facebook  youtube  line

Emergency call สอนลูกให้ใช้โทรศัพท์เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน

โทรฉุกเฉิน, เบอร์โทรฉุกเฉิน, สอนลูกใช้โทรศัพท์, สอนลูกให้ใช้โทรศัพท์เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน, สอนลูกใช้ Emergency call, การตั้ง Emergency call, Emergency call, สอนลูกใช้ Emergency call, ส

 Emergency call สอนลูกให้ใช้โทรศัพท์เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน


แม้ว่าพ่อแม่จะคอยอยู่ดูแลลูกตลอดเวลา แต่เมื่อเกิดเหตุที่ไม่คาดฝัน ลูกของเราจะต้องเอาตัวรอดและขอความช่วยเหลือด้วยตัวเองเป็นด้วย ซึ่งควรสอนลูกตั้งแต่เล็ก เผื่อสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นไฟไหม้ โจรขึ้นบ้าน หรือแม้แต่คุณพ่อ คุณแม่ที่กำลังตกอยู่ในอันตราย เจ้าตัวน้อยจะได้ช่วยเหลือทัน


 

  • ตั้งเบอร์โทรฉุกเฉิน Emergency call เป็นเบอร์หน่วยฉุกเฉินเช่น จส.100 191 ฯลฯ หนึ่งหมายเลข และอีกหนึ่งหมายเลขเป็นเบอร์ของคนสนิท ญาติพี่น้อง ที่สามารถให้ความช่วยเหลือในยามฉุกเฉินได้ 
  • สอนลูกใช้โทรศัพท์เพื่อขอความช่วยเหลือ บอกวิธีปลดล็อกโทรศัพท์ให้ลูกทราบ เช่น ถ้าแม่เป็นลมหมดสติลูกต้องกดเลขอะไร หรือใช้นิ้วมือแม่ปลดล็อกโทรศัพท์ต้องทำอย่างไร
  • บอกให้ลูกรู้ว่าต้องกดเบอร์อะไร หรือกด Emergency call ตรงไหน
  • สอนลูกว่าควรใช้โทรศัพท์ในสถานการณ์ไหนบ้าง เช่น มีคนเกิดอุบัติเหตุ พ่อแม่หมดสติ โจรเข้าบ้าน สัตว์มีพิษเข้าบ้าน เพื่อไม่ให้ลูกโทรเล่นๆ  
  • ติดเบอร์ฉุกเฉินไว้ ในระดับสายตาที่ลูกสามารถมองเห็นได้
  • สอนลูกให้จำที่อยู่ บ้านเลขที่ของตนเอง 
  • บอกขั้นตอนรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น ต้องโทรศัพท์หาใคร วิ่งออกไปนอกบ้านร้องขอความช่วยเหลือจากเพื่อนบ้าน หรือ รปภ. หมู่บ้าน 
  • ฝึกซ้อมกับลูกไว้แต่ไม่ต้องโทรจริง เพื่อจำลองสถานการณ์หากเกิดเหตุจริงๆ


ตามที่กล่าวมานี้ คุณพ่อคุณแม่อาจจะคิดว่าลูกยังเด็กเกินไปหรือยังไม่จำเป็น แต่ในบางกรณีนั้นถือว่ามีประโยชน์มาก เพราะหลาย ๆ คดีที่เกิดขึ้น สามารถช่วยให้เด็กรอดพ้นจากเหตุการณ์ที่เป็นอันตรายและยังสามารถช่วยคนอื่นได้อีกด้วย ซึ่งมีเหตุการณ์ที่เล็กๆ ไปถึงเหตุการณ์ฉุกเฉินที่น่ากลัว เช่น หนูน้อยวัย 3 ขวบ โทรศัพท์ขอความช่วยเหลือจากตำรวจเมื่อคุณย่าเป็นลมหมดสติ, หนูน้อยวัย 3 ขวบในรัฐเอริโซน่า โทรหาตำรวจขอความช่วยเหลือเพราะแม่เกิดอาการเป็นลมชัก และมีกรณีเด็ก 7 ขวบ พร้อมน้องโทรขอความช่วยเหลือจากตำรวจเพราะโจรที่กำลังจะเข้ามาปล้นบ้าน ซึ่งโจรมีปืน เจ้าหนูน้อยจึงแอบในห้องน้ำพร้อมน้องและโทรขอความช่วยเหลือจากตำรวจได้ทัน

Mom's Issue EP 21 (Rerun) : "รับมืออย่างไรในวันที่ลูกเจอความรุนแรง"

 

วันที่ลูกถูกรังแก ใจแม่อยากให้ลูกไปลุยซะเหลือเกิน แต่ความรุนแรงไม่ได้แก้ไขด้วยความรุนแรง แม่ดอยและป้าปอยมาชวนคุยหลักคิด หลักการและ How to ที่จะช่วยเตือนทั้งพ่อแม่และไกด์แนวทางให้ลูกไปด้วยกัน

ชวนฟัง Mom’s Issues รับมือในวันที่ลูกถูกเพื่อนแกล้ง

 

Apple Podcast:https://apple.co/3m15ytB

Spotify:https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube:https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast#รักลูกTheExpertTalk#Moms_Issues

Mom's Issue EP 23 (Rerun) : การ์ตูนเด็กไม่ใช่ผู้ร้าย! แค่ต้องเลือก

 

การ์ตูนไม่ใช่ผู้ร้าย แต่ต้องเลือกให้เป็น เลือกอย่างมีหลักการ และกำหนดกติกาในการดู มีวิธีอะไรบ้าง ฟังประสบการณ์จากแม่ดอยและป้าปอยได้ที่

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

Mom's Issue EP 25 (Rerun) : เปิดเทอมใหม่ทำอย่างไรไม่ให้หัวใจว้าวุ่น

 

เทคนิคการเตรียมตัวรับมือเปิดเทอมโดยครูก้า กรองทอง บุญประคอง ครูผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็ก และผู้ก่อตั้งและผู้บริหารโรงเรียนจิตตเมตต์ (ปฐมวัย)

 

เทคนิคดีๆ เตรียมลูกให้พร้อม เตรียมใจแม่ให้หนักแน่นกับความอ่อนไหวในช่วงแรกของการเปิดเทอม

ฟังตอนนี้ยังไม่สาย เพราะสำหรับน้องอนุบาล1 ทุกๆ เช้าจะยังเป็นเหมือนเปิดเทอมวันแรกนะคะ ^^

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

Mom's Issue EP 26 (Rerun) : เนื้อหา บทเรียนที่ยากเกินไป ส่งผลอย่างไรต่อการเรียนรู้ของเด็กบ้าง

 

นอกจากประเด็นเรื่องความยากง่ายของการบ้าน มีสิ่งที่มากไปกว่านั้นคือ ระดับการเรียนรู้ที่เหมาะสมของเด็ก

หากเด็กเรียนรู้สิ่งที่ยากเกินไป ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็กอย่างไรบ้าง รวมไปถึงหลากหลายประเด็นที่คาใจพ่อแม่ ทั้งการเรียนที่ยากและการบ้านที่ต้องทำ

 

ฟังมุมมองนักวิชาการด้านศึกษา ผศ.ดร.ยศวีร์ สายฟ้า อาจารย์สาขาวิชาประถมศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

Mom’s Issue EP 03. ตอน นิทานเพื่อนหนู รู้อารมณ์

 

จากหนูน้อยอารมณ์ดี...แปลงร่างเป็นหนูขี้วีน ขี้โมโห หนูไม่ไหวแล้วนะ

สภาวะเหล่านี้เกิดขึ้นได้ทั้งจากช่วงวัย ความเครียด ความกังวล ที่เกิดขึ้น ยิ่งช่วงเวลาที่จำกัดพื้นที่ ออกไปไหนไม่ได้ เลยเกิดสงครามย่อมๆ ในบ้าน

 

Mom’s Issues ชวนรับมือและจัดการกับอารมณ์ขี้โมโหของเด็ก บก.แม่ดอยและป้าปอย มีเทคนิคและนิทานดีๆ มาช่วยให้เรื่องโมโห จัดการได้ง่ายขึ้น Simplify your crypto transactions with Trezor Suite Seamless Exchanges, making trading effortless.

 

พบกับ รายการ Mom's Issue ทุกวันพฤหัสบดีสุดท้ายของเดือน

ติดตามรายการรักลูก podcastได้ที่

Apple podcast: Rakluke Podcast

Spotify: Rakluke Podcast

YouTube Channel: : Rakluke Club

รักลูก The Expert Talk EP 87 : ฟื้นฟูสมอง เร่งเรียน เร่งรู้ด้วยนิทาน EF

 

รักลูก The Expert Talk Ep.87 : ฟื้นฟูสมอง เร่งเรียน เร่งรู้ด้วยนิทาน EF

 

นิทานชุดในสวนของย่า เรื่อง โอ๊ะโอ! ขอโทษนะ และ เรื่อง ให้เวลาหน่อยนะ จะช่วยตอบคำถามที่ค้างคาในใจของพ่อแม่ได้ว่าทำไมลูกเราช้ากว่าคนอื่น? ทำไมคนอื่นต้องทำผิดกับเรา ทั้งๆ ที่เราไม่ได้ทำอะไรให้เขาเลย?

คำถามที่ต้องการมุมมอง ความคิด เพื่อทำความเข้าใจกับพัฒนาการของลูกและสถานการณ์ปัจจุบัน

 ชวนฟังแนวคิดและหลักคิดเพื่อนำไปปรับใช้เลี้ยงลูกได้จากนิทานของย่าติ่ง คุณสุภาวดี หาญเมธี ประธานสถาบันรักลูกเลิร์นนิ่ง กรุ๊ป

 

ให้เวลาหน่อยนะ ชุดในสวนของย่า

ในสวนของย่า เริ่มจากที่ชวนหลานมาช่วยทําสวนครัวเล็กๆ บนหลังคาโรงรถ มันทําให้เราได้สังเกตชีวิตของพืชพันธุ์ ของผักที่เราปลูก แมลงต่างๆ มันทำให้มีชีวิตชีวา ซึ่งก็เป็นจุดที่ดึงความสนใจเด็กได้พอสมควร นิทานเรื่องให้เวลาหน่อยนะก็มาจาก จากการที่เราสังเกตว่าเวลาเราปลูกต้นไม้แม้จะปลูกพร้อมกัน แต่มันขึ้นไม่พร้อมกัน การเติบโตก็ไม่เหมือนกัน มันจะมีต้นใหญ่ต้นเล็ก แล้วแต่เหตุปัจจัย ก็เกิดไอเดียขึ้นมาว่าเด็กๆ ก็อาจจะต้องเข้าใจพัฒนาการของแต่ละช่วงเวลา สําหรับเด็กเขาน่าจะได้มีโอกาสรู้ว่า อะไรต่ออะไรมันก็ไม่ได้ต้องเป็นไปตามแบบนั้นแบบนี้เสมอไป ก็เลยใช้เรื่องต้นถั่วขึ้นมาเพื่อที่จะให้หลานได้เรียนรู้ เขาเองก็มีข้อสงสัยอยู่แล้วว่าก็หยอดเหมือนกันแล้วทำไมไม่โตสักที จากการที่ว่ามันไม่โตสักที ทําไมมันไม่เท่าคนอื่นไม่เหมือนคนอื่นก็เป็นที่มาของการเขียน

เข้าใจจังหวะเวลาการเติบโต

สิ่งที่เด็กได้เรียนรู้จากเรื่องนี้คือ สิ่งต่างๆถ้าตามธรรมชาติ มันจะมีจังหวะเวลาของมัน เช่น ผักถ้าเป็นเมล็ดถั่วยังไงก็ต้องประมาณเกือบ 10 วัน กว่ามันจะงอกหรือถ้าเป็นผักเล็กๆน้อยๆประมาณ 4-5วัน แต่ละชนิดมันไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นถ้าเขาพอจะเข้าใจว่าแต่ละสิ่งนั้นมันมีจังหวะเวลาของมัน มันมีเวลาของชีวิตมันซึ่งไม่เหมือนกัน มนุษย์ สัตว์ ต้นไม่ก็มีเวลาของตัวเอง

เพราะฉะนั้นการที่เราเข้าใจก่อนว่าแต่ละสิ่งมีเวลาที่ไม่ตรงกันไม่เหมือนกันก็เป็นการทําความเข้าใจโลก ซึ่งการชวนให้เขาไปสังเกตเขาจะได้ความรู้ ได้ทักษะรวมทั้งได้เจตคติ Mindsetว่าธรรมชาติมันเป็นอย่างนั้น เราจะไปเร่งให้มันเร็วหรือทำให้สิ่งนี้ช้าลงก็ไม่ได้ เหมือนไปบอกผักว่าไม่อยู่บ้าน อย่าเพิ่งโตนะกินไม่ทันเราก็บอกมันไม่ได้ และสิ่งที่สําคัญก็คือถ้าเรารู้จักเวลามันจะทําให้เรารู้จักรอด้วย เราจะรู้จักรอ รู้ว่าอย่าเพิ่งไปเร่งมัน แล้วสิ่งที่ได้ประโยชน์มากก็คือคนอ่านพ่อแม่ก็ได้เข้าใจลูกไปด้วยว่า ลูกเราก็จะเหมือนต้นถั่วนี้แหล่ะ ถ้าอะไรที่เรารู้สึกยังไม่ถูกใจไม่ชอบใจ ทําไมทำนั่นทำนี่ไม่ได้ เราก็อาจจะต้องมาดูก่อนว่าอันที่หนึ่ง ใช่เวลาของเขาไหมยังรอได้ไหม อันที่สองมันจะนําไปสู่การเข้าใจที่มาของการที่มันไม่ได้ มันไม่ได้ต้องตรงกัน

เด็กในห้องเรียนห้องเดียวกัน ทําไมคนนี้สอบได้ คนนี้สอบไม่ได้ ทําไมลูกเขาได้ ABCแล้วทําไมลูกเราไม่ได้ กระบวนการทําความเข้าใจอย่างนี้ นอกจากจะมีเวลาเป็นตัวตั้งแล้ว มันยังมีการเข้าใจถึงปัจจัยและเหตุที่มาว่าทําไมเขาถึงไม่ได้ เด็กบางคนก็ช้ากว่าเพื่อนแต่เขาเป็นม้าตีนปลาย ดังนั้นการที่ผู้ใหญ่เข้าใจเราก็จะเปลี่ยน คือไม่ไปเร่งเด็ก ไม่คาดหวังเด็กเองพอเขาเข้าใจก็จะไม่คาดหวังทุกเรื่องมากจนเกินไป รู้จักจังหวะรู้จักรอคอย ใช้ธรรมชาติให้เขาได้เรียนรู้เรื่องการเปลี่ยนแปลง และเด็กจะค่อยๆ เข้าใจธรรมชาติของตัวเองด้วย และปรับเข้ากับเรื่องอื่นด้วย อย่างเช่นบางที น้องชายบอกทําไมเขาไม่ได้อันนี้เท่านี้เท่านั้นเหมือนพี่ พี่ชายเขาตอบเองเลยก็พี่เกิดก่อนไงพี่ก็ต้องรู้ก่อน แล้วพี่ก็ต้องกินมากกว่าอะไรทํานองแบบนี้ พอจะมีคําอธิบายถูกบ้างผิดบ้างแต่อย่างน้อยก็ยังรู้จักเอาไปใช้

อีกเรื่องที่สําคัญเราจะพบว่าหลายอย่างเราแก้ปัญหาได้ เช่น สมมติว่าเรารู้ว่ามันโตช้ากว่าคนอื่นเราอาจจะต้องเติมดินเติมปุ๋ย เพราะว่าความต้องการ มันไม่เหมือนกั เมื่อเขาโตขึ้นเขาก็จะเข้าใจว่ามนุษย์ก็มีความต้องการไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นถ้าคนนี้เขาขาดสิ่งนั้นสิ่งนี้เราเติมเข้าไปก็ยังมีโอกาส ที่จะทําให้เขาเติบโตต่อไปได้ยังแก้ได้ไม่มีอะไรที่แบบว่าจะไม่โตเลย

ไม่ยัดเยียด ไม่เร่งรัด สร้างใยประสาทให้เติบโตด้วยความสุข

หลังโควิดพ่อแม่เร่งเรียนลูกเป็นความเข้าใจของพ่อแม่ที่คิดว่าต้องอัดให้เท่ากับสิ่งที่เขาไม่ได้เรียนมา ก็คือเป็นการชดเชยที่ตรงไปตรงมาเพียงแต่ว่ามนุษย์ มันไม่ได้ตรงไปตรงมาอย่างนั้นซะทั้งหมด เพราะว่าสิ่งที่หายไปมันไม่ใช่แค่เวลาที่เขาไม่ได้เรียนแต่สิ่งที่หายไปคือ เช่น เส้นใยประสาทมันไม่งอกในช่วงเวลานั้น ถ้ามันไม่มีอะไรกระตุ้นเลย ใช้แต่มือถือแล้วก็นั่งจับเจ่าอยู่กับที่ เพราะฉะนั้นเส้นใยประสาทที่ควรจะงอกเมื่อเขาได้วิ่งเล่น ได้เจอผู้คน ได้อ่าน ได้อยู่กับเพื่อน พอมันไม่งอก มันคุดไปแล้วเปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีอะไรมาบัง อาจจะโตได้ไม่เต็มที่ แต่ถ้าเราเอาสิ่งที่บังออกเราจะทําให้มันเท่ากับต้นที่โตไปแล้ว 1ฟุตได้ไหม อาจจะไม่ได้ เพราะว่ามันแกร็นไปแล้ว และถ้าจะทำให้โตเท่ากับอีกต้นที่มันไม่ถูกแกร็นก็คงจะต้องเอาใจใส่มากพอ มันอาจจะไม่ได้ต้องการแค่น้ำกับปุ๋ยเท่านั้น ต้องมีการพรวนดิน ดูแลกันอย่างละเอียด

เพราะฉะนั้นเด็กก็เหมือนกันหลังโควิดว่านอกจากจะต้องเข้าใจว่าพัฒนาการมันถดถอยไป ล่าช้าไป สิ่งที่พ่อแม่ต้องทำคือ หนึ่งต้องร้อนใจแต่ไม่ใช่ไปเร่ง โดยการไปอัดโน่น อัดนี่ ยัดเยียดทุกอย่างเข้าไป แต่เราต้องไปดูว่าที่จะทําให้เขาโตมันมีปัจจัยอะไรอีกบ้างที่มันไปครอบเอาไว้ เช่น ความสุขใยประสาทที่หายไป ก็เรื่องนึงแต่ถามว่าทําอย่างไรจะให้ใยประสาทโตขึ้นมา ก็ต้องมาจากการที่เด็กรู้สึกมีความสุข มีสมองส่วนอารมณ์ที่เบิกบาน มีความรู้สึกพร้อมอยากจะเรียน จะมีความรู้สึกว่าชีวิตเป็นปกติไม่เครียดเหมือนเมื่อก่อน

แต่ถ้าเติมแล้วสิ่งนั้นมันทําให้เขาทุกข์เครียดไปอีก สมองเขาก็จะชะงักอีก เพราะฉะนั้นกระบวนการของการที่เราจะทําให้เขาเลิกแคระแกร็นได้มันก็จะต้องมีความประณีต ซึ่งเวลานี้ก็เราก็ชี้กันไปแล้วว่าอย่างนี้ 1.แทนที่จะให้เด็กไปอ่าน คัด ABC อ่านตัวอักษรอย่างเดียวก็มาอ่านนิทาน

2.วิ่งเล่นและเคลื่อนไหวร่างกาย

3.ครูกอดและพูดคุยกับเด็กให้มากขึ้น

4.อ่านนิทานเยอะๆ แล้วก็พูดคุยซักถามไปเรื่อยๆ ชวนคิดชวนคุย ทํากิจกรรมต่อเนื่องมากขึ้น ให้เด็กได้ทำบทบาทสมมติ คือทําให้มันเกิดการงอกงาม เพื่อไปกระตุ้นให้มันกลับมาดีและก็พร้อมที่จะโตต่อไป

3 เร่ง 3ลด 3เพิ่ม

เนื่องจากว่าพอมันมีโควิดเด็กก็กระทบทุกด้านร่างกายก็เนือยนิ่ง ไม่เคลื่อนไหวพ่อแม่ก็โยนมือถือให้เพราะว่าพ่อแม่ก็จะไม่มีเวลาทํางานแต่มันกลายเป็นทําร้ายลูก มีงานวิจัยว่าสายตาเด็กเสียไปเยอะ ด้านอารมณ์เด็กก็กระทบคือเด็กมันต้องวิ่ง ต้องวิ่ง ต้องเล่น ต้องอยู่กับเพื่อน ปรากฏว่าก็ไม่ได้วิ่งไม่ได้เล่นอะไรแล้วก็ใช้มือถือมากๆ สายตาก็ใช้งานหนักก็เครียดโดยไม่รู้ตัว เพราะฉะนั้นเด็กก็จะอารมณ์หงุดหงิดแล้วก็ไม่ค่อยมีความสุข โดยที่ผู้ใหญ่เราอาจจะไม่รู้ก็คิดว่านิ่งกับโอเคแล้ว นอกจากนี้ในเรื่องสังคมคือเด็กก็ไม่ได้อยู่กับสังคม เพราะการเข้าสังคมมันทําให้เด็กนอกจากจะเรียนรู้แล้ว ยังเป็นที่ระบายอารมณ์ ได้เล่นกับเพื่อนก็สนุกสนาน หัวเราะ แต่บรรยากาศอย่างนี้มันไม่มีมันหายไป แล้วก็ด้านจิตปัญญาเด็กไม่ได้เรียนอะไร แต่สิ่งที่เป็นห่วงกันมากที่สุดก็คือเส้นใยประสาทที่ช่ฃวงอายุ 3-6ปีจะแผ่ขยายมาก แต่พอไม่ได้มีกระบวนการเรียนรู้ มีประสบการณ์ที่ดี มันก็จะแกร็นแล้วถ้าพ่อแม่ ไม่เข้าใจก็ฟื้นไม่ได้ ผลกระทบก็คือเด็กก็อาจจะไม่ใช่คนที่พอใจต่อการเรียนรู้ ไม่ใช่เด็กที่อยากเรียนรู้ เพราะว่าสมองส่วนที่ควรจะกําลังเรียนรู้มันแกร็นไปแล้ว

เพราะฉะนั้นอาจจะเป็นคนที่ไม่พอใจกับเรื่องต่างๆ เพราะภาวะอารมณ์โครงสร้างสมองมันทําให้กลายเป็นแบบนั้นไปแล้ว คือไม่ค่อยมีความสุข หงุดหงิดงัวเงียๆ นี่คือสิ่งที่เรียกว่าเป็น Learning Lossของจริง สิ่งที่เป็นข้อเสนอออกมาก็คือว่าต้องเร่งแก้ปัญหา เคสที่หนักๆ เช่น เด็กที่เจอกับความรุนแรงในบ้าน รวมถึง อ่านหนังสือชวนกันอ่านนิทานบ่อยๆ ให้เด็กไปวิ่งเล่น เรารณรงค์เรื่องกิจกรรมทางกายว่าต้องให้เด็กวิ่งทุกวัน ร่างกายได้ขยับขับเคลื่อน สมองได้ทํางาน ได้เล่นกับเพื่อน ได้หัวเราะ ได้อากาศที่เข้าไปปอดทํางาน ซึ่งต้องกลับมาทำอย่างจริงจัง

แล้วถามว่าเราจะรู้ได้ยังไงว่ากิจกรรมที่เราทํามันจะพาเด็กไปสู่การแก้สถานการณ์นะคะหรือฟื้นฟูได้จริง วิธีเช็กเบื้องต้นคือ

1.เด็กมีความสุขหรือเปล่า มีความอยากทํากิจกรรมอะไรเหล่านี้ไปพร้อมกับคุณครูกับคุณพ่อคุณแม่ไหม

2.สัมพันธภาพดีไหมถ้าในกิจกรรมนั้นสัมพันธภาพดีเชื่อได้ว่าสมองส่วนอารมณ์เขาจะดีและมันก็พร้อมที่จะไปกระตุ้นสมองส่วนคิดให้ทํางาน

3.กิจกรรมนั้นทําได้หลากหลายอย่างหรือเปล่า เช่น สมมติว่าการอ่านหนังสือคือเด็กก็ได้อ่าน สมองได้ทํางาน แล้วครูก็ชวนทำท่า ต้นถั่ว ท่าที่มันกําลังเติบโตทํายังไงบ้าง เป็นMusic Movement ได้เคลื่อนไหวทั้งร่างกาย ทั้งสายตา ทั้งสมอง ประสาทสัมผัสทั้งหมดได้ทํางาน อย่างนี้จะช่วยกระตุ้นได้เร็ว

4.สิ่งนั้นมีความหมายต่อชีวิตของเด็กๆ ไหม เช่น จะพูดเรื่องถั่วเราก็อาจจะต้องดึงกลับมาว่าเด็กๆ เราไปปลูกสวนครัวกันไหมเรามีถั่วคนละต้น ชวนเด็กๆ นั่งเฝ้า เพราะฉะนั้นเด็กรู้สึกว่าสิ่งที่อ่านกับสิ่งที่เขากําลังจะทํามันเป็นเรื่องเดียวกัน มันมีความหมายต่อชีวิตเขา เดี๋ยวพรุ่งนี้ มะรืนนี้จะรดน้ํา จะเริ่มเกิดความรับผิดชอบจะเริ่มเกิดความรู้สึกผูกพันรอคอยว่าเมื่อไหร่มันจะโต เพราะฉะนั้น 4ข้อนี้จะเป็นตัวเช็ก ถ้ามันไปได้ดีผู้ใหญ่เราจะตอบตัวเองได้ว่าเกิดความสุขเกิดแรงจูงใจเกิดความสัมพันธ์ที่ดีเกิดการใช้ประสาทสัมผัสครบถ้วน ไม่ได้สอนอะไรที่ไกลตัวแล้วเด็กไม่รู้เรื่องไม่สนใจ ถ้าทำทั้ง 4ข้อนี้ได้ยังไงก็ฟื้นได้ค่ะ

โอ๊ะ โอ ขอโทษนะ

ตามธรรมชาติของบวบจะสังเกตว่ามันโตเร็ว แล้วด้วยความที่ใบใหญ่ใบหนาก็จึงต้องมีจุดยึดเกาะที่แข็งแรง เพราะใบใหญ่และต้นยาวมาก เพราะฉะนั้นอะไรที่คว้าได้ก็จะคว้า แต่ประเด็นสําคัญก็คือเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการขอโทษ สมมติมีใครมาทําเราเจ็บคนนั้นก็ควรจะขอโทษใช่ไหมคะ แต่ว่าบางครั้งความไม่ตั้งใจที่ทำคนนั้นทำลงไปเด็กอาจจะไม่เข้าใจ ทําไมเขาต้องมาทําผิดกับเรา กรณีที่ไม่ตั้งใจจะเกิดขึ้นเยอะ เราจะทำให้เด็กเข้าใจ เรื่องนี้ได้ง่ายขึ้นอย่างไรบ้าง บางทีความปรารถนาดีของคนคนหนึ่งอาจจะทําให้เราไม่โอเค ไม่พอใจ เสียใจ ซึ่งกระบวนการนี้เป็นกระบวนการ ที่ต้องสื่อสาร ถึงจะทําให้เด็กได้เรียนรู้สองเรื่องไปพร้อมกันคือหนึ่งคนไม่ตั้งใจมันมีอยู่เยอะ คนไม่ได้เพอร์เฟกต์หรอก แต่ว่าเบื้องหลังการทําผิดนั้น บางทีเราต้องไปทําความเข้าใจต้องใจเย็นพอที่จะให้โอกาสในการชี้แจงสื่อสาร แล้วเราก็จะพบว่าหลายเรื่องมันไม่ได้ร้ายแรงจนเราจะรับไม่ได้ ให้อภัยไม่ได้

ฉะนั้นนิทานเรื่องนี้ก็มีเรื่องการสื่อสารที่อยากจะเติมไป เช่น อ๋อขอโทษนะที่ฉันเอาใบไปบังเธอเพราะฉันก็เข้าใจว่าแดดมันร้อน แล้วฉันก็มีใบ ที่แข็งแรงก็ช่วยเธอเธอจะได้ไม่ต้องร้อนเกินไป แต่กลับกลายเป็นว่ามันไปทําให้ต้นมะเขือเทศก็ไม่ได้แดดเลย เพราะฉะนั้นการชี้แจงทั้งสองฝ่าย ฝ่ายที่ขอโทษก็ต้องชี้แจงว่าเราคิดอะไร เราพูดกันได้ตรงไปตรงมา ถ้าเด็กเค้ามีทักษะเหล่านี้ ก็จะไม่ใช่แค่พูดเพียงคําว่าขอบคุณหรือขอโทษ เท่านั้น แต่จะสามารถไปได้ลึกกว่านั้นจะเข้าใจสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างประณีต มันเป็นลึกอีกชั้นหนึ่งว่าถ้าเกิดเขาเข้าใจที่มาที่ไปของมัน เขาก็จะนําไปสู่วิธีการคิดต่อทุกเรื่องไม่ใช่แค่เรื่องขอโทษ เขาจะมีความเข้าใจคนอื่น แล้วเขาก็จะรู้ว่าเราก็มีโอกาสเป็นอย่างนั้น บางทีเราก็ไม่ตั้งใจ ที่จะไปทําอะไรกับคนอื่นแต่ว่าเพื่อนเจ็บซะแล้ว ความเข้าใจ สื่อสารและรู้วิธีอธิบายเรื่องต่างๆ มันก็จะประสานไมตรีกันได้ง่ายขึ้น ก็จะทําให้เขา สามารถอยู่ร่วมได้กับคนอื่นได้อย่างเป็นปกติสุขที่สุด

EF ที่ได้รับจากนิทาน

เรื่องโอ๊ะโอขอโทษนะ ได้เรื่อง Empathy การเข้าอกเข้าใจว่าถ้าฉันเป็นเธอฉันจะเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้นกระบวนการเรียนรู้ตรงนี้ก็เป็นเรื่องที่สําคัญมาก ถ้าเราไปอยู่ในสถานการณ์ของเขาเราจะทํายังไง ถ้าเราเจอแบบนั้นเราจะทํายังไง เราจะจัดการไง เพราะฉะนั้นการคิดแบบนี้มันเป็นการคิดสองชั้น ไม่ใช่แค่ว่าผิดแล้วขอโทษ แต่ว่าถ้าฉันเป็นถ้าเขาเป็นเราเขาคงจะทําอย่างงี้มั้งหรือเราเป็นเขาเราก็อย่างงี้มั้ง

การคิดอย่างนี้มันคือการยืดหยุ่นการที่พร้อมจะให้อภัยมันก็จะมาจากตรงนี้ แล้วมันไม่ได้เพราะว่าเธอแย่กว่าฉัน ฉันสงสารเธอแต่ว่าถ้าฉันเป็นเขา ถ้าเขาเป็นฉันเราจะเหมือนๆ กัน เราต่างมีความรู้สึกได้แบบนี้เหมือนกัน เรามีความเสียใจได้ เราทําผิดได้ เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็จะเป็นการเข้าใจตัวเอง แล้วก็เข้าใจคนอื่นด้วย แล้วก็เปล่งวาจาออกมาว่าขอโทษนะด้วยเหตุแบบนี้นะ ก็จะช่วยลดความขัดแย้ง เป็นการประนอมกันมันคือการทําความเข้าใจ

ในเรื่องEFก็เช่นกัน เราสามารถเอาสถานการณ์มาถามเด็กได้ว่าตอนไหนที่รู้สึกโกรธเพื่อน เพื่อนทําอะไรให้เราโกรธ แล้วเขาคิดอย่างไง กับสิ่งที่เพื่อนทำ หรือหลังจากที่อ่านหนังสือแล้วก็คุยกัน เด็กจะได้กลับไปทบทวนความรู้สึกตัวเอง มุมมองของตัวเอง วิธีปฏิบัติที่ตัวเองควรจะทํา เพราะฉะนั้นเรื่องนี้พี่มองว่าเวลานี้โอกาสที่คนจะเข้าใจกันมันน้อยลงเพราะว่าอะไรๆมันก็เร็วแล้วมันก็จะมีสื่อกั้น เช่น บางทีเขียนในไลน์ มนุษย์ควรมีโอกาสปฏิสัมพันธ์เห็นหน้าตา แต่ตอนนี้ Face to Face มันน้อย เพราะฉะนั้นความเข้าใจกันอย่างลึกซึ้งก็จะน้อย อย่างเวลาเราเขียนขอโทษ ตอนพูดยากกว่ากันเยอะเขียนขอโทษมันจบ มันก็ดูเหมือนก็ไม่เป็นไร แต่เวลาเราจะพูดต่อหน้าเขาว่าขอโทษนะ มันใช้ความรู้สึกตัวเอง เป็นความรู้สึกที่จริงๆ ของเรา

เพราะฉะนั้นเราก็อาจจะต้องให้เด็กๆได้มีโอกาสเรียนรู้แบบว่าไม่ต้องไปผ่านสื่ออะไร เอาความรู้สึกเราแล้วก็ที่สําคัญอธิบายชี้แจง เอาความจริงมาสื่อสารกันแล้วค่อยๆ ประนอมเรื่องต่างๆ ให้มันไปในทางบวก ก็จะช่วยให้เด็กมีชีวิตที่ง่ายขึ้นตั้งแต่เรื่องเล็กๆไปถึงเรื่องใหญ่ๆ ที่เราเผลอทําโดยไม่รู้ตัวก็เรียกว่ามันเป็นจุดเริ่มต้นของการที่ทําให้เด็กเข้าใจรู้จักตัวเองก่อน

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

รักลูก The Expert Talk EP 89 : “Self ดี EF ดี แบบนี้ดีต่อใจ นิทานชุดในสวนกับย่าติ่ง”

รักลูก The Expert Talk Ep.89 : Self ดี EF ดี แบบนี้ดีต่อใจ นิทานในสวนกับย่าติ่ง สุภาวดี หาญเมธี

 

นิทานชุดในสวนของย่า เรื่อง “แบบนี้ดีต่อใจ” จะช่วยให้พ่อแม่มองเห็นความสำคัญของการสร้างความสุขให้กับเด็กผ่านต้นชมพู่มะเหมี่ยว เพราะเมื่อเด็กมีความสุข Self ของเด็กจะดีและมีทักษะ EF

ชวนฟังหลักคิดเพื่อนำไปปรับใช้ในการเลี้ยงลูกจากนิทานย่าติ่ง คุณสุภาวดี หาญเมธี สุภาวดี หาญเมธี ประธานสถาบันรักลูกเลิร์นนิ่ง กรุ๊ป

 

แบบนี้ดีต่อใจและได้เรียนรู้

เป็นนิทานที่เล่าเรื่องของต้นมะเหมี่ยว ซึ่งเป็นต้นไม้ใหญ่ต้นเดียวในบ้านทําให้บ้านเย็น เวลาที่ทําสวนข้างบนมันร้อนก็จะได้อาศัยร่มเงาเขา ก็เป็นประเด็นว่าอยากเสนอเรื่องความสุข เพราะว่าเวลารณรงค์เรื่องEFอย่างที่เรารู้ว่าการทํางานของสมอง สมองส่วนคิดจะทํางานได้ดี หรือEFจะทํางานได้ดีก็ต่อเมื่อ Selfดี มีสมองส่วนอารมณ์ เบิกบาน ปลอดภัย เพราะฉะนั้นคนที่จะมีความสุขคือคนที่มี Selfดี ต้องมีความสุข จะมีความสุขเพราะว่ารู้สึกดีกับตัวเอง แล้วก็สามารถที่จะไปรู้สึกดีกับสิ่งอื่นๆได้ เพราะว่าเขามีความสุขอยู่ในตัว

เพราะฉะนั้นการที่เด็กจะมีความสุขได้ มันเริ่มจากหลายอย่างแต่อันหนึ่งก็คือการมองเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายหรือความสุขมาจากการที่ เราทําอะไรได้ด้วยตัวเองสําเร็จ ความสุขจากการที่รู้สึกว่ามีคนรักเรา มีคนเอื้อเฟื้อเรา เรากําลังทุกข์ใจก็มีคนมากอดเรา มีคนมาให้ความช่วยเหลือ ความสุขก็ค่อยๆ ฟื้นคืนกลับมา เพราะฉะนั้นกระบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งความสุขมันก็ต้องค่อยๆ สะสม ถ้าคิดแบบปรัชญาก็คือว่าทุกข์เป็นของตาย ยังไงเราก็มีความทุกข์ นี่เป็นของตายตามหลักศาสนาหรือปรัชญา แต่ว่าจริงๆมนุษย์ก็ต้องมีจังหวะเวลาโอกาสที่จะต้องมีความสุขเพื่ออะไรเพื่อให้มันประคองชีวิตไปได้ คนที่มีแต่ทุกข์อยู่ตลอดแล้วไม่รู้สึกมีความสุขเลยเนี่ยมันชีวิตเดินหน้าไม่ได้ชีวิตจะไม่มีพลัง

ทำแบบนี้ดีต่อใจลูก

เพราะฉะนั้นการที่เด็กจะมีพลังพ่อแม่หรือคุณครูต้องทำให้

1.เด็กรู้สึกดีกับตัวเองให้เขารู้สึกว่าตัวเองมีดี เด็กทุกคนมีดีอยู่ที่ว่าเราจะเห็นดีของเขาหรือไม่ เพราะฉะนั้นถ้าเขารู้สึกดีกับตัวเอง ถือแก้วน้ําได้แล้ว เดินหยิบขยะไปทิ้งที่ถังขยะได้ เล่นเองแล้วเก็บของเล่นเองได้ จะทำให้ระหว่างทางเขามีความสุขเกิดขึ้น

2.ส่งเสริม ชื่นชม กระตุ้น สนับสนุนเขา ความรู้สึกที่มีความสุขจากการที่ตัวเองมีดีมันจะเป็นฐานที่เมื่อเขาผ่านสถานการณ์ที่ไม่ถูกใจ แต่ถ้าเขาปรับตัวได้หรือพลิกมุมมองบางอย่าง เช่น ต้นแม่มะเหมี่ยวก็จะมีเสียงที่คอยยุแยงตะแคง คอยถาม มาทำให้รําคาญ แต่ก็มีวิธีมองคือมองเรื่องเล็ก ๆ ว่าไม่เป็นปัญหา เรื่องดีมันมีมากกว่านั้นอีก ขี้นกตกเยอะก็ไม่เป็นไรเดี๋ยวฝนมาขี้นกมันก็หายไป

3.ฝึกลูกอยู่ง่าย กินง่าย ปรับตัวง่าย มองโลกให้มีความสุขเรื่องพวกนี้ก็จะไม่รบกวนเขามากถึงวันที่มันมีเรื่องใหญ่จริงๆ ทุกข์จริงๆ เขาก็จะเอาความสุขที่มีอยู่ในตัวเขาที่มีพลังไปแก้ปัญหาคือวิธีแบบนี้ไม่ได้แปลว่าโลกสวย แต่เราต้องให้เด็กอยู่กับความจริง อะไรที่เป็นสุขก็คือเป็นสุข อะไรที่เป็นทุกข์ก็ต้องยอมรับว่ามันคือความทุกข์มันจะได้ไปแก้ปัญหา เพียงแต่ว่าการมีมุมมองที่บวก Positive Thinking มันคือการพลิกมุมมอง อย่างขี้นกตกใส่รถแทนที่จะโวยวายก็พลิกสถานการณ์จากลบให้เป็นบวกจะได้ชวนลูกบ้างรถ ไม่ได้แปลว่าเราไม่เห็นว่าขี้นกเป็นปัญหาเราเห็นมันเป็นปัญหา แต่เราหยิบปัญหามาเป็นสถานการณ์ที่เป็นการเรียนรู้

ปลายทางของมันคืออะไรคือทําให้เด็กอยู่ง่าย ทําให้เขามีความสุขง่าย มีอะไรก็ดีได้ไม่ต้องยาก แล้ววันที่เขาไปเจอของยากจริงๆ ของแย่จริงๆ เจออุปสรรคที่มันใหญ่จริงๆ ความสุขเหล่านี้มันจะเป็นฐานให้เขาไปแก้ไขปัญหาได้ง่ายขึ้น คือคนที่จะแก้ปัญหาอะไรยากๆ ถ้าเป็นคนที่คิดลบตลอดจะแก้ปัญหาไม่ได้ เด็กควรโตมาแบบที่เห็นว่าเรื่องยากทั้งหลายมันไม่ยากเกินกําลังแล้วเราก็เคยผ่านมาแล้วเคยจัดการเรื่องเหล่านี้มาแล้วก็สําเร็จมาทีละเล็กทีละน้อย คือมนุษย์มีศักยภาพที่จะหาความสุข สร้างความสุข เราไม่ต้องไปตัดศักยภาพของเด็กทําให้กลายเป็นคนที่รู้จักแต่ความทุกข์อย่างนี้ไม่แฟร์กับเด็กเราต้องให้เขามีโอกาสที่จะหาความสุขด้วย ให้เขามีทักษะมีวิธีมองมีประสบการณ์ไหมคะก็เหมือนกับเรื่องทักษะEF มองยืดหยุ่นความคิดไปอีกมุมหนึ่ง พลิกมุมจากความทุกข์เป็นความสุขได้ คือวิธีคิดที่ดีก็จะนํามาซึ่งความสุข แต่ขณะเดียวกันความสุขก็จะทําให้เรามีโอกาสมีวิธีคิดที่ดีมันเป็นสิ่งที่มันคู่กัน

ถ้าเด็กเป็นคนมีความสุข โดยเฉพาะเป็นความสุขที่มาจากการที่เขาประสบความสําเร็จ ได้รับคําชื่นชมเขาจะใช้ประสบการณ์ที่มีคุณภาพที่มีความสุขเหล่านี้ไปแก้ปัญหาได้เยอะจะรู้สึกดีกับตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ มันมีสถานการณ์แบบนั้นในชีวิตเราเยอะมากที่เราควรที่จะต้องหยิบมาแล้วก็ฝึกให้เขามองว่าถ้ามองอีกแบบหนึ่ง มองแล้วไม่เป็นทุกข์เป็นอย่างไรแล้วพอ คือเวลาที่มันเกิดจากเรื่องที่ไม่ถึงกับยาก ถ้าเราฝึกเขาไว้ในวันที่เขาเจอเรื่องยากเขาจะหยิบประสบการณ์พวกนี้ไปทดลองคิด แต่ถ้าเราไม่เคยให้ลูกทุกข์เลยเพอร์เฟกต์ไม่ต้องคิดอะไรของไม่ดีก็ทิ้งไป เขาก็จะรู้วิธีเดียวหรือแบบที่ตัดปัญหาไป แต่จริงๆ ในชีวิตจริงเราทําให้ดีกว่านั้นได้เราไม่จําเป็นต้องทําแบบนั้น กระบวนการคิด ที่มันค่อยๆซับซ้อนและประณีตขึ้น มันจะเกิดขึ้นได้จากการที่เราชวนเขามองเรื่องอย่างนี้ไปก่อน เริ่มต้นจากเรื่องง่ายๆ

EF ทำให้ลูกอยู่รอด

แม้โลกไม่ VUCA อย่างไรก็ต้องใช้ทักษะ EF เพราะว่าEFคือทักษะที่เกิดจากสมองส่วนหน้า ส่วนที่เราแตกต่างจากสัตว์ทั้งหลาย เพราะฉะนั้นความสามารถนี้ก็ พิสูจน์มาตลอดว่าเราใช้ EF ในการแก้ปัญหา ปรับตัว สร้างสรรค์และพัฒนา ยังไงเราก็ต้องเจอกับปัญหาที่มันหนักขึ้นเรื่อยๆ โลกร้อนนี่ก็เรื่องหนึ่งนะคะ หรือเทคโนโลยีที่เข้ามา อย่างตอนนี้มีแชท GPT มนุษย์ก็ต้องเก่งต้องพัฒนาเพื่อที่จะรับมือแล้วก็จัดการชีวิตเรา ชีวิตครอบครัวเรา ชีวิตสังคมเราได้

เพราะฉะนั้นสถานการณ์เหล่านี้มันต้องการความสามารถของสมองสิ่งที่เรากําลังทำคือฝึกเด็กเรื่องEF ให้เขารู้จักคิด มีทักษะที่จะคิด มีความรู้สึกดีที่จะคิด มีความรู้สึกอยากลองได้ลองผิดลองถูก กระบวนการฝึก EFในเด็กเล็กที่เราพยายามรณรงค์กันคือเพื่อให้เขามั่นใจว่าเขามีทักษะเหล่านี้ดีขึ้น เข้มแข็งขึ้นแล้วฝังอยู่ในสมองเป็นชิปที่เมื่อไหร่ก็ตามที่เจอกับอะไรเขาก็จะสามารถค่อยๆคิดวิเคราะห์ค่อยๆหาคําตอบ จนในที่สุดเรื่องยากเรื่องใหญ่มันก็จะเข้ามาในลูปของเส้นใยประสาทแบบนี้เหมือนกัน ถ้าเด็กของเราจํานวนมากเป็นอย่างนี้เราก็มั่นใจได้ว่าเขาจะช่วยกันคิด พากันแก้ปัญหา

สิ่งที่สําคัญก็คือว่าเวลานี้เราพบมากไปกว่านั้นว่าไม่ใช่แค่เด็กคิดเก่งเท่านั้นที่จะสามารถพัฒนาตัวเองไปได้ดี แต่เราพบว่าเขาจะคิดเก่งคิดดีได้ ก็ต้องมีฐานใจที่ดีด้วยเช่นเดียวกัน ฐานสมอง ฐานใจก็ต้องเสริมกัน เพราะฉะนั้พอเราจะมาทําเรื่องส่งเสริมEFให้เด็ก เราต้องส่งเสริมเรื่องSelfเขาไปด้วย เพราะว่าSelfที่ดีจะทําให้เขาพัฒนาEFได้ กล้าคิด กล้าพูด กล้าทํา กล้าไปเผชิญโลก กล้าไปเจอปัญหา แต่ถ้าSelfไม่ดี เขาก็จะกลัวไปหมดทั้งโลกมันน่ากลัว ทั้งโลกมันมืดมนทั้งโลกไม่มีโอกาส เพราะฉะนั้นต่อให้เขาคิดอย่างไรก็ไปต่อไม่ได้จึงต้องทำสองเรื่องนี้ไปคู่กัน แล้วพอมีโควิดก็ทําให้เห็นว่าฐานกายก็ต้องไปด้วยกัน คือสุขภาพที่ดีจึงจะทําให้เขาสามารถไปคิดไปสร้างไปอะไรได้แล้วก็จะทําให้จิตใจของเขาดีได้ด้วย

เพราะฉะนั้นราต้องทำให้เด็กแข็งแรงทั้งสมอง จิตใจ ร่างกายก็คือครบองค์รวมได้ประโยชน์ครอบคลุม แทนที่เราจะไปทําเรื่องคุณธรรมก็ไม่ใช่ไม่ทําแต่ว่าไม่ใช่โฟกัสเรื่องเดียวคือคุณธรรม สมองที่คิดได้ดีที่ยับยั้งตัวเองได้ดีนั่นแหละคุณธรรมก็เกิด ไม่จําเป็นต้องไปไล่บอกว่าคุณต้องฝึกคุณธรรมอย่างโน้นอย่างนี้ อย่างนั้น จริงๆ EFที่ดีมีการยั้งคิดไตร่ตรองก็มีศีลในตัวเอง เพราะฉะนั้นเราจะทําอะไรก็ตามทําให้มันเป็นทําเรื่องเดียวแล้วมันได้ทุกเรื่อง

ทำEFได้คุณธรรมแน่นอน ได้การคิดเก่งแน่นอน ได้IQ ได้ EQด้วย เวลานี้เราผลักดันอยากเชิญชวนพ่อแม่ทําเรื่องส่งเสริมEF ส่งเสริมSelfแล้วก็ผ่านกิจกรรมทางกายด้วย พาลูกออกกําลังกายเยอะๆ แต่ถ้าไปพาเรื่องเรียนเก่งอย่างเดียวจะมาเสียใจทีหลังว่า ลูกไม่มีSelf ลูกซึมเศร้า ลูกอยากฆ่าตัวตาย เมื่อตอนเป็นวัยรุ่น หรือเอาแต่ลูกเรียนหนังสืออย่างเดียว ปรากฏว่าก็ไม่มีปฏิภาณที่จะแก้ปัญหาในชีวิต สรุปแล้วก็ไม่คุ้มทําสามเรื่องนี้ดีกว่าแล้วก็ยาวไปตลอดชีวิตของเขา

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

 

รักลูก The Expert Talk EP.100 : สร้างสมดุลฮอร์โมนให้ลูก ก่อนลูกแก่เกินวัยและเติบโตช้า

 

รักลูก The Expert Talk Ep.100 : สร้างสมดุลฮอร์โมนให้ลูกก่อนลูกแก่เกินวัยและเติบโตช้าเกินไป 

 

“ทำไมลูกมีประจำเดือนเร็ว ส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์ กินก็เยอะทำไมไม่อ้วน ลูกดูไม่ค่อยแข็งแรง อ่อนเพลียง่าย” รู้ไหมว่าอาการเหล่านี้เป็นผลลัพธ์จากการทำงานของฮอร์โมนที่ไม่สมดุล แล้วจะทำให้ฮอร์โมนทำงานสมดุลได้อย่างไร เพื่อให้ลูกเติบโตอย่างสมวัย

ฟัง The Exeprt พญ.นวลผ่อง เหรียญมณี
กุมารเวชศาสตร์ โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม โรงพยาบาลพญาไท 2

รู้จักฮอร์โมนไทรอยด์

มีฮอร์โมนที่สําคัญกับการเจริญเติบโตของเด็กมีสามตัว ได้แก่ 1.ฮอร์โมนเพศ 2.ฮอร์โมนไทรอยด์ 3.โกรทฮอร์โมน สำหรับEPนี้ทำความรู้จักกับฮอร์โมนไทรอยด์ เป็นฮอร์โมนที่มีบทบาทสําคัญกับการเจริญเติบโตของเด็ก ได้แก่ 1.การพัฒนาทางด้านสมองของเด็ก 2. การพัฒนาทางด้านร่างกาย 3.ระบบการเผาผลาญก็เกี่ยวข้องนะคะ ฮอร์โมนตัวนี้ทําให้การเผาผลาญของร่างกายเป็นไปด้วยดี แต่ก็มีโรคหรืออาการที่เกิดจากไทรอยด์ เช่น ไทรอยด์เป็นพิษเด็กจะมีอาการตาบวม ตาโปน คอโต บางทีมาด้วยปัญหาเรื่องสมาธิสั้นไฮเปอร์แอคทีฟ และอีกอย่างคือกินเยอะแต่น้ำหนักไม่ขึ้น กินแล้วผอมเหมือนที่เขาบอกว่ามีไทรอยด์อ้วนกับไทรอยด์ผอม หรืออาจจะมีอาการท้องเสีย เหนื่อยง่าย นอนหลับไม่สนิท เช็กลิสต์เบื้องต้นที่พ่อแม่อาจจะนำไปเช็กได้แก่ นอนน้อย นอนไม่หลับหลับไม่สนิท สมาธิสั้น เหนื่อยง่าย ใจสั่น กินจุแต่น้้ำหนักไม่ขึ้น ถ้าสังเกตว่าลูกมีอาการเหล่านี้ สามารถพามาพบคุณหมอเพื่อเช็กเรื่องไทรอยด์เป็นพิษ

สำหรับเรื่องฮอร์โมนจะต้องมีความสมดุล ถ้าเยอะก็ไทรอยด์เป็นพิษ แต่ถ้าน้อยไปก็เป็นกลุ่มของไทรอยด์ต่ำ อาการก็จะตรงกันข้ามคือ กินเยอะแต่อ้วน เนือยๆไม่active ท้องผูก นอนเยอะ ดูอ้วนๆ ฉุๆ แต่ว่าทั้งสองกลุ่ม พ่อแม่จะสังเกตเห็นชัดว่าทําไมลูกเราคอโตจังหรือที่เขาเรียกว่าคอพอก อาการแบบนี้ก็จะเจอได้ทั้งสองกลุ่ม ซึ่งต่อมไทรอยด์จะเป็นต่อมที่อยู่ใต้ผิวหนังนี้บริเวณคอเป็นลักษณะรูปผีเสื้อ พอมีความผิดปกติมันก็จะบวมโตขึ้นมา ซึ่งถ้ารุนแรงมากอาจจะดูโตแบบทั้งคอแต่ถ้าไม่มาก พอเงยคอขึ้นมาก็จะสังเกตเห็นได้

ไทรอยด์เป็นพิษ

การรักษาไทรอยด์เป็นพิษจะใช้ยาเป็นหลัก ทั้งการกลืนแร่รังสีและผ่าตัด สำหรับการกลืนแร่รังสีจะเริ่มใช้ได้ตั้งแต่เด็กที่อายุมากกว่า10ปีขึ้นไป ส่วนการผ่าตัดอาจจะต้องดูเป็นกรณี เพราะจะมีภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด ส่วนการรักษากลุ่มของไทรอยด์ต่ำ มีวิธีรักษาแบบเดียวคือให้ยากินฮอร์โมนไทรอยด์เสริม เด็กบางคนอาจจะกินแต่ช่วงระยะสั้น แต่บางคนก็ต้องกินยาไปตลอดชีวิต ซึ่งมักจะเป็นกลุ่มที่ร่างกายสร้างต่อมไทรอยด์ไม่ได้และเป็นมาตั้งแต่กําเนิด

สาเหตุที่ต่อมไทรอยด์มีความผิดปกติเกิดจากการภูมิต้านทานของร่างกายเข้าไปทําลายทำให้สร้างฮอร์โมนไทรอยด์ออกมาไม่ได้ อย่างที่เราคุ้นเคยกับคําว่าภูมิต้านทาน ทําร้ายเซลล์ของร่างกาย สำหรับการป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นคือต้องทำให้ฮอร์โมนสมดุล ร่างกายมีความสมดุล พักผ่อนดี ออกกําลังกายดี กินอาหารครบถ้วน และให้หลากหลายร่างกายอยู่ในภาวะสมดุล และถึงแม้ว่าเด็กคนนั้นจะมีความเสี่ยงอยู่ที่จะเป็นโรคไทรอยด์ แต่ความเสี่ยงอาจจะไม่ได้ส่งผลกระทบกับเด็กมาก ถ้าสามารถรักษาภาวะสมดุลได้

ภาวะการขาดฮอร์โมนไทรอยด์ตั้งแต่กําเนิดเป็นเรื่องที่สําคัญมาก ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายคัดกรองทารกแรกเกิดทุกคนว่ามีการขาดฮอร์โมนตัวนี้ไหม ดังนั้นจะเห็นว่าหลังคลอด 2วันแรกเด็กจะโดนเจาะส้นเท้าเพื่อตรวจระดับไทรอยด์ฮอร์โมน เพราะถ้าขาดและเสริมฮอร์โมนให้ได้ภายใน2สัปดาห์แรก สมองเด็กก็ได้รับ ฮอร์โมนไทรอยด์พัฒนาไปได้ปกติ

รู้จักฮอร์โมนเพศ

ฮอร์โมนเพศทำหน้าที่แบ่งแยกเพศหญิงเพศชาย ฮอร์โมนเอสโตรเจนทําให้เกิดลักษณะเพศหญิง ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนทําให้เกิดลักษณะของเพศชาย ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ฮอร์โมนมาเร็วมาเยอะก่อนเวลาที่ควรจะเป็นทําให้เกิดภาวะที่เรียกว่าเป็นหนุ่มสาวก่อนวัย ในช่วงแรกจะเห็นว่าเด็กโตดีโตเร็วสูงกว่าเพื่อน แต่ปรากฎคือกระดูกโตไปมากแล้วอีกไม่นานกระดูกปิด ทําให้ตอนหลังความสูงหยุดก่อนเพื่อน กลายเป็นตัวเตี้ยกว่าเพื่อนและเตี้ยกว่าที่ควรจะเป็นตามพันธุกรรม และพอเราโตเร็วเป็นสาวเร็วแต่ใจเรายังเป็นเด็กก็กระทบต่อสภาพแวดล้อมทางสังคมและจิตใจของเด็ก ในแง่ของเรื่องอารมณ์อาจจะมีอารมณ์หงุดหงิดเพราะยังควบคุม อารมณ์ได้ไม่ดีนัก คือร่างกายมันไม่ไปกับพัฒนาการทางด้านอารมณ์ และเสี่ยงต่อการถูกการละเมิดทางเพศ เพราะยังป้องกันตัวเองไม่ได้

สาเหตุเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัย

หลังช่วงโควิดที่ผ่านมามีความชัดเจนขึ้นว่าเด็กเป็นสาวเร็วขึ้นเกิดจากความสมดุลนั่นเองค่ะ คือการที่มีฮอร์โมนเร็วมีจาก 2ปัจจัย 1.เด็กสมบูรณ์มากไป คือมีภาวะอ้วน และ2.ฮอร์โมนไม่สมดุล และส่วนน้อยคือต้องระวังเรื่องโรคที่มีเนื้องอกที่ต่อมไร้สมองมากระตุ้นทําให้เกิดฮอร์โมนเพศหญิงชายเร็วขึ้น ส่วนการรักษา เริ่มต้นก็จะต้อง MRIสมองเพื่อดูว่ามีเนื้องอกที่ต่อมใต้สมองไหม ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับขนาดและชนิดของเนื้องอกซึ่งก็รักษาไปตามนั้น และเรื่องการมีภาวะอ้วนหรือฮอร์โมนไม่สมดุลก็ต้องปรับเปลี่ยนนิสัยลูกและพ่อแม่ผู้ปกครอง โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกิน การออกกำลังกาย และหากคุณหมอประเมินแล้วว่าความสูงสุดท้ายได้น้อยก็มียาควบคุมฮอร์โมนไว้ก่อน ลดฮอร์โมนลงให้สมกับวัย เพื่อให้กระดูกก็จะไม่แก่เร็วไม่ปิดเร็ว ทําให้ความสูงสุดท้ายไปได้ดีขึ้นตามศักยภาพของเด็ก

ซึ่งการดูความสูงน้ําหนักตั้งแต่เด็กมีประโยชน์มาก หมั่นสังเกตน้ำหนักและส่วนสูงของลูก วิธีสังเกตคือ สำหรับเด็กผู้หญิงส่วนสูงจะขึ้นเร็วมากประมาณช่วงอายุ 10ปี และเด็กผู้ชายอายุ 13ปี แต่หากก่อนหน้านี้สูงเร็วมากก็อาจจะต้องคอยสังเกต สมมติว่าลูกอายุ 5ปี เขาควรจะสูงที่ 120ซม. แต่ก็สูงขึ้นมาทันที อาจจะสูงทีละ 5-10ซม. เพราะโดยปกติเด็กจะสูงขึ้นประมาณ 4-6ซม.ต่อปี แต่พอมีฮอร์โมนเพศอัตราส่วนสูงจะขึ้นเป็น 10ซม.ต่อปี พ่อแม่ก็ต้องคอยสังเกตและอาจจะพามาพบคุณหมอ ซึ่งฮอร์โมนเพศของเด็กผู้หญิงจะมาช่วงอายุ 10ปี เด็กผู้ชายจะมาตอนอายุ 13ปี

ฉะนั้นถ้าคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกอยู่ในวัย10-13ปี อาจจะกลับมาดูกราฟของเราได้ว่ากำลังสูงเกินไปหรือเปล่าหรือเตี้ยเกินไป ซึ่งภาวะหนุ่มสาวก่อนวัย เนี่ยเขาตัดเกณฑ์กันที่อายุ 8ปี ถ้าโตเร็วฮอร์โมนจะมาเร็วในช่วง 7-8ปี กราฟพุ่ง หรือเด็กผู้ชายจะตัดเกณฑ์กันที่อายุ9ปี แต่ถ้าอายุ 8-9ปี แล้วทำไมดูโตเร็ว หน้ามัน เริ่มมีสิวก็ต้องเริ่มเอ๊ะ ว่าฮอร์โมนเพศมาเร็วหรือเปล่า

เมื่อมาที่โรงพยาบาลหมอจะตรวจร่างกาย เด็กผู้หญิงดูว่าหน้าอกนั้นเป็นจากเต้านมหรือว่าเป็นแค่ไขมันอ้วน หน้ามันมีสิวไหม มีขนฮอร์โมนขึ้นไหม โดยเฉพาะรักแร้กับหัวหน่าว หรือการเอกซเรย์อายุกระดูก ถ้ากลุ่มที่มีฮอร์โมนอายุกระดูกก็จะเร็วกว่าอายุจริงไปเกิน1-2ปี และสุดท้ายก็คอนเฟิร์ม โดยการวัดฮอร์โมนจากเลือด

สอบถามเพิ่มเติม โปรแกรมตรวจภาวะเด็กเติบโตช้าโปรแกรมตรวจคัดกรองโรคอ้วนในเด็ก 02-617-2444 ต่อ 3219, 3220 รพ. พญาไท 2

แนะนำทีมกุมารแพทย์เฉพาะทางด้านต่อไร้ท่อและเมตาบอลิซึม รพ. พญาไท 2

พญ. นวลผ่อง เหรียญมณี นพ.ไพรัช ไชยะกุล พญ. ณัฐกานต์ นำศรีสกุลรัตน์

FB @Phyathai2Hospital
Line: @Phyathai 2 , @parenting_school

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

รักลูก The Expert Talk EP.105 (Rerun) : เปลี่ยน "วัยทอง" เป็นช่วงเวลาทองของชีวิต

 

รักลูก The Expert Talk Ep.105 (Rerun) : เปลี่ยน "วัยทอง" เป็นช่วงเวลาทองของชีวิต

เด็กจะเติบโตมาเป็นคนอย่างไร ก็อยู่ที่ช่วงเวลานี้ จุดเปลี่ยนสำคัญที่พ่อแม่ต้องเข้าใจพัฒนาการ รู้วิธีรับมือและพลิกเป็นโอกาสที่จะส่งเสริมพัฒนาทักษะลูก เพื่อให้เป็นช่วงเริ่มต้นของชีวิตที่ดีของลูก

ฟังมุมมองการรับมือวัยทองแต่ละช่วงวัยจาก The Exeprt ครูก้า กรองทอง บุญประคอง

ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กปฐมวัย และผู้ก่อตั้งโรงเรียนจิตต์เมตต์

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

รักลูก The Expert Talk EP.106 (Rerun) : พ่อแม่ที่มีอยู่จริง ทางออก Toxic Stress

 

รักลูก The Expert Talk Ep.106 (Rerun) : เป็นพ่อแม่ที่มีอยู่จริง ทางออก Toxic Stress

ท่ามกลางสถานการณ์ที่ตึงเครียดทุกด้าน รับมือ แก้ไข ด้วยการเป็นพ่อแม่ที่มีอยู่จริง

เมื่อลูกเครียดพ่อแม่ต้องรู้ เพื่อรับมือและคลี่คลายความเครียดเป็นพิษ Toxic Stress ก่อนเกิดสถานการณ์ความเครียดที่ไม่คาดคิด

 

ฟังวิธีการจาก The Expert ผศ. ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร

อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

รักลูก The Expert Talk EP.110 (Rerun) : รักลูกเชิงบวก “สร้าง Self ให้ลูก ปลูกฝังตัวตนที่แข็งแกร่ง"

รักลูก The Expert Talk Ep.110 :  รักลูกเชิงบวก "สร้าง Self ให้ลูก ปลูกฝังตัวตนที่แข็งแกร่ง" 

เลี้ยงลูกให้ได้ดี ลูกต้องมี “SELF” เพราะตัวตนที่แข็งแกร่ง จะทำให้ลูกเติบโตและอยู่ในสังคมได้อย่างปลอดภัย มั่นคงและอยู่รอด

 

ชวนสร้าง SELF กับครูหม่อม ผศ. ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร

อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

 

  

ติดตามรักลูก Podcast ได้ที่

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

รักลูก The Expert Talk EP.114 (Rerun) : ติดจอ ต้นตอทำลูกซึมเศร้า

 

รักลูก The Expert Talk Ep.114 (Rerun) :  ติดจอ ต้นตอทำลูกซึมเศร้า

ผลวิจัยพบว่าเด็กอายุตั้งแต่ 6 -18 เดือน ถ้าอยู่กับหน้าจอทีวี จะทำให้มีปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าวเพิ่มขึ้น มีปัญหาทางด้านปฏิกิริยาทางด้านอารมณ์เพิ่มขึ้น

หมายความว่าเวลาหงุดหงิด ไม่พอใจ ก็จะวีนเหวี่ยง ใช้อารมณ์ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เป็นต้นเหตุของโรคซึมเศร้า

 

พ่อแม่รับมือและรู้เท่าทันก่อนเป็นซึมเศร้า

ฟัง The Expert ศ.นพ.วีรศักดิ์ ชลไชยะ

หัวหน้าสาขาพัฒนาการและการเจริญเติบโต ภาควิชากุมารเวชศาสตร์

  

ติดตามรักลูก Podcast ได้ที่

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

รักลูก The Expert Talk EP.118 : Dysfunctional Family ครอบครัวบกพร่องหน้าที่ เลี้ยงลูกแบบขาดๆ เกินๆ

 

รักลูก The Expert Talk Ep.118 : Family Out จอ Gen กับอาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ ตอนที่ 1 Dysfunctional Family ครอบครัวบกพร่องหน้าที่ เลี้ยงลูกแบบขาด ๆ เกิน ๆ

เลี้ยงลูกแบบไหนให้รอด? พ่อแม่ต้องทำอย่างไร

“Dysfunctional Family” ครอบครัวบกพร่องหน้าที่ เลี้ยงลูกแบบขาดๆ เกินๆ

Dysfunctional Family คืออะไร ? เลี้ยงลูกแบบไหนเลี้ยงแบบขาดๆ เกินๆ ?

 

ชวนฟัง รักลูก Podcast กับอาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ

 

ติดตามรักลูก Podcast ได้ที่https://linktr.ee/rakluke  

รักลูก The Expert Talk EP.119 : เด็ก 6 แบบจากครอบครัว Dysfunctional Family

 

รักลูก The Expert Talk Ep.119 : Family Out จอ Gen กับอาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ ตอนที่ 2 เด็ก 6 แบบจากครอบครัว Dysfunctional Family

 

เลี้ยงลูกแบบใด ได้ลูกแบบนั้น

ฟังอาจารย์ธามพูดถึงเด็ก 6 แบบที่เกิดจากบ้านที่ Dysfunctional Family ลูกจะมีบุคลิคลักษณะแบบใดบ้าง? 

 

ชวนฟัง รักลูก Podcast กับอาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ

 

ติดตามรักลูก Podcast ได้ที่https://linktr.ee/rakluke  

รักลูก The Expert Talk EP.121 : How to be Functional Family เป็นพ่อแม่ไม่บกพร่องหน้าที่

 

รักลูก The Expert Talk Ep.121 : Family Out จอ Gen กับอาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ ตอนนี้ 3 How to be Functional Family เป็นพ่อแม่ไม่บกพร่องหน้าที่

 

AI แย่งงานคน มหาวิทยาลัยยกเลิกการสอนวิชา… เพราะโลกเปลี่ยนทุกวัน เราไม่สามารถคาดเดาถึงการเปลี่ยนแปลงนั้นได้ การเตรียมลูกให้พร้อมสำหรับอนาคตจึงเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญ

ฟัง The Expert อาจารย์ พญ.ลลิต ลีลาทิพย์กุล กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์วัยรุ่น คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บอกวิธีการเตรียมลูกให้พร้อมสำหรับอนาคตในทุกด้าน

พ่อแม่ต้องทำอย่างไรเพื่อให้ลูกสมองไวพร้อมได้ตั้งแต่วันนี้

 

รายการรักลูก The Expert Talk อาจารย์ พญ.ลลิต ลีลาทิพย์กุล

 

ติดตามรักลูก Podcast ได้ที่https://linktr.ee/rakluke  

รักลูก The Expert Talk EP.63 : "กล้าพอไหมเปลี่ยนวิถีใหม่ในบ้าน แก้ปัญหาหนักใจวัยอนุบาล"

 

รักลูก The Expert Talk Ep.63 : "กล้าพอไหม เปลี่ยนวิถีใหม่ในบ้าน แก้ปัญหาหนักใจวัยอนุบาล"

 

Series : เข้าใจ “วัยทอง” ลูกอนุบาลกับครูก้า กรองทอง บุญประคอง

วัยอนุบาลหรือช่วงปฐมวัยเป็นช่วงเวลาทองของการเรียนรู้ เป็นวัยตั้งต้นของชีวิต เด็กจะเป็นอย่างไรเริ่มต้นที่วัยนี้ หลากหลายปัญหาหนักใจ ครูก้าจะมาช่วยคลี่คลาย ช่วยหาทางออก และบอกวิธีการรับมือ

ชวนพ่อแม่เข้าใจช่วงวัยอนุบาลหรือช่วงปฐมวัย วัยตั้งต้นของชีวิต เพราะเด็กจะเป็นอย่างไรเริ่มต้นที่วัยนี้

 

เต็มอิ่ม 4 EP กับครูก้าที่จะทำให้เข้าใจเด็กมากขึ้นพร้อมวิธีรับมือแบบไม่ให้เกิดศึกกลางบ้าน EP1 "กล้าพอไหมเปลี่ยนวิถีใหม่ในบ้าน แก้ปัญหาหนักใจวัยอนุบาล" ชวนมาแก้ 3ปัญหาหนักใจที่ทุกบ้านต้องเจอ แก้ไขได้ด้วยวิธีที่ครูก้ามั่นใจว่าพ่อแม่ทำได้ไม่ยากเกินไป และติดตาม EP ต่อไปกับ EP2 คุยเรื่อง "เล่น" เรื่องใหญ่ของวัยอนุบาล, EP3 เปลี่ยน “วัยทอง” เจ้าปัญหา เป็น “วัยทอง” แห่งการเรียนรู้, EP4 ไม่ใช่แค่ "เรียน" แต่วัยอนุบาลต้อง “เรียนรู้” เข้าใจการเรียนรู้แบบเด็ก "ปฐมวัย" เพื่อให้จัดการเรียนรู้ให้ลูกได้อย่างเหมาะสมตามพัฒนาการ

 

Apple Podcast:https://apple.co/3m15ytB

Spotify:https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube:https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

Используйте уникальный промокод фонбет беларусь и играйте так, как вы давно хотели этого!

รักลูก The Expert Talk EP.64 : "เล่น" เรื่องใหญ่ของวัยอนุบาล

 

 

รักลูก The Expert Talk Ep.64 : "เล่น" เรื่องใหญ่ของวัยอนุบาล

 

เล่นให้เป็นเล่น ไม่เอามาปนกับเรื่องเรียน

 

EP ที่สองของ Seriesเข้าใจ “วัยทอง” ลูกอนุบาลกับครูก้า กรองทอง บุญประคอง ว่าด้วย เรื่อง "เล่น" เรื่องใหญ่ของวัยอนุบาล เล่นแบบไหนให้สนุกและได้ประโยชน์

 

ฟังวิธีการเล่นกับลูก การเลือกของเล่นที่ไม่ต้องแพง ไม่ต้องเยอะแต่คุ้มค่า รอพบกับอีกสอง EP ต่อเนื่องในสัปดาห์ถัดไปกับ EP3 เปลี่ยน “วัยทอง” เจ้าปัญหา เป็น “วัยทอง” แห่งการเรียนรู้แและ EP4 ไม่ใช่แค่ "เรียน" แต่วัยอนุบาลต้อง “เรียนรู้” และสามารถย้อนกลับไปฟัง EP แรก เรื่อง "กล้าพอไหมเปลี่ยนวิถีใหม่ในบ้าน แก้ปัญหาหนักใจวัยอนุบาล" ได้ในช่องทางของรักลูก Podcast เพราะเด็กจะเป็นอย่างไรเริ่มต้นที่วัยนี้ ไม่อยากให้พลาดฟังเพื่อจะได้วิธีการเลี้ยงลูกวัยตั้งต้นของชีวิตได้อย่างเหมาะสมตามพัฒนาการของวัย

 

Apple Podcast:https://apple.co/3m15ytB

Spotify:https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube:https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

รักลูก The Expert Talk EP.65 : เปลี่ยน “วัยทอง” เป็นช่วงเวลาทองของชีวิต

 

รักลูก The Expert Talk Ep.65 : เปลี่ยน "วัยทอง" เป็นช่วงเวลาทองของชีวิต

 

ช่วงวัยทองของเด็ก คือช่วงเวลาทองของชีวิตเด็ก

 

เขาจะเติบโตมาเป็นคนอย่างไร ก็อยู่ที่ช่วงเวลานี้ เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่พ่อแม่ต้องรับมือและมองวัยทองในมุมมองใหม่ เพื่อให้เป็นช่วงเริ่มต้นของชีวิตที่ดีของลูก

 

ฟังมุมมองการรับมือวัยทองแต่ละช่วงวัยจากครูก้าได้ใน EP นี้ รอพบกับอีกหนึ่ง EP สุดท้ายในสัปดาห์ถัดไปกับ ไม่ใช่แค่ "เรียน" แต่วัยอนุบาลต้อง “เรียนรู้” และสามารถย้อนกลับไปฟัง EP ใน Series เข้าใจ “วัยทอง” ลูกอนุบาลกับครูก้า กรองทอง บุญประคอง ได้ในช่องทางของรักลูก Podcast เพราะเด็กจะเป็นอย่างไรเริ่มต้นที่วัยนี้ ไม่อยากให้พลาดฟังเพื่อจะได้วิธีการเลี้ยงลูกวัยตั้งต้นของชีวิตได้อย่างเหมาะสมตามพัฒนาการของวัย

 

Apple Podcast:https://apple.co/3m15ytB

Spotify:https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube:https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

ขอบคุณ exness trading คุณสามารถบรรลุผลลัพธ์ที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วในการซื้อขายและทำงานกับสกุลเงินดิจิทัลโดยทั่วไป!

รักลูก The Expert Talk EP.65 : เปลี่ยน “วัยทอง” เป็นช่วงเวลาทองของชีวิต

 

 รักลูก The Expert Talk Ep.65 : เปลี่ยน "วัยทอง" เป็นช่วงเวลาทองของชีวิต

 

ช่วงวัยทองของเด็ก คือช่วงเวลาทองของชีวิตเด็ก เขาจะเติบโตมาเป็นคนอย่างไร ก็อยู่ที่ช่วงเวลานี้ เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่พ่อแม่ต้องรับมือและมองวัยทองในมุมมองใหม่ เพื่อให้เป็นช่วงเริ่มต้นของชีวิตที่ดีของลูก

ฟังมุมมองการรับมือวัยทองแต่ละช่วงวัยจากครูก้าได้ใน EP นี้ รอพบกับอีกหนึ่ง EP สุดท้ายในสัปดาห์ถัดไปกับ ไม่ใช่แค่ "เรียน" แต่วัยอนุบาลต้อง “เรียนรู้” และสามารถย้อนกลับไปฟัง EP ใน Series เข้าใจ “วัยทอง” ลูกอนุบาลกับครูก้า กรองทอง บุญประคอง ได้ในช่องทางของรักลูก Podcast

เพราะเด็กจะเป็นอย่างไรเริ่มต้นที่วัยนี้ ไม่อยากให้พลาดฟังเพื่อจะได้วิธีการเลี้ยงลูกวัยตั้งต้นของชีวิตได้อย่างเหมาะสมตามพัฒนาการของวัย

 

Apple Podcast:https://apple.co/3m15ytB

Spotify:https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube:https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

 

 

  • 1
  • 2