราะอาจได้รับเชื้ออื่นเพิ่ม
-
สังเกตอาการว่าลูกขาดน้ำหรือไม่
-
กินอาหารเหลว หรืออาหารอ่อนๆ
-
ถ้าลูกยังมีอาการตัวร้อน หรือมีไข้ต่อเนื่อง 2-3 วัน คุณแม่รีบพาลูกไปหาหมอ
เคล็ดลับให้ลูกกินยาลดไข้สำหรับเด็กเพื่อลดอาการไข้และตัวร้อน
สำหรับลูกที่ไม่ชอบกินยา กินยายาก คุณแม่ลองเลือกยาลดไข้สำหรับเด็กชนิดน้ำ ยาลดไข้สำหรับเด็กกลิ่นผลไม้หอมหวาน จะช่วยให้ลูกกินยาลดไข้ง่ายขึ้นค่ะ ควรให้ลูกกินยาลดไข้สำหรับเด็กในปริมาณและระยะเวลาที่กำหนด โดยคำนวณจากน้ำหนักตัวของเด็กหรืออายุเป็นหลัก คือกินยาลดไข้ 10-15 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม และกินทุก 4-6 ชั่วโมงค่ะ
คุณพ่อคุณแม่ลงมือทำได้เองเบื้องต้น ทั้งการสังเกตอุณหภูมิร่างกายการลดไข้ รวมถึงการใช้ยาลดไข้สำหรับเด็กที่ควรจะได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญค่ะ
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
5 วิธีลดไข้ให้ลูก ดูแลลูกตัวร้อนอย่างได้ผล
3 อุบัติเหตุที่เด็กจอมซนต้องโดน! พร้อมปฐมพยาบาลที่พ่อแม่ทำและสอนลูกได้
หกล้ม มีดบาด กระแทกฟกช้ำ 3 อุบัติเหตุที่ลูกเราเจอบ่อยมาก... จริงไหมคะ ยิ่งถ้าปล่อยให้ลูกเล่นและเรียนรู้แบบสุดพลังด้วยแล้วละก็ เราเลี่ยง 3 อุบัติเหตุนี้ได้ยากมากค่ะ และในฐานะพ่อแม่ เราก็เชื่อว่าการปล่อยให้ลูกได้ลงมือทำกิจกรรมต่างคือการเรียนรู้สำหรับเขา หากจะเกิดอุบัติเหตุบ้างก็เป็นเรื่องธรรมดาที่พ่อแม่จะต้องดูแลค่ะ
การปฐมพยาบาลแผลหกล้ม มีดบาด และรอยฟกช้ำจากการกระแทกมีขั้นตอนง่ายมาก ซึ่งคุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องรู้และทำได้ รวมทั้ง “จำเป็นต้องสอนลูก” ให้สามารถดูแล 3 แผลอุบัติเหตุนี้ได้ด้วยตัวเอง เพราะแผลเหล่านี้อาจเกิดได้ตลอดเวลาเมื่อลูกเล่นกับเพื่อน อยู่โรงเรียน หรือได้รับอุบัติเหตุในระหว่างที่พ่อแม่ไม่อยู่ด้วย เริ่มสอนเลยค่ะ!
การปฐมพยาบาลแผลหกล้ม

ขั้นตอนที่ 1 : ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด หรือน้ำเกลือเพื่อทำความสะอาดแผล
ขั้นตอนที่ 2 : ใช้สำลีแผ่น หรือ ก้านไม้พันสำลีชุบโพวิโดน-ไอโดดีนทาให้ทั่วเพื่อยับยั้งการติดเชื้อ
ขั้นตอนที่ 3 : ใช้พลาสเตอร์ปิดแผล เพื่อป้องกันเชื้อโรคและสิ่งสกปรกเข้าแผล
การปฐมพยาบาลแผลมีดบาด

ขั้นตอนที่ 1 : ล้างบาดแผลมีบาดด้วยน้ำสะอาด อาจใช้วิธีเปิดน้ำไหลผ่านบาดแผล โดยใช้นิ้วกดบาดแผลไว้ด้วยเพื่อห้ามเลือด
ขั้นตอนที่ 2 : ใช้สำลีชุบน้ำเกลือแผลให้สะอาดอีกรอบ
ขั้นตอนที่ 3 : ใช้สำลีแผ่น หรือ ก้านไม้พันสำลีชุบยาโพวิโดน-ไอโดดีนทาให้ทั่วเพื่อยับยั้งการติดเชื้อ จากนั้นใช้พลาสเตอร์ปิดแผลพันปิดให้แน่น โดยอาจเลือกพลาสเตอร์ปิดแผลแบบกันน้ำ
ขั้นตอนที่ 4 : ในกรณีที่แผลมีดบาดค่อนข้างยาว หรือ แผลลึกกว่าปกติ อาจเปลี่ยนมาใช้ผ้าก๊อซและเทปกาวติดแผลแทน หรือหากแผลลึกมากควรรีบพาลูกไปพบแพทย์เพราะอาจจะต้องเย็บแผล
การปฐมพยาบาลแผลฟกช้ำ (กรณีไม่มีแผลถลอก)

ขั้นตอนที่ 1 : ล้างผิวบริเวณที่เกิดการกระแทกและฟกช้ำให้สะอาด จากนั้นใช้เจลประคบเย็น หรือใช้น้ำแข็งห่อด้วยผมขนหนูสะอาดประคบบริเวณที่บวม แดง ฟกช้ำ ครั้งละ 2-5 นาที เป็นระยะๆ
ขั้นตอนที่ 2 : ใช้บาล์มลดหรือแก้อาการฟกช้ำทา โดยอาจทาเป็นวงกว้างออกนอกบริเวณฟกช้ำไปอีกเล็กน้อย
ขั้นตอนที่ 3 : รอยฟกช้ำไม่จำเป็นต้องใช้พลาสเตอร์ปิดแผล แต่หลังจากประคบเย็นไปแล้ว 24 ชั่วโมง ให้ประคบร้อนเพื่อลดอาการบวม โดยอาจใช้เจลประคบแช่ในน้ำร้อน หรือใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำร้อน บิดหมาดและนำมาประคบ จะช่วยให้รอยฟกช้ำหายไวขึ้น
ทั้ง 3 อุบัติเหตุและวิธีปฐมพยาบาลข้างต้นไม่ยากเลยนะคะ และคุณพ่อคุณแม่สามารถสอนให้ลูกทำเองได้เพื่อการดูแลตัวเองและช่วยเหลือเพื่อนๆ ได้เบื้องต้นค่ะ รวมถึงควรมีชุดปฐมพยาบาลติดบ้าน ติดรถ หรือติดตัวลูกเสมอเพื่อหยิบใช้ได้ตลอดเวลา
ขอขอบคุณข้อมูลจาก


ลูกช้ำง่าย ระวังโรคฮีโมฟีเลีย อันตรายกว่าที่คิด
โรคฮีโมฟีเลียเลือดออกง่าย หยุดยาก เป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด เป็นโรคที่พบไม่บ่อย โดยมากพบในเพศชาย
หากพบว่าบุตรหลานของท่านโดยเฉพาะในเด็กผู้ชาย มีภาวะเลือดออกง่ายหยุดยาก มีจ้ำเขียวตามตัวหรือแขนขา โดยเฉพาะมักมีเลือดออกในข้อและกล้ามเนื้อ นั่นอาจเป็นอาการและสัญญาณของโรคฮีโมฟีเลีย
ผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลีย จะมีโปรตีนตัวหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือดหายไปหรือมีไม่เพียงพอ โปรตีนเหล่านี้รู้จักกันในนาม แฟคเตอร์ (Factor) ซึ่งมีอยู่ในเลือดตามธรรมชาติ ร่างกายจะต้องอาศัยแฟคเตอร์ (Factor) เหล่านี้ในการทำให้เลือดแข็งตัว และช่วยรักษาแผลเมื่อร่างกายได้รับบาดเจ็บหรือสูญเสียเลือด นับเป็นความโชคดีที่ผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียสามารถดำเนินชีวิตด้วยความกระฉับ กระเฉง คล่องแคล่ว หากได้รับการรักษาที่เหมาะสมภายใต้การกำกับดูแลของแพทย์
โรคฮีโมฟีเลีย แบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ
- ฮีโมฟีเลีย เอ (หรือ classical hemophilia) มีแฟคเตอร์ 8 (factor VIII) ในปริมาณที่ไม่เพียงพอหรือขาดแฟคเตอร์ 8 (Factor VIII)
- ฮีโมฟีเลีย บี (หรือ Christmas disease) มีแฟคเตอร์ 9 (factor IX) ในปริมาณที่ไม่เพียงพอหรือขาดแฟคเตอร์ 9 (Factor IX)
- ฮีโมฟีเลีย ซี มีแฟคเตอร์ 11 (factor XI) ต่ำกว่าปริมาณที่ต้องการ มีแฟคเตอร์ 11 (factor XI) ในปริมาณที่ไม่เพียงพอหรือขาดแฟคเตอร์ 11 (factor XI)
อะไรเป็นสาเหตุของโรคฮีโมฟีเลีย
โรคฮีโมฟีเลีย เกิด จากภาวะขาดปัจจัยการแข็งตัวของเลือดที่เรียกว่าแฟคเตอร์ 8 หรือ แฟคเตอร์ 9 มาแต่กำเนิด ดังนั้นการรักษาผู้ป่วยโรคนี้ต้องให้แฟคเตอร์เข้มข้นทดแทนปัจจัยการแข็งตัว ของเลือดที่ผู้ป่วยขาดไป ซึ่งแฟคเตอร์เข้มข้นที่ใช้ฉีดให้ผู้ป่วยฮีโมฟีเลีย
โรคฮีโมฟิเลีย เป็นโรคที่สืบทอดทางพันธุกรรม โดยเกิดจากความผิดปกติของ ยีน/จีน (Gene) โดยมารดาจะเป็นพาหะโรค/ผู้แฝงโรค และนำความผิดปกติสู่บุตรชาย แต่ผู้ป่วยประมาณ 30% ไม่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคฮีโมฟิเลีย คือ มีการผ่าเหล่าของยีน (Mutation) คือเกิดโรคด้วยตัวเองโดยไม่มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
โรคฮีโมฟีเลียมีอาการอย่างไร
อาการของโรคฮีโมฟีเลีย จะ เป็นจ้ำเขียว และมีอาการเลือดออกภายในข้อต่าง ๆ ของร่างกาย เมื่อเริ่มมีอาการผู้ป่วยจะมีอาการปวดตึงขัดบริเวณกล้ามเนื้อและข้อ อาการจะรุนแรงมากขึ้น มีข้อติด กล้ามเนื้อลีบ หรือเกิดภาวะข้อพิการได้ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม
รักษาโรคฮีโมฟีเลียได้อย่างไร
เมื่อมีเลือดออกผิดปกติ หลักการสำคัญในการรักษา คือ ต้องให้เลือดหยุด โดยวิธีห้ามเลือด และให้การแข็งตัวของเลือดทดแทนให้เพียงพอ โดยวิธีดังต่อไปนี้
-
รักษาโรคฮีโมฟีเลียโดยใช้ผ้าก๊อซหรือผ้าสะอาดที่แห้งกดบริเวณแผลที่เลือดออก หากเลือดออกในข้อหรือกล้ามเนื้อ ให้ประคบด้วยความเย็น เช่น ผ้าห่อน้ำแข็ง เพื่อช่วยให้เลือดหยุดจากการหดตัวของหลอดเลือดเมื่อได้รับความเย็น
-
รักษาโรคฮีโมฟีเลียโดยใช้ปัจจัยการแข็งตัวของเลือดทดแทน โดยต้องให้มีปัจจัยการแข็งตัวของเลือดขึ้นไปอยู่ในระดับที่ทำให้เลือดหยุด ซึ่งขึ้นอยู่กับอวัยวะหรือบาดแผลที่มีเลือดออก
-
รักษาโรคฮีโมฟีเลียตามอาการและการประคับประคอง เช่น ให้ยาแก้ปวดเมื่อมีอาการปวด หรือหากมีเลือดออกบริเวณเยื่อบุอวัยวะภายใน ต้องให้ยาต้านการละลายลิ่มเลือด (Antifi brinolysis) เพื่อให้มีก้อนเลือดไปช่วยอุดบริเวณที่มีเลือดไหลซึมออกมา หากมีเลือดออกที่เหงือกหรือฟัน ควรรีบปรึกษาทันตแพทย์ทันที
ดังนั้นผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียควร ใส่ใจและสังเกตอาการตนเองอย่างสม่ำเสมอ หากพบว่าเมื่อฉีดแฟคเตอร์เข้มข้นเข้าไปแล้ว แต่เลือดยังไม่หยุดไหลเหมือน ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจเช็คหาภาวะการเกิดสารต้านแฟคเตอร์และได้รับการ รักกษาที่ถูกต้อง
การเกิดสารต้านแฟคเตอร์นั้น ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ ประวัติครอบครัว ยีนที่ผิดปกติของผู้ป่วยแต่ละราย และปริมาณแฟคเตอร์ที่ผู้ป่วยได้รับ ผู้ป่วยจึงควรระมัดระวังตนเองไม่ให้ได้รับความกระทบกระเทือนรุนแรง ถึงขั้นต้องให้แฟคเตอร์ในปริมาณมากและเป็นเวลานานติดต่อกัน เช่น การผ่าตัด
อย่างไรก็ดี โดยปกติแพทย์จะตรวจร่างกาย และเจาะเลือดผู้ป่วยเพื่อติดตามภาวะการเกิดสารต้านแฟคเตอร์ทุก ๆ 6 เดือน หรือ 1 ปี เพื่อให้การรักษาและกำจัดตัวต้านแฟคเตอร์ตั้งแต่เริ่มต้น

วิ่งเล่นเป็นแผล ดูแลแผลลูกอย่างไรไม่ให้เกิดแผลเป็น
เป็นเรื่องปกติที่เด็ก ๆ ทำกิจกรรมวิ่งเล่นแล้วจะเกิดอุบัติเหตุเป็นแผล ถ้าไม่ได้เป็นแผลลึกหรือยาวเกิน 5 เซ็นติเมตร คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องตกใจค่ะ ตั้งสติพาลูกไปทำความสะอาดแผลแล้วปฐมพยาบาลให้ถูกวิธีกันค่ะ จะได้ไม่เกิดแผลเป็น
วิธีดูแลบาดแผลจากการเล่นซนของลูก
แผลจากของมีคมบาด
เด็ก ๆ ออกไปวิ่งเล่นนอกบ้านบางครั้งไม่ได้สวมรองเท้าอาจทำให้โดนหินโดนแก้วบาดเท้า หรือใช้มีดใช้กรรไกรประดิษฐ์ของเล่นแล้วโดนบาดจนเลือดออก วิธีดูแลแผลจากของมีคมบาดให้ล้างแผลด้วยน้ำเปล่าหรือน้ำเกลือเพื่อล้างฝุ่นและสิ่งสกปรกออก ถ้าเลือดออกเยอะให้ใช้ผ้าก๊อซกดบริเวณบาดจนเลือดหยุด จากนั้นใช้สำลีชุบยาฆ่าเชื้อเช็ดรอบบาดแผลแล้วปิดด้วยพลาสเตอร์ปิดแผล
แผลถลอกจากการพลัดตกหกล้ม
ลูกเล่นปีนป่าย ออกกำลังกาย เล่นกีฬาต้องมีล้มลุกคลุกคลานกันบ้างมักจะได้แผลถลอกเป็นประจำ ถึงจะเลือดออกไม่เยอะก็ต้องดูแลแผลให้ถูกวิธีค่ะ โดยเช็ดฝุ่นรอบบาดแผลให้หมด ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด ซับให้แห้ง ทายาฆ่าเชื้อแล้วปิดด้วยพลาสเตอร์ปิดแผล

ดูแลแผลลูกไม่ให้เกิดแผลเป็น
เมื่อผิวลูกเกิดบาดแผลขึ้นสิ่งพ่อแม่กังวลคงไม่พ้นรอยแผลเป็น การดูแลบาดแผลอย่างถูกวิธี จะช่วยให้แผลหายเร็วไม่เป็นแผลเป็นได้ค่ะ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้ดังนี้
• ล้างมือให้สะอาดก่อนทำแผลทุกครั้ง
• ทุกครั้งที่ทำแผลควรทายาฆ่าเชื้อเพื่อช่วยยับยั้งแบคทีเรียและเชื้อโรค ยาฆ่าเชื้อบางชนิดมีคุณสมบัติช่วยรักษาความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง ลดการเกิดสะเก็ดได้
• ห้ามใช้แอลกอฮอล์เช็ดแผลเด็ดขาด นอกจากจะทำให้ลูกแสบผิวแล้วแอลกอฮอล์ยังทำให้แผลหายช้าด้วย
• ควรเลือกพลาสเตอร์ชนิดกันน้ำ เพื่อคงความชุ่มชื้นช่วยลดการเกิดรอยแผลเป็น และควรเปลี่ยนทุกวัน
• เลือกใช้พลาสเตอร์ที่เหมาะสมกับขนาดแผล เพื่อรักษาความชุ่มชื้นให้กับผิวบริเวณที่เป็นแผล
• เมื่อแผลตกสะเก็ดแล้ว ห้ามให้ลูกแกะหรือเกาเด็ดขาด ควรหลีกเลี่ยงแสงแดดด้วย เพราะแสงแดดจะกระตุ้นให้แผลเกิดรอยดำ
• เมื่อแผลตกสะเก็ดให้ทาโลชั่นหรือครีมบำรุง เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว ช่วยให้สะเก็ดอ่อนตัวและหลุดออกได้โดยไม่เกิดแผลเป็น

พลาสเตอร์ปิดแผลกันน้ำ ปิดแผลสนิท ติดทน ป้องกันน้ำ ป้องกันเชื้อโรค
พลาสเตอร์ปิดแผลเป็นของใช้ที่ต้องมีติดตู้ยาสามัญประจำบ้านไว้เลย ไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่ก็ได้ใช้แน่ ๆ เวลามีอุบัติเหตุเล็ก ๆ มีเลือดตกยางออกหรือเป็นแผลถลอก พลาสเตอร์ปิดแผลจะช่วยดูดซับของเหลวจากบาดแผล ช่วยให้แผลสมานตัวได้เร็วขึ้น ทั้งยังป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่บาดแผลได้ด้วย
เดี๋ยวนี้มีพลาสเตอร์ให้เลือกหลายแบบ แต่ที่อยากแนะนำพ่อแม่คือพลาสเตอร์ปิดแผลกันน้ำแบบที่เป็นเนื้อฟิล์มใสค่ะ เพราะนอกจากจะกันน้ำกันเชื้อโรคได้แล้ว ยังมีความยืดหยุ่น ติดแน่นติดทน โค้งงอตามการเคลื่อนไหวของร่างกายไม่หลุดลอกง่ายและไม่ทิ้งคราบกาวตอนลอกออกด้วยค่ะ
ยิ่งเด็ก ๆ ออกไปทำกิจกรรมนอกบ้าน ต้องเคลื่อนไหวร่างกายตลอดเวลา การพลัดตกหกล้มเป็นเรื่องปกติที่ต้องเจอ พ่อแม่ทำแผลให้แล้วเป่าเพี้ยง ลูกก็ออกไปลุยต่อได้แล้วค่ะ
สนับสนุนสุขภาพเด็ก ๆ โดย 3เอ็ม เน็กซ์แคร์ พลาสเตอร์ปิดแผลกันน้ำ รุ่น แม็กซ์โฮลด์ (Nexcare Max Hold waterproof bandages)
คุณพ่อคุณแม่ที่พาลูกไปเที่ยวทะเล ต้องระวังแมงกะพรุนไฟกันหน่อยนะคะ เพราะหากลูกไปสัมผัสแมงกะพรุนตัวร้ายเข้า อาจทำให้เกิดผื่นได้ ยิ่งเด็กๆ ผิวบอบบางมากๆ อาจมีแผลเป็นตามมาได้ค่ะ
วิธีสังเกตแมงกะพรุนที่มีพิษ หรือแมงกะพรุนไฟ
แมงกะพรุนชนิดที่มีพิษจะถูกเรียกรวมๆ กันว่า แมงกะพรุนไฟ ส่วนใหญ่มีลำตัวสีแดงหรือสีส้ม จะมีพิษที่บริเวณหนวดที่มีน้ำพิษ ใช้สำหรับเพื่อล่าเหยื่อและป้องกันตัว สร้างความเจ็บปวดให้กับผู้ที่สัมผัสได้ บริเวณที่ถูกกัดหรือสัมผัสนั้น จะปรากฏรอยคล้ายรอยไหม้เป็นผื่น
จากนั้นในอีก 20-30 นาทีต่อมา จะบวมนูนขึ้นเป็นทางยาวตามผิวหนัง ต่อไปจะเกิดเป็นแผลเล็กๆ และแตกออกเป็นแผลเรื้อรัง กล้ามเนื้อเกร็งและบังคับไม่ได้ จุกเสียด หายใจไม่ออก และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
อาการหลังโดนพิษ
หรือสัมผัสแมงกะพรุน ผื่นสัมผัสแมงกะพรุน เป็นปฏิกิริยาที่ผิวหนังเกิดความระคายเคือง หลังถูกแมงกะพรุนไฟมาสัมผัสร่างกาย ผิวหนังจะเกิดการระคายเคือง ซึ่งสารพิษบางตัวนอกจากจะทำให้เกิดผื่นแพ้แล้ว ยังมีพิษต่อหัวใจอีกด้วย เมื่อโดนแมงกะพรุนไฟ บริเวณที่สัมผัสกับหนวดจะเป็นสีแดง เจ็บ บวม เป็นตุ่มน้ำใส อาจมีเนื้อบางส่วนเน่าตาย และท้ายสุดจะกลายเป็นรอยแผลเป็น
ในคนที่แพ้พิษของแมงกะพรุนจะมีอาการอย่างรวดเร็วภายใน 10 - 15 นาที อาการ คือ ปวดท้อง คลื่นไส้ หายใจลำบาก ชัก หมดสติ ดังนั้น ถ้ามีอาการแพ้รุนแรงควรรีบน้ำส่งโรงพยาบาลทันทีเพราะมีโอกาสเสียชีวิตได้นะคะ
การดูแลแผล ปฐมพยาบาลเมื่อโดนพิษแมงกะพรุน
- ล้างแผลด้วยน้ำส้มสายชูนาน 30 วินาที หรืออาจใช้ผักบุ้งทะเลแทนได้
- ใช้น้ำทะเลราดบ่อยๆ และใช้สันมีดขูดกระเปาะพิษออก ไม่ควรราดแผลด้วยแอลกอฮอล์หรือน้ำจืด เพราะจะทำให้พิษออกมามากขึ้นค่ะ
- ควรรีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล เพื่อเฝ้าระวังการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน เนื่องจากแผลจากแมงกะพรุนเป็นแผลหายยาก จึงมีโอกาสที่จะทิ้งแผลเป็นไว้ตลอดชีวิต
ขอบคุณข้อมูลจาก : พญ.ฐิตาภรณ์ วรรณประเสริฐ เเพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางผิวหนังเด็ก

เลือดกำเดาไหล สำหรับเด็กบางคนอาจไม่น่ากังวล แต่เราไม่ควรละเลย เพราะถ้าเลือดกำเดาไหลผิดปกติ ต้องรีบดูแลรักษาค่ะ
เลือดกำเดาไหล เกิดมาจากเส้นเลือดบริเวณผนังจมูกส่วนหน้า ซึ่งเส้นเลือดบริเวณนี้ของทุกคนจะเปราะบาง เวลาเราสั่งน้ำมูกแรง ๆ หรือโดนกระทบกระเทือนบริเวณจมูกบางครั้งจะมีเลือดปนอออกมาได้ ส่วนใหญ่จะพบในเด็กวัยเตาะแตะ เพราะเป็นวัยที่มักเอาของใส่จมูกหรือแคะจมูก แต่ถ้าพบว่ามีเลือดออกที่จมูกตั้งแต่แรกเกิด นั่นไม่ใช่เป็นเลือดกำเดาไหล แต่จะเป็นโรคเลือดที่รุนแรงค่ะ
สาเหตุเลือดกำเดาไหล
- เกิดจากการที่เด็กได้รับบาดเจ็บ จากการแคะ แกะ เกาบริเวณจมูก
- เกิดจากการเอาสิ่งแปลกปลอมเข้าไปใส่ในรูจมูก
- เกิดจากการอักเสบของจมูก ซึ่งมีสาเหตุมาจากการเป็นหวัด และไซนัสอักเสบ ส่งผลให้โพรงจมูกแห้ง ทำให้เลือดกำเดาไหลออกมาได้ง่าย
สาเหตุที่พบได้ไม่บ่อย
เกิดจากการเป็นโรคเลือด เช่น เกร็ดเลือดต่ำผิดปกติ เส้นเลือดฝอยขยายตัวผิดปกติ มีเนื้องอกที่เส้นเลือด หรือเป็นโรคที่ทำให้การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ ซึ่งหากเกิดจากสาเหตุเหล่านี้ เด็ก ๆ จะมีเลือดออกง่าย มีปริมาณเลือดไหลมาก และยังพบว่ามีเลือดออกที่ตำแหน่งอื่นให้เห็นด้วย เช่น มีจุดจ้ำเลือดตามตัวค่ะ
ระวัง! เลือดกำเดาผิดปกติ ให้สังเกตจากปริมาณเลือดที่ไหล ต้องมีปริมาณมาก ๆ เลือดไหลเร็ว และเป็นติดต่อกันหลายวัน หากมีการห้ามเลือดแล้ว เลือดยังไม่หยุดไหลง่าย ๆ ประกอบกับมีจ้ำเลือดเขียวขึ้นตามตัวเมื่อลูกวิ่งชนหรือได้รับการกระแทกเพียงเล็กน้อย ถ้าเป็นลักษณะนี้ ต้องพาลูกมาพบแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุเพิ่มเติม เพราะถ้าลูกมีเลือดกำเดาไหลบ่อย ๆ หรือเป็นเรื้อรัง อาจทำให้ลูกตัวซีด และส่งผลต่อปัญหาสุขภาพด้านอื่นๆ ของลูกได้ด้วย
วิธีปฐมพยาบาลเมื่อลูกเลือดกำเดาไหล

อันดับแรก พ่อแม่ต้องอย่าตกใจและพยายามปลอบลูก ถ้าลูกร้องไห้ ควรปลอบให้ลูกหยุดร้องโดยเร็ว เพราะถ้ายิ่งร้องไห้ ความดันเลือดจะสูงขึ้น ทำให้เลือดไหลออกมามากยิ่งขึ้นจับให้ลูกนั่งพร้อมกับเอนตัวไปข้างหน้า เพื่อให้เลือดกำเดาไหลออกมา ไม่ควรให้ลูกนั่งแหงนหน้าไปด้านหลัง จะทำให้เลือดไหลลงคอ จนเกิดการสำลัก หลังจากนั้นอาจให้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบที่บริเวณจมูก ความเย็นจะช่วยทำให้เส้นเลือดหดตัว กระตุ้นให้เลือดหยุดเร็วขึ้น หรืออาจใช้ผ้ากอซ ม้วนเป็นชิ้นเล็ก แล้วใส่ในโพรงจมูกเพื่อกดตำแหน่งที่เส้นเลือดเปราะบาง
วิธีป้องกันเลือดกำเดาไหล
- พยายามดูแลไม่ให้ลูกแคะ แกะ เการูจมูก หรือสั่งน้ำมูกแรง ๆ
- หลีกเลี่ยงการเอาสิ่งแปลกปลอมใส่ไปในรูจมูก
- ถ้าเป็นเด็กวัยอนุบาล ก็ควรสอนลูกให้หลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้ พร้อมกับสอนวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้ลูกรับรู้ด้วยค่ะ
- ควรให้ลูกออกกำลังกาย เพื่อให้มีสุขภาพแข็งแรงอยู่เสมอ เพราะหากลูกเป็นหวัดบ่อย ๆ จะทำให้บริเวณโพรงจมูกอักเสบ เส้นเลือดฝอยเปราะแตกง่ายขึ้น
ส่วนใหญ่แล้ว ถ้าเป็นเลือดกำเดาที่ไม่เป็นอันตราย เลือดจะหยุดไหลเองประมาณ 5-10 นาที ทางที่ดี พ่อแม่ควรสังเกตอาการเลือดกำเดาของลูกอยู่เสมอค่ะ ว่าเป็นเลือดกำเดาไหลที่ควรระวังหรือไม่ ถ้าพบว่าลูกมีเลือดกำเดาไหลผิดปกติ ต้องรีบพบแพทย์โดยด่วนนะคะ
เรียบเรียงจากบทสัมภาษณ์ พญ.อัญมณี เชื้อเหล่าวานิช กุมารแพทย์ โรงพยาบาลบางประกอก 9

ลูกซนมีแผลถลอก แผลหกล้มบ่อย ต้องดูแลแผลแบบเปียก สะอาด ปลอดภัย หายไว พร้อมลุยเรียนรู้ต่อไม่หยุดนิ่ง
หมอเด็กแนะ ลูกสายลุยล้มบ่อย ต้องดูแลแผล "แบบเปียก" ช่วยแผลหายไว
พ่อแม่ที่มีลูกวัยซนต้องพร้อมรับมือกับบาดแผลจากการเล่นของลูกไว้เลยนะคะ เพื่อจะได้รู้วิธีปฐมพยาบาลได้ถูกต้อง ทำให้ลูกลุกขึ้นไปเล่นและเรียนรู้กันได้แบบไม่มีหยุด พัฒนาการไม่สะดุด นพ.ธีรยุทธ ธนนันท์ธัญโชติ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มีคำแนะนำในการทำแผลและดูแลแผล “แบบเปียก” ที่ได้ผลดีที่สุดในเวลานี้มาบอกคุณพ่อคุณแม่ค่ะ
การทำแผลแบบเปียก (Wet Dressing) คือ การทำแผลสดที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ สำหรับเด็กมักจะเป็นแผลที่เกิดจากการหกล้ม เข่า ข้อศอกเป็นแผล โดยจะทำจะเป็นการทำความสะอาดที่แผลยังชุ่มชื่น มีสารคัดหลั่งออกจากแผล ซึ่งหากดูแลได้อย่างถูกต้อง จะช่วยให้แผลยังคงระบายอากาศได้ดีแม้มีสารคัดหลั่ง และ แผลหายไวขึ้น
อุปกรณ์ปฐมพยาบาลในการดูแลแผลแบบเปียก
- ผ้าก๊อซ และ สำลี
- แอลกอฮอล์เช็ดแผล
- พลาสเตอร์ปิดแผลแบบกันน้ำ (Waterproof)

วิธีทำแผลแบบเปียก
- ใช้น้ำเปล่าล้างทำความสะอาดแผล เพื่อล้างฝุ่นหรือสิ่งสกปรกในแผลออก
- หากแผลหกล้อมของลูกมีเลือดออก ให้ใช้ผ้าก๊อซกดบริเวณแผลจนกว่าเลือดจะหยุดแล้วค่อยทำแผลต่อ
- ใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์เช็ดแผล โดยวนจากด้านในออกด้านนอก จากนั้นใส่ยาทำแผลหรือยาฆ่าเชื้อโรค
- ปิดพลาสเตอร์แบบกันน้ำ โดยค่อย ๆ รีดพลาสเตอร์ให้แนบติดผิวรอบแผลลูก
คำแนะนำในการดูแลแผลแบบเปียก
คุณพ่อคุณแม่หลายคนมักคิดว่า การปล่อยให้แผลแห้งที่สุดโดยไม่ปิดพลาสเตอร์เป็นวิธีที่ดีที่สุด แต่ปัจจุบันมีการศึกษาพบว่า "บาดแผลต้องการความชุ่มชื้นเพื่อให้แผลหายได้ดีกว่า" กุมารแพทย์จึงแนะนำว่าควรทำแผลแบบเปียก คือ ให้แผลมีน้ำเลี้ยงออกมารักษาแผล และปิดแผลให้สะอาด เพราะจะทำให้แผลหายไวกว่าและลดการเกิดแผลเป็นด้วย

ดังนั้นการเลือกพลาสเตอร์สำหรับดูแลแผลเด็กจึงสำคัญ พ่อแม่ที่มีประสบการณ์ในการใช้พลาสเตอร์ปิดแผลกับลูก อาจจะเคยพบปัญหา เช่น พลาสเตอร์ที่ใช้เหนียวมาก เวลาลอกออกก็ลอกยากจนลูกเจ็บ หรือบางรุ่นอาจจะบางแต่หลุดง่าย เผลอแป๊บเดียวก็หลุดไปโดยไม่รู้ตัว ทำให้แผลเสี่ยงต่อการปนเปื้อนหรือติดเชื้อได้ ดังนั้น พลาสเตอร์ที่ดี คือ พลาสเตอร์ที่บางแต่ติดแน่น ไม่หลุดง่าย แม้ในจุดที่มีการเคลื่อนไหวมากๆ เช่น ข้อเท้า มือ เข่าหรือนิ้ว ต้องกันน้ำได้ดี กันน้ำได้จริง เวลาล้างมือหรืออาบน้ำต้องไม่หลุดง่ายอยู่ได้ 2-3 วัน กันฝุ่น และเชื้อโรคที่อาจปนเปื้อนกับแผลได้ พูดง่ายๆ คือ แปะแล้วเด็กสามารถเล่นหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ต่อได้โดยไม่ต้องกังวล ว่าพลาสเตอร์จะหลุดหรือว่าน้ำจะซึมเข้าแผลได้ เด็กและการเล่นเป็นของคู่กันครับ การเล่นซนของลูก นอกจากจะทำให้เด็กมีความสุขแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมพัฒนาการของลูกในหลายๆ ด้านด้วย
สนับสนุนการดูแลและการเรียนรู้ของเด็กโดย 3M Nexcare

อย่ามองข้าม! เด็กเลือดกำเดาไหลบ่อย เป็นสัญญาณโรคร้ายได้
เอะอะ! ลูกเลือดกำเดาไหลตลอดเลย ก็ให้ก้มหน้าจนกว่าเลือดจะหยุดไหล แต่เป็นบ่อยๆ ครั้งเข้า มันก็อดห่วงไม่ได้ใช่ไหมคะ เคยได้ยินว่าอาจเสี่ยงโรคร้ายได้ แบบนี้มารู้จักอาการเลือดกำเดาไหลกันเลยค่ะ
สาเหตุ เลือดกำเดาไหล
เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในเด็กเล็ก มักจะเกิดในช่วงฤดูหนาว ช่วงอากาศแห้ง วันที่ร้อนจัด หนาวจัด ร่างกายขาดวิตามินซี เกิดจากการกระทบกระเทือน หรืออุบัติเหตุ ความผิดปกติของร่างกาย แต่ส่วนมากมักจะมีอาการเลือดออกที่ไม่รุนแรง และเลือดมักจะหยุดเองได้ภายใน 10-15 นาที หากคุณแม่พบว่าลูกเลือดกำเดาไหลบ่อยก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะการที่ลูกเลือดกำเดาไหลบ่อย ก็อาจเป็นอาการของโรคที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
อาการแบบไหนต้องรีบไปพบแพทย์
ข้อมูลจากสมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย โดย รศ.พญ. ดารินทร์ ซอโสตถิกุล ฝ่ายเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องที่ผู้ปกครองควรทราบในกรณีที่ลูกเลือดกำเดาไหลบ่อยว่า หากลูกมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย ให้รีบพาลูกน้อยไปพบแพทย์
เลือดกำเดาไหลนาน ร่วมกับที่ผิวหนังมีรอยเลือดออก เช่น มีจ้ำเขียว มีจุดแดง หรือจุดเลือดออกตามตัวร่วมด้วย มีเลือดออกตามไรฟัน หรือลิ้นร่วมด้วย มีปัสสาวะสีน้ำล้างเนื้อ หรืออุจจาระสีดำคล้ายยางมะตอย หรืออุจจาระของลูกมีเลือดปนมาด้วย ลูกมีไข้สูง ลูกมีอาการอาการเวียนศีรษะ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ไม่กระฉับกระเฉง หรือผิวหนังมีสีซีดลง
การที่ลูกเลือกกำเดาไหลบ่อยอาจเป็นสัญญาณของโรคต่าง ๆ ได้แก่
- โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม
ซึ่งทำให้เกล็ดเลือดทำงานผิดปกติ เช่น โรควอนวิลล์แบรนด์ (von Willebrand disease – VWD) ซึ่งอาจมีประวัติเลือดออกง่ายหยุดยากในครอบครัวร่วมด้วย
- โรคที่เกิดขึ้นภายหลัง
ทำให้เกล็ดเลือดมีปริมาณต่ำลง เช่น โรคเกล็ดเลือดต่ำจากภูมิต้านทานตนเอง (immune thrombocytopenia – ITP) ซึ่งเป็นภาวะเกล็ดเลือดต่ำที่พบบ่อยในเด็ก, โรคไขกระดูกฝ่อทำให้ร่างกายไม่สามารถสร้างเม็ดเลือดทุกชนิดได้อย่างพอเพียง ทำให้มีโลหิตจาง ติดเชื้อง่ายเนื่องจากมีเม็ดเล็ดขาวต่ำลง และเกล็ดเลือดต่ำทำให้เลือดออกง่าย หรือโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่มีเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวแทรกซึมอยู่ในไขกระดูก ทำให้สร้างเม็ดเลือดที่ปกติได้ลดลง
นอกจากนี้ หากลูกเลือดกำเดาไหลบ่อยและเป็นเวลานาน ก็อาจทำให้เด็กเกิดภาวะซีดจากการสูญเสียเลือดเรื้อรัง จนเกิดภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตอาการของลูกอยู่เสมอ หากเด็กมีอาการเวียนศีรษะ เป็นลมง่าย เหนื่อยง่าย หรือมีอาการตามที่กล่าวมาข้างต้น ก็ควรพาลูกไปพบแพทย์โดยเร็ว
วิธีป้องกันไม่ให้ลูกน้อยเลือดกำเดาไหลง่ายนั้น เบื้องต้นมีวิธีการดังนี้
-
พยายามไม่ให้จมูกของลูกแห้ง โดยอาจจะใช้น้ำเกลือหยอดจมูก หรือทาวาสลินเคลือบในรูจมูกก่อนนอน
-
ปรับอุณภูมิในห้องนอนของลูก ไม่ให้อากาศแห้งเกินไปให้ลูกกินผักและผลไม้ที่มีวิตามินซี เพื่อช่วยให้หลอดเลือดฝอยในจมูกแข็งแรง
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างไร
ให้เด็กนั่งตัวเอียงไปด้านหน้า ก้มศีรษะลงเล็กน้อย เพื่อให้เลือดไหลออกทางจมูกแทนที่จะไหลลงคอ ซึ่งอาจทำให้เด็กอาเจียนออกมาเป็นเลือดจากที่กลืนเข้าไป ใช้มือบีบบริเวณปีกจมูกข้างที่มีเลือดกำเดาไหลเบา ๆ ประมาณ 10 นาที และหากเลือดยังไม่หยุดไหลนานเกิน 30 นาที ให้รีบพาเด็กไปพบแพทย์

วิธีปฐมพยาบาลอุบัติเหตุรุนแรง ก่อนพาลูกไปโรงพยาบาล
ต่อให้ดูแลดีแค่ไหน แต่อุบัติเหตุร้ายแรงอาจเกิดได้เสมอค่ะ ลูกหัวแตก ลูกแขนขาหัก ลูกโดนน้ำร้อนลวก เกิดขึ้นได้ทั้งจากการเล่น การใช้ชีวิตประจำวัน หรืออุบัติเหตุต่างๆ ซึ่งการดูแลรักษาจะต้องอยู่ในการรักษาและดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญค่ะ แต่ในเบื้องต้นเมื่อลูกได้รับอุบัติเหตุหัวแตก ลูกแขนขาหักลูกโดนน้ำร้อนลวก คุณพ่อคุณแม่จะต้องลงมือปฐมพยาบาลตามขั้นตอนต่อไปนี้ก่อนพาลูกส่งโรงพยาบาลค่ะ
วิธีปฐมพยาบาลเมื่อลูกหัวแตก
-
ให้ลูกนอนราบ ไม่ขยับตัวมากเพื่อลดการกระทบกระเทือน จากนั้นควรสวมถุงมือทุกครั้ง(ถ้ามี ณ ตอนนั้น) แล้วใช้มือหรือผ้ากดแผลห้ามเลือดประมาณ 15 นาที หรือจนกว่าเลือดจะหยุด
-
หากเลือดหยุดแล้วให้ใช้เจลเย็น หรือผ้าขนหนูห่อน้ำแข็งประคบบาดแผลจากนั้นค่อย ๆ เคลื่อนย้ายลูกไปส่งโรงพยาบาล
-
หากบาดแผลรุนแรง ลึก เลือดไหลไม่หยุด อาจจะต้องเปลี่ยนผ้ากดแผลไม่ให้ชุ่มเลือด กดไว้ตลอด แล้วเคลื่อนย้ายไปโรงพยาบาล
-
หากสังเกตว่าลูกกะโหลกร้าวหมดสติ หายใจลำบาก จะต้องห้ามเลือดในท่านอน ห้ามเคลื่อนย้ายเอง แล้วโทรแจ้งหน่วยแพทย์ฉุกเฉินทันที
วิธีปฐมพยาบาลเมื่อลูกแขนขาหัก
-
ไม่ควรขยับตัวลูกเพื่อป้องการการบาดเจ็บเพิ่มเติม อาจให้ลูกนั่งหรือนอนในท่านิ่งๆ จากนั้นใช้แผ่นไม้ ไม้บรรทัด หรือกระดาษหนังสือม้วนเป็นทรงยาว ดามประกบ 2 ข้าง แล้วพันด้วยเทปกาวเพื่อป้องกันการขยับจนเกิดอาการบาดเจ็บเพิ่มเติม
-
ระหว่างที่รอเรียกรถพยาบาล ให้ปลดเสื้อผ้าลูกให้หลวม หายใจสะดวก แต่ไม่ควรให้ดื่มน้ำหรือกินอะไร เพราะอาจมีอาการเจ็บปวดภายในที่พ่อแม่ไม่ทราบ ซึ่งอาจเกิดอันตรายได้
-
รีบเข้ารับการรักษาจากแพทย์โดยทันที ซึ่งแพทย์อาจเอกซเรย์ เข้าเฝือกแขน หรือผ่าตัดในกรณีที่กระดูกทะลุผิวหนัง เพื่อฟื้นฟูกระดูกส่วนที่แตกหัก
วิธีปฐมพยาบาลเมื่อลูกโดนน้ำร้อนลวก
-
ล้างด้วยน้ำสะอาดที่อุณหภูมิปกติประมาณ 10-15 นาทีเพื่อลดความร้อนและอาการปวดบริเวณที่โดนน้ำร้อนลวก
-
ใช้ผ้าสะอาดซับผิวเบาๆ จนแห้ง ห้าม! ทายาสีฟัน น้ำปลา หรือสมุนไพรใดๆ บริเวณที่โดนน้ำร้อนลวก เพราะอาจทำให้ระคายเคือง ติดเชื้อ อักเสบ และลุกลามเป็นแผลได้
-
พาลูกไปพบคุณหมอเพื่อรับการตรวจและยาสำหรับทาฆ่าเชื้อที่เหมาะสมกับความรุนแรงของแผลน้ำร้อนลวก (แผลโดนลวกมีระดับความรุนแรงที่ต่างกัน ดังนั้นควรอยู่ในการดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ)
-
หากบริเวณที่โดนน้ำร้อนลวกเกิดถุงน้ำ ไม่ควรเจาะ! เพราะอาจทำให้ติดเชื้อได้
-
หมั่นทายา หรือทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด และต้องรักษาความสะอาดแผลให้ดี
-
น้ำหากร้อนลวกบริเวณใบหน้าต้องรีบพาลูกส่งโรงพยาบาลเร็วที่สุด เพราะน้ำร้อนอาจโดนดวงตา หรือระคายเคืองส่วนอื่นได้
3 อุบัติเหตุเหล่านี้ไม่มีพ่อแม่คนไหนอยากให้เกิดค่ะ แต่ไม่ว่าอย่างไรเราต้องรู้วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นกันไว้ในกรณีฉุกเฉิน ซึ่งอาจเกิดขึ้นกับลูกเราหรือกับเด็กคนอื่นๆ ที่เราสามารถช่วยเหลือได้ค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
