หลายคนโดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกน้อย คงเคยได้ยินชื่อโรคที่เรียกว่า “กลากน้ำนม” ซึ่งถ้าฟังแค่ชื่อก็อาจเข้าใจผิดคิดว่าหมายถึงโรคกลาก ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อรา แต่จริง ๆ แล้วโรคกลากน้ำนมเป็นคนละโรคกับโรคกลากโดยสิ้นเชิง
หนังลงโดยไม่ทราบสาเหตุ ทำให้สีผิวบริเวณนั้นจางลงเป็นวงด่าง โดยในช่วงแรกอาจเป็นผื่นชมพูอ่อน ๆ แห้งและตกสะเก็ด คล้ายอาการผื่นผิวหนังอักเสบ (Eczema) โรคนี้สามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย แต่มักเกิดกับเด็กและวัยรุ่นได้มากกว่าวัยอื่น
มีลักษณะคล้าย ๆ เกลื้อน คือ เห็นเป็นวงขาวหรือชมพูจาง ๆ เมื่อดูให้ดี หรือใช้แว่นขยายส่องดูด้วย จะเห็นมีขุยบาง ๆ ติดอยู่ มักเกิดที่ คอ ไหล่ และแขน บางครั้งอาจจะพบที่หลัง หน้าอก และขา ก็ได้ โดยส่วนมากพ่อแม่หรือผู้ปกครอง เป็นผู้สังเกตเห็นว่า เกิดกับเด็ก ในระยะกินนม เห็นเป็นวงกลมหรือวงรี เนื่องจากพบในเด็กที่อยู่ในระยะกินนม ลักษณะเหมือนน้ำนมแห้งติดอยู่ที่แก้ม จึงเรียกว่า กลากน้ำนม ซึ่งโดยความจริง โรคนี้มีลักษณะไม่เหมือนกลาก แต่เหมือนเกลื้อนน้ำนมหรือโรคด่างขาวมากกว่า
1. การเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ เช่น อากาศร้อน ตากแดด ตากลม เป็นต้น
2. เซลล์ผิวหนัง หรือเม็ดสีมีความผิดปกติ
3. เกิดจากแพ้แสงแดด ไวต่อแสงแดด
4. ภาวะร่างกายขาดสารทองแดง หรือเชื้อรา (Malassezia Yeasts) ที่อาจกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์สร้างเม็ดสีจนทำให้เกิดการผลิตเม็ดสีน้อยลงจนเกิดเป็นรอยด่าง
1.ใช้ยาทา อาจใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ที่มีฤทธิ์อ่อนที่สุด เพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นให้ผิว ไม่แห้ง ลอกเป็นขุยมากขึ้น
สำหรับครีมที่ใช้ ควรจะเป็นครีมธรรมดาที่ไม่มีกลิ่นหอม เพราะผิวหนังของคนไข้บางคนอาจจะแพ้น้ำหอมได้ โรคมักเป็นเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ ถ้าไม่รักษาอาจเป็นนานเป็นเดือนหรือเป็นปี
2.รักษาความสะอาด ให้ใช้สบู่อ่อน เช่น สบู่น้ำ หรือสบู่เด็ก แล้วให้แต่โคล์มครีมทา
3.ไม่อาบน้ำที่มีอุณหภูมิอุ่นเกินไป
ไม่สามารถป้องกันได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากสาเหตุการเกิดมาจากหลายปัจจัย แต่สามารถลดความเสี่ยงของโรคได้โดยการดูแลผิวให้ชุ่มชื่นด้วยการทาครีมอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงการออกแดด เพื่อช่วยปกป้องผิวลูกน้อยจากการถูกทำร้าย และเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนต่อผิวลูกที่สุด
โรคกลากน้ำนมในเด็กทารกไม่ได้เกิดจากการกินนมอย่างที่คุณแม่หลายคนเข้าใจ เป็นโรคที่ไม่ร้ายแรง มีความสัมพันธ์กับโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง สามารถหายได้เองได้แต่ใช้เวลาค่อนข้างนาน หากได้รับการดูแลผิวที่ดี หลีกเลี่ยงการออกแดด เพื่อช่วยป้องกันผิวลูกน้อยจากการถูกทำร้ายจากแสงแดด และ เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนที่เหมาะสมต่อผิวลูก จะทำให้โรคหายเร็วขึ้น
ที่มา : อ. พญ.สัญชวัล วิทยากรฤกษ์ สาขาวิชาเวชศาสตร์ผู้ป่วยนอกเด็กและวัยรุ่น ภาควิชากุมารเวชศาสตร์