facebook  youtube  line

Q&A ขอวิธีให้อาหารเสริมลูก 6 เดือน

 

669 0

Q&A ขอวิธีให้อาหารเสริมลูก 6 เดือน

ถึงวัยเริ่มกิน อาหารเสริม แม่กังวลลูก ทารก จะขาดสารอาหาร หากให้ อาหารเสริม ไม่ถูกหลัก

Q : เป็นคุณแม่มือใหม่ตอนนี้ลูก 6 เดือนแล้ว ต้องเริ่มกินอาหารเสริม เลยอยากจะขอเมนูอาหารเสริมสำหรับลูก และควรให้กินกี่มื้อต่อวัน ควรให้ก่อนหรือหลังกินนมแม่ ควรเป็นเมนูแบบใดดี กลัวลูกขาดสารอาหารค่ะ

เจนจิรา / นครปฐม


A : อาหารเสริมตามวัย คือ อาหารที่ให้ทารกกินเพื่อเสริมสารอาหารเพิ่มเติมจากนมแม่ เนื่องจากเมื่อทารกอายุ 6 เดือน ปริมาณนมแม่ที่คุณแม่ผลิตได้ต่อวันนั้นจะมีพลังงานและปริมาณสารอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของทารก

ทารกจึงจำเป็นต้องได้รับอาหารเสริมตามวัยเมื่ออายุ 6 เดือน 1-2 มื้อ อายุ 8-9 เดือน 2-3 มื้อ และอายุ 10-12 เดือน 3 มื้อ

การเริ่มให้อาหารเสริมตามวัยนั้นควรเริ่มฝึกให้กินมื้อที่คุณแม่สะดวกมีเวลาก่อนและให้กินทดแทนนมแม่มื้อนั้นเลย จำนวนมื้อของการให้ขึ้นกับความชอบและความพร้อมของลูกที่จะรับได้ เด็กบางคนอายุ 6 เดือน กินอาหารเสริมตามวัยได้ 1 มื้อ แต่บางคนอาจสามารถกินอาหารเสริมได้ 2 มื้อแล้ว บางคนอายุ 8 เดือน ก็กินอาหารเสริม 2 มื้อ ในขณะที่เด็กบางคนสามารถกินได้ 3 มื้อ

เมื่อกินอาหารเสริมตามวัยแทนนมแม่ได้กี่มื้อ ลูกก็จะกินนมแม่น้อยลงตามจำนวนมื้อที่ลูกกินอาหารเสริมเพิ่มขึ้น เช่น เดิมเคยดื่มนมแม่ 6-8 มื้อ เมื่อลูกกินอาหารเสริมตามวัยได้ 1 มื้อ ลูกก็จะกินนมแม่ลดลงเหลือ 5-7 มื้อ เมื่อลูกกินอาหารเสริมตามวัยได้ 3 มื้อ ลูกก็จะกินนมแม่ลดลงเหลือประมาณ 3-5 มื้อ

เพราะฉะนั้นอาหารเสริมที่ให้ลูกกินแทนนมแม่จะต้องมีคุณค่าทางอาหารครบ 5 หมู่ คาร์โบไฮเดรตจากแป้ง ข้าว โปรตีนจากเนื้อสัตว์ ไข่ พืชตระกูลถั่ว ไขมันจากน้ำมันพืช วิตามินและเกลือแร่จากผัก ผลไม้

ส่วนเมนูและวิธีการปรุง ควรเริ่มจากปริมาณน้อยและเลือกชนิดที่คิดว่าลูกชอบและสามารถกินได้ก่อนจนลูกคุ้นเคยค่อยเพิ่มปริมาณและปรับเปลี่ยนชนิดของอาหารและเมนูในภายหลัง

รศ.นพ.สังคม จงพิพัฒน์วณิชย์

ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Q&A อย่างนี้แพ้อาหารเสริมหรือเปล่า

อาหารเสริม,แพ้อาหารเสริม

Q&A อย่างนี้แพ้อาหารเสริมหรือเปล่า



Q : ลูกสาว (8 เดือน) ไม่ค่อยได้กินอาหารเสริมเท่าไหร่ เพราะเวลากินมักจะอาเจียน ดิฉันให้กินอาหารเสริมแบบสำเร็จรูปที่ผสมน้ำก็สามารถกินได้เลย(ผสมกับแกงจืด) แต่ต้องผสมน้ำให้มากค่ะ เพราะถ้าข้นไปเดี๋ยวลูกจะอาเจียน อาการอย่างนี้เรียกว่าเป็นอาการแพ้อาหารเสริมหรือเปล่าคะ - หทัยรัตน์ / สมุทรปราการ


A : การผสมอาหารให้ลูกรับประทานนั้น แรกๆ ก็ควรให้มีน้ำมากหน่อยครับ เพื่อให้มีลักษณะกึ่งเหลวกึ่งแข็งที่รับประทานง่ายไปก่อน แล้วจึงค่อยเติมน้ำน้อยลง เพื่อให้ข้นขึ้น ลูกก็จะเรียนรู้การรับประทานอาหารเสริมที่ค่อยๆ แข็งมากขึ้นได้ เด็กบางคนหากเราไม่ผสมอาหารให้เจือจางในระยะแรกแล้ว ลูกยังไม่ทราบวิธีการรับประทานอาหารที่แข็งได้ ก็จะต่อต้านด้วยการอาเจียนเวลากลืนอาหารที่เป็นเนื้อแข็งได้ สิ่งที่คุณแม่ถามมานั้นน่าจะเกิดจากลักษณะที่กล่าวมานี้ครับ ไม่น่าจะเกิดจากการแพ้อาหาร ทั้งนี้เพราะหากแพ้อาหารแล้ว ไม่ว่าจะเติมน้ำมากหรือน้อย ก็จะเกิดอาการแพ้ได้อยู่ดี เพราะส่วนใหญ่เกิดจากการแพ้โปรตีนในอาหาร ได้รับเมื่อไรก็เกิดอาการได้ครับ



Q&A เด็ก 8 เดือน กินมังสวิรัติได้มั้ย

เป็นไปได้มั้ย อยากให้ลูก 8 เดือนได้กินมังสวิรัติด้วย จะมีผลต่อการเจริญเติบโตหรือไม่ คุณหมอเด็กมีคำตอบ


Q :ที่บ้านดิฉันมีความเชื่อเรื่องการกินเจมาก อยากทราบว่าถ้าจะให้ลูกอายุ 8 เดือน กินเจด้วยจะได้ไหม ถ้ากินช่วงระยะเวลาแค่ 10 วันจะมีผลเสียต่อการเจริญเติบโตของลูกหรือไม่ อย่างไร และมีอาหารประเภทใดบ้างที่จะทดแทนอาหารประเภทเนื้อสัตว์

ปวีณา / กรุงทพฯ
 

A :คุณแม่ ไม่ควรให้ลูกรับประทานอาหารเจ เป็นอันขาด ทารกและเด็กที่กำลังเจริญเติบโตไม่ควรรับประทานอาหารเจหรืออาหารมังสวิรัติ เพราะจะเสี่ยงต่อการขาดสารอาหารต่างๆ ได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่มาก อาหารเจและอาหารมังสวิรัติจะมีสารอาหารไม่ครบถ้วนหรือไม่เพียงพอกับทารกที่กำลังเจริญเติบโต
 

ลูกของคุณแม่อายุ เพียง 8 เดือน ยิ่งไม่ควรให้รับประทานอาหารเจเป็นอย่างยิ่ง แม้จะเป็นเพียงช่วง 10 วันก็ตาม เนื่องจากทารกจะต้องเจริญเติบโตทุกวัน น้ำหนักและความยาวจะเพิ่มขึ้นทุกวัน การให้ทารกรับประทานอาหารเจ อาจทำให้ทารกไม่เจริญเติบโตในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งจะเป็นผลเสียมากกว่าผลดี ควรรอให้ลูกเติบโตเป็นผู้ใหญ่ก่อนจะดีกว่า แม้ว่าเมื่อลูกเข้าสู่วัยรุ่นแล้ว หมอยังคงไม่แนะนำให้รับประทานอาหารเจหรืออาหารมังสวิรัติใดๆ ถ้าไม่มีข้อบ่งชี้หรือแพทย์สั่ง
 

สำหรับอาหารจากพืชเดี่ยวๆ ที่จะมาทดแทนโปรตีนที่มาจากเนื้อสัตว์ได้ทั้งหมดนั้นคงไม่มี ที่พอจะใช้ได้บ้างคือถั่วเหลือง แต่ก็ยังมีกรดอะมิโนไม่ครบถ้วนเพราะขาดกรดอะมิโนเมทไทโอนีน ดังนั้นจึงต้องรับประทานอาหารจากพืชหลายๆ อย่างร่วมกัน จึงจะได้โปรตีนครบถ้วนมากขึ้น

ดร.นพ.ประสงค์ เทียนบุญ

Q&A แม่ท้องขับรถเองจะอันตรายกับลูกในท้องไหม

 แม่ท้องขับรถได้ไหม

Q&A แม่ท้องขับรถเองจะอันตรายกับลูกในท้องไหม

Q: ดิฉันตั้งครรภ์ได้ 3 เดือนกว่า ยังขับรถไปทำงานเองปกติค่ะ บางครั้งขับรถก็มีแรงกระแทกบ้าง กลัวว่าจะเป็นอันตรายกับลูกหรือแท้งได้ จึงอยากทราบว่าแรงกระแทกระดับไหนถึงจะเป็นอันตรายกับลูก กังวลมากค่ะ เพราะต้องขับรถไปทำงานเองทุกวันจะได้ระวังตัวเองมากขึ้นค่ะ


A: ปัจจุบันคุณแม่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ยังมีความจำเป็นต้องทำงานนอกบ้าน ซึ่งจะต้องมีการเดินทาง อาจจะเป็นการนั่งรถโดยสารประจำทาง แท็กซี่สาธารณะ รถส่วนตัว หรือมอเตอร์ไซค์รับจ้าง เป็นต้น การเดินทางด้วยยานพาหนะต่างๆ ดังกล่าวนั้น พบว่ารถส่วนตัวมีความปลอดภัยและทำให้เกิดอันตรายต่อคุณแม่น้อยมาก เพราะคุณแม่สามารถปรับความเร็วและเส้นทางให้เหมาะสมในขณะเดินทางได้ แต่ถ้าคุณแม่ที่ต้องนั่งรถโดยสารประจำทาง แท็กซี่สาธารณะ หรือมอเตอร์ไซค์ อาจจะมีความเสี่ยงมากกว่า เพราะไม่สามารถควบคุมสิ่งแวดล้อมต่างๆ ได้เลย

อย่างไรก็ตาม ยังไม่พบอันตรายที่ชัดเจนที่เกิดกับทารกในครรภ์เมื่อคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ต้องมีการเดินทางโดยยานพาหนะต่างๆ เพราะทารกที่อยู่ในครรภ์ จะมีน้ำคร่ำอยู่ล้อมรอบตัว ซึ่งจะเป็นเสมือนเกราะกำบังให้ทารกมีความปลอดภัยในระดับหนึ่ง

นอกจากนี้ ทารกในครรภ์ยังมีเกราะกำบังในชั้นถัดๆ มา ได้แก่ กล้ามเนื้อมดลูก กล้ามเนื้อผนังหน้าท้อง ลำไส้ กระดูกสันหลัง และกระดูกเชิงกรานของคุณแม่ด้วย แม้ว่าทารกในครรภ์จะได้รับแรงกระแทกในขณะเดินทาง ทารกก็จะมีน้ำคร่ำเป็นส่วนที่รับแรงกระแทก ซึ่งจะไม่มีผลโดยตรงต่อทารก เว้นเสียแต่ว่ามีอุบัติเหตุที่รุนแรงอาจจะเกิดอันตรายต่อทารกโดยตรงได้ เช่น การลอกตัวของรกก่อนกำหนด เป็นต้น

ดังนั้น คุณแม่ะต้องมีความระมัดระวัง ไม่ขับรถด้วยความเร็วสูง เลือกขับรถบนถนนหรือเส้นทางที่ไม่ขุรขระ ไม่มีหลุมบ่อมาก ตรวจเช็กสภาพรถให้อยู่ในสภาพที่ดี คาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้ง แรงกระแทกที่บริเวณผนังหน้าท้อง ที่เกิดจากการเดินทางเพียงเล็กน้อย ไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อทารกแต่อย่างใด คุณลภัสรดาจึงไม่ควรกังวลมากเกินไป และสามารถขับรถไปทำงานได้เองตลอดการตั้งครรภ์ค่ะ

รศ.พญ.สายฝน ชวาลไพบูลย์

รวม 20 เรื่องของหมอประเสริฐที่แม่ถามมากที่สุด

 การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ- เลี้ยงลูกเชิงบวก- ถามตอบกับคุณหมอ- หมอประเสริฐ- คุณหมอประเสริฐ- นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์- จิตแพทย์- หมอจิตแพทย์

รวมเรื่องของหมอประเสริฐที่แม่ถามเข้ามามากที่สุด

รวมคำถามหนักใจแม่ พร้อมคำตอบเบาใจในการเลี้ยงดูแบบเชิงบวก ฉบับ นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ จิตแพทย์และนักเขียน

20 เรื่องของหมอประเสริฐที่แม่ถามเข้ามามากที่สุด

1.เรื่องไหนบ้างที่ต้องเข้มงวดกับลูก

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/3szNIQs

 

2.เด็ก 9 ขวบ มีอะไรที่เราควรใส่ใจบ้าง

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/3bS6Nqr

 

3.“คุณหมอคะ พี่แกล้งน้องตีน้องประจำเลย สอนไม่รู้กี่ครั้งแล้ว”

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/2NLeIOu

 

4.“คุณหมอคะ ลูกดื้อและงอแงประจำ พูดก็แล้ว ตีก็แล้ว ก็ไม่ฟัง”

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/3bOot6w

 

5.“คุณหมอคะ ทำไมหนูพูดอะไรลูกก็ไม่ฟังเลย”

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/2PqzMdu

 

6.สอนอะไรลูกก็ไม่ยอมเชื่อฟังแม่เลย

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/3e10d3E

 

7.ลูกมีมือถือของตัวเองได้เมื่อไร

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/2OdokkK

 

8.เลี้ยงลูกอย่างไร ไม่ให้เอาแต่ใจและรักสบาย

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/3q2THMh

 

9.ทำไมลูกทำตัวน่ารักกับคนอื่น แต่ดื้อกับพ่อแม่

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/2O9bcNA

 

10.หนักใจ พี่น้องชอบทะเลาะกัน

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/3e02SKX


 

11.เมื่อจะเป็นแม่ ทักษะอะไรบ้างที่ต้องมี

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/3sz7z2i

 

12.ลูก “ดื้อ” รับมือให้ได้

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/30h1Ouh

 

13.การเลิกนมมื้อดึก มิได้อยู่ที่นมแต่อยู่ที่ “แม่”

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/3sGsZuo

 

14.เลี้ยงลูกอย่างเดียว เป็น Burn Out Syndrome ได้ไหม

คลิกอ่านบทความได้ที่ :https://bit.ly/3b4GIoQ

 

15.เมื่อมีน้อง ควรให้ความสำคัญแก่พี่มากกว่าน้องเล็กน้อย

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/381zMH9

 

16.“ฝึกลูกให้ลำบากก่อนสบายทีหลัง”

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/2Ppx08l

 

17."เลือกโรงเรียนอย่างไรดี"

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/380sfsk

 

18."เรียกใช้อะไรก็ไม่ทำ การบ้านก็ไม่เสร็จ"

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/3uKBir2

 

19.“ให้ลูกดูทีวีได้เมื่อไรคะ และควรมีแนวทางอย่างไร”

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/303nIRs

 

20."พ่อแม่ไม่มีเวลา จะให้เวลาลูกได้อย่างไร"

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/37Y8IZi

 

 นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
จิตแพทย์และนักเขียน ขวัญใจพ่อแม่ชาวโซเชียล