
ระวัง! “โรคไอกรน” ระบาดหนักในเด็กเล็ก
พ่อแม่เฝ้าระวัง เด็กอายุ 1-3 เดือนเสี่ยง "โรคไอกรน" กระทรวงสาธารณสุขเผยระบาดเพิ่มขึ้น สาเหตุอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย รับวัคซีนไม่ครบ ที่อยู่อาศัยแออัด
กรมควบคุมโรคเผยแพร่พยากรณ์โรคและภัยสุขภาพ ระบุมีแนวโน้มว่าจะพบเด็กป่วย
ไอกรนเพิ่มมากขึ้นจากปีที่ผ่านๆ มา เพราะสาเหตุเกิดจากอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย รวมถึงแหล่งที่อยู่อาศัยแออัด และเด็กได้รับ
วัคซีนไม่ครบตามกำหนด
โดย
โรคไอกรนเป็นโรคติดเชื้อของทางเดินระบบหายใจ โดยมีอาการสำคัญคือ ไออย่างรุนแรงต่อเนื่องหลายสัปดาห์ ไอเป็นชุด มีเสียงหายใจดังฮู้บระหว่างหรือหลังไอ และอาเจียนหลังไอ
อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนทางสมองและปอดอักเสบโดยเฉพาะทารกและเด็กเล็ก
ซึ่ง
โรคไอกรนแพร่เชื้อผ่านทางไอ จามรดกันโดยตรงกับผู้สัมผัสที่ไม่มีภูมิคุ้มกันและเกิดโรคเกือบทุกราย การให้ยาฆ่าเชื้อแก่ผู้ป่วยช่วยลดความรุนแรงของโรคและลดการแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้ รวมทั้งแยกผู้ป่วยออกจากคนอื่น
การป้องกันที่ดีที่สุดคือ พาลูกไปฉีด
วัคซีนป้องกันคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก
จะฉีดครั้งแรกที่อายุ 2 เดือน 4 เดือน 6 เดือนและ 18 เดือน
และครั้งที่ 2 เมื่ออายุ 4-6 ปี
โรคไอกรน
เป็นโรคทางเดินหายใจที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งชื่อว่า Bordetella pertussis (B. pertussis) ปัจจุบันพบน้อยเพราะมีวัคซีนป้องกันโรค สามารถเป็นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
อาการของโรคไอกรน
หากเกิดในผู้ใหญ่ไม่มีความรุนแรง สามารถใช้ชีวิตได้เป็นปกติ ไม่มีอาการเหนื่อยหอบ ไม่มีไข้ มีเพียงอาการไอเท่านั้น แต่ถ้าหากโรคไอกรนเกิดกับเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 3 ขวบ มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ที่พบบ่อยคือไอหนักจนตัวเขียวหรือไอจนหยุดหายใจ ทำให้สมองขาดออกซิเจน และอาจเสียชีวิตได้ ส่วนอาการชักสามารถพบได้เช่นกันแต่พบไม่บ่อยนัก
การเกิดไอกรนในวัยเด็ก
มักเกิดจากการได้รับวัคซีนป้องกันที่ยังไม่ครบหรือบางรายอาจยังไม่เคยได้รับวัคซีนเลย ทำให้เด็กยังขาดภูมิคุ้มกัน เนื่องจากวัคซีนป้องกันไอกรนเข็มแรกจะได้รับเมื่ออายุ 2 เดือน ส่วนการรับเชื้อส่วนมากมักมีการรับมาจากผู้ใหญ่ที่ป่วยและมีอาการไอ ซึ่งในวัยผู้ใหญ่มักไม่ยอมไปพบแพทย์ เนื่องจากอาการไม่รุนแรง ทำให้เกิดการแพร่เชื้อไปยังเด็กที่อยู่ใกล้ชิดในที่สุด
คำแนะนำเมื่อพาลูกไปรับวัคซีน
- ในวันนัด ถ้าลูกเป็นไข้ไม่สบาย ควรให้เด็กดีก่อนหลังจากนั้น 1 สัปดาห์จึงพาไปรับวัคซีน
- ในกรณีที่ไม่สามารถไปตามนัดได้ พ่อแม่สามารถพาลูกไปรับวัคซีนเพื่อกระตุ้นให้ครบไม่ว่าจะเว้นไว้ไปนานเท่าใดได้โดยไม่ต้องเริ่มต้นใหม่ แต่ไม่ควรพาไปก่อนนัดเนื่องจากระยะห่างระหว่างการกระตุ้นของวัคซีนที่สั้นเกินไปจะมีผลให้ภูมิต้านทานโรคขึ้นน้อยกว่าปกติ
- ถ้าเด็กเคยมีประวัติแพ้ยา แพ้ไข่ไก่ หรือเคยมีอาการผิดปกติรุนแรงหลังได้รับวัคซีน เช่น ชัก ผื่น ลมพิษไข้สูงมาก ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนได้รับวัคซีนครั้งต่อไป