facebook  youtube  line

"จำเป็นต้องวางกติกา เพื่อลูกอยู่ในสังคมได้ดี"

2436

กล้ามเนื้อใหญ่ที่ทรงพลังทำให้เราจำเป็นต้องวางกติกา มิเช่นนั้นเด็กจะอยู่ในสังคมไม่ได้ เมื่อวางกติกาลงไปแล้วเราเองที่ต้องเอาจริงไปจนถึงเข้มงวดเพราะเด็กจะทดสอบพลังของกล้ามเนื้อของตัวเองตลอดเวลา ทดสอบกฎ กติกา มารยาท นั่นคือทดสอบพ่อและแม่ว่าแน่จริงหรือเปล่า เอาจริงเพียงใดหรือว่าที่แท้แล้วเหยาะแหยะ ไปจนถึงมักจะรักษาหน้าตาของตัวเองมากกว่าที่เข้มงวดกับเรื่องที่ต้องเข้มงวด

เรื่องที่ต้องเข้มงวดมี 3 ข้อคือ ห้ามทำร้ายตัวเอง ห้ามทำร้ายคนอื่น และห้ามทำลายข้าวของ กริยาสามอย่างนี้เราไม่อนุญาตให้มีครั้งที่สอง เมื่อพบครั้งหนึ่งต้องสั่งสอนและบอกกล่าวด้วยความจริงจังและไม่อนุญาตให้ทำได้อีก  ความเข้มงวดที่กริยาสามประการนี้ไม่มากเกินไป

หากจะมีคำว่ามากเกินไปจึงเป็นการมีข้อห้ามที่มากเกินไป คือมีข้อที่ 4 ไปเรื่อยๆ จนถึงข้อที่ร้อยหรือหลายร้อย เด็กตื่นเช้ามาพร้อมข้อห้ามหลากหลายประการทั้งในบ้านและนอกบ้านจนเขาไม่สามารถขยับตัว ไม่สามารถพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ ไม่สามารถพัฒนาอะไรต่อไปได้โดยง่ายหรือด้วยความภาคภูมิใจและความมั่นใจ  ในกรณีเช่นนี้เด็กจะไม่ดูคนอื่น ไม่เจ้ากี้เจ้าการคนอื่นเหมือนที่ถามมา แต่เด็กจะสงสัยตัวเอง แคลงใจในความสามารถของตัวเองไปจนถึงสงสัยความมีอยู่ของตนเอง

อิริคสันเรียกว่า Doubt ความสงสัย ไม่มั่นใจ และหากปล่อยให้เป็นมากขึ้นๆ จนถึงอายุประมาณ 4-6 ขวบซึ่งเด็กจะพัฒนากล้ามเนื้อเล็กคือกล้ามเนื้อนิ้วมือทั้งสิบซึ่งอยู่ไกลที่สุดจากศูนย์กลางของร่างกายเพื่อควบคุมการเคลื่อนไหวอย่างละเอียด (fine motor) เพื่อรังสรรค์สิ่งใหม่ (Initiation)แต่กลับทำไม่ได้

ความสงสัยแปรเปลี่ยนเป็นความรู้สึกผิด (Guilt) ที่ตนเองทำอะไรแทบไม่ได้เลยเพราะถูกห้ามอยู่ตลอดเวลา

เด็กที่มั่นใจในตนเองมากจนกระทั่งสามารถก้าวล่วงไปสังเกตพฤติกรรมของเด็กคนอื่นและแสดงออกว่าไม่เห็นด้วยย่อมไม่มีความสงสัยในตนเองหรือความรู้สึกผิด

ในทางตรงข้ามเขามีสิ่งที่เรียกว่าเซลฟ์เอสตีม(self-esteem) คือรักตัวเอง มั่นใจในตัวเองและภาคภูมิใจในตัวเองมากพอที่จะเดินเข้าโรงเรียนโดยไม่ร้องไห้ หอบเสื้อผ้าไปนอนกับตายายโดยไม่เกรงกลัว แสดงออกว่าไม่พอใจที่เพื่อนๆ ที่โรงเรียนไม่ทำตามกติกา

ทั้งนี้เพราะเขาทำได้ ได้ทำ และมี EF มากพอที่จะควบคุมตัวเองให้ทำได้ด้วย เหล่านี้เริ่มต้นที่แม่มีอยู่และเอาจริงในเรื่องที่ควรเอาจริง

นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
จิตแพทย์และนักเขียน ขวัญใจพ่อแม่ชาวโซเชียล



 

ท็อปส์ จับมือยูนิเซฟ ประเทศไทย ร่วมมือโครงการ "Every Child Can Read’ ยกระดับทักษะการอ่านเด็กไทย

ยูนิเซฟ ประเทศไทย, เซ็นทรัล รีเทล, องค์กรเด็ก, รักการอ่าน, Every Child Can Read, unicef thailand, Tops Retail, ข่าวประชาสัมพันธ์

ท็อปส์ ในเครือเซ็นทรัล รีเทล จับมือยูนิเซฟ ประเทศไทย ลงนามความร่วมมือ โครงการเด็กทุกคนอ่านได้ ‘Every Child Can Read’ ยกระดับทักษะการอ่านเด็กไทย

เมื่อวันที่ 15  สิงหาคม 2567 ท็อปส์ ธุรกิจกลุ่มฟู้ด ในเครือเซ็นทรัล รีเทล และ องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย โดย คุณสเตฟาน คูม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มฟู้ด เซ็นทรัล รีเทล และ คุณคยองซอน คิม ผู้อำนวยการ องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) สนับสนุนโครงการเด็กทุกคนอ่านได้ ‘Every Child Can Read’ เพื่อสานต่อความร่วมมือกับองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย อย่างต่อเนื่อง เข้าสู่ปีที่ 5

เดินหน้ายกระดับทักษะการอ่านและเขียนของเด็กนักเรียนในประเทศไทยให้ครอบคลุมมากที่สุด พร้อมตั้งเป้าหมายในการเข้าถึงเด็ก ๆ มากกว่า 100,000 คน ผ่านโรงเรียนเครือข่าย 203 แห่งใน 19 จังหวัดทั่วประเทศไทย

พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ลูกค้าคนสำคัญได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับเด็ก ๆ ผ่านการร่วมสมทบทุนบริจาค โดยมี ดร.รังสรรค์ วิบูลย์อุปถัมภ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา องค์การยูนิเซฟแห่งประเทศไทย คุณนีล เคนนาร์ด ผู้บริหารฝ่ายระดมทุนองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย คุณจักรกฤษณ์ จตุปัญญาโชติกุล รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายการตลาด ประชาสัมพันธ์ และกิจกรรมเพื่อสังคม บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด ในเครือเซ็นทรัล รีเทล คุณรุ่งนภา ไตรวิทยานุรักษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายกิจกรรมการตลาดและกิจกรรมเพื่อสังคม บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด ในเครือเซ็นทรัล รีเทล ร่วมงาน ณ โรงเรียนวัดโตนดเตี้ย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

 

ประโยชน์สุดยอด! จากการอ่านนิทาน ช่วยลูกฝึกแก้ไขปัญหาได้สำเร็จ

การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ-สอนลูก-การเรียนรู้ 

การอ่านนิทาน และการฟังนิทาน ของเด็กวัยอนุบาล ไม่ใช่แค่เรื่องของความเพลิดเพลิน สร้างจินตนาการ ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์เท่านั้น แต่นิทานยังมีประโยชน์กว่านั้นค่ะ เพราะนิทานช่วยให้เขาได้ฝึกทักษะการแก้ปัญหาอย่างสนุกสนานอีกด้วย

การเล่านิทานให้ลูกฟังบ่อยๆ นอกจากจะช่วยพัฒนาทักษะการฟัง การพูด กล้าแสดงออก ช่วยพัฒนาการด้านอารมณ์ของเด็กรับรู้อารมณ์ทางด้านความรัก ความอบอุ่น ความเอาใจใส่ ความสนใจใคร่รู้แล้ว การเล่านิทานยังช่วยฝึกทักษะการแก้ปัญหาให้กับเขาอีกด้วย ซึ่งคุณพ่อคุณแม่และคุณครูสามารถช่วยส่งเสริมการแก้ปัญหาของเด็กวัยอนุบาลได้ไม่ยาก เริ่มที่...

  1. เลือกเนื้อเรื่องที่มีการกำหนดสถานการณ์ที่เป็นปัญหา หรือยุ่งยากให้กับตัวละคร เมื่อตัวละครไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ครูหรือพ่อแม่ควรตั้งคำถามให้เจ้าตัวเล็กที่นั่งฟังตาแป๋วอยู่ ได้ใช้ความคิด หาทางแก้ปัญหา เพื่อช่วยตัวละครในนิทานดำเนินเนื้อเรื่องต่อให้จบ

เช่น มีลูกหมูสามตัว ปลูกบ้านคนละหลัง หลังแรกทำขึ้นจากฟางข้าว หลังที่สองทำขึ้นจากไม้ หลังที่สามทำจากปูน หนูคิดว่าบ้านหลังไหนแข็งแรงที่สุดคะ? เป็นต้น

  1. เตรียมคนเล่าและคนฟังนิทาน หลังจากเลือกเรื่องที่เหมาะสมได้แล้ว ให้ทำความเข้าใจในเนื้อเรื่อง ตัวละคร ลีลาอารมณ์ เรียงลำดับเหตุการณ์ ฝึกการใช้น้ำเสียงที่มีหนักเบาตามความหมายของคำและข้อความ ทำเสียงสนทนาตามธรรมชาติ เช่น เสียงผู้ชาย ห้าวใหญ่ เสียงผู้หญิง นุ่ม แหลมเล็กน้อย เสียงเด็ก แหลม สดใส เสียงคนแก่ อยู่ในลำคอ สั่นเครือ ฯลฯ

บทสนทนาอาจใช้ภาษาถิ่นหรือใช้คำคุ้นที่เด็กเคยชิน อย่าลืมว่าสุดท้ายของการเล่านิทานทุกครั้ง ควรมีการสรุปเรื่องด้วย เกี่ยวประเด็นสำคัญ ลักษณะตัวละคร ความรู้และสิ่งที่ได้จากเรื่อง เพื่อให้เขาได้คิดทบทวน และเก็บข้อความรู้จากนิทานเป็นการย้ำเตือนค่ะ เรามาเตรียมคนฟังตัวน้อยๆ ให้พร้อมกันก่อนดีกว่าค่ะ 

วิธีเตรียมคนฟังตัวน้อย ๆ ให้พร้อม
  1. ใช้สถานที่ได้ทั้งนอกห้องหรือในห้อง
  2. ก่อนเล่าต้องตกลงกับเจ้าตัวเล็กว่า ระหว่างเล่านิทานนั้นต้องไม่มีการพูดคุย ส่งเสียงดัง ไม่ลุกขึ้นยืนหรือวิ่งเล่น เพื่อให้อยู่ในระเบียบวินัยในขณะฟังนิทานค่ะ
  3. ถ้าเจ้าตัวเล็กมีจำนวนหลายคนก็ให้นั่งล้อมวงหน้าครูหรือพ่อแม่
  4. จัดที่นั่งเจ้าตัวเล็กกับครูหรือพ่อแม่ให้ใกล้ชิดกัน โดยครูหรือพ่อแม่อาจนั่งสูงกว่าเจ้าตัวเล็ก เล็กน้อย เพื่อสามารถแสดงภาพในหนังสือ หรือแสดงสื่อประกอบการเล่าในระดับสายตาเจ้าตัวเล็ก
  5. มีแสงสว่างเพียงพอ อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่มีเสียงหรือกลิ่นอันไม่พึงประสงค์รบกวน
  6. ใช้สื่อประกอบ จะช่วยให้การเล่านิทานมีชีวิตชีวาและน่าสนใจมากขึ้น ครูหรือพ่อแม่จึงควรเลือกใช้สื่อที่มีลักษณะเป็นรูปธรรม กระตุ้นให้เจ้าตัวเล็กใช้จินตนาการตามประสบการณ์ของเขาให้มากที่สุด เช่น หนังสือ ฉาก หุ่น ฯลฯ โดยการสร้างสื่ออย่างง่ายหรืออาจจะให้เจ้าตัวเล็กร่วมทำด้วยก็สนุกดีนะคะ แถมยังภูมิใจในผลงานอีกด้วย

ต่อจากนี้ไปนิทานคงไม่แค่เรื่องของความบันเทิงเท่านั้น แต่ยังเป็นสิ่งที่มีคุณค่าเป็นเครื่องถ่ายทอดความรัก สร้างสัมพันธ์ที่อบอุ่น ความผูกพันในครอบครัว ปลูกฝังคุณธรรมความดี ตลอดจนส่งเสริมพัฒนาการให้กับเจ้าตัวเล็ก ซึ่งจะเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าต่อประเทศชาติในอนาคตค่ะ

รักลูก The Expert Talk Ep.37 : ปัญหาระดับชาติ เด็กไทยอ่านไม่ออก แก้ยังไงดี

 

รักลูก The Expert Talk EP.37 : ปัญหาระดับชาติ เด็กไทยอ่านไม่ออก แก้ยังไงดี

จากงานวิจัยของยูนิเซฟล่าสุด พบว่าความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ของเด็กไทย มีแนวโน้มลดลงกว่า 30%

แล้วถ้าเด็กไทยอ่านไม่ออก กระทบอะไรบ้าง สะท้อนภาพการศึกษาไทยอย่างไร พ่อแม่จะรับมือกับสถานการณ์นี้ได้อย่างไร

 

ฟัง ผศ.ดร.ยศวีร์ สายฟ้า

รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เป้าหมายของการอ่าน

แบ่งเป็น 2 ช่วงใหญ่ ช่วงแรก เด็กปฐมวัย และประถมศึกษาตอนต้นอายุ 6-8ปี เป้าหมายเพื่อ Learn to Read เรียนรู้เพื่ออ่านให้ออกเขียนให้ได้ เด็กปฐมวัยรู้ความหมายการอ่าน ไม่ใช่อ่านตัวหนังสือ แต่คือความสามารถของการประมวลการรับสาร ซึ่งสารที่เห็นอาจจะรูปภาพ สัญลักษณ์ สิ่งเหล่านี้ใช้ทักษะของการอ่านหมดเลย

การอ่านวัยนี้หมายถึงการ การรู้ภาพ รู้สัญลักษณ์และบอกความหมายของภาพนั้นได้ ก็เป็นพื้นฐานของการอ่านแล้ว

ประถมศึกษาตอนต้น 6-8ปี สามารถอ่านแบบอ้างอิงตามหลักการทางภาษามากยิ่งขึ้น มีการประสมคำ การแจกลูก การอ่านเพื่อเดาความหมายหรือตีความในลักษณะต่างๆ ในช่วงแรกจะเป็นการ Learn to Read เรียนรู้เพื่ออ่านให้ออกเขียนให้ได้ พอช่วงประถมปลาย ป.4 ขึ้นไปจนถึงมัธยม เป้าหมายเพื่อ Read to Learn ใช้การอ่านเป็นเครื่องมือเรียนรู้ ในชีวิตจริง ซึ่งเป็นเป้าหมายที่สองของการอ่าน

สำหรับเด็กเล็ก ไม่ได้คาดหวังให้อ่านออกตามตัวหนังสือ เพราะตามธรรมชาติการรับรู้ยังเป็นการรับรู้เชิงสัญลักษณ์ ดังนั้นการตีความที่เป็นนามธรรม ตัวหนังสือ ข้อความ เป็นเรื่องที่ท้าทายมากเกินไป ถ้าอนุบาลอ่านไม่ออกไม่เป็นไร แต่เรื่องความรู้รอบตัวต้องรู้ ดูสัญลักษณ์รอบตัวได้

ชั้นประถมต้น ต้องอ่านให้ออก เจอคำใหม่ต้องรู้จักการประสมคำ เพราะเป็นพื้นฐานของการ Learn to Read เมื่อจบ ป.1 เด็กต้องอ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็น รู้พยัญชนะ ก-ฮ การแจกลูก สะกดคำ ต้องทำได้ในป.1 พอป.2 ต้องทำได้คล่องแคล่ว แต่ถ้าป.2 เจอคำใหม่ แจกลูก และประสมคำไมไ่ด้ ต้องกังวลแล้ว แต่สำหรับเด็กอนุบาล3 ยังไม่ต้องกังวล

ระดับการอ่านของเด็ก การอ่านมีหลายระดับ ระดับแรกๆ คือ อ่านแล้วรู้ความหมายเลย ระดับที่สอง อ่านแล้วตีความเชื่อมโยงเหตุและผล ว่าสื่ออะไร สะท้อนถึงเรื่องอะไร และคาดเดาไปถึงเรื่องอะไร ระดับที่สาม อ่านแล้ววิจารณ์ได้ สามารถประเมินและแสดงความคิดเห็น ใครทำอะไรที่ไหน ใคร ทำอะไรที่ไหน ระดับสูง อ่านสร้างสรรค์ คิด ต่อยอด จินตนาการ ไปด้วยตัวเองได้

ปัญหาการอ่านที่ต้องกังวล การอ่านไม่ออก มีหลายระดับ ซึ่งภาษาไทยเรามีพยัญชระ สระ วรรณยุกต์ การอ่านไม่ออกคือ แจกลูกสะกดคำไม่ได้ จับคู่รูปกับเสียงไมไ่ด้ จำพยัญชนะไม่ได้ เป็นปัญหาพื้นฐาน ถ้าเจอตรงนี้ต้องแก้ก่อน เพราะเมื่อไประดับการอ่านที่มากไปกว่านี้ก็ไปต่อไม่ได้

การอ่านที่มาจากการจดจำ เช่น เห็นคำว่าห้องน้ำจะมีภาพผู้ชายกับผู้หญิง เด็กจะจำเป็นภาพ แต่เมื่อถามว่าสะกดยังไง ก็จะตอบไม่ได้ คือเข้ายังแจกลูก ผสมคำไม่ได้ ซึ่งต้องกังวลตรงนี้

ส่วนของการประเมินของยูนิเซฟหรือหน่วยงานต่างๆ เขาจะไม่วัดแค่การอ่านออก แค่การแจกลูกผสมคำอย่างเดียว แต่จะดูว่าอ่านแล้ววิจารณ์ได้ไหม มีความคิดเห็นยังไง เพราะในประถมต้น เด็กควรจะอ่านแล้วบอกได้ว่านี่คืออะไร คือ Litteral Reading แต่หากเด็กยังแจกลูก ผสมคำไม่ได้ ก็จะไปไม่ถึงขั้น Litteral Reading ได้

ในชั้นประถมปลาย ตามตำราสามารถไปขึ้น critical reading ได้ คือสามารถวิจารณ์ แสดงความเห็นว่ารู้สึกยังไง แต่ถ้าแจกลูก สะกดคำไม่ได้ก็มาถึงตรงนี้ไม่ได้

ปัญหาเดิมแต่ซ้ำเติมด้วยสถานการณ์

ในห้องจะมีเด็กที่อ่านไม่ออกอยู่แล้วประมาณ 5-10% ซึ่งหน้าที่ของครูก็จะมีการซ่อมเสริมในช่วงเย็นๆ ในสถานการณ์ปกติก็จะมีแบบนี้ เมื่อจบปีการศึกษา เด็กทุกคนจะอ่านได้หมด ยกเว้นเด็กที่มีปัญหา LD แต่จำนวนไม่เยอะ ไม่ได้ถึงขั้นวิกฤต คือมีปัญหาเรื่องนี้อยู่แล้ว เพราะเด็กบางคนไม่ชอบการอ่านจริง แต่ชอบการเคลื่อนไหวร่างกาย ชอบวิทยาศาสตร์ ชอบการคำนวณมากกว่า เมื่อต้องอ่านก็อาจจะต้องใช้เวลานานกว่าคนอื่น พ่อแม่ต้องเข้าใจและให้เวลา

แต่ในสถานการณ์โควิดลักษณะการอ่านแจกลูก สะกดคำ ต้องอาศัยการสอนอย่างใกล้ชิดกับครู คือ ครูนำ เด็กตาม ซึ่งการสอนอ่านก็มีหลายแบบ เช่น คำว่า ต า = ตา เด็กก็จะรู้ว่า ต. คือเสียงเตอะ รวมกับ สระ า ออกเสียงรวมกันเป็นตา เป็นการสอนแบบแจกลูก คือแจกแล้วมาผสมกัน ซึ่งดูจากคลิปมันแจกลูกไม่ได้

เด็กที่เรียนออนไลน์ก็อาจจะพอได้ พูดตามได้บ้าง แต่เด็กที่ไม่มีโอกาสออนไลน์เลย น่ากังวลมากกว่า แล้วการเรียนแบบ On hand เด็กเรียนรู้ด้วยตัวเองไม่ได้

ส่วนการอ่านของเด็กป.โตขึ้นไป การอ่านขั้นสูงก็ต้องอาศัยการชี้นำ ตั้งคำถาม เพื่อกระตุ้นความคิดของเด็กให้พัฒนา ซึ่ง On hand มันยากและท้าทายกับพ่อแม่มาก ครูก็ไม่ไ่ด้คาดหวังให้พ่อแม่สอนแจกลูก สะกดคำได้ ก็จึงเป็นปัญหาที่เพิ่มเข้ามาในช่วงที่มีสถานการณ์โควิด

การแจกลูกสะกดคำ ถ้าเด็กรู้พื้นฐานแล้ว เขาจะพยายามทำให้ได้ ซึ่งก็สัมพันธ์กับภาษาการฟัง พูด ปกติคนเราจะฟังพูด แล้วเราได้คำศัพท์ แล้วคำศัพท์ที่มาจากการอ่าน เขียนมาทีหลัง

มีงานวิจัยรายงานว่าเด็กที่มีทักษะการพูด การฟังที่ดี จะมีคลังคำศัพท์เยอะ พอได้หลักการอ่านไป ประกอบกับคลังคำที่มีเยอะ เขาจะไปไวมาก ย้อนมาที่สถานการณ์ตอนนี้ เด็กก็ไม่รู้จะคุยกับใคร คลังคำมาจากไหน และด้วยสภาพแวดล้อมที่อยู่กับพ่อแม่ คำพูดก็จะวนๆ ไปมา ไม่ได้เติมคำศัพท์ใหม่ ในมุมนักวิชาการ กังวลเรื่องการแจกลูก สะกดคำ เป็นพื้นฐานที่สำคัญ เพราะถ้าตรงนี้ไม่ได้ ก็จะไม่ได้อะไร

เด็กอ่านไม่ออกกระทบอะไรกับพัฒนาการ

1.สญเสียเครื่องมือในการเรียนรู้ 2.ส่งผลกับการดำเนินชีวิต เช่น เวลาทำธุรกรรมการเงิน และอาจจะถูกหลอก 3.ขาดโอกาสในการทำงานที่ดี

พ่อแม่สามารถช่วยลูกได้ เติมคลังคำศัพท์ให้ลูก ได้เรียนรู้คำใหม่ๆ เช่น อ่านนิทาน ให้ดูคลิป และดูกับลูก คุยกับลูกเยอะ ให้ได้คำศัพท์อื่นๆ ที่อยู่นอกบริบทเราได้ ปกติเด็กจะตั้งคำถามอยู่แล้วก็จะเป็นต้นทุนที่ดี เมื่อคลังคำเยอะ พอได้เรียนรู้การสะกดคำ ก็จะทำให้ลูกทำได้ดี

คุยกับลูกบ่อยๆ เยอะๆ
ก่อนจบอ.3 อายุประมาณ 5 ปี ก็ให้ลูกคุ้นเคยกับพยัญชนะ ตัวอักษร ให้เรียนจากสิ่งรอบตัว สนุกและไม่ต้องเป็นทางการ ระหว่างที่ขับรถหรือเจออะไรก็สอนเรื่องพยัญชนะลูกได้ ซึ่งภาษาคือการใช้ ก็ต้องเปิดโอกาสให้ลูกได้ใช้บ่อยๆ

 

ติดตามรักลูก Podcast ได้ที่...

Apple Podcast :https://apple.co/3m15ytB

Spotify :https://spoti.fi/3cvAVcX

YouTube Channel :https://bit.ly/3cxn31u

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

รักลูก The Expert Talk Ep.38 : ตั้งรับ ปรับตัว กับเทรนด์การศึกษาใหม่

 

รักลูก The Expert Talk EP.38 : ตั้งรับ ปรับตัว กับเทรนด์การศึกษาใหม่

จากงานวิจัยของยูนิเซฟล่าสุด พบว่าความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ของเด็กไทย มีแนวโน้มลดลงกว่า 30%

แล้วถ้าเด็กไทยอ่านไม่ออก กระทบอะไรบ้าง สะท้อนภาพการศึกษาไทยอย่างไร

พ่อแม่จะรับมือกับสถานการณ์นี้ได้อย่างไร ฟัง ผศ.ดร.ยศวีร์ สายฟ้ารองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ตัวเลขเด็กไทยหลุดระบบ 1.2 ล้าน เกิดอะไรขึ้น

เป็นผลกระทบจากโควิด รร.หลายๆ พื้นที่กระทบ ซึ่งก็เกิดการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ เด็กที่มีควาพร้อม รร.สามารถ onsite ได้ แต่ที่ไปรร.ไม่ได้แต่ online ได้ก็ยังดี แต่ที่น่าเป็นห่วงคือเด็กที่ไปรร.ไม่ได้ เรียนออนไลน์ไม่ได้ เพราะไม่เข้าถึง แม้จะมีการเรียนแบบ onhand และเรียนรู้ด้วยตัวเอง ก็จะประสบความสำเร็จยาก ทำให้เป็นการเสียโอกาสการเรียน

ปี2564 ทั้งเทอมที่ไม่ได้ไปรร. พอมาเทอมที่2 เดือนพย. ก็เปิดๆปิดๆ ซึ่งก็เป็นโจทย์ยากของรร. ซึ่งครูจะมีเป้าหมายว่าจะสอนให้เด็กเรียนรู้เรื่องและเข้าใจเรื่องอะไรบ้าง รร.ก็จะมีตัววัดมาตฐานในเนื้อหากำหนดว่าเรื่องไหนต้องได้ ปี 2563 ก็มีการคุยกันว่า ลดบางตัวที่ไม่จำเป็นลงได้ เอาเฉพาะที่จำเป็นจริงๆ ขนาดว่าจัดแล้วก็ยังไปตามเป้าหมายได้ยาก และกังวลว่าถ้าสถานการณ์แบบนี้ไปเรื่อย แต่เด็กต้องเลื่อนชั้นไปเรื่อยๆ แต่ฐานที่ควรจะแน่นมันไม่แน่น พอไปชั้นสูงขึ้นเนื้อหายากขึ้น ซับซ้อนขึ้น ขณะที่รากฐานไม่แน่นโอกาสที่จะประสบความสำเร็จการเรียนรู้ก็จะยาก นี่ละเป็นสิ่งที่กังวล ก็ขอให้ปี 2565 ให้ดีขึ้น นั่งโต๊ะห่างๆ

เพราะเราเสียดายโอกาสกับเด็ก ยิ่งเป็นเด็กประถมต้น ส่วนเด็กอนุบาลก็มีข้อกังวลใจว่าด้วยความที่ไม่ได้ไปรร. การเรียนรู้เนื้อหาวิชาการไม่ค่อยห่วง เพราะเนื้อหาไม่ได้เน้น แต่ที่กังวลคือพัฒนาการด้านภาษา ทักษะทางสังคม เพราะเป็นช่วงที่เวลาที่ถ้าไม่รับการเติมเต็ม ในช่วงเวลาที่ควรจะได้ ช่องทางหรือหน้าต่างที่จะพัฒนาเรื่องนี้ก็จะค่อยๆ ถูกปิดลง ทำให้ตัวตน บุคลิกลักษณะของเขาก็จะฟอร์มเป็นแบบนั้นเลย ซึ่งเรากังวล

เวลาที่เราพูดถึงผลกระทบการเรียนรู้ในช่วงโควิด เราไม่ได้โฟกัสเรื่องวิชาการ แต่เราห้วงมิติอื่นๆอย่างทักษะทางสังคม ถ้าไม่ได้มารร.ไม่ได้เล่นกับเพื่อน ก็จะเกิดไม่ได้ ยิ่งเด็กเกิดน้อย หรืออยู่คอนโด และไม่ได้เล่นกับใคร ทำให้เกิดข้อจำกัด และเกิดผลกระทบเกิดขึ้นตามมา

ระบบการศึกษารับมือยังไง

ว่าตามหลักการคือ ครูต้องรู้ว่าเนื้อหาที่สอนไปมีเด็กกี่% ที่บรรลุได้ และมีเด็กกี่% ที่เป็นพื้นที่สีแดง ต้องยื่นมือเข้าไปช่วย ในแง่หลักการส่วนไหนที่เด็กขาดในระบบที่วิกฤต ครูต้องช่วยก่อน หาวิธีการช่วย เช่น ไปเยี่ยมที่บ้านคืออาจจะต้องสอนตัวต่อ เช่น ถ้าครูเห็นว่ามีเด็กโซนที่น่ากังวล 7 คน หาวิธีสอนตัวต่อตัว อาจจะโทรศัพท์ วันละ 5-10 นาที เป็นกลไกที่ครูช่วยเหลือเด็ก ให้เด็กอยู่ในสายตาครู ที่น่าจะช่วยเหลือได้ในช่วงนี้ 8.26 คือเด็กขาดตรงไหนรีบเติม ขึ้นอยู่กับระดับวิกฤตว่าขาดตรงไหนมากตรงไหนน้อย ท้ายที่สุดเป็นหน้าที่ครูที่จะต้องเติมให้เต็ม เพราะเป็นฐานในระดับชั้นที่สูงขึ้นต่อไป

รับมือเด็กช่วงรอยต่อ

เพราะธรรมชาติของการเรียนรู้ในสองระดับจะมีความแตกต่างกัน พอมันแตกต่างกันเด็กต้องใช้พลังในการปรับตัวเยอะ แต่ถ้าช่วงการปรับตัวเด็กไม่เคยกับสภาพแวดล้อมจริงเลย อย่างเด็กที่มาจากอ.3 ไป ป. 1 ยังไม่เคยเจอห้องเรียนเลย ทำให้การรับรู้เข้าคือห้องเรียนคือผ่านจอ ไม่รู้จักเพื่อน เป็นการรับรู้ของเด็กว่าชั้นเรียนป.1 เป็นแบบนั้น ซึ่งไม่ใช่ของจริง ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือจากครูหรือไม่ได้การดูแลใกล้ชิด ทำให้คอนเซ้ปต์ของรร.ที่มีต่อรร.มันหายไป

ระบบของการเรียนนานาชาติ

หลายรร. จัดทีมสนับสนุนการเรียนรู้ Learning Support โดยสำรวจแล้วรู้ว่าเด็กขาดเรื่องอะไรบ้าง มีบทเรียน หรือskill อะไรหายไปบ้าง และใช้ระบบการสนับสนุนนี้เข้าไปช่วยเหลือเด็ก เเพราะเชื่อว่าระบบการช่วยเหลือเด็กที่ดีและมีประสิทธิภาพจะช่วยเติมฐานที่เด็กหายไปได้

ตามหลักการต้องมองว่าเด็กจะช่วยเหลือยังไง และครูอาจจะต้องทำงานหนัก หรือพ่อแม่สังเกตและดูว่าลูกยังทำเรื่องไหนไม่ได้ ก็ปรึกษาครูเพิ่มเติม ซึ่งสิ่งที่พ่อแม่กังวลอาจจะเป็นมาตรฐานจากคนข้างนอก ซึ่งครูอาจจะมีวิธีคิดมุมมองอีกแบบ ทำให้มีทิศทางในการดูแลลูกที่ชัดเจน ดีกับครู เพราะว่าครูมีโอกาสน้อยที่เจอเด็ก การแชร์จากพ่อแม่ทำให้ครูรู้ว่าจะเติมลูกยังไงบ้าง

Model การศึกษาข้ามภูมิภาค

เหมือนการเรียนเก็บหน่วยกิต ระบบนี้เป็นลักษณะเรียนที่เราสะดวก เรียนที่ไหน เรียนอะไรก็ได้ เรียนแล้วก็ประเมิน ก็เก็บคะแนนไว้ เมื่อถึงจุดหนึ่งอาจจะไปเทียบโอนว่าเรียนจบแล้ว ปัจจุบันการศึกษาบ้านเราเป็นแบบไหน การศึกษา มี 3 ลักษณะ

1.ในระบบโรงเรียนมีระยะเวลาการเรียนเปิดปิดภาคเรียน มีช่วงอายุกำหนด มีการใช้หลักสูตรที่มีโครงสร้างหลักสูตร มีการวัดประเมินผลเพื่อเลื่อนชั้น มีเกณฑ์การจบการศึกษา

2.การศึกษานอกระบบ คล้ายๆ ในระบบโรงเรียน เแต่วิธีการเรียนรู้คล่องตัว ยืดหยุ่น เช่น ไม่ได้กำหนดอายุคนเรียน เรียนวันเสาร์ อาทิตย์ เช่น การเรียนกสน. ยืดหยุ่นการสอบวัดประเมินผล การเลื่อนชั้น ช่วงเวลายืดหยุ่น เรียนวันเสาร์ อาทิตย์

3.การศึกษาตามอัธยาศัย ขึ้นอยู่กับความสนใจและความต้องการของคนเรียน เช่น อยากเรียนคอรส์เทควันโด สอบไล่ระดับ

ตามแนวนี้นั้นต้องบอกว่า การศึกษาในระบบได้รับผลกระทบโดยตรงจากโควิด ทำให้เกิด Learning Loss ในหลายมิติ หากมีการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ที่เด็กมีโอกาสในการเข้าถึงระบบการศึกษา มีความคล่องตัว ยืดหยุ่น เรียนเวลาไหน สถานที่ไหนก็ได้ และค่อยๆ เก็บเครดิตไปเรื่อยๆ ทำให้เวลาที่เด็กไม่ได้ไปรร. ได้อะไรกลับมาบ้าง นี่คือตามหลักการ

หากมองในความเป็นไปได้ ก็จะต้องมีการวางแผนภาพใหญ่เยอะ เพราะเมื่อเรามองในระบบการศึกษารร. คือจะมีเรื่องวุฒิการศึกษา ซึ่งวุฒินี้จำเป็นในการรับรองการศึกษาที่สูงต่อไป เช่น จบม.6 ถึงจะเข้ามหาวิทยาลัย ซึ่งหากจะทำระบบนี้ในระบบการศึกษาในรร. ก็ต้องทำระบบการเทียบโอนวุฒิ เปรียบเหมือน Homeschool ที่มีหลักเกณฑ์ เทียบเคียงกับเด็กที่เรียนในรร.ปกติ

ซึ่งก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้ เพราะการเรียนรู้ของมนุษย์ในอนาคต ไม่ได้รูปแบบรร. อาจจะเกิดขึ้นได้ แต่ยังคงไม่ใช่เร็วๆ นี้ ต้องคิดทั้งระบบและกระบวน ถึงจะเกิดประโยชน์กับผู้เรียนจริงๆ ซึ่งต้องชัดเจน มีการศึกษาวิจัยก่อน ถึงจะนำมาใช้ได้จริง

สะท้อนเทรนด์การศึกษา

แนวโน้มการศึกษาในอนาคตจะมีพิธีรีตองน้อยลง อาจจะไม่ต้องไปรร. อาจจะไปบางวัน บางช่วง ที่เหลือ work กับครูนอกรอบ เรียนแบบยืดหยุ่น เทอมที่เปิดปิดไม่เหมือนกัน เป็นเทรนด์อนาคตที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่ง covid ทำให้สิ่งที่เกิดเร็วขึ้น และรู้ว่าการเรียนรู้เด็กหยุดนิ่งไมไ่ด้ เพราะฉะนั้นมีหนทางอะไรที่ทำให้การเรียนรู้ของเด็กเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่หยุดนิ่ง ต้องเลือก option นี้

พ่อแม่เตรียมอะไรบ้าง

มีเครื่องมือการเรียนรู้ที่ดี อ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็น logic พื้นฐาน ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน อยากรู้อยากเรียน รู้จักสังเกต ตั้งคำถาม inquiry อยากรู้อะไรก็หาคำตอบของเขาเอง รู้แหล่งข้อมูลที่จะหาคำตอบได้ นี่คือสิ่งที่เป็นพื้นฐานการเรียนรู้ทั่วๆไป ซึ่งพ่อแม่เตรียมทักษะเหล่านี้ให้ลูกได้ ไม่ตกเทรนด์

ครูยังต้องปรับตัวเลย เป็นเรื่องใหม่ หลักคิดคือ เป้าหมายคือการเรียนรู้ของเด็กต้องเกิดขึ้นเต็มตามศักยภาพของเด็กที่ควรจะได้ เพื่อลด Learning Loss

1.ครูจะไม่คาดหวังสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะไม่ยุติธรรมกับเด็ก

2.เทรนด์การศึกษาเปลี่ยน ไม่ได้มองว่าแค่เก่ง แต่เริ่มมองการพัฒนาทักษะกระบวนการที่จำเป็นสำหรับเด็ก โลกในการเรียนรู้ยุคนี้ ต่างจากสมัยเรามาก เราจะใช้ความคาดหวังเดิมมาคาดหวังกับลูกไม่ได้

3.พยายามเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับลูก

การเรียนรู้ของเด็กต้องเกิดขึ้นตลอดเวลา

 

รักลูก Podcast ได้ที่...

Apple Podcast :https://apple.co/3m15ytB

Spotify :https://spoti.fi/3cvAVcX

YouTube Channel :https://bit.ly/3cxn31u

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

รักลูก The Expert Talk Ep.78 (Rerun) : ปัญหาระดับชาติ เด็กไทยอ่านไม่ออก แก้ยังไงดี

 

รักลูก The Expert Talk Ep.78 (Rerun) : ปัญหาระดับชาติ เด็กไทยอ่านไม่ออก แก้ยังไงดี

 

รับมือปัญหาลูกวัยประถมยังอ่านหนังสือไม่ออก กระทบอะไรบ้าง พ่อแม่ช่วยลูกยังไงดี

ฟัง ผศ.ดร.ยศวีร์ สายฟ้า รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เว็บไซต์คาสิโนที่น่าตื่นเต้นและน่าสนใจมาแรงที่สุดในโลกนี้! สวัสดีทุกท่านที่หลงไหลในโลกของการพนันออนไลน์, พบกับประสบการณ์การเล่นเกมที่ไม่เหมือนใครที่ pgslot-king.com. เรามีความหลากหลายในเกมคาสิโนที่ท่านต้องการ ทั้งสล็อต, ป๊อกเด้ง, และเกมโต๊ะอื่นๆ

 

Apple Podcast: https://apple.co/3m15ytB

Spotify: https://spoti.fi/3cvAVcX

Youtube: https://bit.ly/3cxn31u

 

#รักลูกPodcast

#รักลูกTheExpertTalk

#Moms_Issues

อ่าน เล่น ทำงาน ดีต่อพัฒนาการลูก

2850

คุณหมอคะ ทำไมคุณหมอพูดอยู่เรื่อยๆ เรื่องการอ่าน การเล่น การทำงาน เหมือนอะไรก็จะแก้ไขได้ด้วย 3 คำนี้

ใช่ครับ อะไรๆ ก็จะแก้ไขได้ด้วยสามคำนี้จริงๆ เวลาเราพบปัญหาพฤติกรรมในบ้าน ปัญหาที่เห็นมักเป็นยอดภูเขาน้ำแข็งเสมอ ใต้น้ำยังมีปัญหาอีกหลายข้อรอผุดขึ้นมา นี่เป็นเรื่องที่ควรรู้

บ้านเราชอบไล่แก้ปัญหาปลายเหตุ  เด็กดื้อก็อบรมสั่งสอน เด็กไม่มีวินัยก็อบรมสั่งสอน พอเด็กโวยวายหนักข้อขึ้นก็ไทมเอาท์ เหล่านี้เป็นการจัดการที่ปลายเหตุ ได้ผลบ้าง ไม่ได้ผลบ้าง แล้วรอปัญหาใหม่ที่จะตามมา อ่าน เล่น ทำงาน จึงเป็นการแก้ต้นเหตุ กวาดทุกปัญหาหายไปในหมัดเดียว

อ่าน เพื่อให้แม่มีอยู่จริง
อ่านนิทานก่อนนอนทุกคืน พยายามให้ตรงเวลา สม่ำเสมอและต่อเนื่องเป็นหลักประกันว่าแม่จะมีอยู่จริงแน่นอน หากคุณพ่ออยากจะมีอยู่จริงในสายตาลูกก็ควรลงไปอ่านนิทานก่อนนอนด้วยตนเอง พยายามให้ตรงเวลา ทุกๆ คืนเรามีอยู่จริง เราจึงจะสั่งสอนเด็กได้ พูดคำไหนคำนั้นได้มากกว่า หากคนพูดไม่มีอยู่เสียแล้ว คำพูดจะมีอยู่ได้อย่างไร เราจึงได้ปัญหาเด็กไม่ฟังมากขึ้นๆ เพราะพ่อแม่ออกไปทำงานมากขึ้น ส่งลูกไปโรงเรียนเร็วขึ้น การบ้านมีมากขึ้น

เล่น เพื่อระบายส่วนเกิน
เด็กดื้อ เด็กไม่เชื่อฟัง เด็กเป็นอะไรก็ไม่รู้ เรามักเสียเวลาหาสาเหตุ หาถูกบ้างหาผิดบ้าง เดาก็มาก โทษกันไปมาก็บ่อย แทนที่เราจะหมดเวลาไปกับเรื่องพวกนั้น เราควรใช้เวลาที่มีน้อยนิดลงไปเล่นก่อนการเล่นคือการเปิดวาล์วนิรภัย เด็กใกล้ระเบิดด้วยพลังไอน้ำที่อัดแน่น เราเล่นกับเขา เล่นจริงๆ ลงไปเล่นที่พื้น  วิ่งเล่นในสนามพลังส่วนเกินจะถูกระบายออกไปทันที แล้วเด็กมักจะกลับสู่สมดุลได้เร็วกว่าอย่างง่ายๆ การเล่นใช้เวลาของพ่อแม่มากกว่าการอ่าน แต่รับรองได้ว่าเวลาที่เสียไปคุ้มค่ามากมาย ที่จะได้คืนมาคือพ่อแม่ที่มีอยู่จริง สายสัมพันธ์ที่แข็งแรงมากกว่าเดิม  มากกว่านี้ทักษะการแก้ปัญหาและคิดยืดหยุ่นที่ดีกว่าเดิม 

ทำงาน เพื่อฝึกการควบคุมตนเอง
การทำงานไม่สนุกเหมือนการเล่น การทำงานใช้นิ้วมือ 10 นิ้วเหมือนการเล่น จึงพัฒนาสมองเหมือนการเล่น เล่นมาก ทำงานมาก สมองดีกว่า ทำให้ EF ดีกว่า แต่การทำงานเป็นเรื่องไม่สนุก หากเราเอาการทำงานมาขวางทางการเล่น เด็กๆ จะต้องฝึกฝนการควบคุมตนเองให้ทำงานจนกว่างานจะเสร็จเพื่อจะได้ไปเล่น

เด็กจะได้ฝึกความสามมรถอดเปรี้ยวไว้กินหวาน คือ delayed gratification  รู้จักอดทนต่อความลำบากก่อนที่จะลิ้มรสความสุขที่เกิดจากการทำงานเสร็จอ่าน เล่น ทำงาน จึงได้ทั้งหมด

นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
จิตแพทย์และนักเขียน ขวัญใจพ่อแม่ชาวโซเชียล