facebook  youtube  line

เมื่อลูกช่างถาม ทำอย่างไรให้เป็นเด็กช่างคิด

EF, ทักษะสมอง EF, สอนลูกให้มี EF, เลี้ยงลูกให้มี EF, อยากให้ลูกมี EF, อยากให้ลูก EF ดี, วิธีสร้าง EF, เลี้ยงลูกด้วย EF, ครอบครัว EF, คลินิก EF, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, ครอบครัวรักลูก EF
 
เพราะการตั้งคำถามของลูกไม่ใช่แค่ความสงสัยใคร่รู้ตามวัย หากแต่เป็นความความช่างสังเกต ช่างคิด ช่างสงสัย ซึ่งเป็นลักษณะนิสัยของคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ค่ะ เพราะฉะนั้นอย่าเพิ่งเบื่อที่ลูกตั้งคำถาม แต่ควรชวนลูกหาคำตอบเพื่อสร้างนักคิดแทนค่ะ  
How to ปั้นลูกช่างถามให้เป็นเด็กช่างคิด 

1. ตอบคำถามลูกด้วยคำถาม ไม่ใช่การปัดความรับผิดชอบค่ะ หากแต่เป็นการกระตุ้นให้ลูกคิดหาคำตอบด้วยตัวเอง เช่น เมื่อลูกถามว่าทำไมน้ำทะเลถึงเค็ม พ่อแม่อาจตอบลูกว่า แล้วลูกคิดว่าทำไมล่ะ จากนั้นอาจจะต่อยอดด้วยการชวนลูกหาข้อมูลจากที่ต่างๆ เช่น สถานที่จริง พิพิธภัณฑ์ หนังสือ อินเตอร์เน็ต เป็นต้น

2. ชวนลูกหาคำตอบด้วยกิจกรรมที่เข้าใจง่ายบางคำถามพ่อแม่ไม่จำเป็นต้องตอบก็ได้ แต่ให้ลูกได้หาคำตอบเอง เช่น ทำไมรถถึงเคลื่อนไปข้างหน้า แทนที่จะตอบว่าเพราะมีคนขับ หรือเพราะเราเติมน้ำมัน แต่ถ้าหากิจกรรมวิทยาศาสตร์สนุกๆ เกี่ยวกับเรื่องแรงและการเคลื่อนที่มาทดลองเล่นกับลูก นอกจากจะได้คำตอบสนุกๆ ที่สร้างสรรค์แล้ว ยังกระตุ้นให้ลูกสนใจวิทยาศาสตร์ด้วย

3.ตั้งคำถามกับลูกจากเรื่องใกล้ตัว “อะไร ทำไม ยังไง” เช่น ทำไมหมาต้องเห่าด้วย ลูกอาจจะตอบว่าเพราะหมาเห็นคนแปลกหน้า หมากำลังดีใจ หรือมีคนร้าย ตามแต่ประสบการณ์ของเขา แล้วพ่อแม่อาจจะถามต่อว่าต้องทำอย่างไรให้หมาหยุดเห่า ลูกก็จะคิดหาคำตอบและวิธีแก้ปัญหา

4. ชวนทำกิจกรรมสร้างสรรค์ เช่น ทำอาหาร ทำของใช้ DIY ในระหว่างขั้นตอนการทำจะได้พูดคุยกัน อย่างการทำอาหาร ให้ลูกลองชิม แล้วถามว่าอร่อยหรือยัง อยากใส่อะไรเพิ่มอีก หรือคุณแม่แนะนำส่วนประกอบต่างๆ ทำให้ลูกได้เรียนรู้คำศัพท์ และกระตุ้นให้เกิดการถามตอบ เป็นการพัฒนาทักษะการพูดได้ดี

5. ตั้งคำถามสร้างจินตนาการ เพราะการใช้จินตนาการก็เหมือนการบริหารสมองอย่างหนึ่ง ลองถามคำถามที่ดูเกินจริงหรืออยู่ในโลกสมมติบ้างเช่น ถ้าเหาะได้ หนูจะเหาะไปที่ไหน ถ้ามีพลังแบบเจ้าหญิงเอลซ่าหนูจะทำยังไง ถ้าโดราเอม่อนมีจริง อยากได้ของวิเศษอะไรที่สุด          


เจ้าหนูจำไมอาจน่าเบื่อบ้าง แต่เพราะนั่นคือพัฒนาการตามวัยของเขา บางครั้งหากตอบคำถามลูกไม่ได้ก็ไม่ใช่เรื่องผิดหรือต้องหงุดหงิดค่ะ เพราะสิ่งที่สำคัญมากกว่าคำตอบก็คือกระบวนการให้ได้มาซึ่งคำตอบ นั่นคือการเรียนรู้ระหว่างทาง

 

"รักวัวให้ผูก รักลูกให้เลี้ยงด้วย EF"
ขอบคุณความรู้ EF โดย สถาบัน RLG


ลูกไม่มีความอดทน, ลูกไม่รู้จัก, ฝึกให้ลูกรู้จักรอคอย, สอนลูกให้รู้จักรอคอย, ลูกรอเป็น, สอนลูกเข้าคิว, สอนลูกต่อคิว, EF, Executive Functions, ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ, การทำงานของสมองส่วนหน้า, ทักษะสมอง EF, พัฒนา EF, ฝึก EF, EF คืออะไร, อีเอฟคืออะไร, ปรับพฤติกรรมลูก, ลูกก้าวร้าว, ลูกเอาแต่ใจ, ลูกดื้อ, ลูกไม่มีความอดทน, ลูกขี้เกียจ, ลูกความจำไม่ดี, ลูกชอบเถียง, ลูกอาละวาด, ลูกอารมณ์ร้าย, ลูกอ่อนไหว, ลูกปรับตัวไม่เป็น, ลูกปรับตัวไม่เก่ง, ลูกขี้อาย, ลูกไม่มีความยับยั้งชั่งใจ, ลูกไม่มีระเบียบ, ลูกไม่มีวินัย, Working memory, ความจำเพื่อใช้งาน, Inhibitory Control, การยั้งคิด ไตร่ตรอง, Shift, Cognitive Flexibility, การยืดหยุ่นความคิด,Focus, Attention, จดจ่อใส่ใจ, Emotional Control, การควบคุมอารมณ์, Planning,Organizing, การวางแผน, การจัดระบบดำเนินการ, Self-Monitoring, การรู้จักประเมินตนเอง,Initiating, การริเริ่มและลงมือทำ, Goal-Directed Persistence, ความพากเพียร, มุ่งสู่เป้าหมาย, เลี้ยงลูกให้เก่ง, เลี้ยงลูกให้เอาตัวรอด, เลี้ยงลูกให้ดี, เลี้ยงลูกให้ฉลาด, เลี้ยงลูกให้เป็นคนดี, เลี้ยงลูกให้ดูแลตัวเองได้, เลี้ยงลูกให้มีความสุข

เมื่อโลกเปลี่ยนไป self-control ยิ่งสำคัญ

3001

หนูพยายามให้ปู่ย่า(หรือตายาย) อ่านที่คุณหมอเขียนหรือที่คุณหมอท่านอื่นๆ เขียนเพจ ท่านไม่ยอมอ่านบอกว่าเหลวไหลไร้สาระ พวกชั้นเลี้ยงแกมาแบบนี้ไม่เห็นจะเป็นอะไร ป้อนข้าว ดูทีวี ไม่ให้เล่นสกปรก พวกแกก็โตมาได้

จุดตัดสำคัญน่าจะอยู่ที่ปี 2000 คือเริ่มต้นสหัสวรรษใหม่ เป็นช่วงเวลาโดยประมาณที่ประเทศไทยมีอินเทอร์เน็ตแบบมีสาย มีเราต์เตอร์ มีเกมออฟไลน์ ก่อนที่จะพัฒนาเป็นอินเทอร์เน็ตไร้สาย มีไวไฟ มีเกมออนไลน์ ตามด้วยโซเชียลเน็ตเวิร์คเริ่มจากไฮไฟว์มาจนถึงเฟซบุ๊คโลกเปลี่ยนไปแล้ว

การเลี้ยงลูกตามมีตามเกิดเป็นเรื่องที่น่าจะทำได้ในจังหวัดพระนครที่มีทีวีสองช่องคือช่องสี่บางขุนพรหมและช่องเจ็ดกองทัพบก ที่จังหวัดเชียงรายเมื่อปี พศ.2526 มีช่องเดียวคือช่องเจ็ดสีทีวีเพื่อคุณ แต่การเลี้ยงลูกบนโลกที่มีทีวีมากกว่า 200 ช่องและโซเชียลเน็ตเวิร์คที่มีพลังทะลักทะลวงเข้าหาลูกของเราใต้ผ้าห่มตอนตีสองหรือในห้องส้วมเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ประเทศไทยเปลี่ยนไปแล้ว

เด็กสมัยก่อนอาจจะไม่ต้องมีความสามารถควบคุมตนเอง self-control หรือกำกับตนเอง self-regulation อะไรมากมาย เดินป้อนข้าว ดูทีวี เลี้ยงมดไม่ให้ไต่ไรไม่ให้ตอม พวกเขาก็อาจจะรอดได้ เพราะในน้ำมีปลาในนามีข้าวแผ่นดินของเราร่วมด้วยช่วยกัน

แต่วันนี้เด็กที่ไม่มี EF ไร้ความสามารถที่จะบังคับตนเองไปในทิศทางที่ถูกต้อง พวกเขาไม่น่าจะรอด ภายใต้ข้อเท็จจริงที่ว่าในน้ำไม่มีปลาในนาไม่มีข้าว มีไร่อ้อย ไร่ข้าวโพด น้ำพิษและหมอกควันพิษ เราไม่ช่วยกันอีกต่อไปแล้ว รัฐยังไม่ช่วยเราเลย ใครดีใครได้

การป้อนข้าวกลายเป็นประเด็น เราพบว่าเด็กที่นั่งกินข้าวด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะด้วยช้อนหรือด้วยมือ จะมีความสามารถควบคุมตนเองได้ดีกว่าในวันหน้า และพัฒนาการด้านอื่นๆ ดีๆตามๆกันมาเสมือนโดมิโน่

การดูทีวีก่อน 2 ขวบกลายเป็นประเด็น ทีวีมิได้มีแค่ทีวีแต่ยังมีหน้าจอทุกชนิดคือคลิป ยูทู้บ และบิลบอร์ดบนถนน เหล่านี้กระทบการก่อร่างสร้างตัวของวงจรประสาทและการวางขดลวด (wiring) ของเส้นประสาทในสมอง ซึ่งเปรียบเสมือนฐานราก สถานี ชานชาลา และรางรถไฟที่ดีของ EF ในอนาคต

ปู่ย่าตายายเป็นผู้มีพระคุณ ท่านรักหลานโดยไม่มีเงื่อนไขแต่ประโยคที่ว่า “รักลูกให้ถูกทาง” ยังคงเป็นความจริงเสมอ ปู่ย่าตายายเป็นบุคคลที่เราสมควรเคารพและแสดงความกตัญญู

แต่ประโยคที่ว่า “รักพ่อแม่ให้ถูกทาง” ก็มีประเด็นด้วย การที่เราสปอยล์ (spoil) ปู่ย่าตายายมากเกินไปสามารถก่อปัญหาอื่นตามมาได้เช่นกัน ภายใต้ข้อเท็จจริงที่ว่าไวไฟและสมาร์ทโฟนส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมของปู่ย่าตายายด้วย มิเพียงโลกที่เปลี่ยนไป ปู่ย่าตายายก็เปลี่ยนไป

เราควรเจรจาต่อรองกับปู่ย่าตายาย เจรจาต่อรองหมายถึงการแลกเปลี่ยนสินค้า สินค้าบางชนิดเราไม่ควรเอาไปแลก เช่น การป้อนข้าว การดูหน้าจอ สินค้าบางชนิดเราอาจจะพอแลกได้บ้าง เช่น เลี้ยงลูกมดไม่ให้ไต่ไรไม่ให้ตอม การแลกเปลี่ยนสินค้ามิได้หมายถึงการแลก 1 ต่อ 1 แต่เราพิจารณามูลค่าของสินค้าได้ด้วย

 

นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
จิตแพทย์และนักเขียน ขวัญใจพ่อแม่ชาวโซเชียล

 

เล่นจ๊ะเอ๋กับลูก สร้าง EF ได้ทุกที่ทุกเวลา

EF, ทักษะสมอง EF, สอนลูกให้มี EF, เลี้ยงลูกให้มี EF, อยากให้ลูกมี EF, อยากให้ลูก EF ดี, วิธีสร้าง EF, เลี้ยงลูกด้วย EF, ครอบครัว EF, คลินิก EF, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, ครอบครัวรักลูก EF

ดูเหมือนเป็นกิจกรรมธรรมดา แต่รู้มั้ยคะว่า การเล่นจ๊ะเอ๋มีความสําคัญกับการสร้าง EF อย่างมาก เพราะการรับรู้ของเด็กวัยทารก แค่พ่อแม่ปิดหน้าลูกจะเข้าใจทันทีว่าพ่อแม่หายไปแล้ว พอเปิดหน้ามาเขาจะสงสัยว่าพ่อแม่มาได้อย่างไร ตรงนี้เป็นพื้นฐานเป็นบันไดขั้นแรก ในการเรียนรู้ สมองจะทํางานประสานกันหมด

 
สมมติคุณแม่เอาผ้าบังหน้าไว้ เขาก็จะเรียนรู้ที่จะเอาผ้าออกก็ จะเจอหน้าแม่ สิ่งเหล่านี้ช่วยฝึกทักษะการแก้ปัญหา... เรียนรู้ที่จะบังคับร่างกายให้สามารถหยิบจับสิ่งต่างๆ กล้ามเนื้อมือและสมองทํางานประสานกัน การเล่นง่ายๆ อย่างจ๊ะเอ๋หรือเอาของไปซ่อนใต้ผ้า ช่วยปลูกฝังให้ลูกเราได้รู้จักคิด แก้ปัญหา และมี EFที่ดี
 
กระบวนการสร้างEF จำเป็นต้องเตรียมพร้อมตั้งแต่เด็กยังเล็กซึ่งในช่วงแรกบทบาทของพ่อแม่สำคัญที่สุดที่จะดูแลให้ลูกรู้สึกปลอดภัย ไว้วางใจ และมั่นคงทางจิตใจ รวมถึงได้รับโภชนาการที่ดี ได้นอนอย่างเพียงพอและได้เล่นสนุกตามวัย เมื่อลูกโตขึ้นจากวัยเบบี้เป็นวัยเตาะแตะหรือวัยอนุบาล
 
อีก 2 กุญแจสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่สามารถให้ลูกทำได้ที่บ้าน คือการช่วยเหลือตัวเอง และการช่วยทำงานบ้าน เป็นการเปิดโอกาสให้ลูกได้เจอกับ ประสบการณ์หลากหลาย ที่ท้าทายมากขึ้น ให้ลูก ได้ลองผิดลองถูก ช่วยให้ลูกได้พัฒนาทักษะ EF เมื่อ ลูกได้ฝึกฝนประสบการณ์อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ก็จะเกิดเป็นทักษะ EF ที่แข็งแรงติดตัวลูกไปจนโต
 

เลิกเปรียบเทียบลูกตัวเองกับลูกคนอื่น ช่วยลูกไม่เป็นเด็กขี้อิจฉา

ลูกขี้อิจฉา- เด็กขี้อิจฉา, แม่ชอบเปรียบเทียบ, เปรียบเทียบลูกกับคนอื่น, ชมลูกคนอื่น, EF, Executive Functions, ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ, การทำงานของสมองส่วน

เลิกเปรียบเทียบลูกตัวเองกับลูกคนอื่น ช่วยลูกไม่เป็นเด็กขี้อิจฉา

สำหรับคุณแม่ที่ชอบเปรียบเทียบ เรื่องนี้จะส่งผลต่อเด็ก ๆ แบ่งได้สองแบบค่ะ แบบแรกคือลูกจะชอบแข่งขัน แบบที่สองคือเกลียดการแข่งขันไปเลย และการเปรียบเทียบนั้นจะเป็นการทำลายความต้องการพื้นฐานทางจิตใจ ลูกอาจจะรู้สึกด้อยค่า รู้สึกไม่มั่นคง รู้สึกไม่เป็นที่ยอมรับ เพราะพ่อแม่ไม่เคยพอใจในสิ่งที่เขาเป็น ไม่รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว  

ที่สำคัญ... คุณแม่อาจจะทำให้ลูกกลายเป็นคนขี้อิจฉาได้ค่ะ เพราะมักจะโดนเปรียบเทียบกับคนอื่นอยู่เสมอ เด็กที่โดนแม่เปรียบเทียบกับคนอื่นบ่อย ๆ จะกลายเป็นเด็กชอบเอาชนะ แพ้ไม่เป็น จะทำทุกทางเพื่อให้ตัวเองชนะ โดยไม่สนใจว่าจะได้มาโดยวิธีไหน หรือไม่ก็จะกลายเป็นเด็กที่มีปมด้อย ไม่ชอบการแข่งขัน รู้สึกพ่ายแพ้เอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่นอยู่ตลอด จนไม่เห็นคุณค่าของตัวเอง  

สิ่งที่คุณแม่ควรทำ
  1. คุณแม่ต้องเลิกเปรียบเทียบลูกกับคนอื่น
  2. บอกลูกเสมอว่า หนูมีคุณค่าและมีความสามารถในแบบของตัวเอง
  3. คอยชื่นชมในความพยายามของลูกและคอยช่วยแก้ไขในจุดที่ลูกทำไม่สำเร็จ

นอกจากคุณแม่ต้องเลิกเปรียบเทียบลูกกับคนอื่น ยังมีตัวช่วยดี ๆ มาแนะนำคุณแม่ เป็นชุดนิทานเสริมพัฒนานิสัยรักการอ่านให้กับคุณลูกด้วยนะคะ

สอบถามและดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่...

Line@ : @raklukeselect

เลี้ยงลูกอย่างไร ไม่ให้เอาแต่ใจและรักสบาย

3188

ก่อนอื่น เอาแต่ใจตัวเองแปลว่าอะไรได้บ้าง เช่น เห็นตนเองเป็นศูนย์กลางไม่ยอมเลิกเสียที เวลาถูกขัดใจไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ อธิบายเหตุผลมากเพียงไรก็ไม่รับฟัง

เราจะเรียกว่านิสัยไม่ดีก็ได้ แต่อาจจะดีกว่าหากเรามองทะลุไปที่ต้นเหตุของอาการเหล่านี้ แล้วคิดเสียว่าเขาไม่มีความสามารถที่จะทำให้ดีได้ ความสามารถเหล่านี้ไม่เคยถูกฝึก

เห็นตนเองเป็นศูนย์กลาง เรียกว่า self-centered เป็นลักษณะของเด็กเล็กตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุประมาณ 7 ขวบอยู่แล้ว  หากเรามีทัศนคติที่ดีเราควรรู้ว่าเรื่องนี้เป็นธรรมดาและเป็นปกติ ทัศนคติที่ดีเป็นเรื่องสำคัญเพราะช่วยให้เราอารมณ์ดี

อย่างไรก็ตาม เราสามารถบอกกล่าวและเปิดพื้นที่ให้ฝึกได้ เช่น ให้โอกาสเด็กเล็กได้เล่นในสนามอย่างเป็นอิสระ โดยมีพื้นที่รอบตัวเขาพอสมควรเท่าที่เขาจะรับได้ เราสามารถบอกความคาดหวังได้ว่าถ้าหนูอยากเล่นกับคนอื่นก็ได้นะ แต่ไม่กดดันบังคับด้วยข้อเท็จจริงที่ว่าเด็กแต่ละคนจะลดความเป็นศูนย์กลางของตนเองลงด้วยความเร็วช้าต่างๆ กันไป

ในทางตรงข้ามถ้าเราจับเด็กเล็กตั้งแต่ 3-7 ขวบไปนั่งในห้องเรียนที่มีระเบียบเคร่งครัด มองกระดานดำ ห้ามเล่นห้ามยุกยิก ฟังครูเท่านั้น และเขียนหนังสือ เท่ากับตัดโอกาสให้เด็กได้พัฒนาตนเองผ่านการเห็นตนเองเป็นศูนย์กลางให้อิ่มใจแล้วค่อยๆ ลดลงตามเวลาที่ผ่านไป 

เราจึงได้เด็กอายุ 7-8 ขวบที่ยังเห็นตนเองเป็นศูนย์กลางไม่ยอมเลิกมากมายเต็มไปหมด ทั้งนี้ยังไม่นับว่าพวกเขาไม่สามารถไปถึงระดับไม่หวง รู้จักแบ่งปัน หรือเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

พฤติกรรมเอาแต่ใจตัวจึงมิใช่นิสัยไม่ดีแต่เพราะยังเอาแต่ใจตัวไม่อิ่มเสียให้เรียบร้อยตั้งแต่ยังเล็กก่อนที่จะออกมาเผชิญสังคมที่กว้างกว่าตัวเองการเล่นกับเพื่อนเป็นวิธีลดพฤติกรรมเอาแต่ใจตัวเองได้มาก เพราะเขาอยากเล่นเป็นทุนเดิม

และเมื่ออายุเกิน 7 ขวบไปแล้วเขาไม่อยากเล่นคนเดียวโดยธรรมชาติ เขาอยากมีเพื่อนและเล่นกับเพื่อน คือจิตวิทยาพัฒนาการของเด็กวัยประถม เรียกว่า industry แปลตามตัวว่าสร้างผลผลิต ผลผลิตที่เขาอยากสร้างคือการเล่นด้วยกัน

การเล่นด้วยกันเป็นทักษะ ขึ้นชื่อว่าทักษะหรือ skills ต้องการการฝึกฝนเสมอ ดังนั้นหากต้องการลดความเอาแต่ใจก็ควรโยนเด็กเอาแต่ใจเข้าไปในกลุ่มเพื่อน เขาจะได้ฝึก

หากไม่ยอมฝึก เขาก็จะถูกเพื่อนๆ บีบให้ฝึก เพราะกลไกของทุกคนคือต้องการผลผลิตจากการเล่นด้วยกันอยู่แล้ว ดังนั้นทุกคนจะได้ฝึกพร้อมกันด้วยปฏิสัมพันธ์ มีการทะเลาะเบาะแว้ง แก่งแย่งชิงดี แต่ก็จะยินดีรอมชอม ประนีประนอม เพื่อที่จะได้เล่นด้วยกันตามที่จิตใจทุกคนต้องการจนได้ การเล่นเป็นคำตอบ จึงต้องลดเวลาเรียนลงบ้างเพื่อมีเวลาเล่น
 

นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์

จิตแพทย์และนักเขียน ขวัญใจพ่อแม่ชาวโซเชียล

 

เลี้ยงลูกให้ได้ดี ด้วยบันได 7 ขั้นสู่ EF

บันได 7 ขั้น  ขั้นสู่ EF, ลูกดื้อ, ลูกดื้อทำยังไงดี, เลี้ยงลูกให้ได้ดี, เลี้ยงลูกด้วย EF, เป็นพ่อแม่ที่ดีได้อย่างไร, นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์,พัฒนาสายสัมพันธ์ที่มองไม่เห็นด้วยตา,พัฒนาการเด็ก,เลี้ยงลูกแบบหมอประเสริฐ, สร้างตัวตน ,วัยแห่งการเล่น, เล่น, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, รักลูก ครอบครัว EF

การส่งเสริมและพัฒนา EF ให้กับลูกนั้น เริ่มได้ตั้งแต่แรกเกิดเลยค่ะ สิ่งสําคัญคือการส่งเสริมและพัฒนาที่สอดคล้องไปกับพัฒนาการตามวัยของเด็ก ซึ่งสอดคล้องกับ “บันได 7 ขั้นสู่ EE”ของ นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ที่กล่าวถึงการเลี้ยงลูกให้ได้ดีมี EF นั้น เด็กที่ได้รับการดูแลจากพ่อแม่และผู้ปกครองตามบันได 7 ขั้น และทําบันไดในแต่ละขั้นให้สมบูรณ์ ย่อมมี โอกาสจะประสบความสําเร็จในชีวิตได้มากกว่า
บันได 7 ขั้นสู่ EE

มี 2 ขั้นแรกที่สําคัญที่ต้อง เริ่มสร้างตั้งแต่เด็กวัยทารก คือ

บันไดขั้นที่ 1 :แม่มีจริง (Object Constancy) แม่เป็นเสาหลักของพัฒนาการ ทารกจะรู้ว่าแม่มีอยู่จริงเมื่ออายุประมาณ 6 เดือน ในช่วงขวบปีแรกของชีวิต หากแม่มอบความรัก อุ้มลูกมากพอ ดูแลลูกมากพอ แม่ก็จะมีจริง ประทับลงลึกถึงจิตใต้สํานึกของเด็ก แม้เมื่อเด็ก โตขึ้น และแม่ไม่อยู่ด้วยกัน แต่แม่ก็ยังมีจริง ในใจเสมอ สร้างความมั่นคงในจิตใจลูก

บันไดขั้นที่ 2 : สร้างสายสัมพันธ์ (Attachment) ใน 1-3 ปีแรกของชีวิต ลูกจะยัง ไม่แยกตัวออกจากแม่โดยสมบูรณ์ เป็นช่วงเวลา ที่จะพัฒนาสายสัมพันธ์ที่มองไม่เห็นด้วยตา แต่สื่อด้วยใจ ผ่านการเลี้ยงดู ให้เวลาดูแล กอด หอม คุ้ม เล่น มากพอ เด็กก็พร้อมที่จะสร้างตัว ตนของตัวเองขึ้นมา เมื่อลูกอายุ 2 1/2 - 3 ขวบ จะเกิดกระบวนการแยกตัวเป็นบุคคลอิสระจากแม่

ดังนั้นการได้อยู่กับแม่ในช่วงเวลานี้เป็นสิ่งสําคัญ (การแยกกับแม่ก่อนอายุ 3 ขวบ อาจทําให้ลูก เกิดแผลทางใจ)
เมื่อแม่ได้สร้างบันไดพื้นฐาน 2 ขั้นนี้ให้กับ ลูกแล้ว จะนําไปสู่การสร้างบันไดในขั้นอื่น ๆ ตามมา

บันไดขั้นที่ 3 : “สร้างตัวตน” (Self) วัยแห่งการเล่น “เล่น” คือโอกาสทองที่นอกจากจะ ทําให้เด็กแข็งแรงแล้ว ยังทําให้เด็กได้รู้จักร่างกาย ตนเอง ได้เรียนรู้การใช้ร่างกายตนเอง และที่สําคัญ ได้สมองที่ดี

บันไดขั้นที่ 4 : “การนับถือตนเอง” (SelfEsteem) เป็นแรงผลักดันในการพัฒนาตนเอง ความรู้สึกที่ว่าหนูทําได้ เป็นความนับถือตัวเอง เป็นพลังที่จะทําให้เด็กพุ่งไปข้างหน้า

บันไดขั้นที่ 5 :“ควบคุมตัวเอง” (SelfControl) เป็นรากฐานสําคัญของ EF

บันไดขั้นที่ 6 : “EF” (Executive Functions) คือความสามารถของสมอง ในการควบคุมความ คิด อารมณ์ และการกระทํา เพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย

บันไดขั้นที่ 7 : “ทักษะศตวรรษที่ 21” เราไม่ได้ต้องการเด็กที่มีความรู้เยอะหรือเด็กที่ ท่องเก่ง เราต้องการเด็กที่รู้ว่าเป้าหมายตัวเอง คืออะไร แล้วจะไปถึงเป้าหมายนั้นได้ด้วยอะไร

บันไดทุกขั้นเหล่านี้สามารถสร้างและเป็น ไปได้ในบ้านทุกบ้าน ทุกครอบครัวที่เข้าใจและ ลงมือทํา อย่างมีเป้าหมายเพื่อสร้าง EF ให้กับลูก นั้นเอง



 
 

แค่ปั่นจักรยานก็สร้าง EF ได้

EF, ทักษะสมอง EF, สอนลูกให้มี EF, เลี้ยงลูกให้มี EF, อยากให้ลูกมี EF, อยากให้ลูก EF ดี, วิธีสร้าง EF, เลี้ยงลูกด้วย EF, ครอบครัว EF, คลินิก EF, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, ครอบครัวรักลูก EF

การปั่นจักรยานนอกจากเป็นการออกกำลังกายแล้ว ยังเป็นกิจกรรมสนุกที่เด็กๆ จะได้ฝึกทักษะ EF ทั้ง 9 ด้านด้วยนะคะ


1. Initiating = การริเริ่มลงมือทำ กล้าตัดสินใจ เมื่อคิดที่จะปั่นจักรยานก็ปั่นเลยตามความตั้งใจ  

2. Working Memory =การจดจำทักษะการขี่จักรยาน รู้จักส่วนประกอบของจักรยาน รู้กฎการขับขี่ ขี่อย่างไรให้ปลอดภัย

3. Inhibitory Control = รู้จักยับยั้งชั่งใจ ไม่ปั่นเร็วเกินจนเกิดอันตราย รู้ว่าต้องหยุดหรือชะลอตอนไหน

4. Shift หรือ Cognitive Flexibility =รู้จักยืดหยุ่นหรือปรับเปลี่ยนความคิดเมื่อเจอเส้นทางที่ไม่ราบรื่นหรือมีอุปสรรค เช่น ถ้าถนนเป็นหลุมเป็นบ่อ จะปั่นยังไงให้ไม่ล้ม ต้องปั่นช้าๆ หรือลงเดินแล้วจูงจักรยาน เป็นต้น

5. Focus/Attention =ตั้งใจและจดจ่อกับเส้นทางที่ปั่น ไม่วอกแวก     
        
6. Emotional Control =รู้จักควบคุมอารมณ์ รู้จักปฏิบัติตามกฎจราจร สนุกกับการปั่นจักรยานในแบบฉบับของตนเองโดยไม่รบกวนผู้อื่น เช่น ไม่กางแขนกางขาหรือตะโกนเสียงดังรบกวนผู้ร่วมใช้เส้นทางจักรยานด้วยกัน

7. Planning and Organizing =รู้จักวางแผนการปั่น เช็กความพร้อมของจักรยานและอุปกรณ์ก่อนปั่น ใส่หมวกกันน็อคทุกครั้ง ปั่นตามเส้นทางที่กำหนด

8. Self -Monitoring =รู้จักประเมินตนเอง รวมถึงการตรวจสอบเพื่อหาจุดบกพร่อง เช่น รู้ว่าปั่นเร็วเกินไปจะทำให้เหนื่อยง่ายก็ควรผ่อนแรง หรือถ้าเมื่อยหรือปวดขาควรทำอย่างไร เป็นต้น

9. Goal-Directed Persistence =มีความพากเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย เด็กบางคนอาจมีความใฝ่ฝันจะเป็นนักปั่นจักรยานทีมชาติ เมื่อตั้งใจและลงมือทำแล้ว มีความมุ่งมั่นบากบั่น ไม่ว่าจะมีอุปสรรคใดๆ ก็พร้อมฝ่าฟันจนถึงความสำเร็จ
 
เห็นมั้ยคะว่า EF เป็นเรื่อง่ายที่อยู่ใกล้ตัว และสามารถทำได้ทุกๆ วัน
 
 
 

"รักวัวให้ผูก รักลูกให้เลี้ยงด้วย EF"
ขอบคุณความรู้ EF โดย สถาบัน RLG


ลูกไม่มีความอดทน, ลูกไม่รู้จัก, ฝึกให้ลูกรู้จักรอคอย, สอนลูกให้รู้จักรอคอย, ลูกรอเป็น, สอนลูกเข้าคิว, สอนลูกต่อคิว, EF, Executive Functions, ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ, การทำงานของสมองส่วนหน้า, ทักษะสมอง EF, พัฒนา EF, ฝึก EF, EF คืออะไร, อีเอฟคืออะไร, ปรับพฤติกรรมลูก, ลูกก้าวร้าว, ลูกเอาแต่ใจ, ลูกดื้อ, ลูกไม่มีความอดทน, ลูกขี้เกียจ, ลูกความจำไม่ดี, ลูกชอบเถียง, ลูกอาละวาด, ลูกอารมณ์ร้าย, ลูกอ่อนไหว, ลูกปรับตัวไม่เป็น, ลูกปรับตัวไม่เก่ง, ลูกขี้อาย, ลูกไม่มีความยับยั้งชั่งใจ, ลูกไม่มีระเบียบ, ลูกไม่มีวินัย, Working memory, ความจำเพื่อใช้งาน, Inhibitory Control, การยั้งคิด ไตร่ตรอง, Shift, Cognitive Flexibility, การยืดหยุ่นความคิด,Focus, Attention, จดจ่อใส่ใจ, Emotional Control, การควบคุมอารมณ์, Planning,Organizing, การวางแผน, การจัดระบบดำเนินการ, Self-Monitoring, การรู้จักประเมินตนเอง,Initiating, การริเริ่มและลงมือทำ, Goal-Directed Persistence, ความพากเพียร, มุ่งสู่เป้าหมาย, เลี้ยงลูกให้เก่ง, เลี้ยงลูกให้เอาตัวรอด, เลี้ยงลูกให้ดี, เลี้ยงลูกให้ฉลาด, เลี้ยงลูกให้เป็นคนดี, เลี้ยงลูกให้ดูแลตัวเองได้, เลี้ยงลูกให้มีความสุข

แค่ให้ลูกล้างจานก็ได้ฝึก EF แล้วนะ

EF, ทักษะสมอง EF, สอนลูกให้มี EF, เลี้ยงลูกให้มี EF, อยากให้ลูกมี EF, อยากให้ลูก EF ดี, วิธีสร้าง EF, เลี้ยงลูกด้วย EF, ครอบครัว EF, คลินิก EF, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, ครอบครัวรักลูก EF

งานบ้านง่ายๆ หลายอย่าง นอกจากฝึกทักษะให้เป็นเด็กมีความรับผิดชอบ รู้จักช่วยตนเอง ช่วยเหลือผู้อื่น การฝึกให้ลูกทำงานบ้านต่างๆ ยังช่วยให้เขาได้ฝึกพัฒนาทักษะ EF ด้วยค่ะ อย่างเช่น การล้างจานหลังจากกินข้าวเสร็จ ลูกจะได้ทักษะดังต่อไปนี้ 


1. Initiating = ถ้าให้ลูกทำทุกครั้งหลังจากกินข้าวเสร็จ ลูกจะรู้ว่าเป็นหน้าที่ที่ตนเองต้องทำ สามารถทำได้เองโดยที่พ่อแม่ไม่ต้องบอก 

2. Working Memory =รู้จักขั้นตอนการล้างจาน ลำดับก่อนหลังว่าควรล้างอะไรก่อน เช่น ล้างแก้วก่อนจานชาม

3. Shift หรือ Cognitive Flexibility รู้จักยืดหยุ่นหรือปรับเปลี่ยนความคิด เช่น เมื่อเจอเศษอาหารขณะล้าง จะต้องทำอย่างไร จะเขี่ยลงอ่างล้างจาน หรือแยกออกมาทิ้งในถังขยะ 

4. Focus/Attention ตั้งใจและจดจ่อกับงานตรงหน้า เพราะถ้าลูกไม่จดจ่ออาจทำจานชามหลุดมือหรือทำตกแตกได้ 
        
5. Planning and Organizing รู้จักวางแผนการล้าง เริ่มจากการเก็บจากโต๊ะอาหาร ต้องเก็บอย่างไร ต้องแยกเศษอาหารไปทิ้งต่างหาก จานชามเท่านี้ต้องใช้น้ำยาล้างจาน ใช้น้ำล้างทำความสะอากแค่ไหน ทำอย่างไรจึงจะประหยัดน้ำ เป็นต้น  

6. Self -Monitoring = รู้จักประเมินตนเอง เช่น การเช็กดูว่าตนเองล้างจานสะอาดหรือไม่ ถ้ารีบไปเล่นทำให้ล้างจานแบบลวกๆ คราบอาหารก็ยังคงติดจานอยู่ 


ซึ่งนอกจากการล้่างจานแล้ว การให้ลูกทำงานอื่นๆ เช่น กวาดบ้าน ถูบ้าน รดน้ำต้นไม้ ซักผ้า จัดของ ฯลฯ ก็ช่วยฝึก EF ได้เช่นกันค่ะ 

แค่ให้ลูกสวมถุงเท้ารองเท้าเอง ก็ได้ฝึก EF

 EF, ทักษะสมอง EF, สอนลูกให้มี EF, เลี้ยงลูกให้มี EF, อยากให้ลูกมี EF, อยากให้ลูก EF ดี, วิธีสร้าง EF, เลี้ยงลูกด้วย EF, ครอบครัว EF, คลินิก EF, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, ครอบครัวรักลูก EF

การให้ลูกใส่รองเท้าและผูกเชือกรองเท้าช่วยฝึก EF 
อาจเป็นสิ่งที่เด็กๆ ต้องทำ เป็นเรื่องปกติที่เด็กๆ ต้องเรียนรู้ แต่นอกเหนือจากหน้าที่และความรับผิดชอบแล้ว การที่ลูกผูกเชือกรองเท้าเอง ยังสอนอะไรเขาได้อีกเยอะเลยค่ะ 


ฝึกความอดทน กว่าลูกจะสวมถุงเท้าและรองเท้าได้ต้องอาศัยการเรียนรู้ ฝึกฝน ใช้ความพยายามในการสวมใส่ให้ถูกต้อง โดยเฉพาะรองเท้าที่ต้องผูกเชือก ลูกต้องใช้ความอดทนในการฝึก ผูกอย่างไร แกะอย่างไร  

ฝึกความรับผิดชอบ ลูกต้องรู้จักช่วยเหลือตัวเอง รับผิดชอบหน้าที่ของตัวเอง เพราะการสวมรองเท้าเองก็เหมือนกับการที่เด็กๆ ต้องอาบน้ำ ล้างหน้า แปรงฟัน แต่งตัวได้ด้วยตัวเอง   

มีการวางแผนที่ดีจะสวมรองเท้าต้องสวมถุงเท้าก่อน เวลาร้อยเชือก ต้องดึงเชือกให้ยาวเท่ากันทั้งสองข้าง สอดเชือกซ้ายขวาสลับไปมา สอดแล้วดึง เสร็จแล้วผูกเชือกรองเท้าให้เป็นโบ ผูกแน่นเกินไปไม่ได้ หลวมเกินไปรองเท้าก็จะหลุด ผูกไว้ตอนเย็นก่อนนอนดีกว่า เพราะถ้าผูกตอนเช้าก่อนไปโรงเรียนอาจใช้เวลานาน ทำให้ไปโรงเรียนสาย เป็นต้น 

เสริมสร้างความั่นใจเมื่อลูกทำได้ เช่น ใส่รองเท้าถูกข้าง ผูกเชือกรองเท้าได้เอง ผูกโบสวย คุณพ่อคุณแม่อย่าลืมชมเขาด้วยนะคะ เพราะคำชมจะทำให้ลูกรู้สึกภาคภูมิใจ และมีความชื่อมั่นในตนเอง 

รู้จักการพลิกแพลง ใช้ความคิดสร้างสรรค์การผูกเชือกรองเท้าไม่ได้มีแค่การผูกเงื่อนซ้ายทับขวาขวาทับซ้าย แต่ยังมีวิธีพลิกแพลง และร้อยเชือกอีกหลากหลายวิธี ถ้าเด็กๆ เรียนรู้หลักการผูกเชือกได้ การผูกรองเท้าก็เป็นเรื่องสนุกค่ะ

 
 

"รักวัวให้ผูก รักลูกให้เลี้ยงด้วย EF"
ขอบคุณความรู้ EF โดย สถาบัน RLG


ลูกไม่มีความอดทน, ลูกไม่รู้จัก, ฝึกให้ลูกรู้จักรอคอย, สอนลูกให้รู้จักรอคอย, ลูกรอเป็น, สอนลูกเข้าคิว, สอนลูกต่อคิว, EF, Executive Functions, ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ, การทำงานของสมองส่วนหน้า, ทักษะสมอง EF, พัฒนา EF, ฝึก EF, EF คืออะไร, อีเอฟคืออะไร, ปรับพฤติกรรมลูก, ลูกก้าวร้าว, ลูกเอาแต่ใจ, ลูกดื้อ, ลูกไม่มีความอดทน, ลูกขี้เกียจ, ลูกความจำไม่ดี, ลูกชอบเถียง, ลูกอาละวาด, ลูกอารมณ์ร้าย, ลูกอ่อนไหว, ลูกปรับตัวไม่เป็น, ลูกปรับตัวไม่เก่ง, ลูกขี้อาย, ลูกไม่มีความยับยั้งชั่งใจ, ลูกไม่มีระเบียบ, ลูกไม่มีวินัย, Working memory, ความจำเพื่อใช้งาน, Inhibitory Control, การยั้งคิด ไตร่ตรอง, Shift, Cognitive Flexibility, การยืดหยุ่นความคิด,Focus, Attention, จดจ่อใส่ใจ, Emotional Control, การควบคุมอารมณ์, Planning,Organizing, การวางแผน, การจัดระบบดำเนินการ, Self-Monitoring, การรู้จักประเมินตนเอง,Initiating, การริเริ่มและลงมือทำ, Goal-Directed Persistence, ความพากเพียร, มุ่งสู่เป้าหมาย, เลี้ยงลูกให้เก่ง, เลี้ยงลูกให้เอาตัวรอด, เลี้ยงลูกให้ดี, เลี้ยงลูกให้ฉลาด, เลี้ยงลูกให้เป็นคนดี, เลี้ยงลูกให้ดูแลตัวเองได้, เลี้ยงลูกให้มีความสุข


 

แพ้บ้างก็ไม่เป็นไรลูก

EF, ทักษะสมอง EF, สอนลูกให้มี EF, เลี้ยงลูกให้มี EF, อยากให้ลูกมี EF, อยากให้ลูก EF ดี, วิธีสร้าง EF, เลี้ยงลูกด้วย EF, ครอบครัว EF, คลินิก EF, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, ครอบครัวรักลูก EF

ชีวิตคนเรามีทั้งสมหวังและผิดหวัง ความผิดหวังอาจเป็นความพ่ายแพ้อย่างหนึ่งที่ทำให้คนเรารู้สึกเสียใจ แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าทั้งชีวิตของเราจะล้มเหลวและต้องแพ้ตลอดไป เด็กหลายคนรู้จักการแพ้ชนะผ่านการเล่นเกม กีฬา บางคนดีใจเมื่อได้ชัยชนะ และยอมรับความพ่ายแพ้ได้ ขณะที่เด็กบางคนประสบการณ์การใช้ชีวิตอาจยังไม่มากพอ เมื่อเล่นเกมกีฬาแพ้ก็ย่อมรู้สึกเสียใจมากเป็นธรรมดา

ทั้งที่จริงแล้วชีวิตเขายังต้องเผชิญกับความสมหวังและผิดหวังอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเรียน การงาน สังคม หรือแม้แต่เรื่องความรัก ลูกยังต้องเรียนรู้ที่จะผิดหวัง และเผชิญหน้ากับความพ่ายแพ้อีกมาก ซึ่งลูกจะรับมือกับความพ่ายแพ้ได้มากน้อยแค่ไหน พ่อแม่ต้องเป็นคนฝึกฝนทักษะนี้ให้เขา

พ่อแม่ไม่ควรยอมลูกเสมอไป 
แม้ลูกจะดีใจที่สามารถเล่นเกมชนะพ่อแม่ แต่บางครั้งก็ต้องหัดให้ลูกแพ้บ้าง ให้เขายอมรับความจริงว่าการแข่งขันมีแพ้ชนะ และความพ่ายแพ้ไม่ใช่เรื่องน่าอาย ที่สำคัญพ่อแม่ต้องไม่ทำให้ลูกรู้สึกว่าแพ้ไม่ได้ เช่น เมื่อลูกเล่นเกมแพ้แล้วใช้คำพูดเยาะเย้ยถากถาง หรือแซวลูก เพราะนั่น จะทำให้ลูกรู้สึกอาย โกรธ และแพ้ไม่เป็น
 
 
ชื่นชมผู้ชนะด้วยใจจริง 
การสอนให้ลูกมีน้ำใจนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย อาจเป็นนามธรรมที่สอนยาก แต่ถ้าทำให้ลูกเห็นจนเป็นกิจวัตร ลูกจะซึมซับได้เอง เช่น การกล่าวชื่นชมผู้อื่นด้วยความจริงใจ ไม่เปรียบเทียบ หรือประชดประชัน เช่น คนที่ได้ที่หนึ่งเขาเก่งมากเลยนะ ส่วนวันนี้หนูเองก็เก่งมากเช่นกัน ไม่ชนะไม่เป็นไร เราไปพยายามกันใหม่นะ   
ไม่กดดันลูกเกินไป 
ไม่ว่าจะเป็นการเล่นเกม แข่งขัน เล่นกีฬา พ่อแม่ไม่ควรคาดหวังกับลูกจนเกินไป เพราะลูกจะรู้สึกว่าพ่อแม่คาดหวังกับเขา เขาจะแพ้ไม่ได้ แต่หากเปลี่ยนความคาดหวังว่าลูกต้องเล่นกีฬาชนะเป็นการชื่นชมที่ลูกเล่นกีฬา ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ แพ้ชนะไม่สำคัญ สำคัญที่ลูกได้ใช้ความพยายามและความสามารถของตนเอง ได้ทำในสิ่งที่รัก พ่อแม่ก็มีความสุขแล้ว ลูกจะมีความสุขกับสิ่งที่ทำมากกว่าต้องแข่งเพื่อชัยชนะ 

ถ้วยรางวัลไม่ใช่ทั้งหมดของชีวิตลูก 
พ่อแม่หลายคนชอบให้ลูกแข่งขัน และมักคิดว่าเป็นท้าเลนท์ของลูก แต่บ่อยครั้งเข้าอาจจจะถลำไปเป็นการล่ารางวัล ล่าชัยชนะ และคาดหวังความสำเร็จของลูกโดยไม่รู้ตัว สิ่งที่น่ากลัวคือพ่อแม่บางคนพยายามให้ลูกได้รับชัยชนะจนลืมกฎ กติกา การแข่งขัน หากทำแบบนี้บ่อยๆ นอกจากลูกจะเสพติดชัยชนะแล้ว ลูกอาจจะซึมซับแบบอย่างที่ไม่เหมาะสมด้วย
ความพ่ายแพ้คือภูมิคุ้มกัน 
เมื่อลูกเผชิญกับความพ่ายแพ้ แน่นอนว่า ณ ขณะนั้นลูกย่อมรู้สึกผิดหวัง เสียใจ สิ่งที่พ่อแม่ต้องทำเป็นอันดับแรกคือการพูดคุย ปลอบโยนลูก ให้ลูกรู้ว่าพ่อแม่อยู่เคียงข้างเขา หากลูกรู้สึกโกรธ โมโห ควรรีบกอดลูกทันที และเมื่อลูกอารมณ์ดี ทำใจยอมรับความพ่ายแพ้ได้แล้ว พ่อแม่สามารถคุยกับลูกได้ว่าลูกพลาดตรงไหน เราจะนำมาปรับปรุงอะไรได้บ้าง หรืออาจชี้ให้เห็นว่านักกีฬาบางคนเขาแข่งแพ้ แต่ไม่ได้หมายความว่าชีวิตเขาจะสิ้นหวัง เพราะเขาก็ยังคงซ้อมและแข่งขันต่อไป ไม่ชนะวันนี้ วันหนึ่งเขาก็ชนะ
 

เด็กที่แพ้ไม่เป็น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะถูกตามใจมาตั้งแต่เล็ก ซึ่งจะมีความเสี่ยงในการใช้ชีวิตเมื่อโตขึ้น เพราะนอกจากลูกจะรับมือกับความผิดหวังไม่ได้แล้ว ยังมีปััญหาต่อกาารควบคุมอารมณ์ ความก้าวร้าว บางคนอาจแสดงอาการต่อต้าน โวยวาย ร้องห่มร้องไห้ หรือบางคนเมื่อผิดหวังมากๆ อาจซึมเศร้าเสียใจจนเกินกว่าเหตุ เพราะฉะนั้น ให้ลูแพ้บ้างก็ได้ค่ะ 
 
 

 

"รักวัวให้ผูก รักลูกให้เลี้ยงด้วย EF"
ขอบคุณความรู้ EF โดย สถาบัน RLG


ลูกไม่มีความอดทน, ลูกไม่รู้จัก, ฝึกให้ลูกรู้จักรอคอย, สอนลูกให้รู้จักรอคอย, ลูกรอเป็น, สอนลูกเข้าคิว, สอนลูกต่อคิว, EF, Executive Functions, ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ, การทำงานของสมองส่วนหน้า, ทักษะสมอง EF, พัฒนา EF, ฝึก EF, EF คืออะไร, อีเอฟคืออะไร, ปรับพฤติกรรมลูก, ลูกก้าวร้าว, ลูกเอาแต่ใจ, ลูกดื้อ, ลูกไม่มีความอดทน, ลูกขี้เกียจ, ลูกความจำไม่ดี, ลูกชอบเถียง, ลูกอาละวาด, ลูกอารมณ์ร้าย, ลูกอ่อนไหว, ลูกปรับตัวไม่เป็น, ลูกปรับตัวไม่เก่ง, ลูกขี้อาย, ลูกไม่มีความยับยั้งชั่งใจ, ลูกไม่มีระเบียบ, ลูกไม่มีวินัย, Working memory, ความจำเพื่อใช้งาน, Inhibitory Control, การยั้งคิด ไตร่ตรอง, Shift, Cognitive Flexibility, การยืดหยุ่นความคิด,Focus, Attention, จดจ่อใส่ใจ, Emotional Control, การควบคุมอารมณ์, Planning,Organizing, การวางแผน, การจัดระบบดำเนินการ, Self-Monitoring, การรู้จักประเมินตนเอง,Initiating, การริเริ่มและลงมือทำ, Goal-Directed Persistence, ความพากเพียร, มุ่งสู่เป้าหมาย, เลี้ยงลูกให้เก่ง, เลี้ยงลูกให้เอาตัวรอด, เลี้ยงลูกให้ดี, เลี้ยงลูกให้ฉลาด, เลี้ยงลูกให้เป็นคนดี, เลี้ยงลูกให้ดูแลตัวเองได้, เลี้ยงลูกให้มีความสุข

โน้ตเสียงสูงต่ำ สร้างมาเพื่อพัฒนาทักษะสมองลูก

ดนตรี, โน้ตดนตรี, เสียงสูง, เสียงต่ำ, ดนตรีพัฒนาสมองอย่างไร, ให้ลูกเรียนดนตรีดีไหม, ให้ลูกเรียนดนตรีที่ไหนดี, โรงเรียนสอนเปียโน, The ONE Smart Piano Thailand, เปียโน 

โน้ตดนตรีสูงต่ำไม่ใช่แค่ฟังเพลินนะคุณแม่ แต่ลูกเรากำลัง Play & Learn ทั้งร่างกายและสมองไปพร้อมกัน ดนตรีกระตุ้นและพัฒนาสมองลูกได้อย่างไร ทำไมเด็กควรได้เล่นดนตรี ผู้เชี่ยวชาญมีคำแนะนำค่ะ

โน้ตเสียงสูงต่ำ สร้างมาเพื่อพัฒนาทักษะสมองลูก

เรื่องของดนตรีและสมองเป็นความลับของธรรมชาติอย่างหนึ่ง คนเราสามารถรับรู้ความถี่ต่างกัน ถ้าเราเล่นดนตรีแล้วใช้โน้ตเสียงสูง เสียงต่ำ เสียงแตกต่างกัน การทำงานของสมองจะใช้คนละส่วนในการประมวลผลครับ ดังนั้นหากเด็ก ๆ ได้ฟังเสียงดนตรี เด็กก็จะใช้สมองหลายส่วนในการรับรู้เสียงสูงเสียงต่ำ ความถี่ที่มีความแตกต่างกัน สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ด้านภาษาของมนุษย์

 

กระบวนการคือ ไม่ใช่แค่ฟังเท่านั้น แต่ต้องมีการฝึกเล่นดนตรีด้วย เป็นการเชื่อมโยงของ 2 ระบบ คือ

  • ระบบการรับเสียง
  • ระบบการเคลื่อนไหว

การเล่นดนตรีเด็ก ๆ จะได้เคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดเล็ก ควบคุมนิ้วมือไปตามจังหวะ เพื่อทำให้เกิดเสียงที่ตรงกัน ซึ่งตรงกับหลักการของทักษะ EF (EXECUTIVE FUNCTIONS) ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ คือกระบวนการทำงานสมองส่วนหน้าของมนุษย์ ใช้กำกับความคิด ความรู้สึกและการกระทำ เพื่อให้บรรลุสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้

 

เพราะฉะนั้นเด็กคนหนึ่งถ้าได้มีการฝึกเล่นดนตรี ทำให้เกิดการพัฒนาการของวงจรประสาทการรับเสียง การเคลื่อนไหว ซึ่งการสร้างวงจรประสาทเหมือน EF โดยการเชื่อมกันของสมองหลาย ๆ ส่วน กระตุ้นการพัฒนาของสมองให้เติบโตได้อย่างมีศักยภาพ

 

 

 

 

รศ. ดร. นพ.วรสิทธิ์ ศิริพรพาณิชย์

กุมารแพทย์โรคระบบประสาท ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล

 

สนับสนุนการเรียนรู้โดย The One Smart Piano

FB: The One Smart Piano Thailand

Web: http://theonesmartpiano.com

5298 1

(พื้นที่เพื่อการโฆษณาและประชาสัมพันธ์)

 

ใช้ EF ปกป้องลูกจากการฆ่าตัวตาย

EF, ทักษะสมอง EF, สอนลูกให้มี EF, เลี้ยงลูกให้มี EF, อยากให้ลูกมี EF, อยากให้ลูก EF ดี, วิธีสร้าง EF, เลี้ยงลูกด้วย EF, ครอบครัว EF, คลินิก EF, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, ครอบครัวรักลูก EF
 
ทุกวันนี้เด็กไทยมีความเครียดสูงมากขึ้น ทั้งความกดดันเรื่องการเรียน กดดันจากครอบครัว ถูกเพื่อนแกล้งที่โรงเรียน หรือปัญหาอื่นๆ ที่หาทางออกไม่ได้ เด็กหลายคนป่วยเป็นโรคซึมเศร้า และฆ่าตัวตายในที่สุด 

เพราะฉะนั้นการสอนลูกให้เข้าใจสภาวะอารมณ์ รู้จักควบคุมอารมณ์ตนเองในเบื้องต้น จะเป็นเกราะป้องกันลูกทำร้ายตัวเองได้ 


9 วิธีสร้างเกราะป้องกันลูกฆ่าตัวตาย

1. เตือนลูกว่าการทำร้ายตนเอง ทำร้ายผู้อื่น และทำลายของเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ โดยเฉพาะทุกๆ ครั้งที่พ่อแม่อยู่ด้วยแล้วลูกไม่สามารถควบคุมอารมณ์โกรธ โมโห หรือเสียใจได้ พ่อแม่ต้องห้ามลูกก่อน ว่าอย่าทำร้ายร่างกายตนเองและผู้อื่น ควรบอกลูกว่า เราไม่มีสิทธิ์ทำร้ายผู้อื่นทั้งต่อร่างกาย ทรัพย์สิน หรือแม้แต่คำพูดของเราเองก็ไม่ควรทำร้ายจิตใจคนอื่น และการทำร้ายตัวเองก็ทำให้พ่อกับแม่เสียใจมาก และนอกเหนือจากความเสียใจของพ่อกับแม่แล้วลูกเองก็จะรู้สึกเจ็บ และเสียใจยิ่งกว่า ความรู้สึกของลูกเป็นสิ่งสำคัญมากนะ 

2. ให้สูดหายใจลึกๆ 3 ครั้งและนับ 1 ถึง 10 อย่างช้าๆ วิธีนี้ช่วยให้เด็กๆ เข้าใจว่าความรู้สึกเหล่านี้เป็นเรื่องปกติ และผลกระทบจากอารมณ์เหล่านั้นก็อาจทำร้ายคนอื่นได้ ฉะนั้นการสูดหายใจลึกๆ 3 ครั้ง และนับ 1 ถึง 10 ช้าๆ จะช่วยให้เด็กอารมณ์สงบลงได้

3. ลูกต้องบอกความรู้สึกของตัวเองได้ การรับรู้ความรู้สึกของตนเองเป็นเรื่องที่ดี และการอธิบายความรู้สึกก็เป็นเรื่องสำคัญ เพราะการระบายความรู้สึก แม้บางครั้งอาจไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาให้ลูก แต่ย่อมดีกว่าการระเบิดอารมณ์หรือแก้ปัญหาด้วยความรุนแรงแน่นอน

4. พ่อแม่ต้องไม่ใช้อารมณ์ตัดสินความรู้สึกลูก เมื่อลูกพูดระบายความรู้สึกออกมาแล้ว พ่อแม่ต้องมีความใจเย็น รับฟังอย่างตั้งใจ เข้าใจ และไม่ใช้อารมณ์ในการตัดสินสิ่งที่ลูกพูด

5. ลูกต้องรู้จักขอความช่วยเหลือ การพูดคุยถึงปัญหาที่เกิดขึ้นสามารถแก้ปัญหาหรือหาแนวทางแก้ไขสถานการณ์ต่างๆ ให้กับลูกได้ ซึ่งเด็กๆ เองก็จะเกิดความไว้วางใจและกล้าที่จะขอความช่วยเหลือ และต่อไปไม่ว่าจะมีปัญหาอะไร ลูกๆ ก็จะปรึกษากับคุณพ่อคุณแม่ตลอด แม้ว่าเขาจะโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่แล้วก็ตาม

6. เวลาจะช่วยให้ลูกสงบลง บางครั้งการแก้ปัญหาต่างๆ ก็ไม่ได้ช่วยให้อารมณ์ของลูกดีขึ้น ดังนั้นการเดินออกจากที่เกิดเหตุหรือการหาทางออกอื่น อาจจะช่วยให้ความรู้สึกของลูกผ่อนคลายลง

7. สร้างภูมิคุ้มกันด้านสังคมให้กับลูก เริ่มจากสังคมครอบครัวค่ะ ทำให้ลูกรู้สึกมีคุณค่าในสายตาคนรอบข้างและมีความภาคภูมิใจในตัวเองผ่านการสื่อสารภายในครอบครัว

8. เพิ่มทักษะแก้ไขปัญหา พ่อแม่ควรให้ลูกฝึกแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง เช่น ตั้งคำถามจำลองสถานการณ์ให้ลูกลองคิดแก้ปัญหา ฝึกให้ลูกช่วยเหลือตนเอง มอบหมายงานตามความสามารถ เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้ลูกว่าสามารถทำได้ เป็นต้น

9. ส่งเสริมให้ลูกกล้าแสดงออก ในสังคมโรงเรียน คุณครูควรจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กกล้าแสดงออกร่วมกับเพื่อนๆ เป็นการส่งเสริมให้เขาได้รับการยอมรับจากเพื่อนๆ มากยิ่งขึ้นค่ะ

บ่อยครั้งที่เด็กๆ มักจะควบคุมอารมณ์ตนเองไม่อยู่ หลายคนร้องไห้งอแง บางคนก็ทำร้ายตัวเอง หนักเข้าก็ทำร้ายผู้อื่น อย่าปล่อยให้เป็นความเคยชินค่ะ เพราะสิ่งเหล่านี้อาจติดตัวลูกไปจนโต ทำให้ลูกเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่รู้จักการควบคุมอารมณ์ และเกิดผลเสียต่อตัวเขาเองได้ 

 

 




 

"รักวัวให้ผูก รักลูกให้เลี้ยงด้วย EF"
ขอบคุณความรู้ EF โดย สถาบัน RLG


ลูกไม่มีความอดทน, ลูกไม่รู้จัก, ฝึกให้ลูกรู้จักรอคอย, สอนลูกให้รู้จักรอคอย, ลูกรอเป็น, สอนลูกเข้าคิว, สอนลูกต่อคิว, EF, Executive Functions, ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ, การทำงานของสมองส่วนหน้า, ทักษะสมอง EF, พัฒนา EF, ฝึก EF, EF คืออะไร, อีเอฟคืออะไร, ปรับพฤติกรรมลูก, ลูกก้าวร้าว, ลูกเอาแต่ใจ, ลูกดื้อ, ลูกไม่มีความอดทน, ลูกขี้เกียจ, ลูกความจำไม่ดี, ลูกชอบเถียง, ลูกอาละวาด, ลูกอารมณ์ร้าย, ลูกอ่อนไหว, ลูกปรับตัวไม่เป็น, ลูกปรับตัวไม่เก่ง, ลูกขี้อาย, ลูกไม่มีความยับยั้งชั่งใจ, ลูกไม่มีระเบียบ, ลูกไม่มีวินัย, Working memory, ความจำเพื่อใช้งาน, Inhibitory Control, การยั้งคิด ไตร่ตรอง, Shift, Cognitive Flexibility, การยืดหยุ่นความคิด,Focus, Attention, จดจ่อใส่ใจ, Emotional Control, การควบคุมอารมณ์, Planning,Organizing, การวางแผน, การจัดระบบดำเนินการ, Self-Monitoring, การรู้จักประเมินตนเอง,Initiating, การริเริ่มและลงมือทำ, Goal-Directed Persistence, ความพากเพียร, มุ่งสู่เป้าหมาย, เลี้ยงลูกให้เก่ง, เลี้ยงลูกให้เอาตัวรอด, เลี้ยงลูกให้ดี, เลี้ยงลูกให้ฉลาด, เลี้ยงลูกให้เป็นคนดี, เลี้ยงลูกให้ดูแลตัวเองได้, เลี้ยงลูกให้มีความสุข

ในครัวนี้มีจุดไหนที่ต่างกันบ้างนะ - ดาวน์โหลด Learning Sheet

เกมจับผิดภาพ, เกมหาความต่างในภาพ, เกมระบายสี, เกมหาสิ่งของในภาพ, เกมสำหรับเด็ก, เกมฝึกทักษะ, เกมเด็กอนุบาล, learning sheet, ดาวน์โหลดแบบฝึกหัดเด็ก, ดาวน์โหลดเกมเด็กฟรี, Download เกมสำหรับเด็ก

ในครัวนี้มีจุดไหนที่ต่างกันบ้างนะ - ดาวน์โหลด Learning Sheet

ระดับ: อนุบาล, ประถมศึกษาตอนต้น

วิธีเล่น

  • หาจุดที่แตกต่างกันของภาพทั้งสองนี้ทั้ง 10 จุด
  • เสร็จแล้วระบายสีตามใจชอบ 

สิ่งที่เด็กเรียนรู้

  • ฝึกทักษะการสังเกต การเปรียบเทียบ การคิดเชื่อมโยง
  • ฝึกสมาธิ และการจดจ่อ ( Focus and Attention )
  • ฝึกการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กจากการระบายสี

บทบาทพ่อแม่ / ผู้ปกครอง

  • ชวนเด็กๆ พูดคุยเรื่องห้องครัวที่บ้าน เปรียบเทียบกับห้องครัวในภาพ
  • เปิดโอกาสให้ลูกช่วยทำอาหาร  ช่วยล้างจาน หรือจัดโต๊ะอาหาร 

หมวดการเรียนรู้ / ทักษะ

  • ทักษะสมอง EF
  • การสังเกตจดจำ
  • การเชื่อมโยงความสัมพันธ์
  • เรียนรู้เรื่องสิ่งของใกล้ตัว

 

ในงานแต่งงาน - ดาวน์โหลดฟรี Learning Sheet

5885 fam

 

ในงานแต่งงาน - ดาวน์โหลดฟรี Learning Sheet

 

เกมหาสิ่งที่ซ่อนอยู่ในภาพ เด็กๆ จะได้ฝึกคิดสังเกต จดจำ และช่วยฝึกความจำเพื่อใช้งาน

 

ระดับ

  • อนุบาล, ประถมศึกษาตอนต้น

วิธีเล่น

  • หาสิ่งต่างๆ ที่ซ่อนอยู่ในภาพให้เจอ แล้วระบายสี

สิ่งที่เด็กเรียนรู้

  • ฝึกการสังเกต 
  • ฝึกสมาธิและการจดจ่อ (Focus and Attention)
  • ฝึกระบายสีใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก

บทบาทพ่อแม่ / ผู้ปกครอง

  • ชวนเด็กสังเกตและหาภาพที่ซ่อนอยู่ 
  • ชวนพูดคุยต่อยอด เด็กรู้จักหรือเคยไปร่วมงานแต่งงานไหม จดจำอะไรได้บ้าง

หมวดการเรียนรู้ / ทักษะ
ทักษะสมอง EF, การสังเกตจดจำ, การเชื่อมโยงความสัมพันธ์

ให้ลูกกินข้าวเอง ก็ฝึก EF ได้

EF, ทักษะสมอง EF, สอนลูกให้มี EF, เลี้ยงลูกให้มี EF, อยากให้ลูกมี EF, อยากให้ลูก EF ดี, วิธีสร้าง EF, เลี้ยงลูกด้วย EF, ครอบครัว EF, คลินิก EF, รักลูก Community of The Expert, Do ดีมี EF, ครอบครัวรักลูก EF

เด็กเล็ก ถึงวัยหนึ่งก็ชอบใช้มือหยิบจับอาหารเอง คุณพ่อคุณแม่อย่าเพิ่งห้ามหรือกลัวลูกทำเลอะเทอะนะคะ ลองให้เขาได้ใช้มือหยิิบจับอาหารเองดูบ้าง แล้วจะรู้ว่าการกินข้าวเองนั้นเป็นความสุขอย่างหนึ่งของลูกค่ะ และที่สำคัญ ลูกจะได้ฝึกทักษะ EF ด้วยค่ะ เช่น
  • จำเพื่อใช้งาน – ลูกจะได้จดจำได้ว่าจาน ชาม ช้อน ส้อม แก้วน้ำ หรือช้อนกลางใช้อย่างไร และใช้ทำอะไร เช่น ช้อนใช้ตักข้าว ส้อมใช้ช่วยเขี่ยและจิ้มอาหาร
  • การริเริ่มและลงมือทำ – ลูกได้ฝึกฝนการกินข้าวด้วยตัวเอง ไม่ต้องรอให้พ่อแม่ป้อน
  • การกำกับตัวเอง– ลูกจะได้รู้กิจวัตรประวันในการกินอาหารว่า เมื่อถึงเวลาจะต้องกินข้าวได้เอง

ถ้าอาหารในแต่ละมื้อปรับเปลี่ยนเสมอ ลูกจะยิ่งได้ใช้ทักษะในการไตร่ตรอง ยืดหยุ่น และวางแผนด้วย เช่น วันนี้กินข้าวใช้ช้อนส้อม พรุ่งกินก๋วยเตี๋ยวที่ต้องใช้ตะเกียบ ลูกจะได้เรียนรู้เครื่องมือและวิธีใหม่ๆ หรือแม้แต่การใช้ช้อนส้อมกินก๋วยเตี๋ยวด้วยวิธีที่ถูกต้องได้เช่นกัน

สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่จะได้เห็นจากการเปิดโอกาสให้ลูกได้กินข้าวด้วยตัวเองแบบไม่กลัวหก ไม่กลัวเลอะ จะทำให้ลูกรู้สึกมั่นใจในตัวเองมากขึ้น มองเห็นคุณค่าและความสำคัญของตัวเอง มีความพยายาม มุ่งมั่น ลูกจะรู้สึกภูมิใจในตัวเองที่ได้ทำกิจวัตรประจำวันง่ายๆ ได้เองเหมือนผู้ใหญ่ การเปิดโอกาสให้ลูกคือประตูบานแรกของการพัฒนา EF เลยนะคะ


 

"รักวัวให้ผูก รักลูกให้เลี้ยงด้วย EF"
ขอบคุณความรู้ EF โดย สถาบัน RLG


ลูกไม่มีความอดทน, ลูกไม่รู้จัก, ฝึกให้ลูกรู้จักรอคอย, สอนลูกให้รู้จักรอคอย, ลูกรอเป็น, สอนลูกเข้าคิว, สอนลูกต่อคิว, EF, Executive Functions, ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ, การทำงานของสมองส่วนหน้า, ทักษะสมอง EF, พัฒนา EF, ฝึก EF, EF คืออะไร, อีเอฟคืออะไร, ปรับพฤติกรรมลูก, ลูกก้าวร้าว, ลูกเอาแต่ใจ, ลูกดื้อ, ลูกไม่มีความอดทน, ลูกขี้เกียจ, ลูกความจำไม่ดี, ลูกชอบเถียง, ลูกอาละวาด, ลูกอารมณ์ร้าย, ลูกอ่อนไหว, ลูกปรับตัวไม่เป็น, ลูกปรับตัวไม่เก่ง, ลูกขี้อาย, ลูกไม่มีความยับยั้งชั่งใจ, ลูกไม่มีระเบียบ, ลูกไม่มีวินัย, Working memory, ความจำเพื่อใช้งาน, Inhibitory Control, การยั้งคิด ไตร่ตรอง, Shift, Cognitive Flexibility, การยืดหยุ่นความคิด,Focus, Attention, จดจ่อใส่ใจ, Emotional Control, การควบคุมอารมณ์, Planning,Organizing, การวางแผน, การจัดระบบดำเนินการ, Self-Monitoring, การรู้จักประเมินตนเอง,Initiating, การริเริ่มและลงมือทำ, Goal-Directed Persistence, ความพากเพียร, มุ่งสู่เป้าหมาย, เลี้ยงลูกให้เก่ง, เลี้ยงลูกให้เอาตัวรอด, เลี้ยงลูกให้ดี, เลี้ยงลูกให้ฉลาด, เลี้ยงลูกให้เป็นคนดี, เลี้ยงลูกให้ดูแลตัวเองได้, เลี้ยงลูกให้มีความสุข

ไปทำกิจกรรมนอกบ้านกัน - ดาวน์โหลดฟรี Learning Sheet

5888 fam

 

ไปทำกิจกรรมนอกบ้านกัน - ดาวน์โหลดฟรี Learning Sheet

เกมที่เด็กๆ จะได้รู้จักกิจกรรมนอกบ้าน(เอาดอร์)ต่างๆ  ฝึกการคิด การสังเกต จดจำ และการเชื่อมโยง 

 

ระดับ

  • อนุบาล 

วิธีเล่น

  • ลากเส้นจับคู่คนกับกิจกรรมที่คู่กัน

สิ่งที่เด็กเรียนรู้

  • ฝึกการสังเกต จดจำ 
  • ฝึกการคิดเชื่อมโยง 
  • เรียนรู้กิจกรรมนอกบ้านที่หลากหลาย

บทบาทพ่อแม่ / ผู้ปกครอง

  • ชวนเด็กพูดคุยเรื่องกิจกรรมนอกบ้าน รู้จักหรือเคยทำกิจกรรมอะไรบ้าง  
  • พาเด็กไปทำกิจกรรมนอกบ้านที่สนใจ

 

หมวดการเรียนรู้ / ทักษะ


ทักษะสมอง EF, การสังเกตจดจำ, การเชื่อมโยงความสัมพันธ์